เศรษฐกิจไทยในปี 2547ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ต้องประสบกับปัญหาหลายประการเช่น การระบาดของโรคไข้หวัดนก สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้และการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นอย่างมากของราคาน้ำมัน โดยเฉพาะในช่วงต้นของไตรมาส 3 ทำให้หลายฝ่ายมีการคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2547 อาจไม่สามารถขยายตัวถึงระดับร้อยละ 8 แต่สุดท้ายธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนหน่วยงานในภาคเอกชนหลายแห่งต่างได้ปรับลดการคาดการณ์ขยายตัวในปี 2547 เป็นระดับร้อยละ 6-7 หรือต่ำกว่านั้น ซึ่งอัตราการขยายตัวดังกล่าวยังถือได้ว่าเป็นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูง สำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 ยังมีการขยายตัวที่น่าพอใจ แต่หากปัจจัยเสี่ยงทางด้านต่างๆยังไม่มีการคลี่คลาย อัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งหลังของปี 2547 อาจลดลง
สภาพเศรษฐกิจในหลายภูมิภาคของโลก มีการปรับตัวในทิศทางดีขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี และในไตรมาสที่2 โดยประเทศสหรัฐอเมริกามีทิศทางขยายตัวดีขึ้น แม้จะประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดระหว่างประเทศในระดับสูง เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็มีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่มีภาวะซบเซาต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี เศรษฐกิจในสหภาพยุโรปก็มีการฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง จากการปรับตัวดีขึ้นของการบริโภค การลงทุนและการส่งออก สำหรับประเทศต่างๆในทวีปเอเชีย นอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ประเทศอื่นๆส่วนมากมีอัตราการขยายตัวที่น่าพอใจ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 เศรษฐกิจจีนยังมีการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 9.6 แม้ทางการจีนจะประกาศว่ามีความพยายามทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมาก เพื่อสร้างเสถียรภาพและลดความร้อนแรงลง เศรษฐกิจของประเทศต่างๆในอาเซียน โดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย ก็มีการขยายตัวในอัตราสูง เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชียอื่นๆ เช่น ไต้หวัน และฮ่องกง ก็มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นแต่เกาหลีใต้ยังไม่มีที่ท่าฟื้นตัวที่ชัดเจน แม้การส่งออกจะมีการกระเตื้องขึ้น
เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปีต้องประสบกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ความเป็นไปได้ของการเพิ่มขึ้นของการก่อการร้ายก็เป็นปัจจัยที่สร้างความกังวลแก่ชาวโลกในภูมิภาคต่างๆ สำหรับเศรษฐกิจไทยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือการระบาดของไข้หวัดนกรอบใหม่ การสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ นอกจากนี้ในช่วงครึ่งหลังของปีอัตราดอกเบี้ยอาจมีการปรับตัวสูงขึ้นตามแนวโน้มในตลาดต่างประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอาจมีการผันผวนมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครในปลายเดือนสิงหาคม และการเลือกตั้งทั่วประเทศในต้นปีหน้า อาจทำให้มีการทุ่มการใช้จ่ายเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้ง และมีส่วนกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวได้ในระดับหนึ่ง
สำหรับภาคอุตสาหกรรม ตัวชี้วัดต่างๆที่มีการประกาศออกมาในไตรมาสที่2ของปี 2547 ส่วนใหญ่จะอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก มีการลดลงมาบ้างเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ถึงร้อยละ 9.2 อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.5
การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ของปี 2547 มีการลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ก็อยู่ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีการปรับตัวดีขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับไตรมาสที่1 และช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาวะราคาสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 แต่ภาวะเงินเฟ้อโดยทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ดีผลการสำรวจความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและผู้บริโภคชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและผู้บริโภคเริ่มได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆมากขึ้น ปัญหาราคาน้ำมันนับว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบที่สำคัญ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความวิตกกังวลในต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้น จากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมามาก
ความกังวลของนักธุรกิจและผู้บริโภคดังกล่าว สะท้อนออกมาในดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) ที่จัดทำขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจใน 3 - 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีเดือนมิถุนายน มีการปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม แต่ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) ของเดือนมิถุนายนยังอยู่ในระดับที่ไม่ต่างจากเดือนก่อนหน้ามากนัก อย่างไรก็ตาม สำหรับทั้งไตรมาสดัชนีพ้องเศรษฐกิจมีการปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 2
ส่วนสถานการณ์ด้านการค้าต่างประเทศ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มูลค่าการส่งออกมีการปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสแรกของปี คิดเป็นร้อยละ 16.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 และร้อยละ 23.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม การนำเข้ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่า ส่งผลให้การเกินดุลดุลการค้าลดลงไปมาก มูลค่าการส่งออกในไตรมาส 2 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือนแล้ว พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกิน 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุกเดือน และเฉพาะในเดือนมิถุนายน การส่งออกสูงถึง 8,471.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ใน 6 เดือนแรก การส่งออกของประเทศไทยมีการเพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด โดยเฉพาะในตลาดจีนและอาเซียน มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูง
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ ข้อมูลการไหลเข้าสุทธิของการลงทุนโดยตรงจากธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงว่า การลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนเมษายน 2547 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาก แต่ในเดือนพฤษภาคมกลับมีการลดลงมามาก อย่างไรก็ตาม สถิติการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แสดงว่า การลงทุนจากต่างประเทศในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ได้รับอนุมัติในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2547 มีจำนวนโครงการและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
กล่าวโดยสรุป สภาวการณ์ในภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งแรก และในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายคาดว่าภาวะอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงมา เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางด้านราคาพลังงาน อัตราดอกเบี้ย และความกังวลในเรื่องการก่อการร้าย แต่หลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ น่าจะยังมีแนวโน้มที่ดี
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ของปี 2547 ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีการใช้กำลังการผลิตในอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงมาก การผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามีลักษณะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่การผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศและกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แต่กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุมีผลผลิตลดลงเล็กน้อย การส่งออกของเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ก็มีการขยายตัวในเกณฑ์ที่ดีในทุกกลุ่มสินค้า แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครึ่งปีหลังของปี 2547 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เคมีภัณฑ์ มีการผลิตและส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ที่ดีในแทบทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะเคมีอินทรีย์มีอัตราการขยายตัวสูง มีเพียงปุ๋ยเคมีเท่านั้นที่มีการขยายตัวติดลบ ส่วนสินค้าเคมีภัณฑ์อื่น ๆ เช่น สีและเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ต่างก็มีการขยายตัว สำหรับแนวโน้มในครึ่งปีหลัง การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลต่อต้นทุนและราคาของเคมีภัณฑ์บางตัว โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี
ปิโตรเคมี ในปี 2547 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงภาวะขาขึ้น ความต้องการเม็ดพลาสติกในภูมิภาคเอเซียโดยเฉพาะประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้นมาก ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 การส่งออกของปิโตรเคมีทั้งขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลายเพิ่มสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งหลัง คาดว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะยังมีแนวโน้มที่สดใส การเซ็นสัญญาข้อตกลงทางการค้าเสรีกับประเทศออสเตรเลียที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2548 จะทำให้มีการส่งออกเม็ดพลาสติกไปออสเตรเลียเพิ่มขึ้น
เหล็กและเหล็กกล้า มีการผลิตเพิ่มขึ้นทั้งการใช้ในประเทศและการส่งออกล้วนมีการขยายตัว แต่โดยรวมแล้วยังคงอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างทรงตัว โดยการใช้ในประเทศมีการขยายตัวมากในสินค้าบางชนิด เช่น เหล็กทรงยาวและผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป จากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ส่วนการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นแต่มีปริมาณลดลงมาบ้าง ส่วนหนึ่งมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาเหล็ก สำหรับสถานการณ์เหล็กในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ในช่วงขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดียังคงมีปัจจัยด้านอื่น ๆ คือ การสูงขึ้นของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าระวางเรือ.........(กรุณาคลิกรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดด้านบน)
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
สภาพเศรษฐกิจในหลายภูมิภาคของโลก มีการปรับตัวในทิศทางดีขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี และในไตรมาสที่2 โดยประเทศสหรัฐอเมริกามีทิศทางขยายตัวดีขึ้น แม้จะประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดระหว่างประเทศในระดับสูง เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็มีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่มีภาวะซบเซาต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี เศรษฐกิจในสหภาพยุโรปก็มีการฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง จากการปรับตัวดีขึ้นของการบริโภค การลงทุนและการส่งออก สำหรับประเทศต่างๆในทวีปเอเชีย นอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ประเทศอื่นๆส่วนมากมีอัตราการขยายตัวที่น่าพอใจ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 เศรษฐกิจจีนยังมีการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 9.6 แม้ทางการจีนจะประกาศว่ามีความพยายามทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมาก เพื่อสร้างเสถียรภาพและลดความร้อนแรงลง เศรษฐกิจของประเทศต่างๆในอาเซียน โดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย ก็มีการขยายตัวในอัตราสูง เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชียอื่นๆ เช่น ไต้หวัน และฮ่องกง ก็มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นแต่เกาหลีใต้ยังไม่มีที่ท่าฟื้นตัวที่ชัดเจน แม้การส่งออกจะมีการกระเตื้องขึ้น
เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปีต้องประสบกับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ความเป็นไปได้ของการเพิ่มขึ้นของการก่อการร้ายก็เป็นปัจจัยที่สร้างความกังวลแก่ชาวโลกในภูมิภาคต่างๆ สำหรับเศรษฐกิจไทยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือการระบาดของไข้หวัดนกรอบใหม่ การสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ นอกจากนี้ในช่วงครึ่งหลังของปีอัตราดอกเบี้ยอาจมีการปรับตัวสูงขึ้นตามแนวโน้มในตลาดต่างประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอาจมีการผันผวนมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครในปลายเดือนสิงหาคม และการเลือกตั้งทั่วประเทศในต้นปีหน้า อาจทำให้มีการทุ่มการใช้จ่ายเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้ง และมีส่วนกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวได้ในระดับหนึ่ง
สำหรับภาคอุตสาหกรรม ตัวชี้วัดต่างๆที่มีการประกาศออกมาในไตรมาสที่2ของปี 2547 ส่วนใหญ่จะอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก มีการลดลงมาบ้างเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ถึงร้อยละ 9.2 อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.5
การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ของปี 2547 มีการลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ก็อยู่ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีการปรับตัวดีขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับไตรมาสที่1 และช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาวะราคาสินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 แต่ภาวะเงินเฟ้อโดยทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ดีผลการสำรวจความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและผู้บริโภคชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจและผู้บริโภคเริ่มได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆมากขึ้น ปัญหาราคาน้ำมันนับว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบที่สำคัญ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีความวิตกกังวลในต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้น จากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นมามาก
ความกังวลของนักธุรกิจและผู้บริโภคดังกล่าว สะท้อนออกมาในดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) ที่จัดทำขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจใน 3 - 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีเดือนมิถุนายน มีการปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม แต่ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) ของเดือนมิถุนายนยังอยู่ในระดับที่ไม่ต่างจากเดือนก่อนหน้ามากนัก อย่างไรก็ตาม สำหรับทั้งไตรมาสดัชนีพ้องเศรษฐกิจมีการปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 2
ส่วนสถานการณ์ด้านการค้าต่างประเทศ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มูลค่าการส่งออกมีการปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสแรกของปี คิดเป็นร้อยละ 16.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 และร้อยละ 23.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม การนำเข้ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่า ส่งผลให้การเกินดุลดุลการค้าลดลงไปมาก มูลค่าการส่งออกในไตรมาส 2 เมื่อพิจารณาเป็นรายเดือนแล้ว พบว่ามีมูลค่าการส่งออกเกิน 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุกเดือน และเฉพาะในเดือนมิถุนายน การส่งออกสูงถึง 8,471.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ใน 6 เดือนแรก การส่งออกของประเทศไทยมีการเพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด โดยเฉพาะในตลาดจีนและอาเซียน มีการส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราสูง
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ ข้อมูลการไหลเข้าสุทธิของการลงทุนโดยตรงจากธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงว่า การลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนเมษายน 2547 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาก แต่ในเดือนพฤษภาคมกลับมีการลดลงมามาก อย่างไรก็ตาม สถิติการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แสดงว่า การลงทุนจากต่างประเทศในกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ได้รับอนุมัติในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2547 มีจำนวนโครงการและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
กล่าวโดยสรุป สภาวการณ์ในภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งแรก และในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายคาดว่าภาวะอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงมา เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางด้านราคาพลังงาน อัตราดอกเบี้ย และความกังวลในเรื่องการก่อการร้าย แต่หลายกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ น่าจะยังมีแนวโน้มที่ดี
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 2 ของปี 2547 ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีการใช้กำลังการผลิตในอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงมาก การผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามีลักษณะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่การผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรับอากาศและกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แต่กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุมีผลผลิตลดลงเล็กน้อย การส่งออกของเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ก็มีการขยายตัวในเกณฑ์ที่ดีในทุกกลุ่มสินค้า แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครึ่งปีหลังของปี 2547 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เคมีภัณฑ์ มีการผลิตและส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ที่ดีในแทบทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะเคมีอินทรีย์มีอัตราการขยายตัวสูง มีเพียงปุ๋ยเคมีเท่านั้นที่มีการขยายตัวติดลบ ส่วนสินค้าเคมีภัณฑ์อื่น ๆ เช่น สีและเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ต่างก็มีการขยายตัว สำหรับแนวโน้มในครึ่งปีหลัง การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลต่อต้นทุนและราคาของเคมีภัณฑ์บางตัว โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี
ปิโตรเคมี ในปี 2547 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงภาวะขาขึ้น ความต้องการเม็ดพลาสติกในภูมิภาคเอเซียโดยเฉพาะประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้นมาก ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 การส่งออกของปิโตรเคมีทั้งขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลายเพิ่มสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับแนวโน้มในช่วงครึ่งหลัง คาดว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะยังมีแนวโน้มที่สดใส การเซ็นสัญญาข้อตกลงทางการค้าเสรีกับประเทศออสเตรเลียที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2548 จะทำให้มีการส่งออกเม็ดพลาสติกไปออสเตรเลียเพิ่มขึ้น
เหล็กและเหล็กกล้า มีการผลิตเพิ่มขึ้นทั้งการใช้ในประเทศและการส่งออกล้วนมีการขยายตัว แต่โดยรวมแล้วยังคงอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างทรงตัว โดยการใช้ในประเทศมีการขยายตัวมากในสินค้าบางชนิด เช่น เหล็กทรงยาวและผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป จากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ส่วนการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นแต่มีปริมาณลดลงมาบ้าง ส่วนหนึ่งมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาเหล็ก สำหรับสถานการณ์เหล็กในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ในช่วงขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดียังคงมีปัจจัยด้านอื่น ๆ คือ การสูงขึ้นของราคาน้ำมัน การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าระวางเรือ.........(กรุณาคลิกรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดด้านบน)
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-