สถานการณ์โลกช่วงเดือนกรกฎาคมยังคงเข้มข้นด้วยเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจับตัวนักการทูตอียิปต์เป็นตัวประกันในอิรัก การปล่อยตัวประกันฟิลิปปินส์หลักจากที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ยอมถอนทหารออกจากอิรัก การหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐ หรือแม้แต่การเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปของไทย
สถานกาณ์การค้าระหว่างประเทศที่สำคัญยิ่งอันหนึ่งซึ่งกำลึงเข้าสู่จุดตัดสินใจครั้งใหญ่ในขณะนี้เช่นกัน คือการเจรจาขององค์การการค้างดลก (WTO) ซึ่งกำลังมีการประชุมคณะรัฐมนตรีใหญ่ที่นครเจนีว่า เพื่อตัดสินแผนการทำงานในอนาคตของสมาชิก WTO ที่เรียกว่าเพกเกจเดือนกรกฎาคม หากสมาชิกสามารถมีข้อตกลงร่วมกันได้ ก็จะพอมองเห็นว่าทิศทางในอนาคตของการค้าโลกจะเดินไปอย่างไร ขณะนี้ประเทศกำลังพัฒนาได้ร่วมกันผลักดันเต็มที่จะให้ประเทศพัฒนาแล้วเปิดตลาด ลดการอุดหนุนภายใน และยกเลิกการอุดหนุนสินค้าเกษตร เพื่อที่ว่าสินค้าเกษตรที่ตนส่งออกจะขายได้ราคาดีขึ้นในตลาดโลก ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วก็พยายามผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม และเจรจาจัดทำความตกลงเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าใน WTO เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่สมาชิก WTO ต้องเจรจาต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน หากตกลงกันสำเร็จก็จะได้เพกเกจเดือนกรกฎาคม แต่หากตกลงกันไม่สำเร็จ การเจรจาของสมาชิกใน WTO ก็คงหยุดนิ่งไม่มีความคืบหน้าไปอีกพักใหญ่
การเจรจาการค้าขององค์การการค้าโลกเคยประสบความล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่การประชุมที่นครซีแอดเดิล สหรัฐอเมริกา ปี 2542 การประชุมที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโกในปี 2546 เพราะสมาชิกมีความขัดแย้งในประเด็นเจรจาที่แตกต่างกันมาก ทำให้ไม่สามารถตกลงอะไรกันได้ ในช่วงหลังๆ มานี้ ภาพพจน์ การเจรจาการค้าพหุภาคีจึงตกต่ำไปมาก หลายประเทศมองว่าการเจรจาแบบนี้ล่าช้าไม่ทันการณ์ จึงได้หันไปเปิดการเจรจาการค้าแบบทวิภาคีในรูปแบบเอฟทีเอมากขึ้น
การประชุมคณะมนตรีใหญ่ของ WTO ในระหว่างวันที่ 27-30 กรกฎาคม ศกนี้ จึงมีความสำคัญต่อการค้าโลกไม่น้อยเพราะจะมีรัฐมนตรีของประะทศที่สำคัญ เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย บราซิลและอินเดียมาสร้างสีสันให้การประชุม ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือจะเป็นจุดหักเหของ WTO หากสิ้นกรกฎาคมนี้ สมาชิกไม่สามารถตกลงอะไรกันได้บทบาทของ WTO ในการค้าโลกจะลดลงจนอาจเหมือนแค่งานประจำ ขณะที่สมาชิกประเทศพัฒนาแล้วหันไปตั้งเวทีอื่นไว้รองรับการเจรจา
เรื่องสำคัญที่จะต้องตัดสินใจกันให้ได้ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม ได้แก่ เกษตร จะต้องเจรจาเพื่อหารูปแบบในการเปิดตลาด ลดการอุดหนุนภายใน และลดการอุดหนุนส่งออกเพื่อนำไปสู่การยกเลิกในที่สุดสินค้าอุตสาหกรรมจะต้องตกลงกันว่าจะใช้สูตรใดในการเปิดเสรีเพิ่มขึ้น การค้าบริการให้ยื่นข้อเสนอเปิดเสรีเพิ่มเติมเมื่อใด เป็นต้น
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-ชพ/พห-