(ต่อ2) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติและการจัดการ 25 ลุ่มน้ำสำคัญของประเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 5, 2004 11:01 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาคเหนือ ภาคกลาง (รวมภาคตะวันตก) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ประกอบด้วย
ลุ่มน้ำสำคัญในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
กลุ่มลุ่มน้ำหลัก พื้นที่ลุ่มน้ำรวม(ตร.กม.) ชื่อลุ่มน้ำหลัก
1.ภาคเหนือ 128,450 สาละวิน กก ปิง วัง ยม น่าน
2.ภาคกลาง (รวมตะวันตก) 98,476 เจ้าพระยา สะแกกรัง ป่าสัก ท่าจีน
แม่กลองเพชรบุรี ชายฝั่งทะเลตะวันตก
3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 176,599 โขง ชี มูล
4.ภาคตะวันออก 36,480 ปราจีนบุรี บางปะกง โตนเลสาป
ชายฝั่งทะเลตะวันออก
5.ภาคใต้ 72,102 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตาปี ทะเลสาบ
สงขลา ปัตตานี ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
การแบ่งกลุ่มลุ่มน้ำตามเขตการปกครองเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พบว่า
มีปัญหาในหลายด้าน เนื่องจากไม่ได้พิจารณาเป็นระบบทั้งลุ่มน้ำ คือ จากต้นน้ำจนถึงจุดออกของแม่น้ำตามลักษณะ
ภูมิศาสตร์ที่แท้จริง อาทิ การบริหารจัดการลุ่มน้ำบางปะกง จำเป็นต้องนำลุ่มน้ำปราจีนบุรีมาพิจารณาด้วย
เพราะการจัดการน้ำในลุ่มน้ำปราจีนบุรี จะมีผลต่อลุ่มน้ำบางปะกงซึ่งอยู่ตอนล่าง เป็นต้น นอกจากนั้นเมื่อแบ่ง
กลุ่มเป็นกลุ่มภาคเหนือและกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำโขงจะแยกจากกันเป็น โขงเหนือ และโขงอีสาน
2) กลุ่มลุ่มน้ำพิจารณาจากต้นน้ำถึงจุดออก 9 กลุ่ม
หากพิจารณาจากจุดออกหรือบริเวณที่แม่น้ำที่ไหลลงแล้ว แม่น้ำในประเทศไทย
อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน คือ กลุ่มลุ่มน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง กลุ่มลุ่มน้ำที่ไหลลงแม่น้ำสาละวิน และ
กลุ่มลุ่มน้ำที่ไหลลงทะเลโดยตรง ซึ่งในกลุ่มที่สามนี้ยังแยกย่อยออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ กลุ่มลุ่มน้ำที่ไหลลง
ทะเลด้านอ่าวไทย และกลุ่มลุ่มน้ำที่ไหลลงทะเลด้านอันดามัน อย่างไรก็ตามกลุ่มลุ่มน้ำหลักที่ไหลออกสู่อ่าวไทย
อาจแบ่งออกได้เป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง
กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันออก กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตะวันตก และกลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้
ฝั่งตะวันออก (ด้านอ่าวไทย) และเมื่อรวมกับกลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน
และกลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ด้านทะเลอันดามัน) พบว่าประเทศไทยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มลุ่มน้ำหลัก
ได้จำนวน 9 กลุ่มลุ่มน้ำ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำหลัก และ 254 ลุ่มน้ำย่อย และสรุปชื่อลุ่มน้ำ
หลัก จำนวนลุ่มน้ำย่อยของแต่ละกลุ่มลุ่มน้ำหลักได้ดังนี้
กลุ่มลุ่มน้ำหลัก พื้นที่ลุ่มน้ำรวม ชื่อลุ่มน้ำหลัก จำนวนลุ่มน้ำย่อย
(ตร.กม.)
1.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง 188,645 โขง กก ชี มูล โตนเลสาป 95
2.กลุ่มลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสาละวิน 17,918 สาละวิน 17
3.กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน 157,925 ปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง 70
ป่าสัก เจ้าพระยา ท่าจีน
4.กลุ่มลุ่มน้ำแม่กลอง 30,836 แม่กลอง 11
5.กลุ่มลุ่มน้ำบางปะกง 18,458 ปราจีนบุรี บางปะกง 8
6.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 13,829 ชายฝั่งทะเลตะวันออก 6
ตะวันออก
7.กลุ่มลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 12,347 เพชรบุรี ชายฝั่งทะเลตะวันตก 8
ตะวันตก
8.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 50,930 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตาปี 26
(ด้านอ่าวไทย) ทะเลสาบสงขลา ปัตตานี
9.กลุ่มลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 20,473 ภาคใต้ฝั่งตะวันตก 13
(ด้านทะเลอันดามัน)
รวม 511,361 254
จะเห็นว่าการแบ่งกลุ่มลุ่มน้ำโดยพิจารณาจุดออกของแม่น้ำเป็นหลัก
จะทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นระบบทั้งลุ่มน้ำมีความถูกต้องและเป็นจริงมากกว่าการพิจารณากลุ่ม
ลุ่มน้ำตามเขตการปกครอง ดังนั้นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและรวมถึงทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจาก
จะมีการพิจารณาในระดับลุ่มน้ำหลัก 25 ลุ่มน้ำสำคัญของประเทศแล้ว ควรดำเนินการพิจารณาในระดับภาพรวม
ของกลุ่มลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบด้วย
3.7.2 ภาพรวมการจัดการทรัพยากรน้ำตามกลุ่มลุ่มน้ำ
จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆ อาทิ ข้อมูลสภาพทั่วไปของลุ่มน้ำ
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่ดำเนินการแล้วในปัจจุบัน และที่อยู่ในแผนพัฒนาของหน่วยงานต่างๆ ปริมาณความ
ต้องการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ สภาพปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการและใช้น้ำในระดับลุ่มน้ำ ปัญหาการ
บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในปัจจุบัน และจากการทบทวนรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องต่างๆ สามารถนำ
ผลการวิเคราะห์มาศึกษาภาพรวมการจัดการทรัพยากรน้ำจำแนกตามกลุ่มลุ่มน้ำ โดยสามารถดำเนินการใน
2 ประเด็นด้วยกัน ดังนี้
1) สภาพและปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำในแต่ละกลุ่มลุ่มน้ำทั้ง 9 กลุ่ม
2) แนวทางการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขในแต่ละกลุ่มลุ่มน้ำ
ทั้ง 9 กลุ่ม
4. บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติและ 25 แม่น้ำสำคัญของ
ประเทศใน 7 หัวข้อหลัก ได้แก่
1. นโยบายน้ำแห่งชาติ
2. คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
3. คณะกรรมการลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำสำคัญ
4. กระทรวงน้ำ
5. กฎหมายน้ำ
6. ฐานความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรน้ำ
7. การจัดกลุ่มลุ่มน้ำเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยที่ในแต่ละหัวข้อมีประเด็นสภาพและปัญหา รวมทั้งแนวทางการแก้ไขเบื้องต้น ดังนี้
หัวข้อ สภาพและปัญหา แนวทางแก้ไข
1. นโยบายน้ำแห่งชาติ - นโยบายน้ำแห่งชาติยังเป็นการมองภาพ - เสนอแนะแนวนโยบายที่เหมาะสมสอดคล้อง
กว้าง ไม่บ่งชัดในแนวปฏิบัติ กับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและ
- นโยบายในเรื่องน้ำเสีย ยังไม่ชัดเจน ทรัพยากรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- นโยบายและแผนหลักการจัดการ - ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นที่ขาด
ทรัพยากรน้ำของรัฐแต่ละสมัยมีความไม่ หายไป เช่น เรื่องน้ำเสีย เป็นต้น
ชัดเจนและไม่ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้อง- ให้ความชัดเจนในแต่ละข้อของนโยบาย
- หน่วยงานราชการหลักของรัฐต่างเน้น และคำนึงถึงแนวทางปฏิบัติด้วย
หนักในด้านการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ - กำหนดนโยบายการใช้ที่ดิน และการ
เป็นส่วนใหญ่ จึงขาดเครื่องมือทางด้าน พัฒนาในลุ่มน้ำให้เป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม
นโยบายการจัดสรรและการจัดการด้าน ในการสร้างความพร้อมในทุกปัจจัย
อุปทาน - กำหนดนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
- นโยบายด้านน้ำขาดความเชื่อมโยงกับ รวมทั้งการจัดสรรน้ำเพื่อประโยชน์สูงสุด
นโยบายด้านอื่นๆเช่น ป่าไม้ พื้นดิน และ อย่างมีหลักเกณฑ์ โดยความเห็นชอบร่วมกัน
ผังเมือง เป็นต้น โดยภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
2. คณะกรรมการ - ในทางปฏิบัติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำ - จะต้องมีกฎหมายรองรับอำนาจหน้าที่ของ
ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แห่งชาติ ดำเนินการได้ยากเพราะเป็น คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อให้
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ มีการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยให้มี
กฎหมายหรือมีพระราชบัญญัติรองรับ ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในคณะ-
- องค์ประกอบของคณะกรรมการทรัพยากร กรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติในอัตราส่วนที่
น้ำแห่งชาติ ไม่ค่อยชัดเจน ส่วนใหญ่เป็น สูงขึ้น
แทนของส่วนราชการ และยังใช้ดุลพินิจ - ควรมีการระบุองค์ประกอบของคณะ
ของนายกรัฐมนตรีในการแต่งตั้งคณะ กรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติให้ชัดเจน
กรรมการฯ ไม่ต้องใช้ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี และ
- ในข้อเท็จจริง คณะกรรมการทรัพยากรน้ำ ควรจะต้องเพิ่มจำนวนตัวแทนผู้ใช้น้ำใน
แห่งชาติ ควรจะต้องทำหน้าที่ในการ คณะกรรมการฯ ให้มากขึ้นเพื่อสะท้อน
กำหนดนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ แนวทางการจัดการทรัพยากรน้ำโดยการมี
แห่งชาติ เพราะเป็นองค์กรสูงสุดเกี่ยวกับ ส่วนร่วมในทุกระดับให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ทรัพยากรน้ำสถานภาพการทำงานใน - คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติควรเร่ง
ปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินงานตามอำนาจ ดำเนินการปรับปรุงนโยบายการบริหาร
หน้าที่อย่างสมบูรณ์ จัดการทรัพยากรน้ำของชาติให้มีความชัดเจน
- หน่วยงานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ และครอบคลุมทุกด้านพร้อมทั้งระบุแนวทาง
ยังขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติในฐานะ การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและสัมฤทธิผล
ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการระดับ - ควรพิจารณาแต่งตั้งฝ่ายเลขานุการของ
ชาติ และมีนโยบายเป็นกลาง คณะกรรมการฯ ที่มีประสบการณ์ มีวิสัยทัศน์
- อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทรัพยากร มีความเป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับของทั้ง
น้ำแห่งชาติที่มีตามระเบียบสำนักนายกฯว่า หน่วยงานและภาคเอกชน
ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ - ควรปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
แห่งชาติค่อนข้างเป็นไปในลักษณะการ ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ให้มีความสำคัญใน
ประสานงานและไม่ได้กำหนดวิธีปฏิบัติที่ การกำหนดนโยบายหลักของการบริหาร
ชัดเจนในแต่ละเรื่อง จึงทำให้ไม่มีการ จัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติมากยิ่งขึ้น และ
ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ กำหนดวิธีการปฏิบัติให้ชัดเจนในทุกเรื่อง
3.คณะกรรมการ - บทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการลุ่มน้ำ - ควรดำเนินการให้มีกฎหมายรองรับ และเพิ่ม
ลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำสำคัญ ยังไม่ค่อยชัดเจน และขาดการรองรับทาง บทบาทของคณะกรรมการลุ่มน้ำฯ และสำนัก-
ด้านกฎหมาย เลขาฯในคณะดำเนินงานและส่งเสริมในด้าน
งบประมาณ ค่าใช้จ่ายและขวัญกำลังใจในการ
- ขอบเขตพื้นที่การดำเนินงานของคณะ ปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง
กรรมการลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำสำคัญ - กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่ของคณะกรรม-
จะครอบคลุมเฉพาะแต่ละลุ่มน้ำเท่านั้น การลุ่มน้ำให้ชัดเจน รวมถึงขอบเขตพื้นที่ใน
ไม่คำนึงถึงกลุ่มลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องกันตาม ในการดำเนินงานด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
สภาพภูมิศาสตร์หรือการไหลลงทะเลหรือ พิจารณาเป็นภาพรวมในลักษณะกลุ่มลุ่มน้ำ
แม่น้ำนานาชาติ และพิจารณาทรัพยากรอื่นๆ ร่วมด้วย
- การพิจารณาคัดเลือกบุคลากร และผู้แทน - มีหลักเกณฑ์และกระบวนการคัดเลือก
ภาคประชาชนยังไม่มีมาตรฐาน และยัง บุคลากร และผู้แทนภาคประชาชน โดยคำนึง
คำนึงถึงผู้ที่มีความรู้เรื่องน้ำและสภาพพื้น ตัวแทนของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมและผู้ใช้
ที่ลุ่มน้ำค่อนข้างน้อย ประโยชน์ทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำ รวมถึงให้
ความรู้และทำความเข้าใจในเรื่องน้ำและการ
บริหารจัดการ และมีประสบการณ์ก่อนการ
คัดเลือกตัวบุคคล
4.กระทรวงน้ำ - การขาดองค์กรและโครงสร้างหลักในการ- ศึกษาแนวทางการจัดตั้งกระทรวงน้ำ และ
บริหารจัดการ ดำเนินการจัดตั้งกระทรวงน้ำ เพื่อเป็นเจ้าภาพ
- โครงสร้างองค์กรบริหารจัดการทรัพยากร ละองค์กรหลักในการบริหารจัดการเพื่อการ
น้ำยังกระจัดกระจาย บริหารจัดการอย่างบูรณาการและเป็นเอกภาพ
- การขาดเจ้าภาพในการบริหารจัดการที่แท้ - เนินการจัดทำ วางแผนด้านงบประมาณ
จริงและเป็นรูปธรรม - สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ สามารถ
- ขาดความเป็นเอกภาพและความชัดเจน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการ
ในการบริหารจัดการและการปฏิบัติ ทรัพยากรน้ำแห่งชาติด้วย
- การขาดงบประมาณและแผนงบประมาณ - ควรใช้ชื่อ “กระทรวงน้ำ” จะเหมาะสมกว่า
ในการดำเนินการ “กระทรวงทรัพยากรน้ำ” เพราะจะครอบคลุม
มากกว่า และเน้นในเรื่องบริหารจัดการน้ำ
5.กฎหมายน้ำ - การขาดกฎหมายแม่บทหรือพระราช- - ควรมีพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำขึ้นใน
บัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประเทศไทย
- ความหลากหลายและไม่ครอบคลุมของ - ควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเก่าที่มี
กฎหมายในปัจจุบัน และกฎหมายบาง อยู่ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ
ฉบับล้าสมัย พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ทั้งนี้เพื่อให้เกิด
- การขาดความเป็นเอกภาพและมีความ เอกภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ขัดแย้งของกฎหมายระหว่างหน่วยงาน ของประเทศ
- การขาดการประชาสัมพันธ์ การมีส่วน - ควรแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย
ร่วมของภาคประชาชน และบทลงโทษ
- กฎหมายเน้นเรื่องการใช้ ไม่ได้เน้นเรื่อง - ควรถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ไปสู่ส่วนท้องถิ่น
การจัดการ และการบังคับใช้ยังไม่มีบทลง ให้มากขึ้น
โทษที่มีประสิทธิผล - ควรมีการประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม
- มีความไม่ชัดเจนในเรื่องอำนาจ หน้าที่ รณรงค์ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขาดการ และกฎระเบียบในการบริหารจัดการ
กระจายอำนาจ ทรัพยากรน้ำ
- แม้จะมีหน่วยงานดูแลจำนวนมาก แต่ - การดำเนินของทางภาครัฐด้วยมาตรการทาง
ทรัพยากรน้ำก็ยังอยู่ในระบบที่ทุกคน กฎหมายโดยให้คำนึงถึงผลกระทบ และสิทธิ
สามารถเข้าถึงได้โดยเสรี โดยปราศจาก ประโยชน์ของภาคประชาชนในพื้นที่เพื่อ
กติกาในการจัดสรรน้ำ ความเป็นธรรมของท้องถิ่น
6.ฐานความรู้ - ข้อมูลที่มีอยู่กระจัดกระจายในหลาย - มีการรวบรวมและจัดกลุ่มของข้อมูล จัดทำ
เกี่ยวกับการ หน่วยงาน และหลายครั้งมีการขัดแย้งของ เป็นศูนย์ระบบข้อมูลและฐานความรู้ด้าน
พัฒนาทรัพยากรน้ำ ข้อมูล ทรัพยากรน้ำ เชื่อมโยงทั้งระบบให้สมบูรณ์
- ข้อมูลมีความหลากหลาย และไม่มีการจัด - จัดอบรม พัฒนา เพิ่มทักษะความรู้ ความ
กลุ่มของข้อมูล ทำให้ยากต่อการนำไปใช้ สามารถของบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ
- การขาดการเชื่อมต่อ เชื่อมโยง ของข้อมูล มากขึ้น และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน
ที่สมบูรณ์ ตระหนักถึงสิทธิ และหน้าที่ในการดูแล บำรุง
- การขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ รักษาแหล่งน้ำให้กับประชาชนทุกพื้นที่และ
- การขาดศูนย์ระบบข้อมูลทรัพยากรน้ำของ ทุกภาคส่วน
ประเทศ - จัดให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล
ในทุกระดับทั้งฝ่ายปฏิบัติและฝ่ายบริหาร
7.การจัดกลุ่มลุ่มน้ำ - การจัดกลุ่มลุ่มน้ำเป็น 25 ลุ่มน้ำ (เดิม) - ควรจัดกลุ่มลุ่มน้ำเป็น 9 ลุ่มน้ำ ตามการไหล
เพื่อการบริหาร ทำให้เห็นภาพไม่ถูกต้องหรือไม่สอดคล้อง ลง เพื่อให้มองภาพได้ถูกต้องชัดเจนทั้งระบบ
จัดการอย่างมี ในเชิงการจัดการเป็นระบบภาพรวมทั้ง และมีรายละเอียดแยกเป็นแต่ละลุ่มน้ำหลัก
ประสิทธิภาพ กลุ่มลุ่มน้ำ ทั้ง 25 ลุ่มน้ำสำคัญของประเทศเพื่อประโยชน์
ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในแหล่งน้ำ
ที่มีความเชื่อมต่อ
ที่มา: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
www.nesac.or.th, โทร.02-612-9222 ต่อ 118, 119 โทรสาร.02-612-6918-9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ