กรุงเทพ--6 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึง 3 สิงหาคม 2547 ประเทศไทยได้มีโอกาสต้อนรับบุคคลสำคัญระดับประมุขของต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง โดยกษัตริย์อับดุลลาห์ บิน อัล ฮุสเซนที่ 2 แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์ จอร์แดน จะเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย และในวันที่ 1 สิงหาคม กษัตริย์แห่งจอร์แดนได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในวันที่ 3 สิงหาคม ได้พบและหารือข้อราชการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และภาคเอกชนของไทย
การเสด็จฯ เยือนประเทศไทยในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการ นับแต่ได้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากกษัตริย์ฮุสเซน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 อย่างไรก็ดี พระองค์ได้เคยเสด็จฯ มาเยือนไทยหลายครั้งเป็นการส่วนพระองค์ ตั้งแต่เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าชายแห่ง ราชอาณาจักรจอร์แดน องค์พระประมุขแห่งจอร์แดนพระองค์นี้ ทรงได้รับการศึกษาจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกาทั้งด้านการทหาร และด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และในฐานะพระราชโอรสองค์โตของกษัตริย์ฮุสเซน จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2542 ก่อนที่จะได้ทรงครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาในเดือนต่อมา
กษัตริย์แห่งจอร์แดนได้ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีชาวปาเลสไตน์ ซึ่งต่อมาเมื่อได้เป็น พระราชินีก็ได้ทรงมีบทบาทในการยกระดับของสตรีชาวจอร์แดนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศมากขึ้น สตรีจอร์แดนได้มีอิสระในทางสังคม ไม่ต้องใช้ ผ้าคลุมหน้า และยังได้เข้าไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อีกด้วย นอกจากนี้ สตรีจอร์แดนได้รับ การศึกษามากขึ้น โดยมีอัตราสตรีที่รู้หนังสือเพิ่มเป็นร้อยละ 80
ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ กษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล ซึ่งมีรัฐมนตรีจำนวน 20 คน โดยจอร์แดนได้นำระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในปี พ.ศ. 2532 และถือเป็น
ประเทศหนึ่งที่มีระบบการเมืองที่เปิดและพัฒนามากที่สุดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางจอร์แดนเป็นประเทศที่มีประชากรถึงร้อยละ 94 นับถือศาสนาอิสลาม (นิกายสุหนี่) ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์ จอร์แดนมีเขตแดนติดต่อกับอิสราเอลและอิรัก เคยร่วมกับกลุ่มประเทศอาหรับทำสงครามกับอิสราเอลหลายครั้ง จึงเป็นประเทศที่มีบทบาทอย่างมากทั้งในระหว่างมีการทำสงครามและในกระบวนการสันติภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง (จอร์แดนและอียิปต์เป็นเพียงประเทศอาหรับ 2 ประเทศในโลกที่มีความตกลงสันติภาพกับอิสราเอล) นอกจากนี้ จอร์แดนยังมีบทบาทเป็นที่พักพิงของผู้ที่หลบหนีภัยจากสงครามในอิรัก แต่มีบทบาทสำคัญยิ่งในกระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล อาจกล่าวได้ว่า จอร์แดนเป็นประเทศที่อยู่สายกลาง ซึ่งแม้จะมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็มีความสัมพันธ์ที่ดี กับทั้งสหรัฐฯ และอิสราเอล
ประเทศไทยและจอร์แดนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2509 และฝ่ายไทยได้ให้สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำอิรัก มีเขตอาณาครอบคลุมจอร์แดนด้วย อย่างไรก็ตาม โดยที่สถานการณ์ความปลอดภัยในอิรักเลวร้ายลงมาก อันเนื่องมาจากการทำสงครามยึดครองของสหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ. 2546 และการต่อต้านจากชาวอิรักฝ่ายต่าง ๆ ตลอดมา สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแบกแดด จึงได้ย้ายมาตั้งสำนักงานชั่วคราวอยู่ในกรุงอัมมาน เมืองหลวงของจอร์แดน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2546 จนถึงปัจจุบัน
ในอดีตเมื่อมีสงครามสู้รบระหว่างอิรัก-อิหร่าน เป็นเวลานานถึง 8 ปี ในช่วง พ.ศ. 2523 -2531 รัฐบาลจอร์แดนได้ช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายและให้ที่พักแก่คนไทยจำนวนเกือบ 5,000 คน ที่อพยพหลบภัยสงคราม เช่นเดียวกันกับที่จอร์แดนได้ให้ที่พึ่งพิงแก่ชาวไทยและผู้อพยพลี้ภัยจากประเทศต่าง ๆ ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อ พ.ศ. 2533 - 2534 และสงครามสหรัฐฯ — อิรัก เมื่อปีที่ผ่านมา
สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจการค้านั้น ไทยกับจอร์แดนมีมูลค่าการค้า เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2546 มีมูลค่าการค้าสองฝ่ายรวม 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,200 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2545 ที่มีมูลค่าการค้า 21 ล้านดอลลาร์ หรือเพียง 840 ล้านบาท โดยในปีที่ผ่านมา ไทยส่งสินค้าออกไปยังจอร์แดน 75 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่นำเข้า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าออกที่สำคัญของไทย คือ รถยนต์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง แนวโน้มการส่งสินค้าไทยไปยังจอร์แดนเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด เนื่องจากจอร์แดนเป็นประตูสินค้าออกไปยังอิรัก ซึ่งมีความต้องการสินค้าของไทยมาก
ทางด้านการบิน ไทยและจอร์แดนได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ เมื่อปี 2518 โดยสายการบินไทยได้ใช้ code sharing ในเที่ยวบินไปกลับ กรุงเทพฯ — กรุงอัมมาน ของสายการบิน Royal Jordanian ซึ่งปัจจุบันมีเที่ยวบินสัปดาห์ละ 5 เที่ยวและจะเพิ่มเป็น 7 เที่ยวภายในสิ้นปี 2547 ปัจจุบันสายการบินจอร์แดนมีพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็นคนไทยจำนวน 40 คน
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับจอร์แดนมีลู่ทางการขยายตัวอีกมากทางด้านการค้า จากความต้องการสินค้าไทยในจอร์แดนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากหลังสงครามในอิรัก แสดงถึง ศักยภาพของตลาดจอร์แดนที่น่าจะขยายตัวได้อีก ที่สำคัญคือการเป็นประตูการค้าสำคัญไปสู่อิรัก ซึ่งมีความสะดวกในการเดินทางข้ามพรมแดน ความพร้อมด้านสาธารณูปโภคการขนส่ง ทั้งจากท่าเรือและเขตอุตสาหกรรมพิเศษ เมืองอกาบาที่สามารถส่งสินค้าผ่านไปยังอิรักโดยปลอดภาษี ตลอดจนทางเครื่องบิน ซึ่งปัจจุบันสายการบินจอร์แดนเป็นสายการบินเดียวที่มีเที่ยวบินระหว่างกรุงอัมมาน — กรุงแบกแดดเป็นประจำทุกวัน
นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวอิรักและชาวจอร์แดน และความชำนาญในการทำการค้าระหว่างกัน ทำให้นักธุรกิจอิรักเลือกที่จะใช้จอร์แดนเป็นทางผ่านทางการค้ามากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ของอิรักในปัจจุบัน โดยที่สถานการณ์ในอิรักยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะต่อชาวต่างชาติ ทำให้มีนักธุรกิจไทยเดินทางไปยังจอร์แดนมากขึ้น เพื่อติดต่อการค้าและการเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูบูรณะอิรัก ได้แก่ บริษัท พี.บี. พงษ์บุญ ที่ได้รับโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยให้แก่หน่วยงานของอิรัก บริษัท เอกเจริญ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรซ์ ที่ผลิตข้อต่อท่อพีวีซีส่งไปจำหน่ายในอิรัก และในช่วงงานแสดงสินค้าเพื่อบูรณะอิรัก ครั้งที่ 2 ที่กรุงอัมมาน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2547 บริษัท ช.การช่าง ได้ส่งตัวแทนไปยังจอร์แดนเพื่อศึกษาลู่ทางเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างในอิรัก
สำหรับคนไทยที่พักอาศัยอยู่ในจอร์แดนขณะนี้มีประมาณ 100 คน โดยได้เดินทางไปประกอบอาชีพเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 40 คน ช่างทอง 20 คน พ่อครัว 10 คน และมีนักศึกษาไทยมุสลิมที่ไปศึกษาด้านศาสนาอิสลาม จำนวน 48 คน ส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดี และต่างก็มีทัศนคติที่ดีต่อทางการไทย นักศึกษาไทยมุสลิมที่ศึกษาอยู่ในจอร์แดนกล่าวกับเจ้าหน้าที่ สถานทูตไทยว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว มีความประสงค์ที่จะกลับมาช่วยพัฒนาประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแบกแดด ซึ่งขณะนี้มีสำนักงานชั่วคราวในจอร์แดน มีความสัมพันธ์ค่อนข้างใกล้ชิดและพบปะพูดคุยกับชาวไทยและนักศึกษาไทยในจอร์แดนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเมื่อมีคณะเยือนจากประเทศไทยไปเยือน สถานทูตก็ได้จัดให้ชาวไทยและนักศึกษาไทยได้เข้าพบกับคณะเยือนและบุคคลสำคัญฝ่ายไทยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ ตลอดจนให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างทั้งสองประเทศเป็นอย่างดี
สำหรับเรื่องการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงของไทยกับจอร์แดน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันนั้น ในระดับพระราชวงศ์ ในอดีตกษัตริย์ฮุสเซนแห่งจอร์แดนและสมเด็จพระราชินีเคยเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2526 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้เสด็จฯ เยือนจอร์แดนเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2542
ในระดับรัฐบาลและภาคประชาชน เมื่อปี 2527 ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเยือนจอร์แดนเพื่อแสดงความขอบคุณในน้ำใจของรัฐบาลจอร์แดนที่ช่วยเหลือผู้อพยพคนไทย 5,000 คน ซึ่งหลบหนีภัยสงครามอิรัก-อิหร่านเข้ามาพำนักอยู่ในจอร์แดน และในปีปัจจุบัน ก็มีคณะเยือนจากประเทศไทยหลายคณะเดินทางไปเยือน จอร์แดน คือ คณะของนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา คณะของศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร คณะของรองอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา ที่ได้พาภาคเอกชนไปร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อบูรณอิรัก ครั้งที่ 2 ที่กรุงอัมมาน รวมทั้งคณะทำงานของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเดินทางไปศึกษาตลาดและพบปะภาคเอกชนของจอร์แดน
การเสด็จฯ เยือนของกษัตริย์แห่งจอร์แดนในครั้งนี้ จึงน่าจะสามารถเพิ่มพูนปริมาณการค้าระหว่างไทย-จอร์แดน โดยเฉพาะในระยะนี้ที่มีการฟื้นฟูบูรณะอิรัก ซึ่งจอร์แดนจะเป็นประตูการค้าของไทยที่จะส่งสินค้าออก ทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ผ่านจอร์แดนเข้าไปยังอิรัก นอกจากนี้ จอร์แดนยังหวังว่าประเทศไทยจะสามารถไปเปิดสถานเอกอัครราชทูตในจอร์แดนในอนาคตอันใกล้ ซึ่งมีความเป็นไปได้หากการสู้รบในอิรักยังคงยืดเยื้อ และในขณะนี้ไทยก็มีสำนักงานพาณิชย์ประจำอยู่ ณ กรุงอัมมาน เมืองหลวงของจอร์แดนอยู่แล้ว
การเสด็จฯ เยือนไทยของกษัตริย์แห่งจอร์แดน นอกจากจะเป็นเครื่องยืนยันถึงสัมพันธไมตรีอันดียิ่งระหว่างประเทศไทยกับจอร์แดนแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ผู้นำของทั้งสองประเทศได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกันอย่างใกล้ชิด รวมทั้งแสวงหาลู่ทางเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคที่แม้จะห่างไกลกัน แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องคบค้าสมาคมและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้นในกระแสโลกานุวัฒน์ที่กำลังรุนแรงอยู่ในขณะนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึง 3 สิงหาคม 2547 ประเทศไทยได้มีโอกาสต้อนรับบุคคลสำคัญระดับประมุขของต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง โดยกษัตริย์อับดุลลาห์ บิน อัล ฮุสเซนที่ 2 แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์ จอร์แดน จะเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย และในวันที่ 1 สิงหาคม กษัตริย์แห่งจอร์แดนได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในวันที่ 3 สิงหาคม ได้พบและหารือข้อราชการกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และภาคเอกชนของไทย
การเสด็จฯ เยือนประเทศไทยในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการ นับแต่ได้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากกษัตริย์ฮุสเซน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542 อย่างไรก็ดี พระองค์ได้เคยเสด็จฯ มาเยือนไทยหลายครั้งเป็นการส่วนพระองค์ ตั้งแต่เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าชายแห่ง ราชอาณาจักรจอร์แดน องค์พระประมุขแห่งจอร์แดนพระองค์นี้ ทรงได้รับการศึกษาจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกาทั้งด้านการทหาร และด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และในฐานะพระราชโอรสองค์โตของกษัตริย์ฮุสเซน จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2542 ก่อนที่จะได้ทรงครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาในเดือนต่อมา
กษัตริย์แห่งจอร์แดนได้ทรงอภิเษกสมรสกับสตรีชาวปาเลสไตน์ ซึ่งต่อมาเมื่อได้เป็น พระราชินีก็ได้ทรงมีบทบาทในการยกระดับของสตรีชาวจอร์แดนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศมากขึ้น สตรีจอร์แดนได้มีอิสระในทางสังคม ไม่ต้องใช้ ผ้าคลุมหน้า และยังได้เข้าไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อีกด้วย นอกจากนี้ สตรีจอร์แดนได้รับ การศึกษามากขึ้น โดยมีอัตราสตรีที่รู้หนังสือเพิ่มเป็นร้อยละ 80
ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ กษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล ซึ่งมีรัฐมนตรีจำนวน 20 คน โดยจอร์แดนได้นำระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในปี พ.ศ. 2532 และถือเป็น
ประเทศหนึ่งที่มีระบบการเมืองที่เปิดและพัฒนามากที่สุดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางจอร์แดนเป็นประเทศที่มีประชากรถึงร้อยละ 94 นับถือศาสนาอิสลาม (นิกายสุหนี่) ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์ จอร์แดนมีเขตแดนติดต่อกับอิสราเอลและอิรัก เคยร่วมกับกลุ่มประเทศอาหรับทำสงครามกับอิสราเอลหลายครั้ง จึงเป็นประเทศที่มีบทบาทอย่างมากทั้งในระหว่างมีการทำสงครามและในกระบวนการสันติภาพในภูมิภาคตะวันออกกลาง (จอร์แดนและอียิปต์เป็นเพียงประเทศอาหรับ 2 ประเทศในโลกที่มีความตกลงสันติภาพกับอิสราเอล) นอกจากนี้ จอร์แดนยังมีบทบาทเป็นที่พักพิงของผู้ที่หลบหนีภัยจากสงครามในอิรัก แต่มีบทบาทสำคัญยิ่งในกระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล อาจกล่าวได้ว่า จอร์แดนเป็นประเทศที่อยู่สายกลาง ซึ่งแม้จะมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็มีความสัมพันธ์ที่ดี กับทั้งสหรัฐฯ และอิสราเอล
ประเทศไทยและจอร์แดนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2509 และฝ่ายไทยได้ให้สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำอิรัก มีเขตอาณาครอบคลุมจอร์แดนด้วย อย่างไรก็ตาม โดยที่สถานการณ์ความปลอดภัยในอิรักเลวร้ายลงมาก อันเนื่องมาจากการทำสงครามยึดครองของสหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ. 2546 และการต่อต้านจากชาวอิรักฝ่ายต่าง ๆ ตลอดมา สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแบกแดด จึงได้ย้ายมาตั้งสำนักงานชั่วคราวอยู่ในกรุงอัมมาน เมืองหลวงของจอร์แดน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2546 จนถึงปัจจุบัน
ในอดีตเมื่อมีสงครามสู้รบระหว่างอิรัก-อิหร่าน เป็นเวลานานถึง 8 ปี ในช่วง พ.ศ. 2523 -2531 รัฐบาลจอร์แดนได้ช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายและให้ที่พักแก่คนไทยจำนวนเกือบ 5,000 คน ที่อพยพหลบภัยสงคราม เช่นเดียวกันกับที่จอร์แดนได้ให้ที่พึ่งพิงแก่ชาวไทยและผู้อพยพลี้ภัยจากประเทศต่าง ๆ ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อ พ.ศ. 2533 - 2534 และสงครามสหรัฐฯ — อิรัก เมื่อปีที่ผ่านมา
สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจการค้านั้น ไทยกับจอร์แดนมีมูลค่าการค้า เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2546 มีมูลค่าการค้าสองฝ่ายรวม 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,200 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2545 ที่มีมูลค่าการค้า 21 ล้านดอลลาร์ หรือเพียง 840 ล้านบาท โดยในปีที่ผ่านมา ไทยส่งสินค้าออกไปยังจอร์แดน 75 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่นำเข้า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าออกที่สำคัญของไทย คือ รถยนต์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง แนวโน้มการส่งสินค้าไทยไปยังจอร์แดนเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด เนื่องจากจอร์แดนเป็นประตูสินค้าออกไปยังอิรัก ซึ่งมีความต้องการสินค้าของไทยมาก
ทางด้านการบิน ไทยและจอร์แดนได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ เมื่อปี 2518 โดยสายการบินไทยได้ใช้ code sharing ในเที่ยวบินไปกลับ กรุงเทพฯ — กรุงอัมมาน ของสายการบิน Royal Jordanian ซึ่งปัจจุบันมีเที่ยวบินสัปดาห์ละ 5 เที่ยวและจะเพิ่มเป็น 7 เที่ยวภายในสิ้นปี 2547 ปัจจุบันสายการบินจอร์แดนมีพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็นคนไทยจำนวน 40 คน
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับจอร์แดนมีลู่ทางการขยายตัวอีกมากทางด้านการค้า จากความต้องการสินค้าไทยในจอร์แดนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากหลังสงครามในอิรัก แสดงถึง ศักยภาพของตลาดจอร์แดนที่น่าจะขยายตัวได้อีก ที่สำคัญคือการเป็นประตูการค้าสำคัญไปสู่อิรัก ซึ่งมีความสะดวกในการเดินทางข้ามพรมแดน ความพร้อมด้านสาธารณูปโภคการขนส่ง ทั้งจากท่าเรือและเขตอุตสาหกรรมพิเศษ เมืองอกาบาที่สามารถส่งสินค้าผ่านไปยังอิรักโดยปลอดภาษี ตลอดจนทางเครื่องบิน ซึ่งปัจจุบันสายการบินจอร์แดนเป็นสายการบินเดียวที่มีเที่ยวบินระหว่างกรุงอัมมาน — กรุงแบกแดดเป็นประจำทุกวัน
นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวอิรักและชาวจอร์แดน และความชำนาญในการทำการค้าระหว่างกัน ทำให้นักธุรกิจอิรักเลือกที่จะใช้จอร์แดนเป็นทางผ่านทางการค้ามากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ของอิรักในปัจจุบัน โดยที่สถานการณ์ในอิรักยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะต่อชาวต่างชาติ ทำให้มีนักธุรกิจไทยเดินทางไปยังจอร์แดนมากขึ้น เพื่อติดต่อการค้าและการเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูบูรณะอิรัก ได้แก่ บริษัท พี.บี. พงษ์บุญ ที่ได้รับโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยให้แก่หน่วยงานของอิรัก บริษัท เอกเจริญ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรซ์ ที่ผลิตข้อต่อท่อพีวีซีส่งไปจำหน่ายในอิรัก และในช่วงงานแสดงสินค้าเพื่อบูรณะอิรัก ครั้งที่ 2 ที่กรุงอัมมาน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2547 บริษัท ช.การช่าง ได้ส่งตัวแทนไปยังจอร์แดนเพื่อศึกษาลู่ทางเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างในอิรัก
สำหรับคนไทยที่พักอาศัยอยู่ในจอร์แดนขณะนี้มีประมาณ 100 คน โดยได้เดินทางไปประกอบอาชีพเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 40 คน ช่างทอง 20 คน พ่อครัว 10 คน และมีนักศึกษาไทยมุสลิมที่ไปศึกษาด้านศาสนาอิสลาม จำนวน 48 คน ส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่ดี และต่างก็มีทัศนคติที่ดีต่อทางการไทย นักศึกษาไทยมุสลิมที่ศึกษาอยู่ในจอร์แดนกล่าวกับเจ้าหน้าที่ สถานทูตไทยว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว มีความประสงค์ที่จะกลับมาช่วยพัฒนาประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแบกแดด ซึ่งขณะนี้มีสำนักงานชั่วคราวในจอร์แดน มีความสัมพันธ์ค่อนข้างใกล้ชิดและพบปะพูดคุยกับชาวไทยและนักศึกษาไทยในจอร์แดนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเมื่อมีคณะเยือนจากประเทศไทยไปเยือน สถานทูตก็ได้จัดให้ชาวไทยและนักศึกษาไทยได้เข้าพบกับคณะเยือนและบุคคลสำคัญฝ่ายไทยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ ตลอดจนให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างทั้งสองประเทศเป็นอย่างดี
สำหรับเรื่องการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงของไทยกับจอร์แดน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันนั้น ในระดับพระราชวงศ์ ในอดีตกษัตริย์ฮุสเซนแห่งจอร์แดนและสมเด็จพระราชินีเคยเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2526 และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ได้เสด็จฯ เยือนจอร์แดนเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2542
ในระดับรัฐบาลและภาคประชาชน เมื่อปี 2527 ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเยือนจอร์แดนเพื่อแสดงความขอบคุณในน้ำใจของรัฐบาลจอร์แดนที่ช่วยเหลือผู้อพยพคนไทย 5,000 คน ซึ่งหลบหนีภัยสงครามอิรัก-อิหร่านเข้ามาพำนักอยู่ในจอร์แดน และในปีปัจจุบัน ก็มีคณะเยือนจากประเทศไทยหลายคณะเดินทางไปเยือน จอร์แดน คือ คณะของนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา คณะของศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร คณะของรองอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา ที่ได้พาภาคเอกชนไปร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อบูรณอิรัก ครั้งที่ 2 ที่กรุงอัมมาน รวมทั้งคณะทำงานของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเดินทางไปศึกษาตลาดและพบปะภาคเอกชนของจอร์แดน
การเสด็จฯ เยือนของกษัตริย์แห่งจอร์แดนในครั้งนี้ จึงน่าจะสามารถเพิ่มพูนปริมาณการค้าระหว่างไทย-จอร์แดน โดยเฉพาะในระยะนี้ที่มีการฟื้นฟูบูรณะอิรัก ซึ่งจอร์แดนจะเป็นประตูการค้าของไทยที่จะส่งสินค้าออก ทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ผ่านจอร์แดนเข้าไปยังอิรัก นอกจากนี้ จอร์แดนยังหวังว่าประเทศไทยจะสามารถไปเปิดสถานเอกอัครราชทูตในจอร์แดนในอนาคตอันใกล้ ซึ่งมีความเป็นไปได้หากการสู้รบในอิรักยังคงยืดเยื้อ และในขณะนี้ไทยก็มีสำนักงานพาณิชย์ประจำอยู่ ณ กรุงอัมมาน เมืองหลวงของจอร์แดนอยู่แล้ว
การเสด็จฯ เยือนไทยของกษัตริย์แห่งจอร์แดน นอกจากจะเป็นเครื่องยืนยันถึงสัมพันธไมตรีอันดียิ่งระหว่างประเทศไทยกับจอร์แดนแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ผู้นำของทั้งสองประเทศได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกันอย่างใกล้ชิด รวมทั้งแสวงหาลู่ทางเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคที่แม้จะห่างไกลกัน แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องคบค้าสมาคมและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้นในกระแสโลกานุวัฒน์ที่กำลังรุนแรงอยู่ในขณะนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-