กระทรวงอุตสาหกรรมเปิดโพรเจกต์อีกก้าวหนึ่ง นำระบบเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจกลุ่ม อุตสาหกรรมแฟชั่น เล็งเพิ่มมูลค่าสินค้า ลดพึ่งพานำเข้า พร้อมวางแนวทางการผลิตแบบครบวงจร เร่งเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ ส่งเสริมเกิดการวิจัยและพัฒนา ชูดีไซน์เอกลักษณ์ไทยให้เป็นที่รู้จักในสายตาชาวโลก
นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เปิดโครงการจัดทำระบบเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจ อุตสาหกรรมเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ โดยมี เป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมแฟชั่นแบบครบวงจร และให้มีระบบการเชื่อมโยงที่ทันสมัย ทั้งในอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตลอดจน อุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนตกแต่งและส่วนประกอบ อันจะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมกลุ่มแฟชั่น ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ในสถานการณ์ตลาดโลกที่มีการแข่งขันเสรีมากขึ้น
ทั้งนี้เนื่องจาก อุตสาหกรรมในกลุ่มแฟชั่น เป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 2 ล้านคน ทั้งยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกถึงปีละกว่า 350,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน พบว่า สภาพการผลิตโดยทั่วไปยังไม่เอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน ขาดการเชื่อมโยงทางธุรกิจ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านแหล่งวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต และข้อมูลด้านการตลาดอยู่ในวงที่จำกัด นอกจากนี้ ผู้ผลิตในประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้รับจ้างผลิต หรือที่เรียกว่า OEM ทำให้การแข่งขันเน้นไปที่ด้านการตัดราคา เพื่อเพิ่มยอดปริมาณการผลิต ส่งผลให้ผู้ผลิตไม่มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์สินค้าของตนเอง
ด้าน นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เผยว่า สศอ.ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งรับหน้าที่ดำเนินการกำกับการศึกษาในโครงการจัดทำระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ภายใต้ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งศึกษารูปแบบระบบการเชื่อมโยงในรูปแบบการรวมกลุ่ม Cluster เพื่อให้สามารถนำมาใช้พัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นได้อย่างเป็นระบบ โดยโครงการนี้ จะมุ่งเน้นให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของแต่ละอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการลงทุน การผลิต เทคโนโลยี การกระจายตัวของโรงงาน การออกแบบ การตลาด รวมทั้ง ระบบข้อมูลข่าวสาร เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาเบื้องตัน เล็งเห็นว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นของประเทศไทย ควรให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างศักยภาพตั้งแต่ในระดับอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ รวมถึง ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์ขึ้น นอกจากนี้ ยังควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ในด้านที่จำเป็นต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมและเพิ่มความสามารถในด้านการวิจัยตลาดและผู้บริโภคเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้
ในส่วนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งนับว่าประเทศไทยมีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งชาติอื่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เนื่องจาก ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่า มีฝีมือในการเผาพลอยและเจียระไนพลอยดีที่สุดในโลก ดังนั้น สิ่งที่ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้คิดค้น ทั้งในรูปแบบ[Design
] และความประณีต จึงควรได้รับการสนับสนุน และปกป้อง ด้วยการจดลิขสิทธิ์หรือ จดทะเบียน เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ และแสดงถึงความเป็นผู้นำในเทคโนโลยีการผลิตด้านนี้ด้วย
ขณะที่ อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า เห็นว่า ควรมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบหนังดิบที่ผลิตในประเทศ เพื่อลดการนำเข้า โดยการสร้างจุดแข็งของอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ โดยอาศัยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการฟอกหนัง รวมถึง การพัฒนาด้านการออกแบบ[Design
]ลวดลายของหนังฟอก และรูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้ในอีกทางหนึ่ง
ที่มา : ฝ่ายช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์ โทร 0-2202-4274
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เปิดโครงการจัดทำระบบเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจ อุตสาหกรรมเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ โดยมี เป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมแฟชั่นแบบครบวงจร และให้มีระบบการเชื่อมโยงที่ทันสมัย ทั้งในอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตลอดจน อุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนตกแต่งและส่วนประกอบ อันจะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมกลุ่มแฟชั่น ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ในสถานการณ์ตลาดโลกที่มีการแข่งขันเสรีมากขึ้น
ทั้งนี้เนื่องจาก อุตสาหกรรมในกลุ่มแฟชั่น เป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 2 ล้านคน ทั้งยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกถึงปีละกว่า 350,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน พบว่า สภาพการผลิตโดยทั่วไปยังไม่เอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน ขาดการเชื่อมโยงทางธุรกิจ และการได้รับข้อมูลข่าวสารด้านแหล่งวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต และข้อมูลด้านการตลาดอยู่ในวงที่จำกัด นอกจากนี้ ผู้ผลิตในประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้รับจ้างผลิต หรือที่เรียกว่า OEM ทำให้การแข่งขันเน้นไปที่ด้านการตัดราคา เพื่อเพิ่มยอดปริมาณการผลิต ส่งผลให้ผู้ผลิตไม่มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์สินค้าของตนเอง
ด้าน นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เผยว่า สศอ.ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งรับหน้าที่ดำเนินการกำกับการศึกษาในโครงการจัดทำระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ภายใต้ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งศึกษารูปแบบระบบการเชื่อมโยงในรูปแบบการรวมกลุ่ม Cluster เพื่อให้สามารถนำมาใช้พัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นได้อย่างเป็นระบบ โดยโครงการนี้ จะมุ่งเน้นให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของแต่ละอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการลงทุน การผลิต เทคโนโลยี การกระจายตัวของโรงงาน การออกแบบ การตลาด รวมทั้ง ระบบข้อมูลข่าวสาร เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาเบื้องตัน เล็งเห็นว่า อุตสาหกรรมแฟชั่นของประเทศไทย ควรให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างศักยภาพตั้งแต่ในระดับอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ รวมถึง ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์ขึ้น นอกจากนี้ ยังควรส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ในด้านที่จำเป็นต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมและเพิ่มความสามารถในด้านการวิจัยตลาดและผู้บริโภคเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้
ในส่วนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งนับว่าประเทศไทยมีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งชาติอื่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เนื่องจาก ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่า มีฝีมือในการเผาพลอยและเจียระไนพลอยดีที่สุดในโลก ดังนั้น สิ่งที่ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้คิดค้น ทั้งในรูปแบบ[Design
] และความประณีต จึงควรได้รับการสนับสนุน และปกป้อง ด้วยการจดลิขสิทธิ์หรือ จดทะเบียน เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ และแสดงถึงความเป็นผู้นำในเทคโนโลยีการผลิตด้านนี้ด้วย
ขณะที่ อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า เห็นว่า ควรมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบหนังดิบที่ผลิตในประเทศ เพื่อลดการนำเข้า โดยการสร้างจุดแข็งของอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ โดยอาศัยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการฟอกหนัง รวมถึง การพัฒนาด้านการออกแบบ[Design
]ลวดลายของหนังฟอก และรูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ได้ในอีกทางหนึ่ง
ที่มา : ฝ่ายช่วยอำนวยการและประชาสัมพันธ์ โทร 0-2202-4274
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-