สศอ.ร่วมกับ สสว. จัดทำดัชนีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs
] รายเดือน วิเคราะห์โครงสร้างการผลิต-สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมSMEs เปิดทางผู้ประกอบการศึกษาข้อมูลอุตสาหกรรมครอบคลุมเกือบ40 กลุ่มอุตสาหกรรม เร่งพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ เตรียมเปิดใช้ฐานข้อมูลกันยายนนี้
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม โดยจัดทำเป็นดัชนีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs
] รายเดือน เพื่อเผยแพร่ต่อผู้ประการกลุ่ม SMEs เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs มากขึ้น เนื่องจาก จะทำให้ผู้ประกอบการทราบถึงโครงสร้างการผลิตและสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม SMEs ในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน อันจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประเมิน เพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้ง วางแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าดัชนีดังกล่าวจะแล้วเสร็จในช่วงเดือนกันยายน และพร้อมที่จะนำข้อมูลเผยแพร่สู่ผู้ประกอบการได้ทันที
" จากแนวทางการจัดทำดัชนีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs
] รายเดือน ในครั้งนี้ เป็นแผนอีกขั้นหนึ่งของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่จะประเมินการขยายตัวของผู้ประกอบการในกลุ่ม SMEs เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเห็นได้ว่า ธุรกิจของกลุ่มSMEsมีผลประกอบการที่เติบโตมากขึ้น"
ดังนั้น ในขั้นตอนการจัดทำดัชนี SMEs จะใช้ฐานข้อมูลของสศอ.ที่ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมทุกเดือน มาเป็นข้อมูลชี้วัดโดยแยกเฉพาะข้อมูลที่เป็นส่วนของโรงงาน SMEs มารวมฐานข้อมูลการประกอบการ SMEs ของสสว. โดยการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในส่วนของสศอ. มีฐานข้อมูลจากโรงงานที่เป็น SMEs ประมาณ 630 โรงงาน ครอบคลุมอุตสาหกรรมประมาณ 39 กลุ่มอุตสาหกรรม 113 ผลิตภัณฑ์ หรือคิดเป็นร้อยละ 47.64 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคอุตสาหกรรม โดยมีการจัดทำดัชนี 8 ชนิดด้วยกัน คือ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าผลผลิต) ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิต
สำหรับ อุตสาหกรรมรายสาขาและรายผลิตภัณฑ์ที่นำมาวิเคราะห์ เพื่อจัดทำดัชนี SMEs นั้น ครอบคลุมหลายกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกัน อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหาร ประเภทอาหารสัตว์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตน้ำมันจากพืช อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ประเภทการผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป การฟอกและตกแต่งหนัง และการผลิตกระเป๋าเดินทาง เป็นต้น
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า ในขณะที่ กระแสการเปิดเขตการค้าเสรีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ผู้ประกอบการ SMEs จำเป็นต้องปรับตัว รู้เท่าทันสภาวการณ์ต่างๆ และฉวยโอกาสช่วงที่ตลาดกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับหาช่องทางขยายการลงทุน วางแผนกลยุทธ์เชิงรุกสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับต่างประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
] รายเดือน วิเคราะห์โครงสร้างการผลิต-สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมSMEs เปิดทางผู้ประกอบการศึกษาข้อมูลอุตสาหกรรมครอบคลุมเกือบ40 กลุ่มอุตสาหกรรม เร่งพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ เตรียมเปิดใช้ฐานข้อมูลกันยายนนี้
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม โดยจัดทำเป็นดัชนีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs
] รายเดือน เพื่อเผยแพร่ต่อผู้ประการกลุ่ม SMEs เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs มากขึ้น เนื่องจาก จะทำให้ผู้ประกอบการทราบถึงโครงสร้างการผลิตและสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม SMEs ในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน อันจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประเมิน เพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้ง วางแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าดัชนีดังกล่าวจะแล้วเสร็จในช่วงเดือนกันยายน และพร้อมที่จะนำข้อมูลเผยแพร่สู่ผู้ประกอบการได้ทันที
" จากแนวทางการจัดทำดัชนีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [SMEs
] รายเดือน ในครั้งนี้ เป็นแผนอีกขั้นหนึ่งของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่จะประเมินการขยายตัวของผู้ประกอบการในกลุ่ม SMEs เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาเห็นได้ว่า ธุรกิจของกลุ่มSMEsมีผลประกอบการที่เติบโตมากขึ้น"
ดังนั้น ในขั้นตอนการจัดทำดัชนี SMEs จะใช้ฐานข้อมูลของสศอ.ที่ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมทุกเดือน มาเป็นข้อมูลชี้วัดโดยแยกเฉพาะข้อมูลที่เป็นส่วนของโรงงาน SMEs มารวมฐานข้อมูลการประกอบการ SMEs ของสสว. โดยการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในส่วนของสศอ. มีฐานข้อมูลจากโรงงานที่เป็น SMEs ประมาณ 630 โรงงาน ครอบคลุมอุตสาหกรรมประมาณ 39 กลุ่มอุตสาหกรรม 113 ผลิตภัณฑ์ หรือคิดเป็นร้อยละ 47.64 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคอุตสาหกรรม โดยมีการจัดทำดัชนี 8 ชนิดด้วยกัน คือ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าผลผลิต) ดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิต
สำหรับ อุตสาหกรรมรายสาขาและรายผลิตภัณฑ์ที่นำมาวิเคราะห์ เพื่อจัดทำดัชนี SMEs นั้น ครอบคลุมหลายกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกัน อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหาร ประเภทอาหารสัตว์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตน้ำมันจากพืช อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ประเภทการผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป การฟอกและตกแต่งหนัง และการผลิตกระเป๋าเดินทาง เป็นต้น
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า ในขณะที่ กระแสการเปิดเขตการค้าเสรีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ผู้ประกอบการ SMEs จำเป็นต้องปรับตัว รู้เท่าทันสภาวการณ์ต่างๆ และฉวยโอกาสช่วงที่ตลาดกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับหาช่องทางขยายการลงทุน วางแผนกลยุทธ์เชิงรุกสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับต่างประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-