โฆษก ปชป. ชี้ รัฐบาล เน้นการเมืองเป็นหลัก ไม่จริงจังกับการแก้ไขปัญหา กังวล ตัวเลขเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แนะ รับฟังความคิดเห็นที่ดีกว่า นำมาตรการของรัฐบาลชุดอื่นมาปรับใช้แก้ปัญหาวิกฤตราคาน้ำมัน
เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้(15 ส.ค.47) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง สถานการณ์ราคาน้ำมัน ว่า ปัญหาราคาน้ำมันในประเทศมีราคาแพง จนเวลานี้มีแนวโน้มเข้าขั้นวิกฤติแล้วนั้น แม้ว่าสาเหตุหลักมาจากปัจจัยภายนอกก็ตาม แต่สิ่งสำคัญที่สะท้อนถึงความเป็นจริงก็คือตลอดระยะเวลากว่า 3 ปีที่รัฐบาลภายใต้การนำของ นายกฯทักษิณ เข้ามาบริหารประเทศ ไม่เคยออกมาตรการเตรียมรับมือหรือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนแต่อย่างใด
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ในสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเมื่อปลายปี 2543 นายกฯทักษิณ เคยเสนอมาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงทั้งระยะสั้นและระยะยาวออกมามากมาย แต่เมื่อประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติน้ำมันแพงกลับไม่เคยปรากฎว่า นายกฯทักษิณ ได้นำมาตรการเหล่านั้นมาใช้แต่อย่างใด
มาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันครบวงจร-แต่ไม่เคยนำมาใช้
นายองอาจ กล่าวว่า หากยังจำกันได้ในครั้งนั้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2543 นายกฯทักษิณ สมัยก่อตั้งพรรคไทยรักไทยเคยเขียนจดหมายเปิดผนึกเสนอมาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงอย่างครบวงจรทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้กับรัฐบาลในขณะนั้นนำมาใช้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ทั้งนี้ข้อเสนอมาตรการดังกล่าวของ มีอยู่ด้วยกัน 6 ข้อ คือ
1. กำหนดมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะกลุ่ม
2. สร้างระบบอัตราภาษีน้ำมันที่มีความยืดหยุ่นต่อราคาน้ำมัน และกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตที่เรียก เก็บให้สามารถขึ้นลงได้เองโดยอัตโนมัติ
3. ทบทวนการใช้ราคาน้ำมันอ้างอิงของสิงคโปร์
4 . เจรจาซื้อน้ำมันราคาพิเศษจากประเทศเพื่อนบ้าน
5. การใช้พลังงานอื่นทดแทนน้ำมัน
6. การสร้างคลังน้ำมันสำรองในรูปของตราสารผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้า
ปรากฎว่าวันนี้เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ มาเป็นนายกรัฐมนตรี กลับไม่นำมาตรดังกล่าวนี้มาใช้ แต่กลับปล่อยให้ราคานำมันพุ่งขึ้นสูงมาก จึงเป็นเรื่องที่น่าสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอมาตรการให้รัฐบาลขณะนั้นเพื่ออะไร
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลส่งสัญญาณผิดมาโดยตลอด เพราะมัวแต่พะวงเรื่องจีดีพี จะหดตัว กล่าวได้ว่าพะวงตัวทางด้านการเมืองเป็นหลัก เพราะฉะนั้นถือว่ามาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้ยังไม่พอเพียง โดยเฉพาะยังมีการปล่อยให้มีการใช้น้ำมันอย่างฟุ่มเฟือย ซึ่งจะทำให้มีการนำเข้ามากขึ้น ทำให้เงินไหลออกนอกประเทศมากขึ้น
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ทางที่ดี พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ารัฐบาลควรจะนำแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชุดอื่นๆ ในอดีตที่ผ่านมาซึ่งมีการแก้ปัญหาได้ดีหลายอย่าง นำมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาให้เหมาะสม และที่สำคัญรัฐบาลต้องทำอย่างจริงจัง และไม่ควรกังวลเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจ(จีดีพี) มากเกินไป นายองอาจ กล่าวต่อว่าจากการวิเคราะห์ของนักวิชาการ ทั้งสำนักเศรษฐกิจ ได้วิเคราะห์ไว้ว่าจากการตรวจสอบพบว่าเป็นแต่เพียงภาพลวงตา เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงอันตรายทางเศรษฐกิจ เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงอัตราการขยายตัวเฉพาะบางกลุ่มเช่น กลุ่มคนมีเงินเท่านั้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-
เมื่อเวลา 10.30 น.วันนี้(15 ส.ค.47) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง สถานการณ์ราคาน้ำมัน ว่า ปัญหาราคาน้ำมันในประเทศมีราคาแพง จนเวลานี้มีแนวโน้มเข้าขั้นวิกฤติแล้วนั้น แม้ว่าสาเหตุหลักมาจากปัจจัยภายนอกก็ตาม แต่สิ่งสำคัญที่สะท้อนถึงความเป็นจริงก็คือตลอดระยะเวลากว่า 3 ปีที่รัฐบาลภายใต้การนำของ นายกฯทักษิณ เข้ามาบริหารประเทศ ไม่เคยออกมาตรการเตรียมรับมือหรือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนแต่อย่างใด
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ในสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเมื่อปลายปี 2543 นายกฯทักษิณ เคยเสนอมาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงทั้งระยะสั้นและระยะยาวออกมามากมาย แต่เมื่อประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติน้ำมันแพงกลับไม่เคยปรากฎว่า นายกฯทักษิณ ได้นำมาตรการเหล่านั้นมาใช้แต่อย่างใด
มาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันครบวงจร-แต่ไม่เคยนำมาใช้
นายองอาจ กล่าวว่า หากยังจำกันได้ในครั้งนั้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2543 นายกฯทักษิณ สมัยก่อตั้งพรรคไทยรักไทยเคยเขียนจดหมายเปิดผนึกเสนอมาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันแพงอย่างครบวงจรทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้กับรัฐบาลในขณะนั้นนำมาใช้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ทั้งนี้ข้อเสนอมาตรการดังกล่าวของ มีอยู่ด้วยกัน 6 ข้อ คือ
1. กำหนดมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะกลุ่ม
2. สร้างระบบอัตราภาษีน้ำมันที่มีความยืดหยุ่นต่อราคาน้ำมัน และกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตที่เรียก เก็บให้สามารถขึ้นลงได้เองโดยอัตโนมัติ
3. ทบทวนการใช้ราคาน้ำมันอ้างอิงของสิงคโปร์
4 . เจรจาซื้อน้ำมันราคาพิเศษจากประเทศเพื่อนบ้าน
5. การใช้พลังงานอื่นทดแทนน้ำมัน
6. การสร้างคลังน้ำมันสำรองในรูปของตราสารผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้า
ปรากฎว่าวันนี้เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ มาเป็นนายกรัฐมนตรี กลับไม่นำมาตรดังกล่าวนี้มาใช้ แต่กลับปล่อยให้ราคานำมันพุ่งขึ้นสูงมาก จึงเป็นเรื่องที่น่าสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอมาตรการให้รัฐบาลขณะนั้นเพื่ออะไร
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จนถึงขณะนี้ ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลส่งสัญญาณผิดมาโดยตลอด เพราะมัวแต่พะวงเรื่องจีดีพี จะหดตัว กล่าวได้ว่าพะวงตัวทางด้านการเมืองเป็นหลัก เพราะฉะนั้นถือว่ามาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้ยังไม่พอเพียง โดยเฉพาะยังมีการปล่อยให้มีการใช้น้ำมันอย่างฟุ่มเฟือย ซึ่งจะทำให้มีการนำเข้ามากขึ้น ทำให้เงินไหลออกนอกประเทศมากขึ้น
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ทางที่ดี พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ารัฐบาลควรจะนำแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชุดอื่นๆ ในอดีตที่ผ่านมาซึ่งมีการแก้ปัญหาได้ดีหลายอย่าง นำมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาให้เหมาะสม และที่สำคัญรัฐบาลต้องทำอย่างจริงจัง และไม่ควรกังวลเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจ(จีดีพี) มากเกินไป นายองอาจ กล่าวต่อว่าจากการวิเคราะห์ของนักวิชาการ ทั้งสำนักเศรษฐกิจ ได้วิเคราะห์ไว้ว่าจากการตรวจสอบพบว่าเป็นแต่เพียงภาพลวงตา เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงอันตรายทางเศรษฐกิจ เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงอัตราการขยายตัวเฉพาะบางกลุ่มเช่น กลุ่มคนมีเงินเท่านั้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-