สศอ. จัดทำข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ (Benchmarking) ของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ผลการวิจัยชี้ ผู้ผลิตเหล็กไทยยังใช้กำลังการผลิตค่อนข้างต่ำ ยอดนำเข้าเหล็กเกรดคุณภาพพิเศษสูง เหตุยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ประกอบกับ ไทยยังขาดวัตถุดิบและระบบจัดการขนส่งที่ดี ดึงแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเหล็ก กระตุ้นผู้ประกอบการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับต่างประเทศ
นายปิยวุฒิ ณ พัทลุง รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ร่วมกับ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาและจัดทำข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน(Competitive Benchmarking) ในสาขาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งจากผลการศึกษา พบว่า อัตราการเจริญเติบโตอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทยในภาพรวมค่อนข้างสูง และคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องไปจนถึงปี 2553
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ผู้ผลิตเหล็กของไทยกำลังเผชิญอยู่คือ การใช้กำลังการผลิตค่อนข้างต่ำ ทั้งๆที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และจากข้อมูลสถิติ พบว่า ยังมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กจำนวนมาก โดยเฉพาะ เหล็กเกรดคุณภาพพิเศษ หรือ เหล็กเกรดคุณภาพสูงบางประเภทที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ นอกจากนี้ ยังได้รับแรงกดดันจากภาวการณ์แข่งขันอย่างรุนแรงของตลาดโลกทั้งด้านวัตถุดิบ แรงงาน และระบบขนส่ง ดังนั้น จึงต้องเร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเหล็ก เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ให้สามารถผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ การเปรียบเทียบข้อมูลอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของประเทศไทย ได้ดำเนินการเปรียบเทียบกับผู้ผลิตเหล็กรายสำคัญ โดยพิจารณาจากประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง ได้แก่ จีน เยอรมนี อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายใต้โครงการจัดทำข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ ได้มีการออกสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศและต่างประเทศ โดยจัดเก็บข้อมูลครอบคลุมตลอดกระบวนการผลิตทั้งหมด อาทิ ข้อมูลพื้นฐานอุตสาหกรรม ระดับเทคโนโลยี ประสิทธิผลของกระบวนการผลิต คุณภาพและต้นทุนวัตถุดิบ เป็นต้น
จากผลการวิจัยและศึกษา ทิศทางการลงทุนและการขยายอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศที่ได้เปรียบเทียบไว้ ในปี 2547 พบว่า ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีภาวะเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว และความต้องการใช้เหล็กเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้จีนเป็นผู้นำเข้าเหล็กรายใหญ่ของโลก เนื่องจากในภาคอุตสาหกรรมของจีนจะเน้นการลงทุนในการผลิตเหล็กทรงแบน โดยเฉพาะ เหล็กแผ่นรีดเย็นทั้งเหล็กคาร์บอนธรรมดาและเหล็กกล้าไร้สนิม เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ จากการที่จีนเร่งขยายกำลังการผลิต ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า ภายในปี 2547 ประเทศจีนจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเหล็กทรงแบนได้อีก 7 ล้านตัน
ขณะที่ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ชื่อดังของโลก ปัจจุบัน มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ ทำให้การบริโภคเหล็กขยายตัวในอัตราที่ลดลง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางการลงทุนในอนาคต โดยหันไปเน้นด้านการพัฒนากระบวนการผลิต และคุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนประเทศอินเดีย แม้ว่าอินเดียจะเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเหล็กที่สำคัญ แต่ยังขาดระบบการจัดการวัตถุดิบที่ดี จำเป็นต้องมีโครงการขยายการลงทุนในด้านการเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น
สำหรับประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้สภาวะการบริโภคเหล็กอยู่ในช่วงอิ่มตัว ทำให้ไม่มีการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศ ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว คาดว่า การลงทุนในอุตสาหกรรมเหล็กของญี่ปุ่น จะมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์เป็นหลัก ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้พยายามขยายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชีย เช่นเดียวกับเยอรมนี ด้าน ประเทศสหรัฐอเมริกา ทิศทางการลงทุนช่วงปี 2547 นี้ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตควบคู่ไปกับการปรับลดกำลังการผลิตของโรงงานเหล็กขนาดใหญ่ลง สำหรับการลงทุนเพิ่มเติมที่พอจะเห็นได้ในขณะนี้ คือ การลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นายปิยวุฒิ ณ พัทลุง รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ร่วมกับ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาและจัดทำข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน(Competitive Benchmarking) ในสาขาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งจากผลการศึกษา พบว่า อัตราการเจริญเติบโตอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทยในภาพรวมค่อนข้างสูง และคาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องไปจนถึงปี 2553
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ผู้ผลิตเหล็กของไทยกำลังเผชิญอยู่คือ การใช้กำลังการผลิตค่อนข้างต่ำ ทั้งๆที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และจากข้อมูลสถิติ พบว่า ยังมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กจำนวนมาก โดยเฉพาะ เหล็กเกรดคุณภาพพิเศษ หรือ เหล็กเกรดคุณภาพสูงบางประเภทที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ นอกจากนี้ ยังได้รับแรงกดดันจากภาวการณ์แข่งขันอย่างรุนแรงของตลาดโลกทั้งด้านวัตถุดิบ แรงงาน และระบบขนส่ง ดังนั้น จึงต้องเร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเหล็ก เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ให้สามารถผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ การเปรียบเทียบข้อมูลอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของประเทศไทย ได้ดำเนินการเปรียบเทียบกับผู้ผลิตเหล็กรายสำคัญ โดยพิจารณาจากประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง ได้แก่ จีน เยอรมนี อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายใต้โครงการจัดทำข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบ ได้มีการออกสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศและต่างประเทศ โดยจัดเก็บข้อมูลครอบคลุมตลอดกระบวนการผลิตทั้งหมด อาทิ ข้อมูลพื้นฐานอุตสาหกรรม ระดับเทคโนโลยี ประสิทธิผลของกระบวนการผลิต คุณภาพและต้นทุนวัตถุดิบ เป็นต้น
จากผลการวิจัยและศึกษา ทิศทางการลงทุนและการขยายอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศที่ได้เปรียบเทียบไว้ ในปี 2547 พบว่า ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีภาวะเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว และความต้องการใช้เหล็กเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้จีนเป็นผู้นำเข้าเหล็กรายใหญ่ของโลก เนื่องจากในภาคอุตสาหกรรมของจีนจะเน้นการลงทุนในการผลิตเหล็กทรงแบน โดยเฉพาะ เหล็กแผ่นรีดเย็นทั้งเหล็กคาร์บอนธรรมดาและเหล็กกล้าไร้สนิม เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ จากการที่จีนเร่งขยายกำลังการผลิต ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า ภายในปี 2547 ประเทศจีนจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตเหล็กทรงแบนได้อีก 7 ล้านตัน
ขณะที่ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ชื่อดังของโลก ปัจจุบัน มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ ทำให้การบริโภคเหล็กขยายตัวในอัตราที่ลดลง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางการลงทุนในอนาคต โดยหันไปเน้นด้านการพัฒนากระบวนการผลิต และคุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนประเทศอินเดีย แม้ว่าอินเดียจะเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเหล็กที่สำคัญ แต่ยังขาดระบบการจัดการวัตถุดิบที่ดี จำเป็นต้องมีโครงการขยายการลงทุนในด้านการเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น
สำหรับประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้สภาวะการบริโภคเหล็กอยู่ในช่วงอิ่มตัว ทำให้ไม่มีการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศ ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว คาดว่า การลงทุนในอุตสาหกรรมเหล็กของญี่ปุ่น จะมุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์เป็นหลัก ทั้งนี้ ญี่ปุ่นได้พยายามขยายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชีย เช่นเดียวกับเยอรมนี ด้าน ประเทศสหรัฐอเมริกา ทิศทางการลงทุนช่วงปี 2547 นี้ มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตควบคู่ไปกับการปรับลดกำลังการผลิตของโรงงานเหล็กขนาดใหญ่ลง สำหรับการลงทุนเพิ่มเติมที่พอจะเห็นได้ในขณะนี้ คือ การลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-