สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนกรกฎาคม 2548
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม = 142.47 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 (144.55) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (136.85)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การแปรรูปผลไม้และผัก
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 67.15 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 (68.00) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (63.57)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2548
- ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มการส่งออกยังขยายตัวได้ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิต การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังมีการเติบโตขยายตัวต่อเนื่อง
- ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือนนี้ชะลอตัวลงเนื่องจากราคาเหล็กส่วนใหญ่ในตลาดโลกยังคงทรงตัวอยู่ จึงทำให้ผู้ซื้อชะลอการซื้อเพราะคาดการณ์ว่าราคาจะลดลงอีก จึงมีผลทำให้ภาวะการค้าในช่วงนี้ชะลอตัวลง ในขณะที่ผู้ผลิตยังคงมีสต๊อกสินค้าคงคลังอยู่ จึงต้องเร่งระบายสินค้าแทน นอกจากนี้ การส่งออกก็ลดลงด้วยเนื่องจากสถานการณ์เหล็กในตลาดโลกยังคงชะลอตัวลงเช่นกัน
- อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2548 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม มีรถยนต์ปิกอัพรุ่นใหม่และรถยนต์นั่งขนาดเล็กบางยี่ห้อ ออกสู่ตลาด ส่งผลกระตุ้นให้ตลาดรถยนต์ขยายตัวได้บ้างเล็กน้อย
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในเดือนกรกฎาคม 2548 การผลิต การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นตามภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัว แต่เดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มทรงตัวเนื่องจากการชะลอการลงทุนของธุรกิจการก่อสร้างในภาคเอกชน สำหรับการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคมจากปัจจัยราคาน้ำมัน ความต้องการสินค้าทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศลดลงในช่วงต่อไปนี้ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมคาดว่าจะปรับตัวลดลง แต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวที่น่าจะยังมีการขยายตัวได้ ได้แก่ Semiconductor ที่ใช้กับเครื่องเล่น MP3 และกล้องดิจิตอลซึ่งยังมีความต้องการในตลาดสูง
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
มิ.ย. 48 = 144.55
ก.ค. 48 = 142.47
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี ลดลง ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ
- การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
มิ.ย. 48 = 68.00
ก.ค. 48 = 67.15
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
- การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ
1.อุตสาหกรรมอาหาร
“ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มการส่งออกยังขยายตัวได้ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น"
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.3 เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนการผลิตโดยรวมลดลงร้อยละ 3.7 เป็นผลจากปริมาณการผลิตสินค้าอาหารเพื่อส่งออกลดลงในสินค้าสับปะรดกระป๋องร้อยละ 65.6 และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังร้อยละ 39 จากปัญหาภัยแล้งต่อเนื่อง ทำให้ขาดแคลน
วัตถุดิบในการผลิต นอกจากนี้ไก่แช่เย็นแช่แข็ง ลดลงร้อยละ 6.4 เนื่องจากยังไม่สามารถส่งออกได้มากนัก สำหรับการผลิตน้ำมันพืชและอาหารสัตว์ภายในก็มีการผลิตลดลงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าสำคัญที่ยังขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 15.1 และปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 90.1
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร มีมูลค่าจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.3-2.4 จากราคาจำหน่ายที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนเป็นผลจากการปรับราคาค่าขนส่งที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน
2) ตลาดต่างประเทศ
ภาวะการส่งออกโดยรวม มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และ 26.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินบาทเริ่มทรงตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับในช่วงไตรมาส 1 ประกอบกับมีคำสั่งซื้อสินค้ากุ้ง เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 113.5 และ 67.1 นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สำคัญได้เพิ่มขึ้น เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 28.4 ไก่แปรรูป ร้อยละ 32.5 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 16.9 ข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง ร้อยละ 10.4 และสับปะรดกระป๋อง ร้อยละ 24.4
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะยังขยายตัวได้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกค้าต่างประเทศเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารทะเลแปรรูป เช่น กุ้ง ปลา กลุ่มปศุสัตว์ เช่น ไก่แปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูป ตามค่าเงินบาทที่เริ่มทรงตัวในระดับที่อ่อนกว่าในช่วงต้นปี ซึ่งจะเป็นการระตุ้นการส่งออก อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต และการส่งออกในภาพรวมได้ เช่น ต้นทุนค่าขนส่งจากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
“ การผลิต การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังมีการเติบโตขยายตัวต่อเนื่อง ”
1. การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตจากผ้าถักมีการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8ปริมาณการจำหน่ายเส้นใยฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่การจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภคทั้งในประเทศ ร้อยละ 0.5 และต่างประเทศ ร้อยละ 3.0 ซึ่งสอดคล้องกับภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้น
2. การส่งออกและตลาดส่งออก
มูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวม เดือนกรกฎาคม 2548 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นในตลาดฝรั่งเศส (+13.6%) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (+18.4%) ขณะที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ลดลง (-0.8%) ญี่ปุ่น (-7.7%) และจีน (-11.1%)
มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป เดือนกรกฎาคม 2548 ลดลงเล็กน้อย โดยส่งออกลดลงในกลุ่ม EU ได้แก่ สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และแคนาดา แต่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ยังคงมีการส่งออกเพิ่มขึ้น
3. การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (ม.ค.-ก.ค.) โดย รวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน เป็นการนำเข้า เส้นใยฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ตลาดนำเข้าคือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ผ้าผืน นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ตลาดนำเข้าคือจีน ไต้หวัน และฮ่องกง ขณะที่การนำเข้าด้ายทอผ้าฯ ลดลงร้อยละ 1.2 ตลาดนำเข้าคือจากจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน เสื้อผ้าสำเร็จรูป นำเข้าลดลงร้อยละ 7.9 ตลาดนำเข้าคือจีน ฮ่องกง อิตาลี และญี่ปุ่น
4. แนวโน้ม
การผลิต การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังมีการเติบโตขยายตัวต่อเนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นและนำเข้าลดลง และคาดว่าจะขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไปจนถึงสิ้นปี เนื่องจากต่างประเทศจะมีการนำเข้าสินค้าก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ อีกทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐผ่านโครงการต่างๆ
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
“ ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือนนี้ชะลอตัวลงเนื่องจากราคาเหล็กส่วนใหญ่ในตลาดโลกยังคงทรงตัวอยู่ จึงทำให้ผู้ซื้อชะลอการซื้อเพราะคาดการณ์ว่าราคาจะลดลงอีก จึงมีผลทำให้ภาวะการค้าในช่วงนี้ชะลอตัวลง ในขณะที่ผู้ผลิตยังคงมีสต๊อกสินค้าคงคลังอยู่ จึงต้องเร่งระบายสินค้าแทน นอกจากนี้ การส่งออกก็ลดลงด้วยเนื่องจากสถานการณ์เหล็กในตลาดโลกยังคงชะลอตัวลงเช่นกัน ”
1.การผลิต
ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือน ก.ค. 48 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 125.62 ลดลงร้อยละ 9.57 โดยเป็นผลจากการลดลงของเหล็กทรงแบน เช่น เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลง ร้อยละ 53.43 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 52.50 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 30.25 เนื่องจากตลาดในประเทศยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง ผู้ซื้อไม่มีการสต๊อกสินค้าไว้ ปริมาณสินค้าคงคลังยังคงมีอยู่ ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องเร่งระบายสินค้าในสต๊อกออกจึงทำให้ปริมาณการผลิตลดลง ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตมีการชะลอตัว ร้อยละ 9.73 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 60.70 และ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลง ร้อยละ 49.36
2.ราคาเหล็ก
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ในช่วงเดือนสิงหาคม 2548 เทียบกับเดือนก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญส่วนใหญ่มีราคาทรงตัว เช่น เหล็กแท่งเล็ก เหล็กเส้น เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น มีราคา 300 365 405 และ 490 เหรียญสหรัฐต่อตัน ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งแบน ลดลง จาก 330 เป็น 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเพิ่มขึ้นได้แก่ เศษเหล็ก เพิ่มขึ้นจาก 225 เป็น 233 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.70
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน ส.ค. 2548 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วนของราคาเหล็กในตลาดโลกคาดการณ์ว่าจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาเศษเหล็กในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากผู้ผลิตเริ่มกลับมาซื้อวัตถุดิบ(เศษเหล็ก) เข้าสต๊อกอีกครั้งหลังจากที่ปริมาณสต๊อกลดลง ประกอบกับผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกได้ประกาศลดกำลังการผลิตและประเทศจีนได้มีนโยบายปิดโรงงานขนาดเล็กและส่งเสริมให้มีการควบรวมกิจการกันเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์ (ส.ค. 48)
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2548 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม มีรถยนต์ปิกอัพรุ่นใหม่และรถยนต์นั่งขนาดเล็กบางยี่ห้อ ออกสู่ตลาด ส่งผลกระตุ้นให้ตลาดรถยนต์ขยายตัวได้บ้างเล็กน้อย โดยมีข้อมูลประมาณการในเดือนสิงหาคม ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 93,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2547 ร้อยละ 46.39 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการผลิต 92,067 คัน ร้อยละ 1.01
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 54,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2547 ร้อยละ 23.65 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการจำหน่าย 50,872 คัน ร้อยละ 6.15
- การส่งออกรถยนต์ มีจำนวน 39,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2547 ร้อยละ 61.16 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการส่งออก 38,049 คัน ร้อยละ 2.50
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2548 คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนสิงหาคม
รถจักรยานยนต์ (ส.ค. 48)
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน โดยมีข้อมูลประมาณการในเดือนกรกฎาคม ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 180,000 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการผลิต 191,871 คัน ร้อยละ 6.19
- การจำหน่าย จำนวน 160,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2547 ร้อยละ 10.95 แต่ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการจำหน่าย 167,259 คัน ร้อยละ 4.34
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 12,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการส่งออก 10,438 คัน ร้อยละ 14.96
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2548 คาดว่าจะทรงตัวจากเดือนสิงหาคม
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“ การผลิต การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นตามภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัว “
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนกรกฎาคม 2548
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92 และ 10.40 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังคงเพิ่มขึ้นตามภาวะธุรกิจก่อสร้างที่ขยายตัวจากการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐ
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนกรกฎาคม
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลง ร้อยละ10.67 เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าลดลง แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.04 สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ และกัมพูชา
3.แนวโน้ม
เดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มทรงตัวเนื่องจากการชะลอการลงทุนของธุรกิจการก่อสร้างในภาคเอกชน สำหรับการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
“ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคมจากปัจจัยราคาน้ำมัน ความต้องการสินค้าทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศลดลงในช่วงต่อไปนี้ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมคาดว่าจะปรับตัวลดลง แต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวที่น่าจะยังมีการขยายตัวได้ ได้แก่ Semiconductor ที่ใช้กับเครื่องเล่น MP3 และกล้องดิจิตอลซึ่งยังมีความต้องการในตลาดสูง “
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ตารางที่1 การส่งออกเดือน ก.ค. 2548 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในรายการสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกมาก
หน่วย : ล้านบาท
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 35,415.3 - 3.2 21.3
IC 17,769.9 - 5.5 24.2
เครื่องปรับอากาศ 6,116.6 -27.1 -8.6
เครื่องรับโทรทัศน์สี 5,154.4 - 11.4 -16.1
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 116,594.4 -4.4 7.3
ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1.การผลิต
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมของเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 8.3 โดยเป็นการลดลงจากสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 14.8 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2548 ได้แก่ สายไฟฟ้า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2548 ได้แก่ Electric tubes Rays Tubes For Computer ฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
2. การส่งออก
มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกรกฎาคมมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ7.3 โดยเป็นผลจากการลดลงของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 6.3 และลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 3.0
มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากในเดือนกรกฎาคม 2548 แสดงดังตารางที่ 1
3. แนวโน้ม
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนสิงหาคม 2548 คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคมจากปัจจัยราคาน้ำมันก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อจากการขึ้นราคาสินค้าตามมา ฃึ่งอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าไทยก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากลักษณะการบริโภคสินค้าชนิดนี้ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในกระเป๋าผู้บริโภค ทำให้ความต้องการสินค้าทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศลดลงในช่วงต่อไปนี้
ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมคาดว่าจะปรับตัวลดลง แต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวที่น่าจะยังมีการขยายตัวได้ ได้แก่ Semiconductor ที่ใช้กับเครื่องเล่น MP3 และกล้องดิจิตอลซึ่งยังมีความต้องการในตลาดสูง
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548 มีค่า 142.47 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 (144.55) ร้อยละ 1.44 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (136.85) ร้อยละ 4.11
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกรกฎาคม 2548 มีค่า 67.15 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 (68.00) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (63.57)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอม สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกรกฎาคม 2548 ของโรงงานขนาดเล็กมีค่า 39.2 โรงงานขนาดกลางมีค่า 55.5 และโรงงานขนาดใหญ่มีค่า 70.5
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2548
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 319 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 471 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -32.3 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7,890 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงานรวม 7,862 คน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 11,394 ล้านบาทและจำนวนการจ้างงาน 10,550 คน ร้อยละ -30.8 และ -25.5 ตามลำดับ
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 553 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -42.3 และในส่วนของจำนวนเงินลงทุน และการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 16,535 ล้านบาทและจำนวนการจ้างงาน 20,762 คน ร้อยละ —52.3 และ —62.1
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 34 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 26 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมร่อน ล้าง คัด แยกขนาดหรือคุณภาพของผลิตผลเกษตรกรรม เงินทุน 1,292 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ มันสัตว์ หนังสัตว์ เงินทุน 1,077 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ มันสัตว์ หนังสัตว์ คนงาน 1,960 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 688 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 173 ราย มากกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 162 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.8 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,445 ล้านบาทมากกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,126 ล้านบาทแต่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,334 คนน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีการเลิกจ้างงานจำนวน 4,003 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 213 ราย คิดเป็นร้อยละ —18.8 โดยในส่วนเงินทุนและการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2547 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,573 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 3,978 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมการซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 16 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 13 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คืออุตสาหกรรมการพิมพ์ ทำแฟ้มเก็บเอกสาร เย็บเล่ม ทำปก ตบแต่งสิ่งพิมพ์ เงินทุน 510 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป เงินทุน 109 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมการผลิตภาชนะบรรจุจากกระดาษทุกชนิดหรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์ คนงาน 424 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 315 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 92 โครงการ น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีจำนวน 123 โครงการ ร้อยละ -25.2 มีเงินลงทุน 21,700 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีเงินลงทุน 231,900 ล้านบาท ร้อยละ -90.6
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2547 ที่มีจำนวน 116 โครงการ ร้อยละ -20.7 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2547 ที่มีเงินลงทุน 40,600 ล้านบาท ร้อยละ -46.6
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค.2548
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 223 160,000
2.โครงการต่างชาติ 100% 221 61,100
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 225 134,400
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค.2548 คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 111,300 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้น มูลฐานมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 101,700 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนกรกฎาคม 2548
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม = 142.47 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 (144.55) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (136.85)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การแปรรูปผลไม้และผัก
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 67.15 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 (68.00) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (63.57)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2548
- ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มการส่งออกยังขยายตัวได้ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิต การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังมีการเติบโตขยายตัวต่อเนื่อง
- ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือนนี้ชะลอตัวลงเนื่องจากราคาเหล็กส่วนใหญ่ในตลาดโลกยังคงทรงตัวอยู่ จึงทำให้ผู้ซื้อชะลอการซื้อเพราะคาดการณ์ว่าราคาจะลดลงอีก จึงมีผลทำให้ภาวะการค้าในช่วงนี้ชะลอตัวลง ในขณะที่ผู้ผลิตยังคงมีสต๊อกสินค้าคงคลังอยู่ จึงต้องเร่งระบายสินค้าแทน นอกจากนี้ การส่งออกก็ลดลงด้วยเนื่องจากสถานการณ์เหล็กในตลาดโลกยังคงชะลอตัวลงเช่นกัน
- อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2548 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม มีรถยนต์ปิกอัพรุ่นใหม่และรถยนต์นั่งขนาดเล็กบางยี่ห้อ ออกสู่ตลาด ส่งผลกระตุ้นให้ตลาดรถยนต์ขยายตัวได้บ้างเล็กน้อย
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในเดือนกรกฎาคม 2548 การผลิต การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นตามภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัว แต่เดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มทรงตัวเนื่องจากการชะลอการลงทุนของธุรกิจการก่อสร้างในภาคเอกชน สำหรับการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคมจากปัจจัยราคาน้ำมัน ความต้องการสินค้าทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศลดลงในช่วงต่อไปนี้ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมคาดว่าจะปรับตัวลดลง แต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวที่น่าจะยังมีการขยายตัวได้ ได้แก่ Semiconductor ที่ใช้กับเครื่องเล่น MP3 และกล้องดิจิตอลซึ่งยังมีความต้องการในตลาดสูง
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
มิ.ย. 48 = 144.55
ก.ค. 48 = 142.47
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี ลดลง ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ
- การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
มิ.ย. 48 = 68.00
ก.ค. 48 = 67.15
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน
- การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ
1.อุตสาหกรรมอาหาร
“ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มการส่งออกยังขยายตัวได้ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น"
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.3 เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ จากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนการผลิตโดยรวมลดลงร้อยละ 3.7 เป็นผลจากปริมาณการผลิตสินค้าอาหารเพื่อส่งออกลดลงในสินค้าสับปะรดกระป๋องร้อยละ 65.6 และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังร้อยละ 39 จากปัญหาภัยแล้งต่อเนื่อง ทำให้ขาดแคลน
วัตถุดิบในการผลิต นอกจากนี้ไก่แช่เย็นแช่แข็ง ลดลงร้อยละ 6.4 เนื่องจากยังไม่สามารถส่งออกได้มากนัก สำหรับการผลิตน้ำมันพืชและอาหารสัตว์ภายในก็มีการผลิตลดลงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าสำคัญที่ยังขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 15.1 และปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 90.1
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร มีมูลค่าจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.3-2.4 จากราคาจำหน่ายที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนเป็นผลจากการปรับราคาค่าขนส่งที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน
2) ตลาดต่างประเทศ
ภาวะการส่งออกโดยรวม มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และ 26.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินบาทเริ่มทรงตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับในช่วงไตรมาส 1 ประกอบกับมีคำสั่งซื้อสินค้ากุ้ง เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 113.5 และ 67.1 นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สำคัญได้เพิ่มขึ้น เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 28.4 ไก่แปรรูป ร้อยละ 32.5 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 16.9 ข้าวโพดฝักอ่อนกระป๋อง ร้อยละ 10.4 และสับปะรดกระป๋อง ร้อยละ 24.4
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะยังขยายตัวได้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกค้าต่างประเทศเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารทะเลแปรรูป เช่น กุ้ง ปลา กลุ่มปศุสัตว์ เช่น ไก่แปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูป ตามค่าเงินบาทที่เริ่มทรงตัวในระดับที่อ่อนกว่าในช่วงต้นปี ซึ่งจะเป็นการระตุ้นการส่งออก อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต และการส่งออกในภาพรวมได้ เช่น ต้นทุนค่าขนส่งจากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
“ การผลิต การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังมีการเติบโตขยายตัวต่อเนื่อง ”
1. การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตจากผ้าถักมีการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8ปริมาณการจำหน่ายเส้นใยฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่การจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภคทั้งในประเทศ ร้อยละ 0.5 และต่างประเทศ ร้อยละ 3.0 ซึ่งสอดคล้องกับภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้น
2. การส่งออกและตลาดส่งออก
มูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวม เดือนกรกฎาคม 2548 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นในตลาดฝรั่งเศส (+13.6%) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (+18.4%) ขณะที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ลดลง (-0.8%) ญี่ปุ่น (-7.7%) และจีน (-11.1%)
มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป เดือนกรกฎาคม 2548 ลดลงเล็กน้อย โดยส่งออกลดลงในกลุ่ม EU ได้แก่ สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และแคนาดา แต่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ยังคงมีการส่งออกเพิ่มขึ้น
3. การนำเข้า
มูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (ม.ค.-ก.ค.) โดย รวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน เป็นการนำเข้า เส้นใยฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ตลาดนำเข้าคือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ผ้าผืน นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ตลาดนำเข้าคือจีน ไต้หวัน และฮ่องกง ขณะที่การนำเข้าด้ายทอผ้าฯ ลดลงร้อยละ 1.2 ตลาดนำเข้าคือจากจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน เสื้อผ้าสำเร็จรูป นำเข้าลดลงร้อยละ 7.9 ตลาดนำเข้าคือจีน ฮ่องกง อิตาลี และญี่ปุ่น
4. แนวโน้ม
การผลิต การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังมีการเติบโตขยายตัวต่อเนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นและนำเข้าลดลง และคาดว่าจะขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไปจนถึงสิ้นปี เนื่องจากต่างประเทศจะมีการนำเข้าสินค้าก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ อีกทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐผ่านโครงการต่างๆ
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
“ ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือนนี้ชะลอตัวลงเนื่องจากราคาเหล็กส่วนใหญ่ในตลาดโลกยังคงทรงตัวอยู่ จึงทำให้ผู้ซื้อชะลอการซื้อเพราะคาดการณ์ว่าราคาจะลดลงอีก จึงมีผลทำให้ภาวะการค้าในช่วงนี้ชะลอตัวลง ในขณะที่ผู้ผลิตยังคงมีสต๊อกสินค้าคงคลังอยู่ จึงต้องเร่งระบายสินค้าแทน นอกจากนี้ การส่งออกก็ลดลงด้วยเนื่องจากสถานการณ์เหล็กในตลาดโลกยังคงชะลอตัวลงเช่นกัน ”
1.การผลิต
ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือน ก.ค. 48 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 125.62 ลดลงร้อยละ 9.57 โดยเป็นผลจากการลดลงของเหล็กทรงแบน เช่น เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลง ร้อยละ 53.43 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 52.50 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 30.25 เนื่องจากตลาดในประเทศยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง ผู้ซื้อไม่มีการสต๊อกสินค้าไว้ ปริมาณสินค้าคงคลังยังคงมีอยู่ ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องเร่งระบายสินค้าในสต๊อกออกจึงทำให้ปริมาณการผลิตลดลง ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตมีการชะลอตัว ร้อยละ 9.73 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 60.70 และ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลง ร้อยละ 49.36
2.ราคาเหล็ก
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ในช่วงเดือนสิงหาคม 2548 เทียบกับเดือนก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญส่วนใหญ่มีราคาทรงตัว เช่น เหล็กแท่งเล็ก เหล็กเส้น เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น มีราคา 300 365 405 และ 490 เหรียญสหรัฐต่อตัน ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งแบน ลดลง จาก 330 เป็น 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเพิ่มขึ้นได้แก่ เศษเหล็ก เพิ่มขึ้นจาก 225 เป็น 233 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.70
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน ส.ค. 2548 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วนของราคาเหล็กในตลาดโลกคาดการณ์ว่าจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาเศษเหล็กในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากผู้ผลิตเริ่มกลับมาซื้อวัตถุดิบ(เศษเหล็ก) เข้าสต๊อกอีกครั้งหลังจากที่ปริมาณสต๊อกลดลง ประกอบกับผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกได้ประกาศลดกำลังการผลิตและประเทศจีนได้มีนโยบายปิดโรงงานขนาดเล็กและส่งเสริมให้มีการควบรวมกิจการกันเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์ (ส.ค. 48)
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2548 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม มีรถยนต์ปิกอัพรุ่นใหม่และรถยนต์นั่งขนาดเล็กบางยี่ห้อ ออกสู่ตลาด ส่งผลกระตุ้นให้ตลาดรถยนต์ขยายตัวได้บ้างเล็กน้อย โดยมีข้อมูลประมาณการในเดือนสิงหาคม ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 93,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2547 ร้อยละ 46.39 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการผลิต 92,067 คัน ร้อยละ 1.01
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 54,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2547 ร้อยละ 23.65 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการจำหน่าย 50,872 คัน ร้อยละ 6.15
- การส่งออกรถยนต์ มีจำนวน 39,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2547 ร้อยละ 61.16 และเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการส่งออก 38,049 คัน ร้อยละ 2.50
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2548 คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนสิงหาคม
รถจักรยานยนต์ (ส.ค. 48)
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน โดยมีข้อมูลประมาณการในเดือนกรกฎาคม ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 180,000 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการผลิต 191,871 คัน ร้อยละ 6.19
- การจำหน่าย จำนวน 160,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2547 ร้อยละ 10.95 แต่ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการจำหน่าย 167,259 คัน ร้อยละ 4.34
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 12,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งมีการส่งออก 10,438 คัน ร้อยละ 14.96
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2548 คาดว่าจะทรงตัวจากเดือนสิงหาคม
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“ การผลิต การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นตามภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัว “
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนกรกฎาคม 2548
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92 และ 10.40 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังคงเพิ่มขึ้นตามภาวะธุรกิจก่อสร้างที่ขยายตัวจากการลงทุนในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของภาครัฐ
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนกรกฎาคม
เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลง ร้อยละ10.67 เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าลดลง แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.04 สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ และกัมพูชา
3.แนวโน้ม
เดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มทรงตัวเนื่องจากการชะลอการลงทุนของธุรกิจการก่อสร้างในภาคเอกชน สำหรับการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
“ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคมจากปัจจัยราคาน้ำมัน ความต้องการสินค้าทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศลดลงในช่วงต่อไปนี้ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมคาดว่าจะปรับตัวลดลง แต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวที่น่าจะยังมีการขยายตัวได้ ได้แก่ Semiconductor ที่ใช้กับเครื่องเล่น MP3 และกล้องดิจิตอลซึ่งยังมีความต้องการในตลาดสูง “
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ตารางที่1 การส่งออกเดือน ก.ค. 2548 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในรายการสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกมาก
หน่วย : ล้านบาท
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 35,415.3 - 3.2 21.3
IC 17,769.9 - 5.5 24.2
เครื่องปรับอากาศ 6,116.6 -27.1 -8.6
เครื่องรับโทรทัศน์สี 5,154.4 - 11.4 -16.1
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 116,594.4 -4.4 7.3
ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1.การผลิต
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมของเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 8.3 โดยเป็นการลดลงจากสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 14.8 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2548 ได้แก่ สายไฟฟ้า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2548 ได้แก่ Electric tubes Rays Tubes For Computer ฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
2. การส่งออก
มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกรกฎาคมมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ7.3 โดยเป็นผลจากการลดลงของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 6.3 และลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 3.0
มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากในเดือนกรกฎาคม 2548 แสดงดังตารางที่ 1
3. แนวโน้ม
การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนสิงหาคม 2548 คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากเดือนกรกฎาคมจากปัจจัยราคาน้ำมันก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อจากการขึ้นราคาสินค้าตามมา ฃึ่งอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าไทยก็เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากลักษณะการบริโภคสินค้าชนิดนี้ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในกระเป๋าผู้บริโภค ทำให้ความต้องการสินค้าทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศลดลงในช่วงต่อไปนี้
ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมคาดว่าจะปรับตัวลดลง แต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ตัวที่น่าจะยังมีการขยายตัวได้ ได้แก่ Semiconductor ที่ใช้กับเครื่องเล่น MP3 และกล้องดิจิตอลซึ่งยังมีความต้องการในตลาดสูง
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548 มีค่า 142.47 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 (144.55) ร้อยละ 1.44 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (136.85) ร้อยละ 4.11
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกรกฎาคม 2548 มีค่า 67.15 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 (68.00) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (63.57)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอม สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกรกฎาคม 2548 ของโรงงานขนาดเล็กมีค่า 39.2 โรงงานขนาดกลางมีค่า 55.5 และโรงงานขนาดใหญ่มีค่า 70.5
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2548
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 319 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 471 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -32.3 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 7,890 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงานรวม 7,862 คน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 11,394 ล้านบาทและจำนวนการจ้างงาน 10,550 คน ร้อยละ -30.8 และ -25.5 ตามลำดับ
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 553 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -42.3 และในส่วนของจำนวนเงินลงทุน และการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 16,535 ล้านบาทและจำนวนการจ้างงาน 20,762 คน ร้อยละ —52.3 และ —62.1
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 34 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 26 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมร่อน ล้าง คัด แยกขนาดหรือคุณภาพของผลิตผลเกษตรกรรม เงินทุน 1,292 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ มันสัตว์ หนังสัตว์ เงินทุน 1,077 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมการทำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปจากเนื้อสัตว์ มันสัตว์ หนังสัตว์ คนงาน 1,960 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 688 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 173 ราย มากกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 162 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.8 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,445 ล้านบาทมากกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,126 ล้านบาทแต่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,334 คนน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีการเลิกจ้างงานจำนวน 4,003 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 213 ราย คิดเป็นร้อยละ —18.8 โดยในส่วนเงินทุนและการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2547 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,573 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 3,978 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมการซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 16 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 13 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คืออุตสาหกรรมการพิมพ์ ทำแฟ้มเก็บเอกสาร เย็บเล่ม ทำปก ตบแต่งสิ่งพิมพ์ เงินทุน 510 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป เงินทุน 109 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมการผลิตภาชนะบรรจุจากกระดาษทุกชนิดหรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์ คนงาน 424 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 315 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2548 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 92 โครงการ น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีจำนวน 123 โครงการ ร้อยละ -25.2 มีเงินลงทุน 21,700 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2548 ที่มีเงินลงทุน 231,900 ล้านบาท ร้อยละ -90.6
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนกรกฎาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2547 ที่มีจำนวน 116 โครงการ ร้อยละ -20.7 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2547 ที่มีเงินลงทุน 40,600 ล้านบาท ร้อยละ -46.6
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค.2548
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 223 160,000
2.โครงการต่างชาติ 100% 221 61,100
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 225 134,400
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค.2548 คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 111,300 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้น มูลฐานมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 101,700 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-