การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
๒.๑ รับทราบผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ….
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๒.๓ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบแล้ว จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๒.๓.๑ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
๒.๓.๒ ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน
ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. ….
๒.๓.๓ ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่ง กรุงเทพใต้
ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. ….
๒.๔ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๔.๑ ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ….
๒.๔.๒ ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒.๕ รับทราบเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การยกเลิกแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน)
ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้นประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเพิ่มเติม จำนวน ๓ เรื่อง คือ
๑. การเดินเทิดพระเกียรติรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ซึ่งคณะอนุกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติได้กำหนดเดินเทิดพระเกียรติถวายราชสดุดีและแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันเสารที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ เวลา ๐๕.๐๐ - ๐๘.๐๐ นาฬิกา ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีเดินเทิดพระเกียรติ โดยเริ่มต้นเดินจากลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และวกกลับมายังลานพระบรมรูปทรงม้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในการนี้ขอให้ผู้ร่วมเดินเทิด พระเกียรติพร้อมกันในเวลา ๐๕.๐๐ นาฬิกา และเข้าแถวรอรับเสด็จพร้อมกันในเวลา ๐๕.๓๐ นาฬิกา โดยสวมเสื้อยืดที่สภาเตรียมไว้ให้
๒. การประชุม AAPP ที่ผ่านมานั้น ได้มีการกล่าวถึงรูปธรรมที่รัฐสภาในเอเชียจะทำร่วมกันหลายเรื่อง เช่น กรณีภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศปากีสถานและประเทศอินเดีย ทำให้ประชาชนไม่มีที่อยู่อาศัย ในการประชุม AAPP ได้มีการเสนอว่า ควรให้สมาชิกรัฐสภาที่เป็นสมาชิก AAPP หรือไม่ได้เป็นสมาชิกก็ตาม ควรนำเงินเดือน ๑ วัน รวบรวมส่งไปบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัย ประมาณคนละ ๓,๐๐๐ บาท และจะได้ทำหนังสือส่งไปยังประเทศที่เป็นสมาชิก AAPP และประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกได้ทราบว่า รัฐสภาไทยได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าว
๓. จากการที่ได้มอบหมายให้นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ดูแลเรื่องการเช่าบูชาเหรียญ ที่ระลึกเหรียญพ่อคูณ ปริสุทโท รุ่นวันประชาธิปไตย ซึ่งอนุกรรมการได้จัดทำขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังมีเหลืออยู่เล็กน้อยประกอบด้วยเหรียญทองคำขัดเงา เหรียญเงินขัดเงา และเหรียญทองแดงขัดเงา ถ้าเช่าบูชาเป็นชุด จำหน่ายให้เช่าในราคาชุดละ ๖๕,๐๐๐ บาท จึงขอเชิญชวนสมาชิกรัฐสภาและข้าราชการรัฐสภาเช่าบูชาได้ โดยสั่งจองได้ที่สำนักการคลังและงบประมาณ และสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร
ที่ประชุมรับทราบ
ประธานฯ ได้ขอปรึกษาต่อที่ประชุมเพื่อขอเลื่อนระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ข้อ ๗.๑ เรื่อง เลือกตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมารธิการการศึกษาแทนตำแหน่งที่ว่างลง เพราะสมาชิกสภาพสิ้นสุดลง
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ได้ชี้แจงว่า ในเรื่องดังกล่าวนั้น เป็นสัดส่วนของพรรคไทยรักไทย ซึ่งขณะนี้ยังพิจารณาตัวบุคคลยังไม่แล้วเสร็จ จึงขอเลื่อนการประชุมทั้ง ๓ วาระออกไปก่อน
๓. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
จากนั้น ที่ประชุมได้ขอเลื่อนระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องที่เสนอใหม่ ขึ้นมาพิจารณาก่อนคือเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
นายจำลอง ครุฑขุนทด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และคณะ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
หลักการ ปรับปรุงพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจและการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๐)
เหตุผล โดยที่การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจและการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ยังมิได้คำนึงถึงความสมัครใจของครูและผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าวให้ดำเนินการได้ต่อเมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสมัครใจและความพร้อม ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความสมัครใจ จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้
จากนั้น นายจำลอง ครุฑขุนทด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรค ไทยรักไทย ชี้แจงถึงเหตุผลในการขอแก้ไขมาตรา ๓๐ ว่า เดิมได้กำหนดระยะเวลาในการถ่ายโอน ภารกิจด้านสาธารณะ ซึ่งรัฐและท้องถิ่นเป็นผู้ทำซ้ำซ้อนกันให้โอนไปยังส่วนท้องถิ่นในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งในมาตรา ๓๐ ได้กำหนดไว้ว่า แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการดังนี้
๑. ให้ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่ในวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในกำหนดเวลาดังนี้
(ก) ภารกิจที่เป็นการดำเนินการซ้ำซ้อนระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ
ภารกิจที่รัฐจัดให้บริการในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน ๑๐ ปี
(ข) ภารกิจที่รัฐจัดให้บริการในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกระทบถึงองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน ๑๐ ปี
(ค) ภารกิจที่เป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน ๔ ปี
๒. กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะของรัฐและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติให้ชัดเจน โดยในระยะแรกการกำหนดภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละแห่งต้องพิจารณาจากรายได้และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนประชากร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตลอดจนคุณภาพในการให้บริการที่ประชาชนพึงจะได้รับ ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลา ๑๐ ปี ซึ่งบทบัญญัติใน (๑) และ (๒) นี้ จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีการแก้ไขมาตราดังกล่าวเพราะการบริการสาธารณะในพระราชบัญญัติถ่ายโอนอำนาจฯ ได้กำหนดในมาตรา ๑๖ (๙) ไว้ว่า การจัดการศึกษาเป็นสาธารณะหนึ่งจึงต้องผูกพันที่จะต้องถ่ายโอนไป เช่น ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา การเร่งรัดโดยใช้เวลาเป็นข้อกำหนดจึงเป็นปัญหาอย่างมาก ซึ่งภารกิจในการจัดการศึกษาเป็นภารกิจที่จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพการจัดการ แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสถานะ แตกต่างกัน จึงไม่สามารถจัดการศึกษาไปรวมกับสาธารณะการจัดการด้านอื่น ๆ ได้ ปัจจุบันครูได้มี ข้อกังวลอยู่ ๒ ประการคือ
๑. ถ้ามีการถ่ายโอนภารกิจไปแล้ว อนาคตของครูจะอยู่ที่ใด เนื่องจากครูที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการนั้นมีฐานะเป็นราชการ ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มีศักดิ์ศรี มีเกียรติ หากโอนไปเป็นพนักงานแล้ว ไม่มีความชัดเจนในการกำหนดฐานะพนักงานส่วนท้องถิ่นว่า จะมีความก้าวหน้าและได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อะไรบ้าง
๒. สถานะของโรงเรียนต่างกัน ซึ่งสถานศึกษาที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการมีสถานะเป็นนิติบุคคลสามารถบริหารได้โดยอิสระทั้งด้านวิทยากร บุคลากร ด้านบริหารตลอดจนด้าน อื่น ๆ แต่ในส่วนของท้องถิ่นนั้นขึ้นอยู่กับการดูแลของฝ่ายบริหารท้องถิ่นนั้น ๆ
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น จึงได้เสนอร่างกฎหมายโดยมีสาระที่จะยกเว้นหรืองดเว้นการใช้บังคับใน (๑) และ (๒) และจะทำให้ร่างพระราชบัญญัติการจัดการด้านการศึกษาอยู่ในหลักของความพร้อมและความสมัครใจ ดังนั้นในร่างพระราชบัญญัตินี้ จึงได้มีจุดประสงค์ เพื่อต้องการกระจายอำนาจการศึกษาให้เป็นไปตามความสมัครใจของท้องถิ่นเองคือ ท้องถิ่นสมัครใจรับและมีความพร้อมในการรับคือ พร้อมด้านงบประมาณ ความสามารถ ประสบการณ์และประสิทธิภาพ และอีกส่วนหนึ่งคือความพร้อมในการสมัครใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้บริหารมีความสมัครใจที่จะไป และขณะเดียวกันส่วนท้องถิ่นก็มีความพร้อมในการรับ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้จะเป็นไปตามจุดประสงค์ ที่ได้ตั้งไว้ และกระทรวงศึกษาธิการต้องมีการกำหนดเกณฑ์การถ่ายโอนโดยการประเมินไว้ด้วย
จากนั้นสมาชิกฯ พรรคฝ่ายค้านได้อภิปรายในประเด็นต่าง ๆ และตั้งข้อซักถามดังนี้
- ทำไมนายกรัฐมนตรีไม่เข้าร่วมประชุมด้วยในครั้งนี้
- รัฐบาลขาดความรอบคอบในการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาทั้งระบบ
จึงควรมีการพิจารณาให้รอบคอบในทุก ๆ ด้าน
- ไม่มีการกำหนดความหมายของคำว่า ความพร้อมและความสมัครใจให้ชัดเจน
- รัฐบาลขาดความจริงใจในการพัฒนาระบบการศึกษาและวิชาชีพครู
- แม้กฎหมายดังกล่าวจะเกิดขึ้นในสมัยพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย
มาตรา ๔๒ ว่า จะให้ดำเนินการตามความพร้อมและความเหมาะสมแต่ละท้องถิ่น
- รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงพอหรือไม่ เพราะ
อาจเกิดปัญหาในการใช้งบประมาณ
- รัฐบาลควรนำกลับไปพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง
- ทุกฝ่ายควรมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ หากมีการโอนอำนาจกัน
-หน่วยงานใดสามารถตอบได้ว่า ถ้านำกฎหมายดังกล่าวไปปฏิบัติแล้วจะไม่เกิดปัญหา
ในอนาคตและไม่กระทบต่อการเงินการคลัง
- ควรนำคุณภาพทางการศึกษาของเยาวชนเป็นตัวตั้งในการพิจารณาและควรเห็นใจ
ครู เพื่อให้การศึกษามีมาตรฐานและมีความก้าวหน้า
- การกระจายอำนาจไม่มีความคืบหน้าเนื่องจาก นายกัฐมนตรีเป็นนายกซีอีโอ
ซึ่งกระบวนการซีอีโอนั้นเป็นกระบวนการขัดขวางการกระจายอำนาจ
- รัฐบาลไม่ส่งเสริมและให้อำนาจแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นด้อยคุณภาพและไม่มีความสามารถ
- การถ่ายโอนอำนาจทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องขาดความรอบคอบในการพิจารณา
กระบวนการกฎหมายทั้งระบบ ขาดจิตวิญญาณการเตรียมการกระจายอำนาจ ขาดการมีส่วนร่วมจาก
ส่วนต่าง ๆ ที่เหมาะสม ขาดความสมบูรณ์ของกฎหมายที่ไม่ปฏิบัติตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๘๔ ขาดความจริงใจต่อการพัฒนาระบบการศึกษาและอาชีพครู และขาดความกล้าหาญใน
การเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขกฎหมาย
- รัฐบาลขาดความคิดสร้างสรรค์ในการหาคำตอบ
- ควรให้ท้องถิ่นเข้ามาร่วมกำหนดนโยบายให้มากขึ้น
จากนั้นสมาชิกฯ ฝ่ายรัฐบาลได้อภิปรายสนับสนุนเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังนี้
- เห็นว่าการศึกษาจะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ เพื่อความมีประสิทธิภาพ
- หลักการในกฎหมายคือ ถ้ามีการถ่ายโอนแต่ละฝ่ายต้องมีความพร้อมในการโอน
หากไม่พร้อมก็จะไม่โอน
- เหตุที่คณะรัฐมนตรีไม่เสนอกฎหมาย มอบให้พรรคเป็นผู้เสนอ เพราะรัฐบาลอยู่
แล้วก็จากไป หากบังคับใช้กฎหมายแล้ว พรรคสามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนได้
- เหตุที่คณะรัฐมนตรีไม่นำกลับไปทบทวนใหม่ เพราะอาจถูกมองว่าเป็นการถ่วงเวลา
- รัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบประมาณในกาพัฒนาได้อย่างทั่วถึงเท่าองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
- ถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมควรโอนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี
ความพร้อมและสามารถจัดการได้
- รัฐบาลมีความห่วงใยในคุณภาพการศึกษาของชาติ เพราะเห็นว่าการศึกษาต้องได้
รับความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ
จากนั้น นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ ได้ตอบชี้แจงว่าการกระจายอำนาจหรือการถ่ายโอนอำนาจเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญตามแผนขั้นตอน การกระจายอำนาจ ส่วนคำว่า “สมัครใจ” ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไปแล้วนั้น ถ้าองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต้องการรับโอนการศึกษา โดยพิจารณาตามเกณฑ์การประเมินแล้ว องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นพร้อมก็สามารถโอนไปได้โดยไม่เกี่ยวกับการสมัครใจหรือไม่ ถ้าประเมินผ่านก็จะมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับไปดำเนินการ ดังนั้นกระทรวงต่าง ๆ จึงได้เสนอว่า ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจ โดยให้มีการประชุมครู ผู้บริหารกับกรรมการสถานศึกษา ถ้าที่ประชุมใดประชุมหนึ่งไม่เห็นด้วยก็ถือว่าไม่สมัครใจ โดยถือเสียงข้างมากเป็นหลัก และขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้ส่งไปยังสำนักงาน คณะกรรการกฤษฎีกาแล้ว อยู่ระหว่างประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เหตุที่คณะรัฐมนตรีได้เพิ่มคำว่า “ความสมัครใจ” เพราะมีสถานศึกษาหลายแห่งพร้อม แต่ครูไม่พร้อม ดังนั้นการถ่ายโอนต้องเริ่มจากจำนวนน้อย เพื่อไม่ให้การถ่ายโอนมีปัญหาเกิดขึ้น ส่วนโรงเรียนที่ไม่ต้องการถ่ายโอนก็อนุญาตให้อยู่กับกระทรวงศึกษาธิการต่อไปได้ รวมทั้งได้มีมติว่าต้องยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยตั้งอยู่บนหลักของความสมัครใจและสถานศึกษาด้วย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ดังนั้นการที่รัฐบาลไม่ได้นำกฎหมายดังกล่าวเสนอเข้าสู่สภา เพราะสภาผู้แทนราษฎรเหลือเวลาในสมัยประชุมนี้ไม่มาก และรัฐบาลเห็นด้วยกับการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รัฐบาลจึงไม่จำเป็นต้องกลับไปพิจารณาก่อนรับหลักการ
จากนั้นได้มีการลงมติด้วยคะแนน ๓๑๒ เสียง และเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน ๓๕ คน โดยมีตัวแทนองค์กรครู และองค์การบริหารส่วนตำบล เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย กำหนดแปรญัตติภายใน ๒ วัน
ปิดประชุมเวลา ๒๐.๒๒ นาฬิกา
------------------------------------------------------
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
๒.๑ รับทราบผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ….
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
๒.๓ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเห็นชอบแล้ว จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๒.๓.๑ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
๒.๓.๒ ร่างพระราชบัญญัติยกฐานะศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน
ศาลแขวงปทุมวัน และศาลแขวงพระโขนง เป็นศาลจังหวัด พ.ศ. ….
๒.๓.๓ ร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแพ่ง กรุงเทพใต้
ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. ….
๒.๔ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๔.๑ ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ….
๒.๔.๒ ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒.๕ รับทราบเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การยกเลิกแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน)
ซึ่งคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ ออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้นประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเพิ่มเติม จำนวน ๓ เรื่อง คือ
๑. การเดินเทิดพระเกียรติรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ซึ่งคณะอนุกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติได้กำหนดเดินเทิดพระเกียรติถวายราชสดุดีและแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันเสารที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ เวลา ๐๕.๐๐ - ๐๘.๐๐ นาฬิกา ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีเดินเทิดพระเกียรติ โดยเริ่มต้นเดินจากลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และวกกลับมายังลานพระบรมรูปทรงม้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในการนี้ขอให้ผู้ร่วมเดินเทิด พระเกียรติพร้อมกันในเวลา ๐๕.๐๐ นาฬิกา และเข้าแถวรอรับเสด็จพร้อมกันในเวลา ๐๕.๓๐ นาฬิกา โดยสวมเสื้อยืดที่สภาเตรียมไว้ให้
๒. การประชุม AAPP ที่ผ่านมานั้น ได้มีการกล่าวถึงรูปธรรมที่รัฐสภาในเอเชียจะทำร่วมกันหลายเรื่อง เช่น กรณีภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศปากีสถานและประเทศอินเดีย ทำให้ประชาชนไม่มีที่อยู่อาศัย ในการประชุม AAPP ได้มีการเสนอว่า ควรให้สมาชิกรัฐสภาที่เป็นสมาชิก AAPP หรือไม่ได้เป็นสมาชิกก็ตาม ควรนำเงินเดือน ๑ วัน รวบรวมส่งไปบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัย ประมาณคนละ ๓,๐๐๐ บาท และจะได้ทำหนังสือส่งไปยังประเทศที่เป็นสมาชิก AAPP และประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกได้ทราบว่า รัฐสภาไทยได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยดังกล่าว
๓. จากการที่ได้มอบหมายให้นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ดูแลเรื่องการเช่าบูชาเหรียญ ที่ระลึกเหรียญพ่อคูณ ปริสุทโท รุ่นวันประชาธิปไตย ซึ่งอนุกรรมการได้จัดทำขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังมีเหลืออยู่เล็กน้อยประกอบด้วยเหรียญทองคำขัดเงา เหรียญเงินขัดเงา และเหรียญทองแดงขัดเงา ถ้าเช่าบูชาเป็นชุด จำหน่ายให้เช่าในราคาชุดละ ๖๕,๐๐๐ บาท จึงขอเชิญชวนสมาชิกรัฐสภาและข้าราชการรัฐสภาเช่าบูชาได้ โดยสั่งจองได้ที่สำนักการคลังและงบประมาณ และสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร
ที่ประชุมรับทราบ
ประธานฯ ได้ขอปรึกษาต่อที่ประชุมเพื่อขอเลื่อนระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ข้อ ๗.๑ เรื่อง เลือกตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมารธิการการศึกษาแทนตำแหน่งที่ว่างลง เพราะสมาชิกสภาพสิ้นสุดลง
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ได้ชี้แจงว่า ในเรื่องดังกล่าวนั้น เป็นสัดส่วนของพรรคไทยรักไทย ซึ่งขณะนี้ยังพิจารณาตัวบุคคลยังไม่แล้วเสร็จ จึงขอเลื่อนการประชุมทั้ง ๓ วาระออกไปก่อน
๓. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
จากนั้น ที่ประชุมได้ขอเลื่อนระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องที่เสนอใหม่ ขึ้นมาพิจารณาก่อนคือเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
นายจำลอง ครุฑขุนทด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย และคณะ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
หลักการ ปรับปรุงพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจและการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๐)
เหตุผล โดยที่การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจและการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ยังมิได้คำนึงถึงความสมัครใจของครูและผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าวให้ดำเนินการได้ต่อเมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสมัครใจและความพร้อม ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความสมัครใจ จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้
จากนั้น นายจำลอง ครุฑขุนทด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรค ไทยรักไทย ชี้แจงถึงเหตุผลในการขอแก้ไขมาตรา ๓๐ ว่า เดิมได้กำหนดระยะเวลาในการถ่ายโอน ภารกิจด้านสาธารณะ ซึ่งรัฐและท้องถิ่นเป็นผู้ทำซ้ำซ้อนกันให้โอนไปยังส่วนท้องถิ่นในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งในมาตรา ๓๐ ได้กำหนดไว้ว่า แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการดังนี้
๑. ให้ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่ในวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในกำหนดเวลาดังนี้
(ก) ภารกิจที่เป็นการดำเนินการซ้ำซ้อนระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ
ภารกิจที่รัฐจัดให้บริการในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน ๑๐ ปี
(ข) ภารกิจที่รัฐจัดให้บริการในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกระทบถึงองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน ๑๐ ปี
(ค) ภารกิจที่เป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน ๔ ปี
๒. กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะของรัฐและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองตามอำนาจและหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติให้ชัดเจน โดยในระยะแรกการกำหนดภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ละแห่งต้องพิจารณาจากรายได้และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนประชากร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตลอดจนคุณภาพในการให้บริการที่ประชาชนพึงจะได้รับ ทั้งนี้ต้องไม่เกินระยะเวลา ๑๐ ปี ซึ่งบทบัญญัติใน (๑) และ (๒) นี้ จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีการแก้ไขมาตราดังกล่าวเพราะการบริการสาธารณะในพระราชบัญญัติถ่ายโอนอำนาจฯ ได้กำหนดในมาตรา ๑๖ (๙) ไว้ว่า การจัดการศึกษาเป็นสาธารณะหนึ่งจึงต้องผูกพันที่จะต้องถ่ายโอนไป เช่น ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา การเร่งรัดโดยใช้เวลาเป็นข้อกำหนดจึงเป็นปัญหาอย่างมาก ซึ่งภารกิจในการจัดการศึกษาเป็นภารกิจที่จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพการจัดการ แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสถานะ แตกต่างกัน จึงไม่สามารถจัดการศึกษาไปรวมกับสาธารณะการจัดการด้านอื่น ๆ ได้ ปัจจุบันครูได้มี ข้อกังวลอยู่ ๒ ประการคือ
๑. ถ้ามีการถ่ายโอนภารกิจไปแล้ว อนาคตของครูจะอยู่ที่ใด เนื่องจากครูที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการนั้นมีฐานะเป็นราชการ ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มีศักดิ์ศรี มีเกียรติ หากโอนไปเป็นพนักงานแล้ว ไม่มีความชัดเจนในการกำหนดฐานะพนักงานส่วนท้องถิ่นว่า จะมีความก้าวหน้าและได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อะไรบ้าง
๒. สถานะของโรงเรียนต่างกัน ซึ่งสถานศึกษาที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการมีสถานะเป็นนิติบุคคลสามารถบริหารได้โดยอิสระทั้งด้านวิทยากร บุคลากร ด้านบริหารตลอดจนด้าน อื่น ๆ แต่ในส่วนของท้องถิ่นนั้นขึ้นอยู่กับการดูแลของฝ่ายบริหารท้องถิ่นนั้น ๆ
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น จึงได้เสนอร่างกฎหมายโดยมีสาระที่จะยกเว้นหรืองดเว้นการใช้บังคับใน (๑) และ (๒) และจะทำให้ร่างพระราชบัญญัติการจัดการด้านการศึกษาอยู่ในหลักของความพร้อมและความสมัครใจ ดังนั้นในร่างพระราชบัญญัตินี้ จึงได้มีจุดประสงค์ เพื่อต้องการกระจายอำนาจการศึกษาให้เป็นไปตามความสมัครใจของท้องถิ่นเองคือ ท้องถิ่นสมัครใจรับและมีความพร้อมในการรับคือ พร้อมด้านงบประมาณ ความสามารถ ประสบการณ์และประสิทธิภาพ และอีกส่วนหนึ่งคือความพร้อมในการสมัครใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้บริหารมีความสมัครใจที่จะไป และขณะเดียวกันส่วนท้องถิ่นก็มีความพร้อมในการรับ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้จะเป็นไปตามจุดประสงค์ ที่ได้ตั้งไว้ และกระทรวงศึกษาธิการต้องมีการกำหนดเกณฑ์การถ่ายโอนโดยการประเมินไว้ด้วย
จากนั้นสมาชิกฯ พรรคฝ่ายค้านได้อภิปรายในประเด็นต่าง ๆ และตั้งข้อซักถามดังนี้
- ทำไมนายกรัฐมนตรีไม่เข้าร่วมประชุมด้วยในครั้งนี้
- รัฐบาลขาดความรอบคอบในการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาทั้งระบบ
จึงควรมีการพิจารณาให้รอบคอบในทุก ๆ ด้าน
- ไม่มีการกำหนดความหมายของคำว่า ความพร้อมและความสมัครใจให้ชัดเจน
- รัฐบาลขาดความจริงใจในการพัฒนาระบบการศึกษาและวิชาชีพครู
- แม้กฎหมายดังกล่าวจะเกิดขึ้นในสมัยพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย
มาตรา ๔๒ ว่า จะให้ดำเนินการตามความพร้อมและความเหมาะสมแต่ละท้องถิ่น
- รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงพอหรือไม่ เพราะ
อาจเกิดปัญหาในการใช้งบประมาณ
- รัฐบาลควรนำกลับไปพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง
- ทุกฝ่ายควรมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ หากมีการโอนอำนาจกัน
-หน่วยงานใดสามารถตอบได้ว่า ถ้านำกฎหมายดังกล่าวไปปฏิบัติแล้วจะไม่เกิดปัญหา
ในอนาคตและไม่กระทบต่อการเงินการคลัง
- ควรนำคุณภาพทางการศึกษาของเยาวชนเป็นตัวตั้งในการพิจารณาและควรเห็นใจ
ครู เพื่อให้การศึกษามีมาตรฐานและมีความก้าวหน้า
- การกระจายอำนาจไม่มีความคืบหน้าเนื่องจาก นายกัฐมนตรีเป็นนายกซีอีโอ
ซึ่งกระบวนการซีอีโอนั้นเป็นกระบวนการขัดขวางการกระจายอำนาจ
- รัฐบาลไม่ส่งเสริมและให้อำนาจแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นด้อยคุณภาพและไม่มีความสามารถ
- การถ่ายโอนอำนาจทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องขาดความรอบคอบในการพิจารณา
กระบวนการกฎหมายทั้งระบบ ขาดจิตวิญญาณการเตรียมการกระจายอำนาจ ขาดการมีส่วนร่วมจาก
ส่วนต่าง ๆ ที่เหมาะสม ขาดความสมบูรณ์ของกฎหมายที่ไม่ปฏิบัติตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๘๔ ขาดความจริงใจต่อการพัฒนาระบบการศึกษาและอาชีพครู และขาดความกล้าหาญใน
การเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขกฎหมาย
- รัฐบาลขาดความคิดสร้างสรรค์ในการหาคำตอบ
- ควรให้ท้องถิ่นเข้ามาร่วมกำหนดนโยบายให้มากขึ้น
จากนั้นสมาชิกฯ ฝ่ายรัฐบาลได้อภิปรายสนับสนุนเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังนี้
- เห็นว่าการศึกษาจะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ เพื่อความมีประสิทธิภาพ
- หลักการในกฎหมายคือ ถ้ามีการถ่ายโอนแต่ละฝ่ายต้องมีความพร้อมในการโอน
หากไม่พร้อมก็จะไม่โอน
- เหตุที่คณะรัฐมนตรีไม่เสนอกฎหมาย มอบให้พรรคเป็นผู้เสนอ เพราะรัฐบาลอยู่
แล้วก็จากไป หากบังคับใช้กฎหมายแล้ว พรรคสามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนได้
- เหตุที่คณะรัฐมนตรีไม่นำกลับไปทบทวนใหม่ เพราะอาจถูกมองว่าเป็นการถ่วงเวลา
- รัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบประมาณในกาพัฒนาได้อย่างทั่วถึงเท่าองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
- ถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมควรโอนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี
ความพร้อมและสามารถจัดการได้
- รัฐบาลมีความห่วงใยในคุณภาพการศึกษาของชาติ เพราะเห็นว่าการศึกษาต้องได้
รับความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ
จากนั้น นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ ได้ตอบชี้แจงว่าการกระจายอำนาจหรือการถ่ายโอนอำนาจเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญตามแผนขั้นตอน การกระจายอำนาจ ส่วนคำว่า “สมัครใจ” ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไปแล้วนั้น ถ้าองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต้องการรับโอนการศึกษา โดยพิจารณาตามเกณฑ์การประเมินแล้ว องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นพร้อมก็สามารถโอนไปได้โดยไม่เกี่ยวกับการสมัครใจหรือไม่ ถ้าประเมินผ่านก็จะมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับไปดำเนินการ ดังนั้นกระทรวงต่าง ๆ จึงได้เสนอว่า ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจ โดยให้มีการประชุมครู ผู้บริหารกับกรรมการสถานศึกษา ถ้าที่ประชุมใดประชุมหนึ่งไม่เห็นด้วยก็ถือว่าไม่สมัครใจ โดยถือเสียงข้างมากเป็นหลัก และขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้ส่งไปยังสำนักงาน คณะกรรการกฤษฎีกาแล้ว อยู่ระหว่างประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เหตุที่คณะรัฐมนตรีได้เพิ่มคำว่า “ความสมัครใจ” เพราะมีสถานศึกษาหลายแห่งพร้อม แต่ครูไม่พร้อม ดังนั้นการถ่ายโอนต้องเริ่มจากจำนวนน้อย เพื่อไม่ให้การถ่ายโอนมีปัญหาเกิดขึ้น ส่วนโรงเรียนที่ไม่ต้องการถ่ายโอนก็อนุญาตให้อยู่กับกระทรวงศึกษาธิการต่อไปได้ รวมทั้งได้มีมติว่าต้องยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยตั้งอยู่บนหลักของความสมัครใจและสถานศึกษาด้วย ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ดังนั้นการที่รัฐบาลไม่ได้นำกฎหมายดังกล่าวเสนอเข้าสู่สภา เพราะสภาผู้แทนราษฎรเหลือเวลาในสมัยประชุมนี้ไม่มาก และรัฐบาลเห็นด้วยกับการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รัฐบาลจึงไม่จำเป็นต้องกลับไปพิจารณาก่อนรับหลักการ
จากนั้นได้มีการลงมติด้วยคะแนน ๓๑๒ เสียง และเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน ๓๕ คน โดยมีตัวแทนองค์กรครู และองค์การบริหารส่วนตำบล เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย กำหนดแปรญัตติภายใน ๒ วัน
ปิดประชุมเวลา ๒๐.๒๒ นาฬิกา
------------------------------------------------------