กรณีที่กลุ่มนักธุรกิจและผู้บริหารบริษัททีพีไอเข้าพบแกนนำพรรคฯเมื่อวานนี้(10 ส.ค. 47) เนื่องจากเห็นว่า 3 ปีที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ทำอะไรใหม่ๆ จึงมาฝากความหวังที่พรรคประชาธิปัตย์นั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนไม่ได้อยู่ร่วมสนทนา แต่ทราบว่ามีการพูดคุยกับหัวหน้าพรรคฯ ซึ่งตนคิดว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น บนพื้นฐานของความเข้าใจที่ดีขึ้น นั่นหมายความว่าเมื่อก่อนกลุ่มบุคคลที่เข้าพบในครั้งนี้ค่อนข้างที่จะคัดค้านการดำเนินงานของรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ค่อนข้างมาก พร้อมกับฝากความหวังไว้กับรัฐบาลนี้ และบัดนี้คงมีความรู้สึกผิดหวังต่อการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์คิดว่าขณะนี้ก็ต้องทบทวนในหลายเรื่อง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อคิดเห็นทั้งหลายจะตรงกับกลุ่มที่มาให้กำลังใจทั้งหมด บางเรื่องก็ต้องมีจุดที่เหมาะสมอยู่ตรงกลาง เช่น ความเข้าใจที่อาจจะคลาดเคลื่อนในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ว่าการแปรรูปไม่ได้หมายความว่าต้องขาย หรือเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้เห็นตรงกันว่ากรณีของสาธารณูปโภค หรือรัฐวิสาหกิจที่มีการผูกขาดโดยธรรมชาติ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะแปรรูปเป็นบริษัทจำกัด แต่จะต้องส่งเสริมให้มีการแข่งขัน และส่งเสริมให้มีระบบการกำกับดูแลคุ้มครองผู้บริโภคที่ดี
ต่อข้อถามที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์คิดว่ากฎหมาย 11 ฉบับ ควรจะเปลี่ยนแปลงมากน้อยขนาดไหน ที่มีคนบอกว่าขายชาตินั้นยอมรับได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คงไม่ใช่แน่นอน และย้ำว่ากฎหมายหลายฉบับเป็นกฎหมายซึ่งมีมาตั้งแต่ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ และหลายฉบับก็เป็นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเหมือนกับที่หลายประเทศได้ทำกันมา เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และความเปลี่ยนแปลงในโลก แต่ว่ากฎหมายบางฉบับเมื่อออกไปแล้วการปฏิบัติมีปัญหา เช่น กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการล้มละลาย หรือการดำเนินคดีต่างๆ เป็นต้น ก็จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข แต่ขอยืนยันว่ามันไม่มีความคิดที่จะขายชาติแน่นอน
ส่วนกรณีกฎหมายบางฉบับผูกติดกับเงื่อนไขไอเอ็มเอฟ แต่วันนี้เงื่อนไขนั้นได้ถูกปลดไปแล้ว สถานการณ์เปลี่ยนไป จะมีการพิจารณาทบทวนอย่างไรนั้น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ต้องย้ำว่าเวลานี้คงไม่พิจารณาในกรอบที่ว่าเป็นเงื่อนไขหรือไม่เป็นเงื่อนไขจากไอเอ็มเอฟ เวลานี้ปัจจัยที่ต้องตัดสินใจคือ สิ่งที่ทบทวนปรับปรุงเป็นประโยชน์ต่อประเทศหรือไม่ ‘ถึงแม้เป็นเงื่อนไขจากไอเอ็มเอฟ แต่เป็นประโยชน์ต่อประเทศก็ต้องยืนยันตามนั้น และแม้ไม่เป็นเงื่อนไขกับไอเอ็มเอฟ แต่ไม่เป็นประโยชน์กับประเทศก็ต้องแก้ไข คิดว่าแม้แต่กลุ่มที่เข้ามาพบก็เข้าใจว่าในสถานการณ์ของวิกฤติบางครั้ง การดำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นความจำเป็น’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ต่อข้อถามว่าหากพรรคประชาธิปัตย์ยอมรับความคิดของกลุ่มก็จะสนับสนุนนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการแปรรูปที่รัฐบาลทำมาตั้งแต่ต้น ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดยืนของพรรคอยู่แล้ว ดังนั้นการที่สหภาพหรือผู้เกี่ยวข้องจะสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิของเขาเต็มที่ อีกทั้งเวลานี้นายอภิรักษ์ ก็เป็นที่รู้จักของพี่น้องประชาชน ซึ่งการตอบรับและการลงพื้นที่พบปะประชาชน รวมไปถึงการนำเสนอนโยบายต่างๆก็มีความชัดเจนมากขึ้น พร้อมกันนี้นายอภิสิทธิ์ยังยอมรับด้วยว่าการลงพื้นที่ต่างๆให้ทั่วถึงนั้นคงเป็นไปไม่ได้ ส่วนกรณีที่ ส.ก. ส.ข. ของพรรคไทยรักไทยจะสนับสนุนผู้สมัครคนอื่นหรือไม่ พรรคฯไม่ได้หวั่นไหวอะไร เพราะเท่าที่ประเมินดูตอนนี้การตอบรับของประชาชนที่มีต่อนายอภิรักษ์นั้นดีมาก
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงวิกฤติน้ำมันในขณะนี้ว่า ตนพูดตั้งแต่ต้นแล้วว่า แนวคิดเรื่องการพยุงหรือกำหนดราคาน้ำมัน ถ้าเก็งตลาดหรือสถานการณ์ถูกก็ไม่เป็นปัญหา แต่วันนี้สิ่งที่ตนได้เตือนไว้เป็นความจริงแล้ว เมื่อสถานการณ์ไม่ได้เป็นไปตามที่รัฐบาลประเมิน เพราะฉะนั้นภาระก็เกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่อยากเรียกร้องคือ ให้รัฐบาลดูแลเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบ และคำนึงถึงผลกระทบโดยรวมทั้งในระยะกลาง และระยะยาว ‘เข้าใจดีว่าเราไม่ต้องการไปสร้างปัญหาในเรื่องต้นทุนสินค้าหรือกลไกทางธุรกิจและเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันถ้าฝืนไปแล้วถึงจุดหนึ่งเราฝืนไม่ได้ ตรงนั้นอาจจะกระทบกระเทือนรุนแรงกว่าก็ได้ เพราะฉะนั้นขอให้พิจารณาปัจจัยตรงนี้ และรัฐบาลต้องตัดปัจจัยทางการเมืองออกไปอย่างสิ้นเชิง อย่าเอาปัจจัยทางการเมืองมาชี้ขาดในเรื่องนี้ ขอให้ตัดสินใจบนพื้นฐานของประโยชน์สูงสุดของระบบเศรษฐกิจและประชาชน’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-
ต่อข้อถามที่ว่าพรรคประชาธิปัตย์คิดว่ากฎหมาย 11 ฉบับ ควรจะเปลี่ยนแปลงมากน้อยขนาดไหน ที่มีคนบอกว่าขายชาตินั้นยอมรับได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คงไม่ใช่แน่นอน และย้ำว่ากฎหมายหลายฉบับเป็นกฎหมายซึ่งมีมาตั้งแต่ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ และหลายฉบับก็เป็นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเหมือนกับที่หลายประเทศได้ทำกันมา เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และความเปลี่ยนแปลงในโลก แต่ว่ากฎหมายบางฉบับเมื่อออกไปแล้วการปฏิบัติมีปัญหา เช่น กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการล้มละลาย หรือการดำเนินคดีต่างๆ เป็นต้น ก็จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข แต่ขอยืนยันว่ามันไม่มีความคิดที่จะขายชาติแน่นอน
ส่วนกรณีกฎหมายบางฉบับผูกติดกับเงื่อนไขไอเอ็มเอฟ แต่วันนี้เงื่อนไขนั้นได้ถูกปลดไปแล้ว สถานการณ์เปลี่ยนไป จะมีการพิจารณาทบทวนอย่างไรนั้น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ต้องย้ำว่าเวลานี้คงไม่พิจารณาในกรอบที่ว่าเป็นเงื่อนไขหรือไม่เป็นเงื่อนไขจากไอเอ็มเอฟ เวลานี้ปัจจัยที่ต้องตัดสินใจคือ สิ่งที่ทบทวนปรับปรุงเป็นประโยชน์ต่อประเทศหรือไม่ ‘ถึงแม้เป็นเงื่อนไขจากไอเอ็มเอฟ แต่เป็นประโยชน์ต่อประเทศก็ต้องยืนยันตามนั้น และแม้ไม่เป็นเงื่อนไขกับไอเอ็มเอฟ แต่ไม่เป็นประโยชน์กับประเทศก็ต้องแก้ไข คิดว่าแม้แต่กลุ่มที่เข้ามาพบก็เข้าใจว่าในสถานการณ์ของวิกฤติบางครั้ง การดำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นความจำเป็น’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ต่อข้อถามว่าหากพรรคประชาธิปัตย์ยอมรับความคิดของกลุ่มก็จะสนับสนุนนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการแปรรูปที่รัฐบาลทำมาตั้งแต่ต้น ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดยืนของพรรคอยู่แล้ว ดังนั้นการที่สหภาพหรือผู้เกี่ยวข้องจะสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิของเขาเต็มที่ อีกทั้งเวลานี้นายอภิรักษ์ ก็เป็นที่รู้จักของพี่น้องประชาชน ซึ่งการตอบรับและการลงพื้นที่พบปะประชาชน รวมไปถึงการนำเสนอนโยบายต่างๆก็มีความชัดเจนมากขึ้น พร้อมกันนี้นายอภิสิทธิ์ยังยอมรับด้วยว่าการลงพื้นที่ต่างๆให้ทั่วถึงนั้นคงเป็นไปไม่ได้ ส่วนกรณีที่ ส.ก. ส.ข. ของพรรคไทยรักไทยจะสนับสนุนผู้สมัครคนอื่นหรือไม่ พรรคฯไม่ได้หวั่นไหวอะไร เพราะเท่าที่ประเมินดูตอนนี้การตอบรับของประชาชนที่มีต่อนายอภิรักษ์นั้นดีมาก
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงวิกฤติน้ำมันในขณะนี้ว่า ตนพูดตั้งแต่ต้นแล้วว่า แนวคิดเรื่องการพยุงหรือกำหนดราคาน้ำมัน ถ้าเก็งตลาดหรือสถานการณ์ถูกก็ไม่เป็นปัญหา แต่วันนี้สิ่งที่ตนได้เตือนไว้เป็นความจริงแล้ว เมื่อสถานการณ์ไม่ได้เป็นไปตามที่รัฐบาลประเมิน เพราะฉะนั้นภาระก็เกิดขึ้น ดังนั้นสิ่งที่อยากเรียกร้องคือ ให้รัฐบาลดูแลเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบ และคำนึงถึงผลกระทบโดยรวมทั้งในระยะกลาง และระยะยาว ‘เข้าใจดีว่าเราไม่ต้องการไปสร้างปัญหาในเรื่องต้นทุนสินค้าหรือกลไกทางธุรกิจและเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันถ้าฝืนไปแล้วถึงจุดหนึ่งเราฝืนไม่ได้ ตรงนั้นอาจจะกระทบกระเทือนรุนแรงกว่าก็ได้ เพราะฉะนั้นขอให้พิจารณาปัจจัยตรงนี้ และรัฐบาลต้องตัดปัจจัยทางการเมืองออกไปอย่างสิ้นเชิง อย่าเอาปัจจัยทางการเมืองมาชี้ขาดในเรื่องนี้ ขอให้ตัดสินใจบนพื้นฐานของประโยชน์สูงสุดของระบบเศรษฐกิจและประชาชน’ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-