สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2547 = 135.86 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 (123.69) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (124.19)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2547 ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์ การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์พลาสติก การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนพฤษภาคม 2547 = 62.97 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 (57.36) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (57.05)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2547
- ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวดีขึ้น ตามการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น สำหรับการส่งออกยังอยู่ในช่วงคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงตามฤดูกาลและเป็น ช่วงปรับตัวสู่การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตและการส่งออกมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น
- ราคาเหล็กทรงแบนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของจีน สำหรับความต้องการเหล็กรวมในประเทศยังคงมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น
- อุตสาหกรรมรถยนต์ ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงก่อน High Season
- อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังคงเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน เนื่องจากมีปัจจัยหนุน เช่น เป็นช่วงการแข่งขันฟุตบอล ยูโร 2004 ตลอดจนกลยุทธ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อในการซื้อสินค้า
- การผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาวะธุรกิจก่อสร้าง "
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
เม.ย. 47 = 123.69
พ.ค. 47 = 135.86 ้
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่
- อุตสาหกรรมยานยนต์
- ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์
- การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
อัตราการใช้กำลังการผลิต
เม.ย. 47 = 57.36
พ.ค.. 47 = 62.97 ้
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- อุตสาหกรรมยานยนต์
- การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก
- ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์
1.อุตสาหกรรมอาหาร
"ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวดีขึ้น ตามการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น สำหรับการส่งออกยังอยู่ในช่วงคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงตามฤดูกาลและเป็นช่วงปรับตัวสู่การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น"
1. การผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร ในกลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก ส่วนใหญ่ขยายตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงประมาณร้อยละ 3.6 โดยการผลิตกุ้งแช่เย็นแช่แข็งลดลงมากที่สุด ร้อยละ 21.2 (ราคาตลาดโลกลดลง) ปลาทูน่ากระป๋องร้อยละ 13.4 (วัตถุดิบขาดแคลน) และไก่แช่เย็นแช่แข็ง ลดลงร้อยละ 5.4 (โรคไข้หวัดนก) ประกอบกับคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศลดลงตามฤดูกาล อย่างไรก็ตามการผลิตสับปะรดกระป๋องมีแนวโน้มผลิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจากระดับราคาส่งออกที่สูงขึ้นเป็นแรงจูงใจ
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร มีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17.6 จากราคาจำหน่ายที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะไก่ ไข่และเนื้อสัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น เมล็ดถั่วเหลือง และข้าวโพด ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง นอกจากนี้ผลจากการอ่อนตัวลงของราคากุ้งในตลาดโลก ทำให้ปริมาณการบริโภคกุ้งเพิ่มขึ้น
2) ตลาดต่างประเทศ
ภาวะการส่งออกอาหารโดยรวมจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 11.8 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนประมาณร้อยละ 22.5 เป็นผลจากการลดลงของการส่งออกไก่ กุ้ง และน้ำตาลทราย ส่วนการส่งออกไก่แปรรูป มีการส่งออกเพิ่มขึ้นทดแทนไก่แช่เย็นแช่แข็ง ซึ่งต่างประเทศจะเริ่มให้มีการนำเข้าได้ในเดือนสิงหาคม โดยจะทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3 สำหรับสินค้าอาหารอื่นๆ เช่น ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว เครื่องปรุงรสและสมุนไพร มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นและมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกค้าต่างประเทศเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา โดยเฉพาะอาหารทะเลแปรรูป ไก่แปรรูป และอาหารกึ่งสำเร็จรูป นอกจากนี้การส่งออกไก่แช่เย็นแช่แข็งจะเริ่มกลับมาส่งออกได้อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกขยายตัวดีขึ้น
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
"อุตสาหกรรมสิ่งทอพร้อมรับ FTA ซึ่งการเปิดเสรีจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโดยรวม"
1.การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ 14.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตจากผ้าถัก ลดลงเล็กน้อย ซึ่งธุรกิจสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยยังมีความได้เปรียบด้านคุณภาพ แม้ว่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของจีนจะเข้ามาตีตลาดอย่างหนัก แต่จีนเองก็นำเข้าสิ่งทอจากไทยเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะเส้นด้ายและผ้าผืน
2.การส่งออกและตลาดส่งออก
การส่งออกสิ่งทอเดือนพฤษภาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนร้อยละ 17.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา(+27.7%) , สหราชอาณาจักร(+15.2%), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (+31.1%) ,จีน(+7.3%) ,ญี่ปุ่น (-10.3%) , เยอรมนี(-8.0%)
การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป เดือนพฤษภาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนร้อยละ 30.7 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา(+30.8%) , สหราชอาณาจักร(+15.6%) ,ฝรั่งเศส (+52.1%) ,เยอรมนี (+12.1%), เนเธอร์แลนด์(+118.2%) แต่ลดลงในตลาดญี่ปุ่น(-13.8%)
ตลาดนำเข้า
ตลาดนำเข้าเส้นใยฯ ได้แก่ ออสเตรเลีย(+12.1%) และอินเดีย (+1,472.7%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปได้แก่ จีน(+45.3%) ฮ่องกง(+22.9%) อิตาลี(+20.%) และญี่ปุ่น(+40.7%) เส้นด้าย ได้แก่ จีน(+10.5%), ญี่ปุ่น(+36.1%) และเกาหลีใต้ (+50.6%) ผ้าผืน ได้แก่ จีน(+13.2%) , ไต้หวัน (+7.7%) และฮ่องกง (+33.9%)
3.แนวโน้ม
ในเดือนมิถุนายน การผลิตเส้นใยสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมแนวโน้มเดือนกรกฎาคม การผลิตและการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น แต่อาจจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนด้านเชื้อเพลิงและก๊าซที่อยู่ในระดับสูง
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
"ราคาเหล็กทรงแบนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของจีน สำหรับความต้องการเหล็กรวมในประเทศ"ยังคงมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น"
1.การผลิต
ดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพ.ค. 2547 มีค่า 137.57 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.83 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.41 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ ท่อเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60.11 รองลงมา ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.82 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีผลผลิตลดลง ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 18.83 รองลงมา เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 10.89
2.การนำเข้า-ส่งออก
มูลค่าการนำเข้ามีค่า 17,910.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.45 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย
มูลค่าการส่งออกมีค่า 7,606.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.67 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยตลาดส่งออกหลักคือประเทศญี่ปุ่นและมาเลเซีย
สำหรับราคาเหล็ก (FOB)ในตลาดโลก (CIS) ผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อน (HR Coil) เหล็กแผ่นรีดเย็น (CR Coil) ในขณะที่ราคาของเหล็กทรงยาวกลับมีแนวโน้มราคาที่ลดลง เช่น เหล็กเส้น (Rebar) และเหล็กลวด (Wire rod)
3.แนวโน้ม
ภาวะการผลิตในเดือน มิ.ย. 2547 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน สำหรับแนวโน้มของราคาเศษเหล็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าอาจปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของประเทศจีนในขณะที่ปริมาณสินค้าคงคลังได้ลดลงมาก ยิ่งไปกว่านั้นทางรัฐบาลจีนกำลังจะมีมาตรการควบคุมการนำเข้าเศษเหล็ก เนื่องจากความกังวลในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมทำให้ผู้ประกอบการจีนมีแนวโน้มที่จะซื้อเศษเหล็กเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ทันกำหนดการก่อนที่มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์ (มิ.ย. 47)
อุตสาหกรรมรถยนต์ ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยประมาณการในเดือนมิถุนายน ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 79,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 20.79 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการผลิต 77,690 คัน ร้อยละ 1.69
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 51,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 17.75 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการจำหน่าย 49,276 คัน ร้อยละ 3.50
- การส่งออกรถยนต์ มีจำนวน 28,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 38.51 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการส่งออก 27,623 คัน ร้อยละ 1.36
- แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม จะค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากเริ่มเข้าฤดูฝน ซึ่งมิใช่ช่วงฤดูการขายของอุตสาหกรรมรถยนต์ นอกจากนี้ หากราคาน้ำมันยังคงมีราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น อาจจะมีผลทางจิตวิทยาในการชะลอการตัดสินใจที่จะซื้อรถยนต์ของผู้บริโภค
รถจักรยานยนต์ (มิ.ย 47)
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยประมาณการในเดือนมิถุนายน ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 230,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 17.92 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการผลิต 260,718 คัน ร้อยละ 11.78
- การจำหน่าย จำนวน 160,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 5.06 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการจำหน่าย 182,038 คัน ร้อยละ 12.11
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 70,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 19.81 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการส่งออก 81,851 คัน ร้อยละ 14.48
- แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคมจะชะลอตัวลง เนื่องจากช่วงนี้มิใช่ฤดูกาลขาย ประกอบกับยังไม่มีการออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ หลังจากที่รุ่นใหม่เพิ่งได้ออกตัวไปเมื่อช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา
5. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
"การผลิตและจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาวะธุรกิจก่อสร้าง "
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนพฤษภาคม 2547 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.53 และ 0.79 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูฝนแล้ว นอกจากนี้ผลของจำนวนวันทำงานในเดือนพฤษภาคมเข้าสู่ภาวะปกติ (เดือนเมษายนมีวันหยุดยาว) ทำให้ระดับการผลิตและจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้น
2. การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 38.51 เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าเพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 18.93 เนื่องจาก ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ค่าขนส่งสูง ทำให้การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบกับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และบังคลาเทศ
3. แนวโน้ม
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนมิถุนายน คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน เป็นอุปสรรคในการก่อสร้างและการคมนาคมขนส่งสำหรับในเดือนกรกฎาคม คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายมีแนวโน้มลดลงอีก เพราะยังอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ยอดการผลิตและจำหน่ายจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
"อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังคงเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน เนื่องจากมีปัจจัยหนุน เช่น เป็นช่วงการแข่งขันฟุตบอล ยูโร 2004 ตลอดจนกลยุทธ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อในการซื้อสินค้าเงินผ่อน"
1.การผลิต
ดัชนีผลผลิตรวมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็ก ทรอนิกส์ในเดือนพฤษภาคม 2547 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 9.7 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล โดยเป็นการเพิ่มของเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 11.4 และอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 7.9 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่าดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 39.9 ตามความต้องการของอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. การส่งออก
การส่งออกฯ ในเดือนพฤษภาคม 2547 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 12.0 โดยเพิ่มจากสินค้ากลุ่มไฟฟ้าร้อยละ 18.5 สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 7.9
และเมื่อเทียบกับปีก่อนการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ17.0 โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถึงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.4 ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 สินค้าที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ได้แก่ สินค้าในกลุ่มสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 274.4
3. แนวโน้มของอุตสาหกรรม
การผลิตในเดือนมิถุนายนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ กลุ่มสินค้าที่มีความเติบโตในช่วงนี้ยังคงเป็นสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ในกลุ่มเครื่องทำความเย็น เครื่องรับโทรทัศน์สีสินค้าที่อำนวยความสะดวกในบ้านเพื่อรองรับ ฤดูฝน เช่น เครื่องซักผ้า เป็นต้น
สำหรับการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับตลาดในประเทศและตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1.ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2547 มีค่า 135.86 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 (123.69) ร้อยละ 9.8 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (124.19) ร้อยละ 9.4
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอ สิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น
2. อัตราการใช้กําลังการผลิตในเดือนพฤษภาคม 2547 มีค่า 62.97 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 (57.36) ร้อยละ 9.8 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (57.05) ร้อยละ 10.4
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรม การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด อุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดัชนีอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2547 = 135.86 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 (123.69) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (124.19)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2547 ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์ การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์พลาสติก การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนพฤษภาคม 2547 = 62.97 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 (57.36) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (57.05)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2547
- ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวดีขึ้น ตามการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น สำหรับการส่งออกยังอยู่ในช่วงคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงตามฤดูกาลและเป็น ช่วงปรับตัวสู่การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตและการส่งออกมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น
- ราคาเหล็กทรงแบนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของจีน สำหรับความต้องการเหล็กรวมในประเทศยังคงมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น
- อุตสาหกรรมรถยนต์ ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงก่อน High Season
- อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังคงเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน เนื่องจากมีปัจจัยหนุน เช่น เป็นช่วงการแข่งขันฟุตบอล ยูโร 2004 ตลอดจนกลยุทธ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อในการซื้อสินค้า
- การผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาวะธุรกิจก่อสร้าง "
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
เม.ย. 47 = 123.69
พ.ค. 47 = 135.86 ้
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่
- อุตสาหกรรมยานยนต์
- ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์
- การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
อัตราการใช้กำลังการผลิต
เม.ย. 47 = 57.36
พ.ค.. 47 = 62.97 ้
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- อุตสาหกรรมยานยนต์
- การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก
- ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์
1.อุตสาหกรรมอาหาร
"ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวดีขึ้น ตามการบริโภคในประเทศที่ขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น สำหรับการส่งออกยังอยู่ในช่วงคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงตามฤดูกาลและเป็นช่วงปรับตัวสู่การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น"
1. การผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร ในกลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก ส่วนใหญ่ขยายตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับปีก่อนลดลงประมาณร้อยละ 3.6 โดยการผลิตกุ้งแช่เย็นแช่แข็งลดลงมากที่สุด ร้อยละ 21.2 (ราคาตลาดโลกลดลง) ปลาทูน่ากระป๋องร้อยละ 13.4 (วัตถุดิบขาดแคลน) และไก่แช่เย็นแช่แข็ง ลดลงร้อยละ 5.4 (โรคไข้หวัดนก) ประกอบกับคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศลดลงตามฤดูกาล อย่างไรก็ตามการผลิตสับปะรดกระป๋องมีแนวโน้มผลิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจากระดับราคาส่งออกที่สูงขึ้นเป็นแรงจูงใจ
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร มีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 17.6 จากราคาจำหน่ายที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะไก่ ไข่และเนื้อสัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น เมล็ดถั่วเหลือง และข้าวโพด ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง นอกจากนี้ผลจากการอ่อนตัวลงของราคากุ้งในตลาดโลก ทำให้ปริมาณการบริโภคกุ้งเพิ่มขึ้น
2) ตลาดต่างประเทศ
ภาวะการส่งออกอาหารโดยรวมจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 11.8 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนประมาณร้อยละ 22.5 เป็นผลจากการลดลงของการส่งออกไก่ กุ้ง และน้ำตาลทราย ส่วนการส่งออกไก่แปรรูป มีการส่งออกเพิ่มขึ้นทดแทนไก่แช่เย็นแช่แข็ง ซึ่งต่างประเทศจะเริ่มให้มีการนำเข้าได้ในเดือนสิงหาคม โดยจะทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3 สำหรับสินค้าอาหารอื่นๆ เช่น ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว เครื่องปรุงรสและสมุนไพร มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นและมีความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกค้าต่างประเทศเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา โดยเฉพาะอาหารทะเลแปรรูป ไก่แปรรูป และอาหารกึ่งสำเร็จรูป นอกจากนี้การส่งออกไก่แช่เย็นแช่แข็งจะเริ่มกลับมาส่งออกได้อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ปริมาณและมูลค่าการส่งออกขยายตัวดีขึ้น
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
"อุตสาหกรรมสิ่งทอพร้อมรับ FTA ซึ่งการเปิดเสรีจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโดยรวม"
1.การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ 14.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตจากผ้าถัก ลดลงเล็กน้อย ซึ่งธุรกิจสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยยังมีความได้เปรียบด้านคุณภาพ แม้ว่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของจีนจะเข้ามาตีตลาดอย่างหนัก แต่จีนเองก็นำเข้าสิ่งทอจากไทยเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะเส้นด้ายและผ้าผืน
2.การส่งออกและตลาดส่งออก
การส่งออกสิ่งทอเดือนพฤษภาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนร้อยละ 17.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา(+27.7%) , สหราชอาณาจักร(+15.2%), สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (+31.1%) ,จีน(+7.3%) ,ญี่ปุ่น (-10.3%) , เยอรมนี(-8.0%)
การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป เดือนพฤษภาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนร้อยละ 30.7 โดยเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา(+30.8%) , สหราชอาณาจักร(+15.6%) ,ฝรั่งเศส (+52.1%) ,เยอรมนี (+12.1%), เนเธอร์แลนด์(+118.2%) แต่ลดลงในตลาดญี่ปุ่น(-13.8%)
ตลาดนำเข้า
ตลาดนำเข้าเส้นใยฯ ได้แก่ ออสเตรเลีย(+12.1%) และอินเดีย (+1,472.7%) เสื้อผ้าสำเร็จรูปได้แก่ จีน(+45.3%) ฮ่องกง(+22.9%) อิตาลี(+20.%) และญี่ปุ่น(+40.7%) เส้นด้าย ได้แก่ จีน(+10.5%), ญี่ปุ่น(+36.1%) และเกาหลีใต้ (+50.6%) ผ้าผืน ได้แก่ จีน(+13.2%) , ไต้หวัน (+7.7%) และฮ่องกง (+33.9%)
3.แนวโน้ม
ในเดือนมิถุนายน การผลิตเส้นใยสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่าทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมแนวโน้มเดือนกรกฎาคม การผลิตและการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น แต่อาจจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนด้านเชื้อเพลิงและก๊าซที่อยู่ในระดับสูง
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
"ราคาเหล็กทรงแบนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของจีน สำหรับความต้องการเหล็กรวมในประเทศ"ยังคงมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น"
1.การผลิต
ดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพ.ค. 2547 มีค่า 137.57 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.83 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.41 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ ท่อเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60.11 รองลงมา ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.82 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีผลผลิตลดลง ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 18.83 รองลงมา เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 10.89
2.การนำเข้า-ส่งออก
มูลค่าการนำเข้ามีค่า 17,910.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.45 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย
มูลค่าการส่งออกมีค่า 7,606.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.67 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยตลาดส่งออกหลักคือประเทศญี่ปุ่นและมาเลเซีย
สำหรับราคาเหล็ก (FOB)ในตลาดโลก (CIS) ผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อน (HR Coil) เหล็กแผ่นรีดเย็น (CR Coil) ในขณะที่ราคาของเหล็กทรงยาวกลับมีแนวโน้มราคาที่ลดลง เช่น เหล็กเส้น (Rebar) และเหล็กลวด (Wire rod)
3.แนวโน้ม
ภาวะการผลิตในเดือน มิ.ย. 2547 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน สำหรับแนวโน้มของราคาเศษเหล็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าอาจปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของประเทศจีนในขณะที่ปริมาณสินค้าคงคลังได้ลดลงมาก ยิ่งไปกว่านั้นทางรัฐบาลจีนกำลังจะมีมาตรการควบคุมการนำเข้าเศษเหล็ก เนื่องจากความกังวลในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมทำให้ผู้ประกอบการจีนมีแนวโน้มที่จะซื้อเศษเหล็กเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ทันกำหนดการก่อนที่มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์ (มิ.ย. 47)
อุตสาหกรรมรถยนต์ ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยประมาณการในเดือนมิถุนายน ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 79,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 20.79 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการผลิต 77,690 คัน ร้อยละ 1.69
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 51,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 17.75 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการจำหน่าย 49,276 คัน ร้อยละ 3.50
- การส่งออกรถยนต์ มีจำนวน 28,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 38.51 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการส่งออก 27,623 คัน ร้อยละ 1.36
- แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม จะค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากเริ่มเข้าฤดูฝน ซึ่งมิใช่ช่วงฤดูการขายของอุตสาหกรรมรถยนต์ นอกจากนี้ หากราคาน้ำมันยังคงมีราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น อาจจะมีผลทางจิตวิทยาในการชะลอการตัดสินใจที่จะซื้อรถยนต์ของผู้บริโภค
รถจักรยานยนต์ (มิ.ย 47)
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยประมาณการในเดือนมิถุนายน ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 230,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 17.92 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการผลิต 260,718 คัน ร้อยละ 11.78
- การจำหน่าย จำนวน 160,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 5.06 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการจำหน่าย 182,038 คัน ร้อยละ 12.11
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 70,000 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2546 ร้อยละ 19.81 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2547 ซึ่งมีการส่งออก 81,851 คัน ร้อยละ 14.48
- แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคมจะชะลอตัวลง เนื่องจากช่วงนี้มิใช่ฤดูกาลขาย ประกอบกับยังไม่มีการออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ หลังจากที่รุ่นใหม่เพิ่งได้ออกตัวไปเมื่อช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา
5. อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
"การผลิตและจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของภาวะธุรกิจก่อสร้าง "
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนพฤษภาคม 2547 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.53 และ 0.79 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูฝนแล้ว นอกจากนี้ผลของจำนวนวันทำงานในเดือนพฤษภาคมเข้าสู่ภาวะปกติ (เดือนเมษายนมีวันหยุดยาว) ทำให้ระดับการผลิตและจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้น
2. การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 38.51 เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศคู่ค้าเพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 18.93 เนื่องจาก ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก ค่าขนส่งสูง ทำให้การส่งออกมีกำไรต่ำ ประกอบกับความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นการขยายตลาดในประเทศมากขึ้น สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และบังคลาเทศ
3. แนวโน้ม
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนมิถุนายน คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน เป็นอุปสรรคในการก่อสร้างและการคมนาคมขนส่งสำหรับในเดือนกรกฎาคม คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายมีแนวโน้มลดลงอีก เพราะยังอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ยอดการผลิตและจำหน่ายจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
"อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยยังคงเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน เนื่องจากมีปัจจัยหนุน เช่น เป็นช่วงการแข่งขันฟุตบอล ยูโร 2004 ตลอดจนกลยุทธ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อในการซื้อสินค้าเงินผ่อน"
1.การผลิต
ดัชนีผลผลิตรวมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็ก ทรอนิกส์ในเดือนพฤษภาคม 2547 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 9.7 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล โดยเป็นการเพิ่มของเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 11.4 และอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 7.9 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่าดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 39.9 ตามความต้องการของอิเล็กทรอนิกส์โลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. การส่งออก
การส่งออกฯ ในเดือนพฤษภาคม 2547 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 12.0 โดยเพิ่มจากสินค้ากลุ่มไฟฟ้าร้อยละ 18.5 สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 7.9
และเมื่อเทียบกับปีก่อนการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ17.0 โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าถึงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.4 ในขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 สินค้าที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ได้แก่ สินค้าในกลุ่มสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 274.4
3. แนวโน้มของอุตสาหกรรม
การผลิตในเดือนมิถุนายนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ กลุ่มสินค้าที่มีความเติบโตในช่วงนี้ยังคงเป็นสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ในกลุ่มเครื่องทำความเย็น เครื่องรับโทรทัศน์สีสินค้าที่อำนวยความสะดวกในบ้านเพื่อรองรับ ฤดูฝน เช่น เครื่องซักผ้า เป็นต้น
สำหรับการส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับตลาดในประเทศและตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นผลจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1.ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2547 มีค่า 135.86 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 (123.69) ร้อยละ 9.8 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (124.19) ร้อยละ 9.4
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอ สิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น
2. อัตราการใช้กําลังการผลิตในเดือนพฤษภาคม 2547 มีค่า 62.97 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 (57.36) ร้อยละ 9.8 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (57.05) ร้อยละ 10.4
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2547 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อุตสาหกรรม การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กําลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้และผัก
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด อุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-