บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมแล้วให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ
ให้ที่ประชุมรับทราบ รวม ๓ ฉบับ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
๑. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๒) นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
๒. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๒) นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
๓. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง นายอภัย จันทนจุลกะ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ คือ
๑. เรื่องสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จำนวน
๓๒ คน คือ
(๑) นายมหิดล จันทรางกูร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้นางผุสดี ตามไท ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๓๕ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
(๒) นายอรรคพล สรสุชาติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้นายปรีชา สุวรรณทัต ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๓๖ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
(๓) นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้นายวิชัย ตันศิริ ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๓๗ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
(๔) นายเอกพจน์ ปานแย้ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๕) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๖) นายไพศาล จันทวารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอำนาจเจริญ
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๗) นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้นายชูศักดิ์ ศิรินิล ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๘๓ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
(๘) นางสาวเรวดี รัศมิทัต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ
พรรคราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๙) นายประวิช รัตนเพียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๐) ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคมวลชน ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๑) นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๒) นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดกาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๓) นายวิทยา คุณปลื้ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๔) นายสง่า ธนสงวนวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๕) นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๖) นายอิทธิพล คุณปลื้ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๗) นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครนายก พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๘) นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครนายก พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๙) นายนิโรธ สุนทรเลขา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๐) นางสาวอรดี สุทธศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๑) พันตำรวจเอก ทิน วงศ์ปลั่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
ศรีสะเกษ พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๒) นางกรุณา ชิดชอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๓) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๔) นายโสภณ ซารัมย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๕) นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
บุรีรัมย์ พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๖) นายธีรโชต กองทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๗) นายกอบศักดิ์ ชุติกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๙ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
(๒๘) นายเกษม ปานอุดมลักษณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครสวรรค์ พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๒๙) นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๓๐) นายศรคม ฦาชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๓๑) นายเรวัต สิรินุกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๓๒) นายฉลาด ขามช่วง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ นางผุสดี ตามไท
นายปรีชา สุวรรณทัต นายวิชัย ตันศิริ และนายชูศักดิ์ ศิรินิล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุม
ก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๗
ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกต
ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๔
(๒) รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๔ ของสถาบันพระปกเกล้า
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗
และครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน
แสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ปีที่สาม
๔. เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้อนุญาตให้นำเรื่องออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗
จำนวน ๓ เรื่อง คือ
(๑) ขออนุญาตให้ส่งตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปทำการสอบสวนคดีอาญา
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นางปวีณา หงสกุล เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นผู้เสนอ
๕. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ได้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๖ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยหนองคาย พ.ศ. ….
ซึ่ง ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์
เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน
พ.ศ. …. ซึ่ง นายวัลลภ สุปริยศิลป์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ….
ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
๖. ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ทางการเงิน การคลัง และงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร่างแผนปฏิบัติการถ่ายโอน
บุคลากรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้
นำเรื่องรับทราบรายงานที่จะมีการอภิปรายซักถามไปพิจารณาในวันพฤหัสบดีก่อน
ระเบียบวาระกระทู้ถาม
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงาน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) จำนวน
๑๒ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๒๑ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๒ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๓ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๔ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๕ วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๖ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๗ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๘ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๙ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓๐ วันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓๑ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓๒ วันพุธที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๑๒ ครั้งดังกล่าว
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๑)
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทนและ
ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตอบรับการเปลี่ยนแปลง
ข้อบังคับพรรคในรายการชื่อพรรค จากพรรคราษฎร เป็นพรรคมหาชน ตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๓
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๑, ๒ และ ๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณา
ก่อนลำดับที่ ๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
อีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา) ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๓๙)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ๒. นายบุญเขตร์ พุ่มทิพย์
๓. นายสู่บุญ วุฒิวงศ์ ๔. นายพรชัย อัศววัฒนาพร
๕. นายดิสทัต โหตระกิตย์ ๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๗. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี ๘. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๙. ว่าที่ร้อยตรี ธนู จงเพิ่มดำรงชัย ๑๐. นายบรรยง เต็มสิริภักดี
๑๑. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๒. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๑๓. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๔. นายชวลิต มหาจันทร์
๑๕. นายประดุจ มั่นหมาย ๑๖. นายสุวิชญ์ โยทองยศ
๑๗. นายทองดี มนิสสาร ๑๘. นายเอกพร รักความสุข
๑๙. นายสินชัย พิกุลทิพย์สาคร ๒๐. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๒๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒๒. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๒๓. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ๒๔. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๒๕. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๒๖. นายวิทยา แก้วภราดัย
๒๗. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ๒๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๒๙. นายพร้อม พรหมพันธุ์ ๓๐. นายนคร มาฉิม
๓๑. นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ๓๒. นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์
๓๓. นางกอบกุล นพอมรบดี ๓๔. นางมาลินี อินฉัตร
๓๕. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ผู้รักษาการตามกฎหมาย) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๒)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงหลักการและเหตุผล
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติ
ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ
ประกอบด้วย
๑. นายรังสรรค์ วิจิตรไกรสร ๒. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์
๓. นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล ๔. นายพรชัย อัศววัฒนาพร
๕. นายดิสทัต โหตระกิตย์ ๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๗. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี ๘. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๙. ว่าที่ร้อยตรี ธนู จงเพิ่มดำรงชัย ๑๐. นายบรรยง เต็มสิริภักดี
๑๑. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๒. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๑๓. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๔. นายชวลิต มหาจันทร์
๑๕. นายประดุจ มั่นหมาย ๑๖. นายสุวิชญ์ โยทองยศ
๑๗. นายทองดี มนิสสาร ๑๘. นายเอกพร รักความสุข
๑๙. นายสินชัย พิกุลทิพย์สาคร ๒๐. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๒๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒๒. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๒๓. นายภาคิน สมมิตร ๒๔. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๒๕. นายสุวโรช พะลัง ๒๖. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๒๗. นายสุทัศน์ เงินหมื่น ๒๘. นายวิทยา แก้วภราดัย
๒๙. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๓๐. นายนคร มาฉิม
๓๑. นายวิรัช ร่มเย็น ๓๒. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ
๓๓. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ๓๔. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ
๓๕. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มี
มติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒
โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง ที่ประชุม
ได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
อนุมัติพระราชกำหนด จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
พ.ศ. ๒๕๔๗
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
(คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ผู้รักษาการตามกฎหมาย)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ….
****************************************
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง และนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมแล้วให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ
ให้ที่ประชุมรับทราบ รวม ๓ ฉบับ
๑. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
๑. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
(๒) นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
๒. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
(๑) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
(๒) นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
๓. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศแต่งตั้ง นายอภัย จันทนจุลกะ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ คือ
๑. เรื่องสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จำนวน
๓๒ คน คือ
(๑) นายมหิดล จันทรางกูร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้นางผุสดี ตามไท ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๓๕ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
(๒) นายอรรคพล สรสุชาติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้นายปรีชา สุวรรณทัต ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๓๖ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
(๓) นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้นายวิชัย ตันศิริ ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๓๗ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
(๔) นายเอกพจน์ ปานแย้ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๕) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๖) นายไพศาล จันทวารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอำนาจเจริญ
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๗) นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคไทยรักไทย ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้นายชูศักดิ์ ศิรินิล ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๘๓ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
(๘) นางสาวเรวดี รัศมิทัต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ
พรรคราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๙) นายประวิช รัตนเพียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๐) ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคมวลชน ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๑) นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๒) นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดกาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๓) นายวิทยา คุณปลื้ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๔) นายสง่า ธนสงวนวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๕) นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๖) นายอิทธิพล คุณปลื้ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๗) นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครนายก พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๘) นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครนายก พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๑๙) นายนิโรธ สุนทรเลขา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๐) นางสาวอรดี สุทธศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๑) พันตำรวจเอก ทิน วงศ์ปลั่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
ศรีสะเกษ พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๒) นางกรุณา ชิดชอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๓) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๔) นายโสภณ ซารัมย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๕) นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
บุรีรัมย์ พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๖) นายธีรโชต กองทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
(๒๗) นายกอบศักดิ์ ชุติกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
พรรคชาติไทย ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗ และได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ให้นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๙ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
(๒๘) นายเกษม ปานอุดมลักษณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
นครสวรรค์ พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๒๙) นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๓๐) นายศรคม ฦาชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๓๑) นายเรวัต สิรินุกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๓๒) นายฉลาด ขามช่วง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ นางผุสดี ตามไท
นายปรีชา สุวรรณทัต นายวิชัย ตันศิริ และนายชูศักดิ์ ศิรินิล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุม
ก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๗
ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกต
ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๔๔
(๒) รับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๔ ของสถาบันพระปกเกล้า
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันจันทร์ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๗
และครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญทั่วไป) วันอังคารที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ ได้พิจารณาและรับทราบรายงาน
แสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ปีที่สาม
๔. เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้อนุญาตให้นำเรื่องออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗
จำนวน ๓ เรื่อง คือ
(๑) ขออนุญาตให้ส่งตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปทำการสอบสวนคดีอาญา
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นางปวีณา หงสกุล เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นผู้เสนอ
๕. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ได้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๖ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยหนองคาย พ.ศ. ….
ซึ่ง ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์
เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๕) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอปัว จังหวัดน่าน
พ.ศ. …. ซึ่ง นายวัลลภ สุปริยศิลป์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๖) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ….
ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ
๖. ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ทางการเงิน การคลัง และงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร่างแผนปฏิบัติการถ่ายโอน
บุคลากรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอให้
นำเรื่องรับทราบรายงานที่จะมีการอภิปรายซักถามไปพิจารณาในวันพฤหัสบดีก่อน
ระเบียบวาระกระทู้ถาม
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงาน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) จำนวน
๑๒ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๒๑ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๒ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๓ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๔ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๕ วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๖ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๗ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๘ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๒๙ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓๐ วันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓๑ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ครั้งที่ ๓๒ วันพุธที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๑๒ ครั้งดังกล่าว
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒๑)
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมแถลงเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดฉบับนี้
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทนและ
ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตอบรับการเปลี่ยนแปลง
ข้อบังคับพรรคในรายการชื่อพรรค จากพรรคราษฎร เป็นพรรคมหาชน ตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๓๓
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๑, ๒ และ ๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณา
ก่อนลำดับที่ ๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
อีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา) ซึ่ง พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๓๙)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ๒. นายบุญเขตร์ พุ่มทิพย์
๓. นายสู่บุญ วุฒิวงศ์ ๔. นายพรชัย อัศววัฒนาพร
๕. นายดิสทัต โหตระกิตย์ ๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๗. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี ๘. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๙. ว่าที่ร้อยตรี ธนู จงเพิ่มดำรงชัย ๑๐. นายบรรยง เต็มสิริภักดี
๑๑. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๒. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๑๓. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๔. นายชวลิต มหาจันทร์
๑๕. นายประดุจ มั่นหมาย ๑๖. นายสุวิชญ์ โยทองยศ
๑๗. นายทองดี มนิสสาร ๑๘. นายเอกพร รักความสุข
๑๙. นายสินชัย พิกุลทิพย์สาคร ๒๐. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๒๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒๒. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๒๓. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ๒๔. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๒๕. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๒๖. นายวิทยา แก้วภราดัย
๒๗. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ๒๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๒๙. นายพร้อม พรหมพันธุ์ ๓๐. นายนคร มาฉิม
๓๑. นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ๓๒. นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์
๓๓. นางกอบกุล นพอมรบดี ๓๔. นางมาลินี อินฉัตร
๓๕. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(ผู้รักษาการตามกฎหมาย) ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๒)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้แถลงหลักการและเหตุผล
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติ
ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ
ประกอบด้วย
๑. นายรังสรรค์ วิจิตรไกรสร ๒. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์
๓. นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล ๔. นายพรชัย อัศววัฒนาพร
๕. นายดิสทัต โหตระกิตย์ ๖. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๗. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี ๘. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๙. ว่าที่ร้อยตรี ธนู จงเพิ่มดำรงชัย ๑๐. นายบรรยง เต็มสิริภักดี
๑๑. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๒. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๑๓. นายสามารถ แก้วมีชัย ๑๔. นายชวลิต มหาจันทร์
๑๕. นายประดุจ มั่นหมาย ๑๖. นายสุวิชญ์ โยทองยศ
๑๗. นายทองดี มนิสสาร ๑๘. นายเอกพร รักความสุข
๑๙. นายสินชัย พิกุลทิพย์สาคร ๒๐. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๒๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒๒. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๒๓. นายภาคิน สมมิตร ๒๔. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๒๕. นายสุวโรช พะลัง ๒๖. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๒๗. นายสุทัศน์ เงินหมื่น ๒๘. นายวิทยา แก้วภราดัย
๒๙. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ๓๐. นายนคร มาฉิม
๓๑. นายวิรัช ร่มเย็น ๓๒. นายวิรัตน์ กัลยาศิริ
๓๓. นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ ๓๔. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ
๓๕. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มี
มติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒
โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง ที่ประชุม
ได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
โดยในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
อนุมัติพระราชกำหนด จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
พ.ศ. ๒๕๔๗
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา)
(คณะรัฐมนตรี และสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ผู้รักษาการตามกฎหมาย)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ….
****************************************