นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า หากพิจารณาจากสถานการณ์และปัจจัยลบต่างๆที่กำลังรุมเร้าอยู่ในเวลานี้ทำให้พรรคประชาธิปัตย์กังวลว่าจะเป็นตัวฉุดให้เศรษฐกิจของไทยในครึ่งปีหลังมีปัญหา อันส่งผลให้เศรษฐกิจตลอดทั้งปีเติบโตพลาดเป้าตามไปด้วย ขณะเดียวกันถ้าพิจารณาจากท่าทีและแนวทางการบริหารของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เป็นอยู่ในขณะนี้แล้วเห็นได้ว่าไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นกับสังคมเท่าใดนัก
เพราะสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังดำเนินการอยู่นั้น ทำทุกอย่างเพียงเพื่อต้องการรักษาอำนาจของตัวเองและพวกพ้องให้คงอยู่ต่อไป นั่นคือต้องการไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ 400 ที่นั่งเท่านั้น ไม่ได้สนใจหรือหามาตรการรับมือกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นแต่อย่างใด มีปัจจัยลงหลายอย่างที่กำลังโหมกระหน่ำประเทศไทยอยู่ในขณะนี้คือ
1. น้ำมันแพงกระทบศก.เป็นลูกโซ่
ขณะนี้ราคาพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 20 ปี โดยราคาน้ำมันดิบงวดส่งมอบเดือนกันยายน ในตลาดนิวยอร์ก (วันที่ 3 สิงหาคม) ทำสถิติราคาน้ำมันสูงสุดทะลุ 44 เหรียญสหรัฐคือ 44.24 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบ ปรับเพิ่มขึ้นบาร์เรลละ 43.85 เหรียญสหรัฐฯ
ขณะที่ราคาขายปลีกในประเทศก็คงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ รัฐบาลต้องใช้เงินชดเชยถึง 21,673.97 ล้านบาทแล้วและหากข้อสันนิษฐานที่ว่าภายในสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบอาจพุ่งสูงขึ้นไปถึงบาร์เรลละ 50 เหรียญสหรัฐเป็นความจริงแล้วก็มีการคาดกันว่ารัฐบาลจะต้องใช้เงินชดเชยราคาน้ำมันสูงถึง 5-6 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว ราคาน้ำมันขายปลีกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้นตั้งแต่เศรษฐกิจสูงถึงระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำ ขณะที่รัฐบาลไม่ได้ใส่ใจกับการรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดน้ำมันเท่าที่ควร
2. เอ็นพีแอลย้อนกลับ-เงินเฟ้อเพิ่มส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นถดถอย
ขณะนี้ยังมีปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีเอล) ย้อนกลับมาอีกรอบ ตั้งแต่ต้นปีมีหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนจำนวน 617,573 ล้านบาท จำนวนลูกหนี้กว่า 2 พันรายมีการเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้รอบใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม พาณิชย์กรรมและอสังหาริมทรัพย์ตามลำดับ
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน เงินเฟ้อประจำเดือนกรกฎาคม สูงขึ้นจากเดือนมิถุนายน 0.1 % เทียบกับเดือนเดียวกันเมื่อปีก่อน 3.1% และระยะ 7 เดือนของปีนี้(มค.-กค.)เพิ่มขึ้น 2.4% ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน มิถุนายนยังลดลงต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคมมาอยู่ที่ 49.5 จาก 49.7 ในเดือนก่อนหน้า และก่อนหน้านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับเป้าหมายประมาณการทางเศรษฐกิจของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชน (จีดีพี) ในปี 2547 ลงจาก 6.8-7.8% เหลือ 6-7% เท่านั้น
ส่วนปัจจัยลบอื่นๆเช่นปัญหาราคาดอกเบี้ยที่ขยับเพิ่มขึ้น ปัญหาความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องการก่อการร้ายที่นับวันยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น เป็นอีกปัจจัยสำคัญส่งผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นลูกโซ่มาถึงเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย
3. ปัญหาสินค้าราคาแพงส่งผลกระทบในวงกว้าง
จากการสำรวจราคาสินค้าล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 พบว่าแทบทุกรายการ ทุกหมวดมีการปรับราคาสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็นสุกรชำแหละเนื้อแดงที่ปรับสูงขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 90-95 บาท เนื้อหมูสามชั้นกิโลกรัมละ 85-90 บาท ไข่เป็ด(กลาง)ฟองละ 3.40-3.50 บาท ไข่ไก่(เบอร์3)ฟองละ 2.90-3.00 บาท
ยังไม่รวมถึงราคาก๊าซหุงต้มที่มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจุบันมีราคาก๊าซขนาดถัง 15 กิโลกรัม มีราคาถังละ 252 บาท และล่าสุดกลุ่มผู้ประกอบการก๊าซหุงต้มได้ขอปรับราคาเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 60 สตางค์ ซึ่งจะทำให้ราคาก๊าซเพิ่มขึ้นถังละ 9 บาท หากกระทรวงพาณิชย์ยอมอนุมัติก็ส่งผลให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นเป็นถังละ 261 บาท(ไม่รวมค่าขนส่งถึงบ้านผู้ใช้) อย่างไรก็ดีตามหลักการแล้วราคาก๊าซหุงต้มนั้นรัฐไม่ได้กำหนดเพดานควบคุม(รัฐควบคุมแต่ราคาขายส่ง) ดังนั้นผู้ค้าก๊าซสามารถปรับราคาได้ทันทีก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากขึ้นไปอีก
“ทักษิณ”ไม่สนใจบริหารประเทศใช้เวลาที่เหลือหาเสียง
จากปัจจัยลบต่างๆมากมายที่รุมเร้าเข้ามาอยู่ในเวลานี้ ถือว่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากปัจจัยหลายตัวมาจากภายนอกควบคุมได้ยาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากรัฐบาลไม่รีบหามาตรการรับมือแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนแล้ว ก็น่าหวั่นเกรงว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังอาจมีภาวะซบเซาหรืออาจเข้าสู่ภาวะวิกฤติมากขึ้น
อย่างไรก็ดีแม้ว่าหลายฝ่ายเริ่มเห็นเค้าลางแห่งวิกฤติเศรษฐกิจรออยู่ข้างหน้าแล้วก็ตาม แต่กลับไม่พบว่ารัฐบาล โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พยายามหามาตรการรับมือ หรือแสดงให้สังคมเห็นว่าใส่ใจกับปัญหาดังกล่าวข้างต้นอย่างจริงจัง
แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นกันอยู่ทั่วไปอยู่ในเวลานี้ก็คือรัฐบาลชุดนี้มัวสาละวนอยู่กับการบริหารการเมืองเท่านั้น ทำทุกทางเพื่อให้ได้กลับมาอยู่ในอำนาจอีกครั้ง ดังเห็นได้จากการจัดงบประมาณ 2 หมื่นล้านบาทลงสู่ชุมชน หมู่บ้านเพื่อการหาเสียงล่วงหน้า
มีการใช้เงินหรือใช้เงื่อนไขทางการเมืองเข้าล่อเพื่อดูด ส.ส.จากพรรคการเมืองอื่นเข้าพรรคไทยรักไทยจำนวนมาก ใช้เส้นทางลัดเพื่อให้ได้รับเลือกตั้ง 400 ที่นั่ง มีเป้าหมายเพื่อหลีกหนีการตรวจสอบ โดยเฉพาะการตรวจสอบการถอนทุน การทุจริตคอรัปชั่นในรูปแบบต่างๆมากมายเท่าที่รัฐบาลชุดนี้มีข้อกล่าวหามาตลอดเกือบ 4 ปีเต็ม
ด้วยปัจจัยต่างๆมากมายทั้งภายนอกและภายในประเทศที่กำลังรุมเร้าเข้ามาและต่อเนื่องไปในอนาคตอันใกล้ ประกอบกับหากพิจารณาจากท่าทีในการแก้ปัญหาของรัฐบาล ที่ไม่ใส่ใจหรือหาทางรับมืออย่างจริงจังเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุนทั่วไป กลับใช้เวลาที่เหลือในการบริหารประเทศเทอมสุดท้ายบริหารประเทศเพื่อการเมือง หรือเพื่อการหาเสียงเฉพาะหน้าเท่านั้น
จึงน่าเป็นห่วงว่าเวลาที่เหลือนับจากนี้ไปหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารประเทศเสียใหม่หันมาเน้นแก้ปัญหาเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็วแล้วทุกอย่างอาจสายเกินไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-
เพราะสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังดำเนินการอยู่นั้น ทำทุกอย่างเพียงเพื่อต้องการรักษาอำนาจของตัวเองและพวกพ้องให้คงอยู่ต่อไป นั่นคือต้องการไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ 400 ที่นั่งเท่านั้น ไม่ได้สนใจหรือหามาตรการรับมือกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นแต่อย่างใด มีปัจจัยลงหลายอย่างที่กำลังโหมกระหน่ำประเทศไทยอยู่ในขณะนี้คือ
1. น้ำมันแพงกระทบศก.เป็นลูกโซ่
ขณะนี้ราคาพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบกว่า 20 ปี โดยราคาน้ำมันดิบงวดส่งมอบเดือนกันยายน ในตลาดนิวยอร์ก (วันที่ 3 สิงหาคม) ทำสถิติราคาน้ำมันสูงสุดทะลุ 44 เหรียญสหรัฐคือ 44.24 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบ ปรับเพิ่มขึ้นบาร์เรลละ 43.85 เหรียญสหรัฐฯ
ขณะที่ราคาขายปลีกในประเทศก็คงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ รัฐบาลต้องใช้เงินชดเชยถึง 21,673.97 ล้านบาทแล้วและหากข้อสันนิษฐานที่ว่าภายในสิ้นปีนี้ราคาน้ำมันดิบอาจพุ่งสูงขึ้นไปถึงบาร์เรลละ 50 เหรียญสหรัฐเป็นความจริงแล้วก็มีการคาดกันว่ารัฐบาลจะต้องใช้เงินชดเชยราคาน้ำมันสูงถึง 5-6 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว ราคาน้ำมันขายปลีกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้นตั้งแต่เศรษฐกิจสูงถึงระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำ ขณะที่รัฐบาลไม่ได้ใส่ใจกับการรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดน้ำมันเท่าที่ควร
2. เอ็นพีแอลย้อนกลับ-เงินเฟ้อเพิ่มส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นถดถอย
ขณะนี้ยังมีปัญหาหนี้เสีย (เอ็นพีเอล) ย้อนกลับมาอีกรอบ ตั้งแต่ต้นปีมีหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนจำนวน 617,573 ล้านบาท จำนวนลูกหนี้กว่า 2 พันรายมีการเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้รอบใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม พาณิชย์กรรมและอสังหาริมทรัพย์ตามลำดับ
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน เงินเฟ้อประจำเดือนกรกฎาคม สูงขึ้นจากเดือนมิถุนายน 0.1 % เทียบกับเดือนเดียวกันเมื่อปีก่อน 3.1% และระยะ 7 เดือนของปีนี้(มค.-กค.)เพิ่มขึ้น 2.4% ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน มิถุนายนยังลดลงต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคมมาอยู่ที่ 49.5 จาก 49.7 ในเดือนก่อนหน้า และก่อนหน้านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับเป้าหมายประมาณการทางเศรษฐกิจของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชน (จีดีพี) ในปี 2547 ลงจาก 6.8-7.8% เหลือ 6-7% เท่านั้น
ส่วนปัจจัยลบอื่นๆเช่นปัญหาราคาดอกเบี้ยที่ขยับเพิ่มขึ้น ปัญหาความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องการก่อการร้ายที่นับวันยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น เป็นอีกปัจจัยสำคัญส่งผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นลูกโซ่มาถึงเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกด้วย
3. ปัญหาสินค้าราคาแพงส่งผลกระทบในวงกว้าง
จากการสำรวจราคาสินค้าล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 พบว่าแทบทุกรายการ ทุกหมวดมีการปรับราคาสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็นสุกรชำแหละเนื้อแดงที่ปรับสูงขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 90-95 บาท เนื้อหมูสามชั้นกิโลกรัมละ 85-90 บาท ไข่เป็ด(กลาง)ฟองละ 3.40-3.50 บาท ไข่ไก่(เบอร์3)ฟองละ 2.90-3.00 บาท
ยังไม่รวมถึงราคาก๊าซหุงต้มที่มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจุบันมีราคาก๊าซขนาดถัง 15 กิโลกรัม มีราคาถังละ 252 บาท และล่าสุดกลุ่มผู้ประกอบการก๊าซหุงต้มได้ขอปรับราคาเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 60 สตางค์ ซึ่งจะทำให้ราคาก๊าซเพิ่มขึ้นถังละ 9 บาท หากกระทรวงพาณิชย์ยอมอนุมัติก็ส่งผลให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นเป็นถังละ 261 บาท(ไม่รวมค่าขนส่งถึงบ้านผู้ใช้) อย่างไรก็ดีตามหลักการแล้วราคาก๊าซหุงต้มนั้นรัฐไม่ได้กำหนดเพดานควบคุม(รัฐควบคุมแต่ราคาขายส่ง) ดังนั้นผู้ค้าก๊าซสามารถปรับราคาได้ทันทีก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากขึ้นไปอีก
“ทักษิณ”ไม่สนใจบริหารประเทศใช้เวลาที่เหลือหาเสียง
จากปัจจัยลบต่างๆมากมายที่รุมเร้าเข้ามาอยู่ในเวลานี้ ถือว่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากปัจจัยหลายตัวมาจากภายนอกควบคุมได้ยาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากรัฐบาลไม่รีบหามาตรการรับมือแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนแล้ว ก็น่าหวั่นเกรงว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังอาจมีภาวะซบเซาหรืออาจเข้าสู่ภาวะวิกฤติมากขึ้น
อย่างไรก็ดีแม้ว่าหลายฝ่ายเริ่มเห็นเค้าลางแห่งวิกฤติเศรษฐกิจรออยู่ข้างหน้าแล้วก็ตาม แต่กลับไม่พบว่ารัฐบาล โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พยายามหามาตรการรับมือ หรือแสดงให้สังคมเห็นว่าใส่ใจกับปัญหาดังกล่าวข้างต้นอย่างจริงจัง
แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นกันอยู่ทั่วไปอยู่ในเวลานี้ก็คือรัฐบาลชุดนี้มัวสาละวนอยู่กับการบริหารการเมืองเท่านั้น ทำทุกทางเพื่อให้ได้กลับมาอยู่ในอำนาจอีกครั้ง ดังเห็นได้จากการจัดงบประมาณ 2 หมื่นล้านบาทลงสู่ชุมชน หมู่บ้านเพื่อการหาเสียงล่วงหน้า
มีการใช้เงินหรือใช้เงื่อนไขทางการเมืองเข้าล่อเพื่อดูด ส.ส.จากพรรคการเมืองอื่นเข้าพรรคไทยรักไทยจำนวนมาก ใช้เส้นทางลัดเพื่อให้ได้รับเลือกตั้ง 400 ที่นั่ง มีเป้าหมายเพื่อหลีกหนีการตรวจสอบ โดยเฉพาะการตรวจสอบการถอนทุน การทุจริตคอรัปชั่นในรูปแบบต่างๆมากมายเท่าที่รัฐบาลชุดนี้มีข้อกล่าวหามาตลอดเกือบ 4 ปีเต็ม
ด้วยปัจจัยต่างๆมากมายทั้งภายนอกและภายในประเทศที่กำลังรุมเร้าเข้ามาและต่อเนื่องไปในอนาคตอันใกล้ ประกอบกับหากพิจารณาจากท่าทีในการแก้ปัญหาของรัฐบาล ที่ไม่ใส่ใจหรือหาทางรับมืออย่างจริงจังเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุนทั่วไป กลับใช้เวลาที่เหลือในการบริหารประเทศเทอมสุดท้ายบริหารประเทศเพื่อการเมือง หรือเพื่อการหาเสียงเฉพาะหน้าเท่านั้น
จึงน่าเป็นห่วงว่าเวลาที่เหลือนับจากนี้ไปหาก พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารประเทศเสียใหม่หันมาเน้นแก้ปัญหาเพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็วแล้วทุกอย่างอาจสายเกินไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-