สศอ.เผยดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 128.78 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.94 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 46 ชี้อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เริ่มฟื้น ฝ่ามรสุมหวัดนก ผู้เลี้ยงไก่เร่งเปิดฟาร์มขยายพันธุ์ ขณะที่ อุตสาหกรมโลหะโตรับภาวะตลาดอสังหาฯขยายตัวต่อเนื่อง ผู้ค้าอะไหล่สปริงดีดรับออเดอร์ต่างประเทศเพียบ
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม พบว่า มี5 ดัชนีหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 136.43 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.71 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 137.40 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.56 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 131.92 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.91 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 107.94 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.51 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม 144.46 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.44
สำหรับ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 136.47 ทรงตัวจากเดือนก่อน (136.94) และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.08 ส่วน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ระดับ 128.78 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.49 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.94 ส่วน อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 63.37 ทรงตัวจากเดือนก่อน (63.79) และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.64
ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีภาวะผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ โลหะ และยาง โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมอาหาร ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นในทุกรายการสินค้า อาทิ อาหารหมู ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อหมูแทนเนื้อไก่ เพราะยังเกรงการแพร่เชื้อไข้หวัดนก ทั้งนี้ ความต้องการตลาดยังคงมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก ส่วนอาหารไก่ มีปริมาณการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจาก ช่วงวิกฤตไข้หวัดนกได้มีการทำลายไก่ไปเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผู้เลี้ยงไก่เพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนจำนวนไก่เดิม
ด้าน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงที่ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกขยายตัวดี ทั้ง Monolithic IC และ Other IC รวมทั้งอุตสาหกรรมโลหะ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ ภาวะการผลิตและจำหน่ายปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับสินค้ากลุ่มลวดเชื่อมไฟฟ้า ยังคงปรับตัวตามสภาพความต้องการตลาด โดยส่วนใหญ่ใช้เพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มสกรู น๊อต และตะปู มียอดการสั่งซื้อเพิ่ม ทำให้ต้องปรับยอดการผลิตเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด ส่วน ผลิตภัณฑ์สปริง มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ยังมีการขยายตลาดไปยังต่างประเทศด้วย สำหรับ อุตสาหกรรมยาง กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง พบว่า ภาวะการผลิตเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากการที่ เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ปัญหาการขาดแคลนด้านวัตถุดิบน้ำยางก็ลดลง ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งคาดว่า การขยายตัวจะต่อเนื่องไปจนถึงปลายปีนี้
ส่วน อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อดัชนีอุตสาหกรรมผลผลิต ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจาก มีโรงงานบางโรงานปิดซ่อมบำรุงในช่วงเดือนนี้ ซึ่งภาวะการผลิตน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันเบนซินออกเทน 91 ลดลง 9 ล้านลิตร น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 22.6 ล้านลิตร แต่น้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีการผลิตเพิ่มขึ้น 38.6 ล้านลิตร เนื่องจาก โรงกลั่นในประเทศมีการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณสูงในเดือนที่แล้ว
ในส่วนของ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจาก เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีคำสั่งซื้อเข้ามามากเพราะอยู่ในช่วงกระแสนิยมชมฟุตบอลยูโร ส่งผลให้เมื่อเข้าสู่เดือนมิถุนายน ความต้องการสินค้าจึงชะลอตัวลง ขณะที่ อุตสาหกรรมยานยนต์ ประเภทรถจักรยานยนต์ พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายมีทิศทางลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจาก คำสั่งซื้อของตัวแทนจำหน่ายลดลง เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน โดยเป็นภาวะปกติที่ช่วงนี้ ความต้องการของลูกค้าจะชะลอตัวลดลง
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม โดยคาดการณ์ว่า ภาวะอุตสาหกรรมในเดือนนี้ มีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศในมูลค่าสูง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาต้นทุนด้านเชื้อเพลิงทั้งน้ำมัน และก๊าซที่ปรับสูงขึ้น แต่ในภาพรวมยังคงมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม พบว่า มี5 ดัชนีหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 136.43 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.71 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 137.40 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.56 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 131.92 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.91 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 107.94 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.51 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม 144.46 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.44
สำหรับ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 136.47 ทรงตัวจากเดือนก่อน (136.94) และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.08 ส่วน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ระดับ 128.78 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.49 แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.94 ส่วน อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 63.37 ทรงตัวจากเดือนก่อน (63.79) และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.64
ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีภาวะผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ โลหะ และยาง โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมอาหาร ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นในทุกรายการสินค้า อาทิ อาหารหมู ปริมาณการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อหมูแทนเนื้อไก่ เพราะยังเกรงการแพร่เชื้อไข้หวัดนก ทั้งนี้ ความต้องการตลาดยังคงมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก ส่วนอาหารไก่ มีปริมาณการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจาก ช่วงวิกฤตไข้หวัดนกได้มีการทำลายไก่ไปเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผู้เลี้ยงไก่เพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนจำนวนไก่เดิม
ด้าน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงที่ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกขยายตัวดี ทั้ง Monolithic IC และ Other IC รวมทั้งอุตสาหกรรมโลหะ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ ภาวะการผลิตและจำหน่ายปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับสินค้ากลุ่มลวดเชื่อมไฟฟ้า ยังคงปรับตัวตามสภาพความต้องการตลาด โดยส่วนใหญ่ใช้เพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มสกรู น๊อต และตะปู มียอดการสั่งซื้อเพิ่ม ทำให้ต้องปรับยอดการผลิตเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด ส่วน ผลิตภัณฑ์สปริง มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ยังมีการขยายตลาดไปยังต่างประเทศด้วย สำหรับ อุตสาหกรรมยาง กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง พบว่า ภาวะการผลิตเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากการที่ เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ปัญหาการขาดแคลนด้านวัตถุดิบน้ำยางก็ลดลง ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งคาดว่า การขยายตัวจะต่อเนื่องไปจนถึงปลายปีนี้
ส่วน อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อดัชนีอุตสาหกรรมผลผลิต ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจาก มีโรงงานบางโรงานปิดซ่อมบำรุงในช่วงเดือนนี้ ซึ่งภาวะการผลิตน้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันเบนซินออกเทน 91 ลดลง 9 ล้านลิตร น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 22.6 ล้านลิตร แต่น้ำมันดีเซลหมุนเร็วมีการผลิตเพิ่มขึ้น 38.6 ล้านลิตร เนื่องจาก โรงกลั่นในประเทศมีการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณสูงในเดือนที่แล้ว
ในส่วนของ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจาก เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีคำสั่งซื้อเข้ามามากเพราะอยู่ในช่วงกระแสนิยมชมฟุตบอลยูโร ส่งผลให้เมื่อเข้าสู่เดือนมิถุนายน ความต้องการสินค้าจึงชะลอตัวลง ขณะที่ อุตสาหกรรมยานยนต์ ประเภทรถจักรยานยนต์ พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายมีทิศทางลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจาก คำสั่งซื้อของตัวแทนจำหน่ายลดลง เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน โดยเป็นภาวะปกติที่ช่วงนี้ ความต้องการของลูกค้าจะชะลอตัวลดลง
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม โดยคาดการณ์ว่า ภาวะอุตสาหกรรมในเดือนนี้ มีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศในมูลค่าสูง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาต้นทุนด้านเชื้อเพลิงทั้งน้ำมัน และก๊าซที่ปรับสูงขึ้น แต่ในภาพรวมยังคงมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-