แท็ก
ปลาดุก
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 23 - 29 ก.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,287.07 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 637.28 ตัน สัตว์น้ำจืด 649.79 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.48 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.70 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 93.49 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 60.58 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 26.28 ตัน
การตลาด
ประเทศคู่ค้าสหรัฐรวมตัวตอบโต้ภาษีกุ้ง
กระทรวงการต่างประเทศของบราซิลเตรียมตอบโต้คำตัดสินของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ที่กำหนดเรียกเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าเพื่อต่อต้านการทุ่มตลาด(AD) สินค้าส่งออกกุ้งน้ำจืดประเภทแช่แข็ง แช่เย็น ปลอกเปลือกและไม่ปลอกเปลือกทุกขนาด กุ้งแปรรูปแช่แข็งและกุ้งกระป๋อง โดยเตรียมร่างเนื้อหาประท้วงทางกฎหมาย เพื่อยื่นเสนอต่อองค์การการค้าโลก(WTO) ในเร็วนี้ ๆนี้
ขณะที่นายอิทามาร์ โรชา ประธานสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งแห่งบราซิล(Brazilian Shrimp Farmers Association) กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยต่อคำตัดสินดังกล่าวเช่นกัน โดยมองว่าการที่ประเทศบราซิล สามารถส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐในราคาถูกได้นั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของการทุ่มตลาด หากแต่เป็นความได้เปรียบทางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เอื้อต่อการเติบโตของกุ้ง อีกทั้งมีเทคนิคที่ทันสมัย และต้นทุนด้านแรงงานที่ถูกกว่าการเลี้ยงกุ้งของสหรัฐ เช่นเดียวกับนายวอร์เรน คอร์เนลลี่ ตัวแทนกฎหมายด้านการค้าของเอกวาดอร์ ก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อคำตัดสิน โดยระบุว่า สหรัฐกระทำการเกินกว่าเหตุ ซึ่งช่องว่างระหว่างการกล่าวหากับความเป็นจริง ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะต้องแยกให้ออก กรณีที่กล่าวหาเอกวาดอร์ทุ่มตลาดก็ผิดความเป็นจริง
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2547 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ประกาศคำตัดสินเบื้องต้นเรียกเก็บภาษี การทุ่มตลาด(AD)ต่อกุ้งน้ำจืดประเภทแช่แข็งและกระป๋องกับสินค้าส่งออกจากบราซิลในอัตราสูงถึง 67.8 % และยังเรียกเก็บภาษีจากเอกวาดอร์ 6.08—9.35% อินเดีย 3.56—27.49% และไทย 5.56—10.25% หลังจากเมื่อ ต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาได้ประกาศใช้อัตราเรียกเก็บภาษี AD กับจีนและเวียดนามไปแล้วถึง 112.81% และ 93.13% ตามลำดับ ทำให้รัฐบาลเวียดนามและจีนได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน โดยกล่าวหาว่าสหรัฐไม่มีความยุติธรรมและเตรียมการอุทธรณ์ต่อไป กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐจะได้ทำการตัดสินรอบสุดท้ายอีกครั้งในช่วงเดือน ธ.ค. นี้ และหลังจากนั้น ในเดือน ก.พ. 2548 ทางคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาจะได้ทำการตัดสินเป็นการสิ้นสุดว่าสินค้ากุ้งจาก 6 ประเทศ ได้ส่งกุ้งเข้าไปทุ่มตลาด และก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศของสหรัฐตามที่มีการยื่นเรื่องมาหรือไม่
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.54 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 83.57 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 219.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 210.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 219.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 211.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.76 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.21 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที 2 — 6 ส.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.70 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 2-8 สิงหาคม 2547--
-พห-
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 23 - 29 ก.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,287.07 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 637.28 ตัน สัตว์น้ำจืด 649.79 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.48 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.70 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 93.49 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 60.58 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 26.28 ตัน
การตลาด
ประเทศคู่ค้าสหรัฐรวมตัวตอบโต้ภาษีกุ้ง
กระทรวงการต่างประเทศของบราซิลเตรียมตอบโต้คำตัดสินของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ที่กำหนดเรียกเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าเพื่อต่อต้านการทุ่มตลาด(AD) สินค้าส่งออกกุ้งน้ำจืดประเภทแช่แข็ง แช่เย็น ปลอกเปลือกและไม่ปลอกเปลือกทุกขนาด กุ้งแปรรูปแช่แข็งและกุ้งกระป๋อง โดยเตรียมร่างเนื้อหาประท้วงทางกฎหมาย เพื่อยื่นเสนอต่อองค์การการค้าโลก(WTO) ในเร็วนี้ ๆนี้
ขณะที่นายอิทามาร์ โรชา ประธานสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งแห่งบราซิล(Brazilian Shrimp Farmers Association) กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยต่อคำตัดสินดังกล่าวเช่นกัน โดยมองว่าการที่ประเทศบราซิล สามารถส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐในราคาถูกได้นั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของการทุ่มตลาด หากแต่เป็นความได้เปรียบทางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เอื้อต่อการเติบโตของกุ้ง อีกทั้งมีเทคนิคที่ทันสมัย และต้นทุนด้านแรงงานที่ถูกกว่าการเลี้ยงกุ้งของสหรัฐ เช่นเดียวกับนายวอร์เรน คอร์เนลลี่ ตัวแทนกฎหมายด้านการค้าของเอกวาดอร์ ก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อคำตัดสิน โดยระบุว่า สหรัฐกระทำการเกินกว่าเหตุ ซึ่งช่องว่างระหว่างการกล่าวหากับความเป็นจริง ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะต้องแยกให้ออก กรณีที่กล่าวหาเอกวาดอร์ทุ่มตลาดก็ผิดความเป็นจริง
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2547 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ประกาศคำตัดสินเบื้องต้นเรียกเก็บภาษี การทุ่มตลาด(AD)ต่อกุ้งน้ำจืดประเภทแช่แข็งและกระป๋องกับสินค้าส่งออกจากบราซิลในอัตราสูงถึง 67.8 % และยังเรียกเก็บภาษีจากเอกวาดอร์ 6.08—9.35% อินเดีย 3.56—27.49% และไทย 5.56—10.25% หลังจากเมื่อ ต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาได้ประกาศใช้อัตราเรียกเก็บภาษี AD กับจีนและเวียดนามไปแล้วถึง 112.81% และ 93.13% ตามลำดับ ทำให้รัฐบาลเวียดนามและจีนได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน โดยกล่าวหาว่าสหรัฐไม่มีความยุติธรรมและเตรียมการอุทธรณ์ต่อไป กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐจะได้ทำการตัดสินรอบสุดท้ายอีกครั้งในช่วงเดือน ธ.ค. นี้ และหลังจากนั้น ในเดือน ก.พ. 2548 ทางคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาจะได้ทำการตัดสินเป็นการสิ้นสุดว่าสินค้ากุ้งจาก 6 ประเทศ ได้ส่งกุ้งเข้าไปทุ่มตลาด และก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศของสหรัฐตามที่มีการยื่นเรื่องมาหรือไม่
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.12 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.54 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 83.57 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 219.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 210.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 219.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 211.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.76 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.21 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที 2 — 6 ส.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.70 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 2-8 สิงหาคม 2547--
-พห-