ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยผลการขอยื่นปรับสถานะของสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการขอยื่นปรับสถานะของ
สถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินว่า หลังจากวันที่ 30 ก.ค.47 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการยื่น
ขอยกระดับเป็น ธพ. มีการเสนอแผนการยกระดับและปรับเปลี่ยนสถานะสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบ
สถาบันการเงินทั้งสิ้น 27 แผน เป็นแผนการยกระดับเป็น ธพ.เต็มรูปแบบ 4 ธนาคาร แผนการยกระดับเป็น
ธพ.เพื่อรายย่อยจำนวน 7 แห่ง โดยในจำนวนนี้มี 1 แห่งที่ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ ทำให้ต้องเป็นสถาบันการ
เงินให้สินเชื่อที่ไม่รับเงินฝาก สำหรับธนาคารต่างประเทศ 16 ราย ยังเป็นสาขา ธพ.ต่างประเทศเต็มรูป
แบบต่อไป และมี 1 รายขอยกระดับขึ้นเป็น ธพ.ต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศไทย ส่วนบริษัทเงินทุนที่
เหลืออีก 4 รายจะควบรวมกิจการกับธนาคารแม่ ขณะที่มีบริษัทเครดิตฟองซิเอร์คงอยู่ในสถานะเดิม 1 แห่ง
อนึ่ง ในขณะนี้ คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (
กพพ.) อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งคาดว่ากระบวนการอนุมัติยกระดับจะเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในวันที่ 31
ม.ค.48 โดยจะมี ธพ.เต็มรูปแบบและรายย่อยของไทยเพิ่มทั้งสิ้น 10 ราย และเป็นธนาคารต่างประเทศที่จด
ทะเบียนในประเทศไทยอีก 1 แห่ง ส่วน บง. และ บค.จะเหลือเพียง 1 แห่ง และอาจจะมี บง. หรือ บค.
ที่ยกระดับไม่ผ่านบ้าง ส่วนบีไอบีเอฟนั้นจะไม่เหลืออยู่เลย (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.เข้าตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของ ธ.กสิกรไทยประจำปี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้าทำการตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อ
ของ ธ.กสิกรไทย ซึ่งถือเป็นการตรวจสอบประจำปี และจะมีการหมุนเวียนตรวจสอบ ธพ.ทุกแห่ง โดยขั้นตอน
การตรวจสอบ ธ.กสิกรไทยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนจึงจะแล้วเสร็จ และหลังจากการตรวจสอบ
เชื่อว่า ธปท.จะสั่งให้ธนาคารกันสำรองหนี้จัดชั้นเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แต่คงไม่มีปัญหากับ ธ.กสิกรไทยแต่อย่าง
ใด เพราะธนาคารมีเงินทุนสำหรับส่วนนี้เพียงพออยู่แล้ว ซึ่งเกณฑ์การกันสำรองที่ ธปท.นำมาใช้ในครั้งนี้มี
ความเข้มงวดมากและใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล โดยในจุดนี้ถือว่าจะส่งผลดีต่อ ธพ.ทั้งระบบ เพราะใน
ระยะยาวจะทำให้ ธพ.มีความแข็งแกร่งมากขึ้น สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนั้นตามทิศทางแล้วดอกเบี้ยจะ
เป็นขาขึ้น แต่ในช่วงนี้เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ
เหลือเป็นจำนวนมาก (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ธปท.เปิดให้ประชาชนแลกซื้อธนบัตรที่ระลึกตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค.47 กรรมการผู้จัดการโรง
พิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้เปิดให้ประชาชนแลกซื้อธนบัตรที่ระลึก
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ
ชนมพรรษา 6 รอบ ได้ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค.47 เป็นต้นไป โดยสามารถแลกซื้อที่ธนาคารพาณิชย์ของไทยทุกแห่ง
ธ.ออมสิน ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ธ.อาคารสงเคราะห์ ส่วนกรณีที่ก่อนหน้านี้มีกระแส
ข่าวว่า มีธนบัตรที่ระลึกวางขายก่อนวันเปิดรับแลกและมีการขายเกินราคานั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามาจาก
แหล่งใด (โลกวันนี้, แนวหน้า)
4. รมว.คลังเปิดเผยกรณีกระแสข่าวการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. รมว.คลังเปิดเผย
เกี่ยวกับกรณีที่มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ระบุว่า รัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. เนื่องจากมีความ
ขัดแย้งกับ รมว.คลังในกรณีการแก้ปัญหา ธ.กรุงไทย โดยยืนยันว่าไม่มีความขัดแย้งกับผู้ว่าการ ธปท. ตาม
ข่าวแต่อย่างใด และขณะนี้ยังทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี (กรุงเทพธุรกิจ)
5. ธปท.จัดสัมมนาวิชาการประจำปีระหว่างวันที่ 6-7 ก.ย.47 นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้
ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะจัดสัมมนาวิชาการประจำปี 2547 เรื่อง
บทบาทของนโยบายสาธารณะในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ ในระหว่างวันที่ 6-7 ก.ย.47 ที่ โรงแรมแช
งกรี-ลา กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่งานวิจัย และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการรักษาสมดุลทาง
เศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ภาคบริการของ สรอ. เดือน ก.ค.47 ขยายตัวเพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์ค สรอ. เมื่อ
วันที่ 4 ส.ค.47 ดัชนีภาคบริการของ สรอ. ในเดือน ก.ค.47 ที่จัดทำโดย Institute for Supply
Management เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 64.8 จากระดับ 59.9 ในเดือน มิ.ย.47 สูงกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์
ไว้ที่ระดับ 61.0 โดยดัชนีการจ้างงานในเดือน ก.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 50.0 จาก 57.4 ในขณะที่สัด
ส่วนของคำสั่งซื้อสินค้ารายใหม่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 66.4 จาก 62.4 ทั้งนี้ ภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80
ของระบบเศรษฐกิจทั้งหมด นับรวมถึงธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม ธนาคาร และสายการบินด้วย (รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกในเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และ 1.2 เมื่อ
เทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 4 ส.ค.47 ยอดขายปลีกในเขตเศรษฐกิจยุโรป
ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบต่อเดือน หลังจากที่ลดลงร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อน และ
หากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 1.9 ซึ่งตัวเลขทั้งคู่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์ได้
ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และ 1.0 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้ ตัว
เลขยอดขายปลีกที่ลดลงอย่างมากในเดือน พ.ค.47 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณยอดขายปลีก
ของประเทศเยอรมนี สำหรับยอดขายปลีกของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศในเดือน มิ.ย.47
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และ 2.7 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้วัดกิจกรรมทางธุรกิจบริการของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ค.47 อยู่ในระดับเดิมไม่
เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากลอนดอน เมื่อ 4 ส.ค.47 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์จาก 2,000
บริษัทพบว่า ดัชนีชี้วัดกิจกรรมทางธุรกิจบริการของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ค.47 ขยายตัวอยู่ที่ระดับ
55.3 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน แต่ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้เล็กน้อยว่าจะอยู่ที่ระดับ 55.5
แต่ดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างการขยายตัวและหดตัวทางเศรษฐกิจ แม้
ดัชนีดังกล่าวมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างชะลอตัวลงตั้งแต่ต้นปี 47 ก็ตาม สำหรับดัชนีความคาดหวังของธุรกิจ ซึ่งเป็น
ตัวชี้วัดเกี่ยวกับความคาดหวังในด้านกิจกรรมของธุรกิจเพิ่มขึ้นในรอบ 12 เดือนนั้น ในเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้น
อยู่ที่ระดับ 65.2 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าเดือน ม.ค.47 ถึง 6 จุด ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดภาคบริการของเขตเศรษฐกิจ
ยุโรปมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจของประเทศและจะขับเคลื่อนโดยภาคธุรกิจในประเทศมากกว่า
ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งขับเคลื่อนโดยคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออก โดยดัชนีภาคอุตสาหกรรมโดยรวมในเดือน ก.ค.47
เพิ่มขึ้นที่ระดับ 54.7 ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวกันกับเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา อันเป็นตัวเลขที่อยู่ในระดับสูงสุด ส่วน
เดือน มิ.ย.47 อยู่ที่ระดับ 54.4 (รอยเตอร์)
4. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นครั้งที่ 5 นับตั้ง
แต่เดือนพ.ย. 46 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 47 เพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจจากการที่
ราคาบ้านพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตขยาย
ตัวอย่างเร็วที่สุดในรอบทศวรรษ จึงคาดว่าธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.75
ในการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ หัวหน้าเศรษฐกรจาก KPMG เห็นว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุดที่ทางการ
จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มากกว่าจะปรับเพิ่มร้อยละ 0.50 โดยมีเป้าหมายอัตรา
ดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 5.0 — 5.5 ในปลายปีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของเศรษฐกรจากธ.กลางอังกฤษที่
เห็นว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากเกินไปไม่ใช่เหตุผลที่ดีและเชื่อว่าการปรับเพิ่มครั้งละร้อยละ 0.25
เช่นที่เคยปรับเพิ่มเมื่อเดือน พ.ค. และ มิ.ย. จะดีกว่าการปรับเพิ่มครั้งละร้อยละ 0.50 แต่กรรมการ
นโยบายการเงินบางคนเห็นว่าการปรับเพิ่มครั้งเดียวอาจจะหมายความว่าไม่จำเป็นต้องปรับเพิ่มมากเช่นนี้อีก
ในอนาคต อย่างไรก็ตามคณะกรรมการนโยบายการเงินวิตกว่าจะเกิดความเสี่ยงสำหรับตลาดบ้านจากการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ( รอยเตอร์)
5.ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.47 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ
4 ปี รายงานจากโซล เมื่อ 5 ส.ค.47 สนง.สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคซึ่งใช้วัดความรู้สึกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการวางแผนใช้จ่ายในอีก 6 เดือนข้างหน้าของชาว
เกาหลีใต้จากผลสำรวจความเห็นของ 2,000 ครัวเรือนในเขตเมืองในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน ก.ค.47
ลดลงอยู่ที่ระดับ 89.6 ในเดือน ก.ค.47 จากระดับ 92.2 ในเดือนก่อน และถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน
ธ.ค.43 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.2 โดยตัวเลขที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าจำนวนผู้ที่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจและ
มาตรฐานการครองชีพในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเลวลงมีมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะดีขึ้น ดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ
กว่า 100 ตั้งแต่เดือน ก.ย.45 โดยมีสาเหตุจากอัตราการว่างงานซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และดัชนี
ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงกว่า
40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในขณะนี้ โดยเกาหลีใต้เป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศมากเป็น
อันดับที่ 4 ของโลกและใช้น้ำมันมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก นอกจากนี้การส่งออกซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการ
ผลักดันเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในขณะนี้ก็คาดว่าจะชะลอตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจของจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่มีสัด
ส่วนถึง 1 ใน 5 ของยอดส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้ชะลอความร้อนแรงลง (รอยเตอร์)
6. งปม. ปี 48 ของมาเลเซียจะมุ่งแก้ปัญหาการขาดดุล รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 4 ส.ค.47 Abdullah Ahmad Badawi นรม.มาเลเซีย กล่าวว่าการจัดทำ
งปม. ปี 48 ของมาเลเซียจะมุ่งแก้ปัญหาการขาดดุล งปม. ประจำปีของประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะแสดง
ให้เห็นที่มาของแหล่งรายได้ ความมั่งคั่ง และรายได้เสริมแหล่งใหม่ด้วย โดยมีกำหนดจะเปิดเผยรายละเอียด
งปม. ปี 48 ในวันที่ 10 ก.ย.นี้ ทั้งนี้ มาเลเซียคาดการณ์ว่าในปี 47 จะขาดดุล งปม. ร้อยละ 4 ของจีดีพี
น้อยกว่าที่ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 4.5 เทียบกับที่ขาดดุล งปม. ร้อยละ 5.3 ในปี 46 และได้
วางแผนงานที่จะลดการขาดดุล งปม. ในปี 48 ลงเหลือประมาณร้อยละ 3.5 — 4.0 อนึ่ง มาเลเซียซึ่ง
เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการผลิตเพื่อการส่งออกได้เริ่มจัดทำ งปม. แบบขาดดุลมาตั้งแต่ปี 41 ซึ่งปีสิ้นสุดของการ
เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในอาเซียน เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจทดแทนเงินลงทุนโดยตรงจาก
ต่างประเทศที่เสื่อมถอย และตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่ชะลอตัวลงด้วย โดยมีการคาดการณ์อย่างเป็น
ทางการว่าเศรษฐกิจของมาเลเซียในปี 47 จะเติบโตประมาณร้อยละ 6.0 — 6.5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ส.ค. 47 4 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.425 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2094/41.4963 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 619.19/9.09 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,650/7,750 7,650/7,750 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.83 37.39 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.39*/14.59 19.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 29 ก.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เปิดเผยผลการขอยื่นปรับสถานะของสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการขอยื่นปรับสถานะของ
สถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินว่า หลังจากวันที่ 30 ก.ค.47 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการยื่น
ขอยกระดับเป็น ธพ. มีการเสนอแผนการยกระดับและปรับเปลี่ยนสถานะสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบ
สถาบันการเงินทั้งสิ้น 27 แผน เป็นแผนการยกระดับเป็น ธพ.เต็มรูปแบบ 4 ธนาคาร แผนการยกระดับเป็น
ธพ.เพื่อรายย่อยจำนวน 7 แห่ง โดยในจำนวนนี้มี 1 แห่งที่ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ ทำให้ต้องเป็นสถาบันการ
เงินให้สินเชื่อที่ไม่รับเงินฝาก สำหรับธนาคารต่างประเทศ 16 ราย ยังเป็นสาขา ธพ.ต่างประเทศเต็มรูป
แบบต่อไป และมี 1 รายขอยกระดับขึ้นเป็น ธพ.ต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศไทย ส่วนบริษัทเงินทุนที่
เหลืออีก 4 รายจะควบรวมกิจการกับธนาคารแม่ ขณะที่มีบริษัทเครดิตฟองซิเอร์คงอยู่ในสถานะเดิม 1 แห่ง
อนึ่ง ในขณะนี้ คณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (
กพพ.) อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งคาดว่ากระบวนการอนุมัติยกระดับจะเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในวันที่ 31
ม.ค.48 โดยจะมี ธพ.เต็มรูปแบบและรายย่อยของไทยเพิ่มทั้งสิ้น 10 ราย และเป็นธนาคารต่างประเทศที่จด
ทะเบียนในประเทศไทยอีก 1 แห่ง ส่วน บง. และ บค.จะเหลือเพียง 1 แห่ง และอาจจะมี บง. หรือ บค.
ที่ยกระดับไม่ผ่านบ้าง ส่วนบีไอบีเอฟนั้นจะไม่เหลืออยู่เลย (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.เข้าตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อของ ธ.กสิกรไทยประจำปี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้าทำการตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อ
ของ ธ.กสิกรไทย ซึ่งถือเป็นการตรวจสอบประจำปี และจะมีการหมุนเวียนตรวจสอบ ธพ.ทุกแห่ง โดยขั้นตอน
การตรวจสอบ ธ.กสิกรไทยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนจึงจะแล้วเสร็จ และหลังจากการตรวจสอบ
เชื่อว่า ธปท.จะสั่งให้ธนาคารกันสำรองหนี้จัดชั้นเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แต่คงไม่มีปัญหากับ ธ.กสิกรไทยแต่อย่าง
ใด เพราะธนาคารมีเงินทุนสำหรับส่วนนี้เพียงพออยู่แล้ว ซึ่งเกณฑ์การกันสำรองที่ ธปท.นำมาใช้ในครั้งนี้มี
ความเข้มงวดมากและใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล โดยในจุดนี้ถือว่าจะส่งผลดีต่อ ธพ.ทั้งระบบ เพราะใน
ระยะยาวจะทำให้ ธพ.มีความแข็งแกร่งมากขึ้น สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนั้นตามทิศทางแล้วดอกเบี้ยจะ
เป็นขาขึ้น แต่ในช่วงนี้เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบ
เหลือเป็นจำนวนมาก (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ธปท.เปิดให้ประชาชนแลกซื้อธนบัตรที่ระลึกตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค.47 กรรมการผู้จัดการโรง
พิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้เปิดให้ประชาชนแลกซื้อธนบัตรที่ระลึก
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ
ชนมพรรษา 6 รอบ ได้ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค.47 เป็นต้นไป โดยสามารถแลกซื้อที่ธนาคารพาณิชย์ของไทยทุกแห่ง
ธ.ออมสิน ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ธ.อาคารสงเคราะห์ ส่วนกรณีที่ก่อนหน้านี้มีกระแส
ข่าวว่า มีธนบัตรที่ระลึกวางขายก่อนวันเปิดรับแลกและมีการขายเกินราคานั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามาจาก
แหล่งใด (โลกวันนี้, แนวหน้า)
4. รมว.คลังเปิดเผยกรณีกระแสข่าวการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. รมว.คลังเปิดเผย
เกี่ยวกับกรณีที่มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ระบุว่า รัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. เนื่องจากมีความ
ขัดแย้งกับ รมว.คลังในกรณีการแก้ปัญหา ธ.กรุงไทย โดยยืนยันว่าไม่มีความขัดแย้งกับผู้ว่าการ ธปท. ตาม
ข่าวแต่อย่างใด และขณะนี้ยังทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี (กรุงเทพธุรกิจ)
5. ธปท.จัดสัมมนาวิชาการประจำปีระหว่างวันที่ 6-7 ก.ย.47 นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้
ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.จะจัดสัมมนาวิชาการประจำปี 2547 เรื่อง
บทบาทของนโยบายสาธารณะในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ ในระหว่างวันที่ 6-7 ก.ย.47 ที่ โรงแรมแช
งกรี-ลา กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่งานวิจัย และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการรักษาสมดุลทาง
เศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ภาคบริการของ สรอ. เดือน ก.ค.47 ขยายตัวเพิ่มขึ้น รายงานจากนิวยอร์ค สรอ. เมื่อ
วันที่ 4 ส.ค.47 ดัชนีภาคบริการของ สรอ. ในเดือน ก.ค.47 ที่จัดทำโดย Institute for Supply
Management เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 64.8 จากระดับ 59.9 ในเดือน มิ.ย.47 สูงกว่าที่วอลล์สตรีทคาดการณ์
ไว้ที่ระดับ 61.0 โดยดัชนีการจ้างงานในเดือน ก.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 50.0 จาก 57.4 ในขณะที่สัด
ส่วนของคำสั่งซื้อสินค้ารายใหม่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 66.4 จาก 62.4 ทั้งนี้ ภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80
ของระบบเศรษฐกิจทั้งหมด นับรวมถึงธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม ธนาคาร และสายการบินด้วย (รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกในเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 และ 1.2 เมื่อ
เทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 4 ส.ค.47 ยอดขายปลีกในเขตเศรษฐกิจยุโรป
ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบต่อเดือน หลังจากที่ลดลงร้อยละ 2.2 ในเดือนก่อน และ
หากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 1.9 ซึ่งตัวเลขทั้งคู่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์ได้
ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และ 1.0 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ ทั้งนี้ ตัว
เลขยอดขายปลีกที่ลดลงอย่างมากในเดือน พ.ค.47 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณยอดขายปลีก
ของประเทศเยอรมนี สำหรับยอดขายปลีกของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศในเดือน มิ.ย.47
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และ 2.7 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้วัดกิจกรรมทางธุรกิจบริการของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ค.47 อยู่ในระดับเดิมไม่
เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากลอนดอน เมื่อ 4 ส.ค.47 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์จาก 2,000
บริษัทพบว่า ดัชนีชี้วัดกิจกรรมทางธุรกิจบริการของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ค.47 ขยายตัวอยู่ที่ระดับ
55.3 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน แต่ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้เล็กน้อยว่าจะอยู่ที่ระดับ 55.5
แต่ดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างการขยายตัวและหดตัวทางเศรษฐกิจ แม้
ดัชนีดังกล่าวมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างชะลอตัวลงตั้งแต่ต้นปี 47 ก็ตาม สำหรับดัชนีความคาดหวังของธุรกิจ ซึ่งเป็น
ตัวชี้วัดเกี่ยวกับความคาดหวังในด้านกิจกรรมของธุรกิจเพิ่มขึ้นในรอบ 12 เดือนนั้น ในเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้น
อยู่ที่ระดับ 65.2 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าเดือน ม.ค.47 ถึง 6 จุด ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดภาคบริการของเขตเศรษฐกิจ
ยุโรปมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจของประเทศและจะขับเคลื่อนโดยภาคธุรกิจในประเทศมากกว่า
ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งขับเคลื่อนโดยคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออก โดยดัชนีภาคอุตสาหกรรมโดยรวมในเดือน ก.ค.47
เพิ่มขึ้นที่ระดับ 54.7 ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวกันกับเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา อันเป็นตัวเลขที่อยู่ในระดับสูงสุด ส่วน
เดือน มิ.ย.47 อยู่ที่ระดับ 54.4 (รอยเตอร์)
4. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นครั้งที่ 5 นับตั้ง
แต่เดือนพ.ย. 46 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 47 เพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจจากการที่
ราคาบ้านพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตขยาย
ตัวอย่างเร็วที่สุดในรอบทศวรรษ จึงคาดว่าธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.75
ในการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ หัวหน้าเศรษฐกรจาก KPMG เห็นว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุดที่ทางการ
จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มากกว่าจะปรับเพิ่มร้อยละ 0.50 โดยมีเป้าหมายอัตรา
ดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 5.0 — 5.5 ในปลายปีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของเศรษฐกรจากธ.กลางอังกฤษที่
เห็นว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากเกินไปไม่ใช่เหตุผลที่ดีและเชื่อว่าการปรับเพิ่มครั้งละร้อยละ 0.25
เช่นที่เคยปรับเพิ่มเมื่อเดือน พ.ค. และ มิ.ย. จะดีกว่าการปรับเพิ่มครั้งละร้อยละ 0.50 แต่กรรมการ
นโยบายการเงินบางคนเห็นว่าการปรับเพิ่มครั้งเดียวอาจจะหมายความว่าไม่จำเป็นต้องปรับเพิ่มมากเช่นนี้อีก
ในอนาคต อย่างไรก็ตามคณะกรรมการนโยบายการเงินวิตกว่าจะเกิดความเสี่ยงสำหรับตลาดบ้านจากการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ( รอยเตอร์)
5.ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.47 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ
4 ปี รายงานจากโซล เมื่อ 5 ส.ค.47 สนง.สถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคซึ่งใช้วัดความรู้สึกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการวางแผนใช้จ่ายในอีก 6 เดือนข้างหน้าของชาว
เกาหลีใต้จากผลสำรวจความเห็นของ 2,000 ครัวเรือนในเขตเมืองในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน ก.ค.47
ลดลงอยู่ที่ระดับ 89.6 ในเดือน ก.ค.47 จากระดับ 92.2 ในเดือนก่อน และถือเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน
ธ.ค.43 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.2 โดยตัวเลขที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าจำนวนผู้ที่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจและ
มาตรฐานการครองชีพในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเลวลงมีมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะดีขึ้น ดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ
กว่า 100 ตั้งแต่เดือน ก.ย.45 โดยมีสาเหตุจากอัตราการว่างงานซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี และดัชนี
ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงกว่า
40 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลในขณะนี้ โดยเกาหลีใต้เป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศมากเป็น
อันดับที่ 4 ของโลกและใช้น้ำมันมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก นอกจากนี้การส่งออกซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญในการ
ผลักดันเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในขณะนี้ก็คาดว่าจะชะลอตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจของจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่มีสัด
ส่วนถึง 1 ใน 5 ของยอดส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้ชะลอความร้อนแรงลง (รอยเตอร์)
6. งปม. ปี 48 ของมาเลเซียจะมุ่งแก้ปัญหาการขาดดุล รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 4 ส.ค.47 Abdullah Ahmad Badawi นรม.มาเลเซีย กล่าวว่าการจัดทำ
งปม. ปี 48 ของมาเลเซียจะมุ่งแก้ปัญหาการขาดดุล งปม. ประจำปีของประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะแสดง
ให้เห็นที่มาของแหล่งรายได้ ความมั่งคั่ง และรายได้เสริมแหล่งใหม่ด้วย โดยมีกำหนดจะเปิดเผยรายละเอียด
งปม. ปี 48 ในวันที่ 10 ก.ย.นี้ ทั้งนี้ มาเลเซียคาดการณ์ว่าในปี 47 จะขาดดุล งปม. ร้อยละ 4 ของจีดีพี
น้อยกว่าที่ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับร้อยละ 4.5 เทียบกับที่ขาดดุล งปม. ร้อยละ 5.3 ในปี 46 และได้
วางแผนงานที่จะลดการขาดดุล งปม. ในปี 48 ลงเหลือประมาณร้อยละ 3.5 — 4.0 อนึ่ง มาเลเซียซึ่ง
เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการผลิตเพื่อการส่งออกได้เริ่มจัดทำ งปม. แบบขาดดุลมาตั้งแต่ปี 41 ซึ่งปีสิ้นสุดของการ
เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในอาเซียน เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจทดแทนเงินลงทุนโดยตรงจาก
ต่างประเทศที่เสื่อมถอย และตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่ชะลอตัวลงด้วย โดยมีการคาดการณ์อย่างเป็น
ทางการว่าเศรษฐกิจของมาเลเซียในปี 47 จะเติบโตประมาณร้อยละ 6.0 — 6.5 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ส.ค. 47 4 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.425 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2094/41.4963 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 619.19/9.09 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,650/7,750 7,650/7,750 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.83 37.39 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.39*/14.59 19.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 29 ก.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-