(ต่อ1)บทความ: มาตรการ 3 : มาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 5, 2004 14:29 —กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

        11.  ถาม ร้อยละ 5 ของจำนวนข้าราชการทั้งหมดในส่วนราชการที่สังกัด  คิดจากฐาน จำนวนข้าราชการ ณ วันใด
ตอบ จำนวนข้าราชการในส่วนราชการ ณ วันที่ 1 กันยายน 2547
12. ถาม จำนวนข้าราชการผู้ได้รับการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระดับที่จะ ต้องรับการพัฒนาจะมีจำนวนมากหรือน้อยกว่าน้อยร้อยละ 5 ได้หรือไม่
ตอบ มากกว่าหรือน้อยกว่าร้อยละ 5 ได้ โดยต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงจากการประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนราชการ
13. ถาม คณะกรรมการใดที่จะทำหน้าที่ในการกำหนดหลักเกณฑ์/แนวทางการประเมิน
ตอบ อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการพิจารณาบำเหน็จประจำปีของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพแล้วแต่กรณี
14. ถาม การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน และการจัดลำดับผู้ที่มีผลการประเมินที่จะต้องพัฒนาร้อยละ 5 จะต้องแบ่งกลุ่มตามระดับตำแหน่ง หรือตามสายงานหรือไม่
ตอบ การประเมิน : กรณีข้าราชการระดับ 1-8 ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นและผู้บังคับบัญชาในลำดับถัดขึ้นไป หรือผู้บังคับบัญชาในระดับสำนัก/กอง หรือผู้บังคับบัญชาที่ได้รับมอบหมายให้ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการกรณีข้าราชการระดับ 9 ขึ้นไปให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. ที่ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณากำหนด ทั้งนี้ การแบ่งกลุ่มการประเมินตามระดับตำแหน่งหรือสายงานอยู่ในอำนาจของ อ.ก.พ. กรมฯ ที่จะพิจารณา
การจัดลำดับ :ให้นำผลการประเมินของข้าราชการระดับ 9 เสนอ อ.ก.พ. กรม (หรือ อ.ก.พ. ส่วนราชการที่ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการพิจารณาบำเหน็จประจำปีของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและหล่าทัพแล้วแต่กรณี) พิจารณาจัดลำดับพร้อมกับข้าราชการทั้งหมดในส่วนราชการ
15. ถาม กรณีข้าราชการของส่วนราชการที่มีหน่วยงานในส่วนภูมิภาค ใครจะเป็นผู้ประเมิน
ตอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาประเมินฯ ตามแนวทางการมอบอำนาจด้านการบริหาร-งานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และจัดส่งแบบประเมินพร้อมทั้งรายชื่อข้าราชการผู้ได้รับการจัดลำดับตามคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานในลำดับต่ำสุดไม่น้อย กว่าร้อยละ 6 แต่ไม่เกินร้อยละ 10 (ตามที่จังหวัดกำหนด) ของข้าราชการในจังหวัดให้ส่วนราชการต้นสังกัดพิจารณาจัดลำดับพร้อมกับข้าราชการทั้งหมดในส่วนราชการ
16. ถาม กรณีจังหวัดหนึ่งซึ่งมีหน่วยงานของส่วนราชการต่างๆ อยู่หลายหน่วยงาน การจัดลำดับฯ จะต้องแยกพิจารณาตามส่วนราชการในจังหวัดนั้น หรือพิจารณารวมกันทุกส่วนราชการ
ตอบ พิจารณาจัดลำดับข้าราชการที่สังกัดส่วนราชการต่างๆ รวมกันทุกส่วนราชการที่อยู่ในจังหวัดนั้น และจัดลำดับผู้ที่มีผลประเมินอยู่ในลำดับที่จะต้องรับการพัฒนา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 แต่ไม่เกินร้อยละ 10
17. ถาม มาตรการนี้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกส่วนราชการหรือไม่
ตอบ สำนักงาน ก.พ. ได้แจ้งแนวทางดำเนินการ หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินประสิทธิ-ภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ (ตามหนังสือเวียนสำนักงาน ก.พ ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/ว 7 ลงวันที่ 12 เมษายน 2547). เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละส่วนราชการ
18. ถาม การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานเพื่อจัดลำดับข้าราชการที่มีผลการประเมินในลำดับ 5% สุดท้าย ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ครั้งที่ 1
รอบการประเมิน : 1 เมษายน 30 กันยายน 2547
ผู้ถูกประเมิน : ข้าราชการทุกคนในแต่ละส่วนราชการ
ผลการประเมิน : ข้าราชการที่ผลการประเมินอยู่ในลำดับ 5% สุดท้าย ของจำนวนข้าราชการทั้งหมดในส่วนราชการสามารถเลือกลาออกจากราชการโดยได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการ หรือเลือกรับราชการต่อไปโดยจะต้องจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาที่ชัดเจน
ครั้งที่ 2
รอบการประเมิน : 1 ตุลาคม 2547 31 มีนาคม 2548
ผู้ถูกประเมิน : ข้าราชการที่ผลการประเมินอยู่ในลำดับ 5% สุดท้าย ของจำนวนข้าราชการทั้งหมดในส่วนราชการ (ในครั้งที่ 1) ที่เลือกรับราชการโดยจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานกับผู้บังคับบัญชา
ผลการประเมิน : กรณีผ่านการประเมินตามคำรับรอง ให้ข้าราชการดังกล่าวสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้กรณีไม่ผ่านการประเมินตามคำรับรอง ให้ส่วนราชการสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการ
19. ถาม ทุกส่วนราชการจำเป็นต้องมีผู้ลาออกจากราชการตามมาตรการนี้ (หลังการประเมินครั้งที่ 1) หรือไม่
ตอบ ไม่จำเป็นผู้ที่ถูกจัดลำดับผลการประเมินในลำดับ 5% สุดท้ายที่ประสงค์จะลาออกตามมาตรการต้องยื่นใบสมัครแสดงความประสงค์ขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเช่น เดียวกับการลาออกตามมาตรการที่ 1 และ 2
20. ถาม ผู้ที่จะครบวาระเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2547 มีสิทธิสมัครเข้าร่วมมาตรการนี้ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ เนื่องจากมีเวลาราชการเหลือเพียง 6 เดือน (นับตั้งแต่ 1 เมษายน 2547)
21. ถาม ผู้ที่มีเวลาราชการที่เหลือน้อยกว่า 1 ปี ซึ่งไม่มีสิทธิสมัครเข้าร่วมมาตรการที่ 3 นั้น เป็นข้าราชการกลุ่มใด
ตอบ ข้าราชการที่จะเกษียณอายุราชการปกติในวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 ตุลาคม 2487
22. ถาม การประเมินตามมาตรการที่ 3 จะประเมินเฉพาะกลุ่มข้าราชการที่มีอายุตัวหรืออายุราชการมากเท่านั้นหรือไม่
ตอบ ข้าราชการทุกคนจะต้องได้รับการประเมิน โดยไม่มีการจำกัดอายุตัวหรืออายุราชการ
23. ถาม ผู้สมัครเข้าร่วมมาตรการที่ 3 จะต้องมีอายุตัวหรืออายุราชการเท่าใดจึงจะขอลาออกจากราชการตามมาตรการได้
ตอบ มาตรการนี้ไม่กำหนดอายุตัว/เวลาราชการ แต่จะต้องมีเวลาราชการเหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547
24. ถาม ข้าราชการที่ผลการประเมินอยู่ในลำดับ 5% สุดท้าย หากมีความประสงค์จะออกจากราชการตามมาตรการ (หลังจากการประเมิน ครั้งที่ 1) จะต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ ยื่นใบสมัครเข้าร่วมมาตรการต่อผู้บังคับบัญชา ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2547 (ทั้งนี้ จะต้องมีคุณสมบัติในการเข้าร่วมมาตรการครบถ้วน)
25. ถาม กรณีไม่ได้เป็นผู้ที่มีผลการประเมินอยู่ในลำดับ 5% สุดท้าย จะสมัครเข้าร่วมมาตรการที่ 3 เพื่อขอรับเงินก้อน 8 เท่าของเงินเดือนได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
26. ถาม การลาออกจากราชการตามมาตรการที่ 3 (หลังจากการประเมิน ครั้งที่ 1) จะมีผลให้ข้าราชการออกจากราชการเมื่อใด
ตอบ มีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547
27. ถาม หากยื่นใบสมัครเข้าร่วมมาตรการแล้ว จะขอถอนการลาออกดังกล่าวในภายหลังได้หรือไม่
ตอบ อาศัยความตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 113 ข้าราชการมีสิทธิยื่นหนังสือขอระงับการลาออกได้ก่อนที่คำสั่งอนุญาตให้ออกจากราชการจะมีผล (ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547)
28. ถาม ข้าราชการที่ผลการประเมินอยู่ในลำดับต่ำสุดร้อยละ 5 และไม่ยื่นใบสมัครเข้าร่วมมาตรการจะมีผลอย่างไร
ตอบ กรณีไม่ยื่นใบสมัครเข้าร่วมมาตรการ แสดงว่าผู้นั้นมีความประสงค์จะปฏิบัติราชการต่อไป ดังนั้น ส่วนราชการจะจัดให้ข้าราชการดังกล่าวเข้าปฏิบัติงานและจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนากับหน่วยงานที่จะไปปฏิบัติงานซึ่งอาจเป็นหน่วยงานเดิมหรือหน่วยงานใหม่ ทั้งนี้ ส่วนราชการต้องจัดทำแผนพัฒนาข้าราชการดังกล่าวภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2547
29. ถาม มาตรการที่ 3 จะดำเนินการต่อเนื่องทุกปีหรือไม่
ตอบ การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี อย่างไรก็ตามหลังจากสิ้นสุดการดำเนินการในปีแรกแล้ว สำนักงาน ก.พ. จะสรุปผลการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีว่า จะยังสมควรให้มีการจัดลำดับผู้ที่มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในลำดับ 5% สุดท้าย ต่อไป หรือจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในปีต่อไป
30. ถาม การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญนั้น รวมเวลาราชการทวีคูณด้วยหรือไม่ และหากมีเศษ 6 เดือน จะปัดเป็น 1 ปี หรือไม่
ตอบ การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญจะรวมเวลาราชการทวีคูณด้วย สำหรับเศษของปีถ้าถึงครึ่งให้นับเป็น 1 ปี แต่การนับเวลาเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญ นั้น กรณีเป็นสมาชิก กบข. ให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย โดยการนับเศษของปีซึ่งเป็นเดือนหรือวันให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือน กรณีไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. ให้นับจำนวนปีเศษของปีถ้าถึงครึ่งให้นับเป็น 1 ปี
ตัวอย่าง: นาย ก ลาออกจากราชการขณะมีอายุ 40 ปี และมีเวลาราชการโดยรวมเวลาราชการเป็นทวีคูณด้วยแล้วเท่ากับ 9 ปี 6 เดือน ดังนั้น นาย ก จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จเนื่องจากมีเวลาราชการ 10 ปี (เศษตั้งแต่ 6 เดือน ปัดเป็น 1 ปี) สำหรับการคำนวณเงินบำเหน็จดังกล่าว เป็นดังนี้
- กรณีเป็นสมาชิก กบข.
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X 9.5
(เศษ 6 เดือน คิดเป็น 6/12 = 0.5 ปี)
- กรณีไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.
บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X 10
(ยังมีต่อ).../31.ถามเงินก้อน..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ