นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีห้ามวิเคราะห์หุ้นในขณะนี้ว่า สภาพการขึ้นลงของหุ้น เป็นเรื่องของพื้นฐานของหุ้นและความรู้สึกของนักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ ในส่วนของนักวิเคราะห์นั้นตนคิดว่าเขาต้องทำตามหน้าที่ ซึ่งหากวิเคราะห์โดยไม่อิงกับข้อเท็จจริงหรือเหตุผล คนที่เสียหายและน่าจะมีความผิดด้วยก็คือนักวิเคราะห์เอง และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ก็ยืนยันว่า ตรวจสอบแล้วไม่มีอะไร ‘ผมรู้สึกว่านายกฯจะห่วงใยเรื่องนี้ มากเลย ถ้าเวลาที่นักวิเคราะห์บอกว่าหุ้นมันดีท่านก็ไม่บ่น แต่เวลาบอกว่าไม่ดีท่านก็จะมีอาการทุกครั้ง’ นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การที่นายกฯบอกว่าถ้าตลาดหลักทรัพย์ดีก็ช่วยให้เศรษฐกิจดีด้วยนั้น ตนเข้าใจ แต่เมื่อมีเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจทับซ้อนอยู่ เลยทำให้บางครั้งสงสัยว่าท่าทีการแสดงออกของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรแสดงออกในฐานะอะไร ทั้งนี้ตนคิดว่าปัจจัยที่เป็นลบมันก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง ทั้งเรื่องราคาน้ำมัน ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ และทิศทางของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งการจัดการหรือบรรเทาปัญหาหุ้นตกนี้ยังอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ไม่เหนือบ่ากว่าแรง แต่จะหวังให้ขยายตัวรวดเร็วมากๆคงไม่ได้
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนั้น ทิศทางระหว่างประเทศก็เป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นรัฐบาลต้องเลือกอยู่บนความพอดี ระหว่างผลกระทบที่จะมีต่อค่าเงินบาท แต่สิ่งที่น่าวิตกคือท่าทีของรัฐบาล ที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลเอาเป้าหมายทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งเรื่องน้ำมัน และดอกเบี้ย ส่วนการบรรเทาความเดือนร้อของประชาชน รัฐบาลคิดเพียงแต่ว่าให้รอหลังเลือกตั้งไปก่อน แต่จะฝืนความเป็นจริงนานเกินไปคงไม่ได้ ดังนั้นต้องดูว่าจะปรับอย่างไรให้กระทบกระเทือนประชาชนน้อยที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การที่นายกฯบอกว่าถ้าตลาดหลักทรัพย์ดีก็ช่วยให้เศรษฐกิจดีด้วยนั้น ตนเข้าใจ แต่เมื่อมีเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจทับซ้อนอยู่ เลยทำให้บางครั้งสงสัยว่าท่าทีการแสดงออกของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรแสดงออกในฐานะอะไร ทั้งนี้ตนคิดว่าปัจจัยที่เป็นลบมันก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง ทั้งเรื่องราคาน้ำมัน ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ และทิศทางของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งการจัดการหรือบรรเทาปัญหาหุ้นตกนี้ยังอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ ไม่เหนือบ่ากว่าแรง แต่จะหวังให้ขยายตัวรวดเร็วมากๆคงไม่ได้
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนั้น ทิศทางระหว่างประเทศก็เป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นรัฐบาลต้องเลือกอยู่บนความพอดี ระหว่างผลกระทบที่จะมีต่อค่าเงินบาท แต่สิ่งที่น่าวิตกคือท่าทีของรัฐบาล ที่ดูเหมือนว่ารัฐบาลเอาเป้าหมายทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งเรื่องน้ำมัน และดอกเบี้ย ส่วนการบรรเทาความเดือนร้อของประชาชน รัฐบาลคิดเพียงแต่ว่าให้รอหลังเลือกตั้งไปก่อน แต่จะฝืนความเป็นจริงนานเกินไปคงไม่ได้ ดังนั้นต้องดูว่าจะปรับอย่างไรให้กระทบกระเทือนประชาชนน้อยที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-