ภาวะท่าเรือของเอเชีย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 17, 2004 14:09 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

        ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาฮ่องกงและสิงคโปร์เป็นเมืองท่าหลักในการขนส่งสินค้าของเอเชียและของโลกเนื่องจากความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งของท่าเรือฮ่องกงซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกเนื่องจากความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งของท่าเรือฮ่องกงซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกอย่างจีน และท่าเรือสิงคโปร์ที่เป็นศูนย์กลางในการขนส่งสินค้าระหว่างทวีป ยุโรปและภูมิภาคเอเชียตะวันออก ความได้เปรียบดังกล่าวทำให้ท่าเรือของฮ่องกงมีปริมาณกาาขนส่งสินค้าสูงที่สุดในโลก โดยสามารถรองรับสินค้าได้ถึง 19 ล้าน TEUs (Twenty-foot Equivalent Units) ต่อปี ขณะที่ท่าเรือของสิงคโปร์สามารถรองรับสินค้าได้ทั้งสิ้นประมาณ 16.8 ล้าน TEUs ต่อปี จัดเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากฮ่องกง
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาสถานการณ์ท่าเรือในเอเชียมีการเปลี่ยนแปลงปลายประการที่เห็นได้ชีดคือ
- หลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย อาทิ มาเลเซีย จีน ญี่ปุ่น และปากีสถาน เปิดท่าเรือแห่งใหม่หรือขยายท่าเรือเดิมเพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลกที่เริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะ Port of Tanjung Pelepas ของมาเลเซียซึ่งเป็นท่าเรือใหม่ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2543 นับเป็นท่าเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ โดยสามารถรองรับสินค้าได้ประมาณ 3 ล้าน TEUsต่อปี
การขยายตัวของอุตสาหกรรมท่าเรือในประเทศต่างๆ ส่งผลให้บริษัทขนส่งสินค้าทางเรือรายสำคัญของโลก อาทิ บริษัท เมิร์สค์ ซีแลนด์(Maersk Sealand)ของเดนมาร์ก ซึ่งมีระวางบรรทุกมากที่สุดในโลก และบริษัท เอเวอร์กรีน มารีน(Evergreen Marine)ของไต้หวันซึ่งเป็นบริษัทเดินเรือรายสำคัญในเส้นทางขนส่งหลักของโลก ปรับเปลี่ยนการใช้ท่าเรือในเอเชียจากท่าเรือหลักในสิงคโปร์มายังท่าเรือในมาเลเซียมากขึ้นเพื่อขนถ่ายสินค้าของตน การปรับเปลี่ยนดังกล่าวส่งผลให้บทบาทของท่าเรือฮ่องกงและสิงคโปร์เริ่มสั่นคลอนลงเป็นลำดับ
- การแข่งขันระหว่างท่าเรือของประเทศต่างๆ มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันด้านราคาที่ผู้บริโภคบริการท่าเรือหลายแห่งเริ่มใช้เป็นเครื่องมือในการขยายตลาด ทำให้ปัจจุบัน ค่าธรรมเนียมในการใช้ท่าเรือลดลงกว่า 50% นอกจากนี้ การที่รัฐบาลในหลายประเทศมีนโยบายที่จะก่อสร้างท่าเรือเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าและใช้บริการขนส่งสินค้ารายสำคัญของโลกมีโครงการก่อสร้างท่าเรือขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการขยายตัวของการผลิตและการส่งออกสินค้าของตนอาทิ โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก Yangshan ที่เชี่ยงไฮ้ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้กว่า 3 ล่าน TEUs ต่อปีในปี 2548 และเพิมขึ้นเป็นกว่า 20 ล้าน TEUs ต่อปีเมื่อ เสร็จสิ้นโครงการในปี 2553 ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวทำให้คาดว่าภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่าเรือของเอเชียมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาคต
- การแข่งขันกันเองระหว่างท่าเรือภายในประเทศ โดยเฉพาะท่าเรือในฮ่องกงและเกาหลีใต้ที่เปิดใหม่จำนวนมาก ทำให้อุตสาหกรรม ท่าเรือในเอเชียมีความเสี่ยงจากการที่ปริมาณท่าเรือมีมากเกิดความต้องการสำหรับขนส่งสินค้าภายในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของปัญหาปริมาณท่าเรือที่มีมากเกินความต้องการขึ้นอยู่กับการขยายตัวของภาคการผลิตของจีนตลอดจนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและกาาค้าโลกเป็นสำคัญ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-ชพ/พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ