นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้แถลงผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนกรกฎาคม 2547 และในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 ซึ่งขยายตัวในอัตราที่สูง พร้อมทั้งแนวโน้มการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2547 ดังนี้
1. เดือนกรกฎาคม 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 84,291 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 9,644 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.8) สาเหตุที่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือนนี้สูงกว่าในอัตราที่สูง เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมสรรพากร และกรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 19.4 และร้อยละ 17.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 4,187 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.1)
1.2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,872 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 23.5 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.4)
1.3 ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,461 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.3)
1.4 อากรแสตมป์ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 236 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.9)
2. ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กรกฎาคม 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 917,801 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 48,602 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.7) โดยได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ ไปแล้วจำนวน 22,138 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วจำนวน 3,240 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 17.1ผลการจัดเก็บรายได้สรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 598,301 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 46,620 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.4) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ ที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 15,591 11,723 8,517 7,151 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 7.3 8.0 33.7 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.5 24.0 15.6 และ 49.7 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 232,405 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,869 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.0) เนื่องจากภาษีรถยนต์ และภาษียาสูบ เก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,750 และ 1,720 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 และ 6.1 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.5 และ 9.4 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 87,299 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,663 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.7) โดยอากรขาเข้าซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,688 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.0 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.3 ทั้งนี้ เป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร และการปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA)
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 127,794 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,716 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.4) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 4,141 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.8 โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำส่งรายได้จำนวน 10,541 ล้านบาท
- บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้จำนวน 9,396 ล้านบาท
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนำส่งรายได้จำนวน 7,453 ล้านบาท
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้จำนวน 5,871 ล้านบาท
- บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้จำนวน 4,500 ล้านบาท
3. สรุป
การจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่สูงกว่าประมาณการในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรที่สูงกว่าประมาณการตลอดจนการนำส่งรายได้ของหน่วยงานอื่น ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการอื่น กรมธนารักษ์ และรัฐวิสาหกิจ ยังสูงกว่าประมาณการอีกเช่นกัน
ทั้งนี้ หากจำแนกผลการจัดเก็บรายได้ตามฐานภาษีปรากฏว่า ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ และฐานการบริโภคจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 9.5 และ 6.7 ตามลำดับ และสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละถึง 22.6 และ 16.8 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจยังคงมีทิศทางที่ดีและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
4. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2547
กระทรวงการคลังมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2547 ได้สูงกว่าประมาณการ (1,063,600 ล้านบาท) อย่างแน่นอน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวสูงขึ้น และรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่าเป้าหมาย (ชะลอการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ก็ตาม โดยคาดว่ารัฐบาลจะมีรายได้สุทธิประมาณ 1,111,100 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 47,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 โดยมีเหตุผลสนับสนุน ดังนี้
4.1 การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจในระดับที่คาดการณ์ไว้ คือประมาณร้อยละ 7 แม้จะมีปัจจัยลบทั้งโรคระบาดไข้หวัดนก เหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ และราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง
4.2 ผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการร้อยละ 5.6 คาดว่าในช่วง 2 เดือนหลังของปีงบประมาณ 2547 จะยังคงจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ เนื่องจากการขยายตัวของภาษีจากฐานการบริโภค และฐานรายได้
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 62/2547 18 สิงหาคม 2547--
1. เดือนกรกฎาคม 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 84,291 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 9,644 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.8) สาเหตุที่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือนนี้สูงกว่าในอัตราที่สูง เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมสรรพากร และกรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 19.4 และร้อยละ 17.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 4,187 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.1)
1.2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,872 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 23.5 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.4)
1.3 ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,461 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.3)
1.4 อากรแสตมป์ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 236 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.9 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.9)
2. ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - กรกฎาคม 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 917,801 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 48,602 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.7) โดยได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจฯ ไปแล้วจำนวน 22,138 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วจำนวน 3,240 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 17.1ผลการจัดเก็บรายได้สรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 598,301 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 46,620 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.4) เนื่องจากภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้สูงกว่าที่คาดไว้ ที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 15,591 11,723 8,517 7,151 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 7.3 8.0 33.7 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.5 24.0 15.6 และ 49.7 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 232,405 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,869 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.0) เนื่องจากภาษีรถยนต์ และภาษียาสูบ เก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,750 และ 1,720 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 และ 6.1 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.5 และ 9.4 ตามลำดับ)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 87,299 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,663 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.7) โดยอากรขาเข้าซึ่งเป็นรายได้หลักจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,688 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.0 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.3 ทั้งนี้ เป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร และการปรับลดอัตราอากรขาเข้าจากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA)
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 127,794 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,716 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 22.4) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 4,141 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.8 โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำส่งรายได้จำนวน 10,541 ล้านบาท
- บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้จำนวน 9,396 ล้านบาท
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนำส่งรายได้จำนวน 7,453 ล้านบาท
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้จำนวน 5,871 ล้านบาท
- บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้จำนวน 4,500 ล้านบาท
3. สรุป
การจัดเก็บรายได้รัฐบาลที่สูงกว่าประมาณการในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรที่สูงกว่าประมาณการตลอดจนการนำส่งรายได้ของหน่วยงานอื่น ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการอื่น กรมธนารักษ์ และรัฐวิสาหกิจ ยังสูงกว่าประมาณการอีกเช่นกัน
ทั้งนี้ หากจำแนกผลการจัดเก็บรายได้ตามฐานภาษีปรากฏว่า ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ และฐานการบริโภคจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 9.5 และ 6.7 ตามลำดับ และสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละถึง 22.6 และ 16.8 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจยังคงมีทิศทางที่ดีและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
4. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2547
กระทรวงการคลังมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ 2547 ได้สูงกว่าประมาณการ (1,063,600 ล้านบาท) อย่างแน่นอน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวสูงขึ้น และรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่าเป้าหมาย (ชะลอการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ก็ตาม โดยคาดว่ารัฐบาลจะมีรายได้สุทธิประมาณ 1,111,100 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 47,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 โดยมีเหตุผลสนับสนุน ดังนี้
4.1 การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจในระดับที่คาดการณ์ไว้ คือประมาณร้อยละ 7 แม้จะมีปัจจัยลบทั้งโรคระบาดไข้หวัดนก เหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ และราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง
4.2 ผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการร้อยละ 5.6 คาดว่าในช่วง 2 เดือนหลังของปีงบประมาณ 2547 จะยังคงจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ เนื่องจากการขยายตัวของภาษีจากฐานการบริโภค และฐานรายได้
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 62/2547 18 สิงหาคม 2547--