สรุปสถานะล่าสุดภายใต้เขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจา

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 13, 2004 14:54 —สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ประเทศคู่เจรจา : 1. สหรัฐ
สถานะการเจรจาเขตการค้าเสรี :
- การจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ กำหนดการเจรจารอบแรกระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน — 4 กรกฎาคม 2547 ณ มลรัฐฮาวาย เป็นการสอบถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในกรอบการเจรจาลักษณะ Confidence Building สหรัฐฯได้ยื่น Text ข้อเสนอเรื่อง services, finance, investment, telecom, e-commerce, safeguard (trade remedies, DSU, government procurement, transparency และ general provisions โดยยังไม่มีการเจรจา text แต่เป็นการซักถาม clarifications สำหรับทรัพย์สินทางปัญญา เกษตร SPS สิ่งทอ แรงงานและสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีการยื่น text แต่ได้ยกประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจ ในส่วน science and technoloty ไทยได้ยื่น concept papter โดยเน้นด้านความร่วมมือ
- กำหนดการประชุมครั้งที่ 2 ประมาณกลางเดือนตุลาคม 2547 ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐ
- รายการสินค้าอ่อนไหวของสหรัฐฯ คือ สินค้าเกษตร สิ่งทอ และภาคบริการบางประเภท เช่น แรงงาน และสิ่งแวดล้อม
- รายการสินค้าอ่อนไหวของไทย ได้แก่ สุกรมีชีวิต สัตว์ปีกเลี้ยงมีชีวิต เนื้อเป็ด ห่าน ไก่ ผงบัตเตอร์มิลค์ น้ำส้ม น้ำเกรปฟรุ๊ต น้ำแอปเปิ้ล
ประเทศคู่เจรจา : 2. อาเซียน-จีน
สถานะการเจรจาเขตการค้าเสรี :
- ไทยได้มีการลงนามการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนในสินค้าเกษตรพิกัด 07-08 ระหว่างกันเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547 ภายหลังการลงนามดังกล่าวไทยส่งออกผักและผลไม้ได้มากขึ้น ผักและผลไม้ที่ไทยส่งออกไปจีน ได้แก่ ทุเรียน ลำใยสด-แห้ง มังคุด และมันสำปะหลัง และไทยนำเข้า แอปเปิ้ล แพร์ และควินซ์จากจีน
- การเปิดเสรีการค้าสินค้าอาเซียน-จีน ต้องเสร็จสิ้นในปี 2010 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน และปี 2015 สำหรับสมาชิกอาเซียนใหม่- กฎระเบียบอื่น ๆ ให้เป็นไปตามกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก
- จีนต้องการให้ประเทศสมาชิก WTO ให้การยอมรับจีนเป็นตลาดเสรี (Full market economy) หรือตลาดเสรีที่สมบูรณ์ ในขณะที่ฝ่ายไทยสงวนท่าทีไว้ยังไม่ยอมรับ Full market economy ส่วนท่าทีภายใต้กรอบ ASEAN-China ประเทศที่ให้การยอมรับว่าจีนเป็น Full market economy คือ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย
- ล่าสุดการประชุมเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 ได้กำหนดสินค้าอ่อนไหวของไทยภายใต้การเจรจาเขตการค้าเสรีกับจีนจำนวน 297 ประเภทย่อย
ประเทศคู่เจรจา : 3. จีน
สถานะการเจรจาเขตการค้าเสรี :
-เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2547 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้เดินทางไปเจรจาการค้าเขตการค้าเสรีกับจีน โดยได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการค้าเพื่อเร่งรัดการเปิดการค้าเสรีในสินค้าประเภทผักและผลไม้ให้รวดเร็วขึ้นและเพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่จะเกิดขึ้น ทั้งสองฝ่ายตกลงส่งเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขมาตรวจสอบที่ประเทศผู้ส่งออก และกำหนดให้มี express lane ใน 4 เมือง คือ ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว เพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้าและทำให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้นในจีน
ประเทศคู่เจรจา : 4. นิวซีแลนด์
สถานะการเจรจาเขตการค้าเสรี :
- การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ กำหนดเจรจาทุกเรื่อง ยกเว้นประเด็นสิ่งแวดล้อมและแรงงาน โดยจะมีการยื่น Specific request และ Sensitive list ของทั้ง 2 ประเทศ
- การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ กำหนดให้มีการหารือเบื้องต้นในประเด็นที่ทั้งสองประเทศต้องดำเนินการ เมื่อวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2547 ณ จังหวัดภูเก็ต
- การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 15-18 มิถุนายน 2547 การเจรจาครอบคลุม 2 เรื่อง คือ 1) ระดับพิกัดอัตราภาษีที่จะใช้ในการเจรจา 2) รูปแบบการลดภาษี โดยมีเป้าหมายสรุปผลภายในพฤศจิกายน 2547
- การเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2547 ณ จังหวัดอุบลราชธานี
- รายการสินค้าที่ไทยต้องการลดภาษีทันที ได้แก่ ด้ายฝ้าย และด้าย
- รายการสินค้าที่ไทยต้องการลดภาษีแบบต่างตอบแทน ได้แก่ ปลา แช่เย็นแช่แข็ง สตีไทต์ธรรมชาติ แชมพู ยาสีฟัน โลชั่น สบู่ ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ สารอินทรีย์ ไม้กวาด แปรง- รายการสินค้าอ่อนไหวของไทย ได้แก่ ปลาแมคเคอเรล ปลาฟิลเล ปลาแห้ง กุ้งสดแช่แข็ง กุ้งแปรรูป กาแฟ
ประเทศคู่เจรจา : 5. ออสเตรเลีย
สถานะการเจรจาเขตการค้าเสรี :
- ไทยและออสเตรเลียลงนามความตกลงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2547 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2548
- การทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับออสเตรเลีย เป็นการทำความตกลงฉบับแรกของไทยที่มีความรีบร้อนในการจัดทำเกินไป และภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นน้อยมาก นอกจากนี้ความโปร่งใสในการทำความตกลงยังมีไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่เน้นการประนีประนอมมากกว่า
ประเทศคู่เจรจา : 6. ญี่ปุ่น
สถานะการเจรจาเขตการค้าเสรี :
- ล่าสุดมีการประชุมเมื่อวันที่ 4-6 สิงหาคม 2547 ณ ญี่ปุ่น เพื่อพิจารณา Initial offer list ฝ่ายญี่ปุ่นต้องการแยกสินค้าเกษตรกับอุตสาหกรรมออกจากกัน ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมขอให้มี Early Harvest ทันที ส่วนสินค้าเกษตรขอให้เป็น Sensitive list คือ ข้าว มันสำปะหลัง ไก่ และน้ำตาล
- การเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ครั้งที่ 3 รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมระหว่างวันที่ 16-18 มิถุนายน 2547 ณ ชะอำ จ.เพชรบุรี ทั้งสองฝ่ายส่งร่างข้อบทที่ต้องการเสนอให้แต่ละฝ่ายพิจารณา และจะมีการเจรจาครั้งที่ 4 ในเดือนกันยายน เพื่อแลก offer list โดยฝ่ายไทยยืนยันใช้ Positive list ส่วนญี่ปุ่นยืนยันใช้ Negative list และต้องการให้นำ Mode 3 ไปอยู่ใน Mode investment เหมือนกับการเจรจากับสหรัฐฯ ซึ่งฝ่ายไทยไม่เห็นด้วย- request list ของญี่ปุ่น ได้แก่ ด้านการขนส่ง ด้านการเงิน การสื่อสาร และ Professional services เช่น สถาปนิก นักกฎหมาย ผู้ตรวจสอบบัญชี วิศวกร และมัคคุเทศก์ เป็นต้น
- request list ของไทย ได้แก่ สปา ผู้ดูแลคนชรา พ่อครัว นวดแผนโบราณ และขอให้ญี่ปุ่นเข้ามารับบริการด้านการรักษาพยาบาลในไทย- รายการสินค้าอ่อนไหวของไทย ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และปิโตรเคมี- รายการสินค้าอ่อนไหวของญี่ปุ่น ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ไก่ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์นม หัวบุก สินค้าประมง ไม้และของทำด้วยไม้ หนังฟอก เครื่องจักรสาน
- รายการสินค้าที่ไทยต้องการให้ญี่ปุ่นลดภาษี ได้แก่ ไก่ ปลา กุ้ง ปู น้ำผึ้ง ผัก ผลไม้ น้ำตาล ข้าว เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอและเสื้อผ้า อัญมณีและเครื่องประดับ แปรงสีฟัน - รายการสินค้าที่ญี่ปุ่นต้องการให้ไทยลดภาษี ได้แก่ เหล็ก ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเคมี กล้องดิจิตอล
ประเทศคู่เจรจา : 7. อาเซียน-อินเดีย
สถานะการเจรจาเขตการค้าเสรี :
- คณะเจรจาอาเซียน-อินเดีย และคณะทำงานด้านกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าจะมีการประชุมล่าสุดเมื่อวันที่ 26-29 มิถุนายน 2547
- รายการที่ต้องการเพิ่มใน Early Harvest Program ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เส้นก๋วยเตี๋ยว ประตูหน้าต่าง กรรไกรแต่งพุ่มไม้ ใบเลื่อยใช้กับโลหะ คีม กรรไกรตัดโลหะ กุญแจ บานพับ ตู้นิรภัย ประตูห้อง ปากกาลูกลื่น ดินสอแบบหมุน/กด
ประเทศคู่เจรจา : 8. อินเดีย
สถานะการเจรจาเขตการค้าเสรี :
รัฐบาลไทยและอินเดีย ได้ลงนามกรอบความตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2546 กำหนดลดภาษีในภาพรวมเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2553
- การลดภาษีสินค้าบางส่วนทันที (Early Harvest Scheme) มีจำนวนทั้งสิ้น 82 รายการ โดยจะใช้การลดภาษีแบบสัดส่วน (Margin of Preference — MOP) โดยกำหนดลดภาษีลง 80 % จากอัตราปัจจุบันในวันที่ 1 ก.ย. 2547 และลดภาษีลง 80 % จากอัตราปัจจุบันในวันที่ 1 ก.ย. 2548 และลดภาษีลงเหลือ 0 % ในวันที่ 1 กันยายน 2549
การค้าบริการและการลงทุน ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดกรอบการเจรจา ฝ่ายไทยสนใจภาคบริการในสาขาการจัดจำหน่าย สิ่งแวดล้อมพลังงาน ก่อสร้าง ส่วนสาขาการเงินและประกันภัยไทยขอเป็น sensitive list
กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ทั้งสองฝ่ายยืนยันให้ใช้หลักการแปรสภาพที่มากพอ ST โดยใช้เกณฑ์การผลิตที่มีการเปลี่ยนแปลงการจำแนกพิกัดในระดับ 4 หลัก ควบคู่กับ Local content ร้อยละ 40 ฝ่ายไทยเสนอใช้หลักเกณฑ์การจำแนกพิกัดในระดับ 6 หลัก หรือใช้ Local content ร้อยละ 40 อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
- รายการสินค้าที่ควรเพิ่มในรายการ Early Harvest Scheme ได้แก่ กุ้งกระป๋อง หอยลาย ปลาหมึกกระป๋อง ข้าวโพดหวานปรุงแต่ง ข้าวโพดฝักอ่อนปรุงแต่ง เงาะสอดไส้กระป๋อง ฟรุ้ตสลัดกระป๋อง ซอสถั่วเหลือง ผงปรุงรส น้ำปลา ซอส น้ำจิ้ม น้ำมันหอย เป็นต้น
ประเทศคู่เจรจา : 9. บาห์เรน
สถานะการเจรจาเขตการค้าเสรี :
1. การค้าสินค้า
- ฝ่ายไทย ประกาศลดภาษีสินค้า Early Harvest แต่ยังไม่มีผลในทางปฎิบัติ ขณะนี้รอให้มีการแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างกันก่อน
- สินค้า Early Harvest ฝ่ายบาห์เรนอยู่ระหว่างการพิจารณาขั้นตอนสุดท้ายของรัฐสภา
- ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะลดภาษีสินค้า Early Harvest จำนวน 207 รายการ ที่ยังมีอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 3 ให้เหลือร้อยละ 0 พร้อมกันกับสินค้า Fast Track ภายในวันที่ 1 มกราคม 2548 และกำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนรายการสินค้าที่เหลือทั้งหมดในกลุ่ม Normal Track และ Other Products ก่อนการประชุมครั้งต่อไป
2. การค้าบริการ
- ฝ่ายไทย ให้ความสำคัญในสาขาก่อสร้าง (ช่างฝีมือ) เสริมความงาม สปา และนวดแผนไทย
- บาห์เรนให้ความสำคัญในการเปิดเสรีทางการเงินและการธนาคาร
ประเทศคู่เจรจา : 10. เปรู
สถานะการเจรจาเขตการค้าเสรี :
- การประชุมคณะเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-เปรู ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 10-15 มิถุนายน 2547 ณ กรุงลิมา โดยมีดร.กันตธีร์ ศุภมงคล เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฯ และมีคุณสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย ประธานคณะทำงาน FTA ไทย-เปรู เดินทางร่วมคณะเจรจาฯ เพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะเจรจาฯ การเจรจาครอบคลุม 2 ประเด็น คือ Draft Text และการลดภาษี
- การประชุมคณะเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-เปรู ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ
- รายการสินค้าอ่อนไหวของไทย ได้แก่ ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง ปลาฟิลเล ปลาแห้ง กาแฟ กากและเศษอาหาร สารแอลบูมินอยด์ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง สังกะสีและของทำด้วยสังกะสี และปลาป่น พิกัด 2301.20 ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากเปรูได้ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นเอกชนได้เสนอให้ภาครัฐควรช่วยเหลือเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรม โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการภายใน 3 ปี หรืออย่างช้าไม่ควรเกิน 5 ปี หากปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข และภาครัฐต้องดำเนินการลดภาษีตามกรอบการเจรจา ภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการชดเชยความเสียหายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมให้กับเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรม
- รายการสินค้าอ่อนไหวของเปรู ได้แก่ นมและครีม ไขมันและน้ำมันที่ได้จากนม ข้าวสาลีและเมสลิน ข้าวโพด ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวซอร์กัม แป้งข้าวสาลีหรือแป้งเมสลิน น้ำตาลที่ได้จากอ้อยหรือหัวบีตและซูโครส พาสตา
- เปรูเสนอให้มีการเปิดเสรีภายใต้การลงทุนในสาขาที่เปรูสนใจใน 3 สาขา คือ การท่องเที่ยว การก่อสร้าง และการขนส่ง สำหรับสาขาที่ไทยและเปรูเห็นด้วยที่จะให้มีความร่วมมือ คือ ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ ซึ่งเปรูประสงค์ที่จะให้ไทยเข้าไปลงทุนทั้ง 3 สาขา
- การท่องเที่ยวเปรูเสนอเป็น Negative list ฝ่ายไทยไม่เห็นด้วย
ที่มา: หอการค้าไทย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ www.thaiechamber.com
-ดท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ