วันนี้ (14 ส.ค.47) นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวว่า คณะทำงานฯได้ดำเนินการตรวจสอบการประกวดราคาระบบสื่อสารตามโครงการจัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการประกันสังคมกรณีว่างงาน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จำนวน 327 ล้านบาท ผลของการสอบสวนสรุปว่าจากพยานหลักฐานหลายอย่าง เชื่อได้ว่ามีความไม่โปร่งใสส่อไปในทางทุจริตเกิดขึ้นจริง ดังนั้นคณะทำงานฯจึงมีความเห็นที่จะส่งผลการสอบสวนไปยังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เนื่องจากมีหลักฐานว่ามีนักการเมือง ข้าราชการ และบริษัทเอกชนเกี่ยวข้องกับการทุจริตในโครงการดังกล่าวอย่างเป็นกระบวนการ นอกจากนี้จะส่งรายงานการตรวจสอบให้นายกรัฐมนตรี เนื่องจากฝ่ายค้านต้องการทราบมาตรฐานการปราบปรามทุจริตของนายกรัฐมนตรีว่าอยู่ในบรรทัดฐานเดียวกันหรือไม่
‘จะเปรียบเทียบการบริหารงานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของนายกฯด้วยว่าจะมีมาตรฐานเดียวหรือ 2 มาตรฐาน ในกรณีนี้กับกรณีของโครงการทุจริตคอมฯ 900 ล้านของกระทรวงสาธารณสุข เพราะโครงการนี้มีพฤติกรรมชัดเจนว่ามีความไม่โปร่งใสมากกว่าโครงการของกระทรวงสาธารณสุข แต่ไม่มีท่าทีใดๆในลักษณะที่จะล้มประมูลหรือยับยั้งการเซ็นสัญญาในโครงการนี้ จากนี้ไปคณะทำงานฯเมื่อตรวจสอบการทุจริตเรื่องใดนอกจากจะดำเนินการตามขั้นตอนแล้ว ก็จะยื่นต่อนายกฯ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมขางนายกฯว่ามีความจริงจังหรือไม่ในการปราบปรามการทุจริต’ นายอลงกรณ์กล่าว
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า นอกจากนี้คณะทำงานฯยังได้ตรวจพบเบาะแสส่อว่ามีความไม่โปร่งใสในโครงการเช่าคอมพิวเตอร์เมนเฟรมและซอฟแวร์ปฏิบัติการของสำนักงานประกันสังคม วงเงิน 350 ล้านบาท ซึ่งมีการกำหนดคุณลักษณะเข้าข่ายล็อคสเปก โดยมีเพียงบริษัทเดียวที่สามารถยื่นซองประมูลได้ และบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทเดียวกับที่ประมูลโครงการเช่าระบบเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ที่กล่าวไปแล้ว จึงตั้งข้อสังเกตว่าจะเป็นกระบวนการเดียวกันโดยการประสานงานของนักการเมือง ดังนั้นคณะทำงานฯจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริงต่อไป
นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ฝ่ายค้านยังเตรียมเดินหน้าตรวจสอบอีกหลายโครงการในหน่วยงานต่าง ๆ เพราะมีความเป็นห่วงในเรื่องของการทุจริต เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมชลประทาน และโครงการบ้านเอื้ออาทร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-
‘จะเปรียบเทียบการบริหารงานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของนายกฯด้วยว่าจะมีมาตรฐานเดียวหรือ 2 มาตรฐาน ในกรณีนี้กับกรณีของโครงการทุจริตคอมฯ 900 ล้านของกระทรวงสาธารณสุข เพราะโครงการนี้มีพฤติกรรมชัดเจนว่ามีความไม่โปร่งใสมากกว่าโครงการของกระทรวงสาธารณสุข แต่ไม่มีท่าทีใดๆในลักษณะที่จะล้มประมูลหรือยับยั้งการเซ็นสัญญาในโครงการนี้ จากนี้ไปคณะทำงานฯเมื่อตรวจสอบการทุจริตเรื่องใดนอกจากจะดำเนินการตามขั้นตอนแล้ว ก็จะยื่นต่อนายกฯ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมขางนายกฯว่ามีความจริงจังหรือไม่ในการปราบปรามการทุจริต’ นายอลงกรณ์กล่าว
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า นอกจากนี้คณะทำงานฯยังได้ตรวจพบเบาะแสส่อว่ามีความไม่โปร่งใสในโครงการเช่าคอมพิวเตอร์เมนเฟรมและซอฟแวร์ปฏิบัติการของสำนักงานประกันสังคม วงเงิน 350 ล้านบาท ซึ่งมีการกำหนดคุณลักษณะเข้าข่ายล็อคสเปก โดยมีเพียงบริษัทเดียวที่สามารถยื่นซองประมูลได้ และบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทเดียวกับที่ประมูลโครงการเช่าระบบเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ที่กล่าวไปแล้ว จึงตั้งข้อสังเกตว่าจะเป็นกระบวนการเดียวกันโดยการประสานงานของนักการเมือง ดังนั้นคณะทำงานฯจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริงต่อไป
นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ฝ่ายค้านยังเตรียมเดินหน้าตรวจสอบอีกหลายโครงการในหน่วยงานต่าง ๆ เพราะมีความเป็นห่วงในเรื่องของการทุจริต เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมชลประทาน และโครงการบ้านเอื้ออาทร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-