การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานได้กล่าวเปิดประชุมแล้วให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
อ่านพระบรมราชโองการ ให้ที่ประชุมรับทราบ รวม ๓ ฉบับ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา
สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
๑. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๒) นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
๒. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๒) นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
๓. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง นายอภัย จันทนจุลกะ เป็น
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ คือ
๑. รับทราบเรื่องสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จำนวน
๓๒ คน
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ นางผุสดี ตามไท
นายปรีชา สุวรรณทัต นายวิชัย ตันศิริ และนายชูศักดิ์ ศิรินิล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับ
หน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. รับทราบที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่
๒๗ เมษายน ๒๕๔๗ ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตของ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๔
(๒) รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๔ ของสถาบันพระปกเกล้า
๓. รับทราบที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ ได้
พิจารณาและรับทราบรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐาน
แห่งรัฐ รัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ปีที่สาม
๔. รับทราบเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้อนุญาตให้นำเรื่องออกจาก
ระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗ จำนวน ๓ เรื่อง คือ
(๑) ขออนุญาตให้ส่งตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปทำการสอบสวน
คดีอาญา
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นางปวีณา หงสกุล เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นผู้เสนอ
๕. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ได้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๖ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยหนองคาย พ.ศ. …. ซึ่ง
ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์
นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และ
นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอปัว จังหวัด
น่าน พ.ศ. …. ซึ่ง นายวัลลภ สุปริยศิลป์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ….
ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
๖. รับทราบร่างแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ทางการเงิน การคลัง และงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร่างแผนปฏิบัติการ
ถ่ายโอนบุคลากรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้นำเรื่อง
รับทราบรายงานที่จะมีการอภิปรายซักถามไปพิจารณาในวันพฤหัสบดีก่อนระเบียบวาระกระทู้ถาม
ซึ่งที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) จำนวน ๑๒ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ และ
ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ต่อจากนั้นได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำ
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๑) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปรายนายวิษณุ
เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้วที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้
ต่อมารองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนและได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคในรายการชื่อพรรคจากพรรคราษฎร
เป็นพรรคมหาชน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๓ ซึ่งที่ประชุมรับทราบ
จากนั้นได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระ
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๑, ๒ และ ๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่
ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับคือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา) ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติ
ทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
ซึ่งพลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๓๙)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ผู้รักษาการตามกฎหมาย) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
โดย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงต่อ
ที่ประชุมว่าเพื่อเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พุทธศักราช ๒๔๗๗ เพื่อกำหนดเพิ่มให้ประธานศาลฎีกา และนายกรัฐมนตรี รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
เนื่องด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๕ กำหนดให้สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานอิสระ
ขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา และโดยที่ พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
ได้กำหนดให้ สำนักงานอัยการสูงสุดที่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช ๒๔๗๗
โดยกำหนดเพิ่มเติมให้ประธานศาลฎีกา และนายกรัฐมนตรี รักษาการในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ
หลังจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงต่อที่ประชุมถึงหลักการและเหตุผลของ
ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ผู้รักษาการตามกฎหมาย)
แล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ แห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๙๔ เสียง
ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียงไม่มี และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายถึงเรื่องการเพิ่มเงินอุดหนุนกองทุนหมู่บ้านจากรัฐบาล
รวมทั้งเสนอว่าควรปรับปรุงการใช้จ่ายเงินของกองทุนหมู่บ้านและการ ติดตามการใช้จ่ายเงินของกองทุนหมู่บ้าน
ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในเรื่องของการรับเงินบริจาคที่มีเงื่อนไขไม่เป็นการเสื่อมเสียและไม่เป็นภาระแก่กองทุน
ควรเปิดโอกาสให้กองทุนรับบริจาคได้ และเรื่องการคัดเลือกกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่กำหนดให้คำนึงถึงสัดส่วนของ
กรรมการชายและหญิงต้อง ใกล้เคียงกันนั้นเป็นอย่างไร เรื่องการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งมีอยู่กว่า
เจ็ดหมื่นห้าพันแห่งให้แล้วเสร็จภายใน ๓ ปี มีความพร้อมเพียงไร ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า
เงินอุดหนุนจากรัฐบาลนั้นมีมาตรการควบคุมดูแลการใช้จ่ายโดยเคร่งครัด ซึ่งทำให้การดำเนินการแบบเลือกปฏิบัติ
ไม่สามารถกระทำได้ และการดำเนินงานก็เป็นไปอย่างยุติธรรมสำหรับประชาชนแน่นอน เรื่องการ ตรวจสอบ
การใช้จ่ายเงินกองทุนหมู่บ้านในอดีตที่เคยมีการร้องเรียนก็ได้มีการดำเนินการตรวจสอบแล้ว และกระบวนการ
ในการติดตามประเมินผลก็ได้มีการดำเนินการผ่านทางสถาบันการศึกษา ซึ่งจากการประเมินผลกระทบจาก
นโยบายกองทุนหมู่บ้านเป็นไปในทางที่ดี การชำระหนี้คืนกองทุนหมู่บ้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนในเรื่องของเงินบริจาคที่ต้องกำหนดให้การรับบริจาคเงินต้องเป็นแบบไม่มี
เงื่อนไขนั้น ก็เพื่อเป็นการป้องกันการหาประโยชน์จากกองทุนโดยมิชอบ แต่สำหรับการบริจาคเป็นไปโดยมี
เจตนาที่ดีก็สามารถจะกระทำได้อยู่แล้ว ในเรื่องของสัดส่วนระหว่างชายและหญิงที่จะเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้านนั้น
ที่กำหนดไว้ว่าในการคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องคำนึงถึงสัดส่วนของกรรมการที่เป็นหญิงต้องใกล้เคียงกับชาย
โดยไม่ระบุสัดส่วนให้ชัดเจน ก็เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการคัดเลือกกรรมการกองทุนหมู่บ้านและยังเป็นการส่งเสริม
ให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านอีกด้วย เรื่องการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านนั้นใน
ความเป็นจริงใช้เวลา ไม่นานนักสามารถจัดตั้งได้ครบทุกหมู่บ้านได้อย่างแน่นอน
หลังจากที่สมาชิกได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง
เห็นด้วย ๓๒๓ เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง ๕ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา
----------------------------------
วันพุธที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานได้กล่าวเปิดประชุมแล้วให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
อ่านพระบรมราชโองการ ให้ที่ประชุมรับทราบ รวม ๓ ฉบับ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา
สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
๑. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๒) นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
๒. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๒) นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
๓. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง นายอภัย จันทนจุลกะ เป็น
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ คือ
๑. รับทราบเรื่องสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จำนวน
๓๒ คน
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ นางผุสดี ตามไท
นายปรีชา สุวรรณทัต นายวิชัย ตันศิริ และนายชูศักดิ์ ศิรินิล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับ
หน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. รับทราบที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่
๒๗ เมษายน ๒๕๔๗ ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตของ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๔
(๒) รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๔ ของสถาบันพระปกเกล้า
๓. รับทราบที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗ และครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ ได้
พิจารณาและรับทราบรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐาน
แห่งรัฐ รัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ปีที่สาม
๔. รับทราบเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้อนุญาตให้นำเรื่องออกจาก
ระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗ จำนวน ๓ เรื่อง คือ
(๑) ขออนุญาตให้ส่งตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปทำการสอบสวน
คดีอาญา
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นางปวีณา หงสกุล เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นผู้เสนอ
๕. รับทราบเรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ได้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๖ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยหนองคาย พ.ศ. …. ซึ่ง
ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์
นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และ
นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอปัว จังหวัด
น่าน พ.ศ. …. ซึ่ง นายวัลลภ สุปริยศิลป์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ….
ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
๖. รับทราบร่างแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ทางการเงิน การคลัง และงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร่างแผนปฏิบัติการ
ถ่ายโอนบุคลากรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้นำเรื่อง
รับทราบรายงานที่จะมีการอภิปรายซักถามไปพิจารณาในวันพฤหัสบดีก่อนระเบียบวาระกระทู้ถาม
ซึ่งที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) จำนวน ๑๒ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ และ
ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ต่อจากนั้นได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำ
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๑) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปรายนายวิษณุ
เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้วที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้
ต่อมารองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนและได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคในรายการชื่อพรรคจากพรรคราษฎร
เป็นพรรคมหาชน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๓ ซึ่งที่ประชุมรับทราบ
จากนั้นได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม โดยขอนำระเบียบวาระ
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๑, ๒ และ ๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่
ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับคือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา) ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติ
ทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
ซึ่งพลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๓๙)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล
ตามลำดับ ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ผู้รักษาการตามกฎหมาย) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
โดย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงต่อ
ที่ประชุมว่าเพื่อเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พุทธศักราช ๒๔๗๗ เพื่อกำหนดเพิ่มให้ประธานศาลฎีกา และนายกรัฐมนตรี รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
เนื่องด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๕ กำหนดให้สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานอิสระ
ขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา และโดยที่ พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
ได้กำหนดให้ สำนักงานอัยการสูงสุดที่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม
และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช ๒๔๗๗
โดยกำหนดเพิ่มเติมให้ประธานศาลฎีกา และนายกรัฐมนตรี รักษาการในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ
หลังจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงต่อที่ประชุมถึงหลักการและเหตุผลของ
ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ผู้รักษาการตามกฎหมาย)
แล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ แห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย ๒๙๔ เสียง
ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียงไม่มี และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดย เริ่มต้นด้วย ชื่อร่าง
คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายถึงเรื่องการเพิ่มเงินอุดหนุนกองทุนหมู่บ้านจากรัฐบาล
รวมทั้งเสนอว่าควรปรับปรุงการใช้จ่ายเงินของกองทุนหมู่บ้านและการ ติดตามการใช้จ่ายเงินของกองทุนหมู่บ้าน
ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในเรื่องของการรับเงินบริจาคที่มีเงื่อนไขไม่เป็นการเสื่อมเสียและไม่เป็นภาระแก่กองทุน
ควรเปิดโอกาสให้กองทุนรับบริจาคได้ และเรื่องการคัดเลือกกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่กำหนดให้คำนึงถึงสัดส่วนของ
กรรมการชายและหญิงต้อง ใกล้เคียงกันนั้นเป็นอย่างไร เรื่องการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งมีอยู่กว่า
เจ็ดหมื่นห้าพันแห่งให้แล้วเสร็จภายใน ๓ ปี มีความพร้อมเพียงไร ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า
เงินอุดหนุนจากรัฐบาลนั้นมีมาตรการควบคุมดูแลการใช้จ่ายโดยเคร่งครัด ซึ่งทำให้การดำเนินการแบบเลือกปฏิบัติ
ไม่สามารถกระทำได้ และการดำเนินงานก็เป็นไปอย่างยุติธรรมสำหรับประชาชนแน่นอน เรื่องการ ตรวจสอบ
การใช้จ่ายเงินกองทุนหมู่บ้านในอดีตที่เคยมีการร้องเรียนก็ได้มีการดำเนินการตรวจสอบแล้ว และกระบวนการ
ในการติดตามประเมินผลก็ได้มีการดำเนินการผ่านทางสถาบันการศึกษา ซึ่งจากการประเมินผลกระทบจาก
นโยบายกองทุนหมู่บ้านเป็นไปในทางที่ดี การชำระหนี้คืนกองทุนหมู่บ้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนในเรื่องของเงินบริจาคที่ต้องกำหนดให้การรับบริจาคเงินต้องเป็นแบบไม่มี
เงื่อนไขนั้น ก็เพื่อเป็นการป้องกันการหาประโยชน์จากกองทุนโดยมิชอบ แต่สำหรับการบริจาคเป็นไปโดยมี
เจตนาที่ดีก็สามารถจะกระทำได้อยู่แล้ว ในเรื่องของสัดส่วนระหว่างชายและหญิงที่จะเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้านนั้น
ที่กำหนดไว้ว่าในการคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านต้องคำนึงถึงสัดส่วนของกรรมการที่เป็นหญิงต้องใกล้เคียงกับชาย
โดยไม่ระบุสัดส่วนให้ชัดเจน ก็เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการคัดเลือกกรรมการกองทุนหมู่บ้านและยังเป็นการส่งเสริม
ให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านอีกด้วย เรื่องการจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านนั้นใน
ความเป็นจริงใช้เวลา ไม่นานนักสามารถจัดตั้งได้ครบทุกหมู่บ้านได้อย่างแน่นอน
หลังจากที่สมาชิกได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนนเสียง
เห็นด้วย ๓๒๓ เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง ๕ เสียง เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา
----------------------------------