ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวง การคลังเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นมาตรการที่กำหนดให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ที่ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้มีเสถียรภาพ โดยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจระดับฐานรากให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ รวมถึงการเพิ่มสมรรถนะของระบบเศรษฐกิจโดยรวมให้สามารถแข่งขัน ก้าวทันเศรษฐกิจยุคใหม่ได้ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. การสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ
เพื่อสนับสนุนการขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในการไปลงทุนในต่างประเทศ กระทรวงการคลังจึงเห็นควรมีการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผลที่ได้รับ ให้กับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งเข้าไปลงทุนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีใกล้เคียงหรือเท่ากับการลงทุนในประเทศ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) บริษัทฯผู้รับเงินปันผลต้องถือหุ้นในบริษัทฯที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทฯผู้จ่ายเงินปันผล โดยต้องมีการถือหุ้นไว้ ไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นนั้นมาถึงวันที่ได้รับเงินปันผล
(2) เงินปันผลดังกล่าวต้องมาจากกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีในต่างประเทศในอัตราปกติ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ
(3) ในกรณีมีกฎหมายพิเศษของต่างประเทศ ลดหรือยกเว้นการเสียภาษีสำหรับกำไรสุทธิตาม (2) ก็ยังคงให้บริษัทจำกัดที่ได้รับเงินปันผล ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามมาตรการนี้ด้วยมาตรการนี้จะมีส่วนช่วยขยายศักยภาพของธุรกิจไทย ในการไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้นำผลตอบแทนที่เป็นเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
2. การส่งเสริมการโยกย้ายโรงงาน
เพื่อส่งเสริมให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีการขายโรงงานพร้อมที่ดินเพื่อย้ายเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมากขึ้น อันจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาภาวะมลพิษ กระทรวงการคลังจึงเห็นควรยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายโรงงานพร้อมที่ดิน เพื่อนำรายได้ไปซื้อโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำคัญ ดังนี้
(1) บริษัทฯจะต้องย้ายโรงงานเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมให้แล้วเสร็จก่อนหรือ หลังการขายโรงงานพร้อมที่ดินภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
(2) การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับการขายโรงงานพร้อมที่ดินดังกล่าว จะต้อง ไม่เกินมูลค่าโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่การยกเว้นภาษีในกรณีนี้ ให้ผู้ขายเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ก่อนตามปกติ และเมื่อมีองค์ประกอบ ที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ให้ยื่นขอคืนกับกรมสรรพากรได้ทันที ซึ่งกรมสรรพากรจะคืนภาษีดังกล่าวให้โดยเร็ว การยกเว้นภาษีกรณีนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับช่วง 5 ปี นับจากวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้มาตรการนี้นอกจากจะช่วยสนับสนุนทำให้มีการจัดระเบียบโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาภาวะมลพิษ รวมถึงการดูแลความปลอดภัยของโรงงานได้สะดวกมากขึ้นแล้ว กรณีมีการจัดกิจการใน นิคมอุตสาหกรรมตามกลุ่มอุตสาหกรรม ยังจะเป็นการช่วยสนับสนุนให้โรงงานต่างๆ เข้าไปอยู่รวมกันเป็น Cluster มากยิ่งขึ้นด้วย
3. การปรับปรุงหลักเกณฑ์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capitapital)
ปัจจุบันตามข้อกฎหมายได้มีการให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital : VC) โดยการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับรายได้ที่เป็นเงินปันผลหรือผลประโยชน์จากการโอนหุ้นในกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ VC เข้าไปลงทุน รวมถึงผู้ที่ลงทุนในธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC) ก็จะได้รับยกเว้นภาษีจากเงินปันผลหรือผลประโยชน์จากการโอนหุ้นใน VC ด้วย ทั้งนี้ การได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว VC จะต้องมีการถือหุ้นใน SMEs ตามเงื่อนไข ระยะเวลา และหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
เพื่อสนับสนุนให้ VC สามารถลงทุนในกิจการ SMEs มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นการช่วย พัฒนาธุรกิจ รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำต่างๆ ที่จำเป็นแก่ SMEs ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของผู้ประกอบการ ในระบบเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ให้คล่องตัว มากยิ่งขึ้น ดังนี้
(1) ปรับลดระยะเวลาการถือหุ้นของ VC ใน SMEs ต่างๆ ให้เหมาะสม จากเดิมที่กำหนดว่าจะต้องถือหุ้น SMEs ไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปี เหลือไม่น้อยกว่า 5 ปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน และในกรณีที่ VC สามารถนำ SMEs เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ ให้ปรับลดระยะเวลาการถือหุ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี เหลือไม่น้อยกว่า 3 ปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน
(2) แก้ไขหลักเกณฑ์กรณีภายหลังการลงทุนในกิจการ SMEs แล้ว SMEs มีการขยายตัวจนเกินกรอบการเป็น SMEs ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งจะทำให้ VC ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีทั้งหมด มาเป็นให้ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีเฉพาะในช่วงเวลาที่เข้าไปลงทุน จนถึงปีบัญชีสุดท้ายที่ SMEs มีสถานะเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนด
การปรับปรุงหลักเกณฑ์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุนนี้ จะมีส่วนช่วยส่งเสริมและพัฒนากิจการ SMEs ได้มากขึ้น ทั้งในด้านเงินทุน การให้คำปรึกษา และเทคนิคเกี่ยวกับการดำเนินกิจการ
มาตรการที่นำเสนอทั้งหมดข้างต้นจะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากรเพียงเล็กน้อย แต่จะมีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ทางหนึ่ง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 61/2547 17 สิงหาคม 2547--
1. การสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ
เพื่อสนับสนุนการขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในการไปลงทุนในต่างประเทศ กระทรวงการคลังจึงเห็นควรมีการยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผลที่ได้รับ ให้กับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งเข้าไปลงทุนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีใกล้เคียงหรือเท่ากับการลงทุนในประเทศ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) บริษัทฯผู้รับเงินปันผลต้องถือหุ้นในบริษัทฯที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัทฯผู้จ่ายเงินปันผล โดยต้องมีการถือหุ้นไว้ ไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นนั้นมาถึงวันที่ได้รับเงินปันผล
(2) เงินปันผลดังกล่าวต้องมาจากกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีในต่างประเทศในอัตราปกติ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ
(3) ในกรณีมีกฎหมายพิเศษของต่างประเทศ ลดหรือยกเว้นการเสียภาษีสำหรับกำไรสุทธิตาม (2) ก็ยังคงให้บริษัทจำกัดที่ได้รับเงินปันผล ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามมาตรการนี้ด้วยมาตรการนี้จะมีส่วนช่วยขยายศักยภาพของธุรกิจไทย ในการไปลงทุนแข่งขันในต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้นำผลตอบแทนที่เป็นเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
2. การส่งเสริมการโยกย้ายโรงงาน
เพื่อส่งเสริมให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีการขายโรงงานพร้อมที่ดินเพื่อย้ายเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมากขึ้น อันจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาภาวะมลพิษ กระทรวงการคลังจึงเห็นควรยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายโรงงานพร้อมที่ดิน เพื่อนำรายได้ไปซื้อโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำคัญ ดังนี้
(1) บริษัทฯจะต้องย้ายโรงงานเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมให้แล้วเสร็จก่อนหรือ หลังการขายโรงงานพร้อมที่ดินภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
(2) การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับการขายโรงงานพร้อมที่ดินดังกล่าว จะต้อง ไม่เกินมูลค่าโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่การยกเว้นภาษีในกรณีนี้ ให้ผู้ขายเสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ก่อนตามปกติ และเมื่อมีองค์ประกอบ ที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ให้ยื่นขอคืนกับกรมสรรพากรได้ทันที ซึ่งกรมสรรพากรจะคืนภาษีดังกล่าวให้โดยเร็ว การยกเว้นภาษีกรณีนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับช่วง 5 ปี นับจากวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้มาตรการนี้นอกจากจะช่วยสนับสนุนทำให้มีการจัดระเบียบโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาภาวะมลพิษ รวมถึงการดูแลความปลอดภัยของโรงงานได้สะดวกมากขึ้นแล้ว กรณีมีการจัดกิจการใน นิคมอุตสาหกรรมตามกลุ่มอุตสาหกรรม ยังจะเป็นการช่วยสนับสนุนให้โรงงานต่างๆ เข้าไปอยู่รวมกันเป็น Cluster มากยิ่งขึ้นด้วย
3. การปรับปรุงหลักเกณฑ์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capitapital)
ปัจจุบันตามข้อกฎหมายได้มีการให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital : VC) โดยการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับรายได้ที่เป็นเงินปันผลหรือผลประโยชน์จากการโอนหุ้นในกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ VC เข้าไปลงทุน รวมถึงผู้ที่ลงทุนในธุรกิจเงินร่วมลงทุน (VC) ก็จะได้รับยกเว้นภาษีจากเงินปันผลหรือผลประโยชน์จากการโอนหุ้นใน VC ด้วย ทั้งนี้ การได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว VC จะต้องมีการถือหุ้นใน SMEs ตามเงื่อนไข ระยะเวลา และหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
เพื่อสนับสนุนให้ VC สามารถลงทุนในกิจการ SMEs มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นการช่วย พัฒนาธุรกิจ รวมถึงการให้คำปรึกษาแนะนำต่างๆ ที่จำเป็นแก่ SMEs ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของผู้ประกอบการ ในระบบเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ให้คล่องตัว มากยิ่งขึ้น ดังนี้
(1) ปรับลดระยะเวลาการถือหุ้นของ VC ใน SMEs ต่างๆ ให้เหมาะสม จากเดิมที่กำหนดว่าจะต้องถือหุ้น SMEs ไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปี เหลือไม่น้อยกว่า 5 ปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน และในกรณีที่ VC สามารถนำ SMEs เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ ให้ปรับลดระยะเวลาการถือหุ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี เหลือไม่น้อยกว่า 3 ปีในรอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน
(2) แก้ไขหลักเกณฑ์กรณีภายหลังการลงทุนในกิจการ SMEs แล้ว SMEs มีการขยายตัวจนเกินกรอบการเป็น SMEs ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งจะทำให้ VC ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีทั้งหมด มาเป็นให้ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีเฉพาะในช่วงเวลาที่เข้าไปลงทุน จนถึงปีบัญชีสุดท้ายที่ SMEs มีสถานะเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนด
การปรับปรุงหลักเกณฑ์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุนนี้ จะมีส่วนช่วยส่งเสริมและพัฒนากิจการ SMEs ได้มากขึ้น ทั้งในด้านเงินทุน การให้คำปรึกษา และเทคนิคเกี่ยวกับการดำเนินกิจการ
มาตรการที่นำเสนอทั้งหมดข้างต้นจะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากรเพียงเล็กน้อย แต่จะมีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ทางหนึ่ง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 61/2547 17 สิงหาคม 2547--