ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. หารือ ธ.พาณิชย์เตรียมตัวใช้เกณฑ์บาเซิล 2 ในปี 51 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมกับสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ เพื่อหารือ
เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงว่า จะนำเกณฑ์ใหม่หรือบาเซิล 2 มาใช้
จริงประมาณเดือน ธ.ค.51 แต่คงจะทดลองใช้ก่อนในปี 50 แม้ว่าเกณฑ์ใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการ
เพิ่มขึ้นของกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง แต่ ธ.พาณิชย์สามารถสร้างกำไรสะสมมาเป็นทุนรองรับเกณฑ์ที่เปลี่ยน
แปลงได้โดยไม่ต้องมีการเพิ่มทุน โดยระหว่างนี้ต้องการให้มีการเตรียมตัวและทำความเข้าใจกันก่อน เพราะ
ไม่จำเป็นต้องรีบเร่งใช้ตามกลุ่มประเทศจี 10 ที่จะใช้ก่อนปี 49 ด้านนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ประมาณปี 50 จะให้ ธ.พาณิชย์เริ่มใช้เกณฑ์เก่าหรือ บาเซิล
1 ควบคู่ไปกับบาเซิล 2 เพื่อจะได้มีการปรับตัว ส่วนนายชาติศิริ โสภณพนิช กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ ใน
ฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ธปท. จะมีรายละเอียดให้ทราบเพิ่มเติมอีกครั้งในประกาศ
ประมาณปี 48 ซึ่งคาดว่ามาตรฐานใหม่คงไม่กระทบต่อเงินทุนของ ธ.พาณิชย์ และเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้เห็น
การเปลี่ยนแปลงเรื่องทุนของ ธ.พาณิชย์ในอีก 3 ปีข้างหน้า และจะเป็นผลดีให้ธนาคารมีการบริหารความ
เสี่ยงที่เหมาะสม (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, เดลินิวส์)
2. ก.คลังมั่นใจเก็บภาษีปีนี้สูงกว่า 1.1 ล้านบาท เกินเป้าร้อยละ 4.5 นายสมชัย สัจจพงษ์
รอง ผอ.สน.เศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก ก.คลัง กล่าวถึงผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำ
เดือน ก.ค.47 ว่า สามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 84,291 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 9,644 ล้านบาท
หรือร้อยละ 12.9 เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้
โดยเฉพาะกรมสรรพากรและกรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 19.4 และ 17.9 ตามลำดับ
ขณะที่ผลการจัดเก็บรายได้รวม 10 เดือนแรกของปี งปม. 47 (ต.ค.46-ก.ค.47) จัดเก็บได้รวม 917,801
ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 48,602 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6 โดยกรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม
598,301 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 46,620 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.5 กรมสรรพสามิต 232,405
ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,869 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 กรมศุลกากร 87,299 ล้านบาท สูงกว่า
ประมาณการ 1,663 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.9 และหน่วยงานอื่น 127,794 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ
4,716 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 สำหรับแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปี งปม. 47 มั่นใจว่า
จะสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 1,063,600 ล้านบาท แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคา
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยคาดว่าจะมีรายได้สุทธิประมาณ
1,111,100 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 47,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ
การขยายตัวของเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 7 และผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี งปม. 47
ที่สูงกว่าประมาณการร้อยละ 5.6 ทำให้คาดว่าในช่วง 2 เดือนหลังของปี งปม. 47 จะยังคงจัดเก็บได้สูง
กว่าประมาณการ เนื่องจากการขยายตัวของภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, แนวหน้า)
3. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังปี 47 จะขยายตัวร้อยละ 5.7 ศูนย์วิจัย
กสิกรไทยคาดว่าจีดีพีในช่วงครึ่งหลังปี 47 จะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.7 จากร้อยละ 6.3 ในช่วงครึ่ง
แรก ทำให้การขยายตัวทั้งปี 47 อยู่ที่ร้อยละ 6.0 ต่ำกว่าที่ศูนย์ฯ เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.5 โดยมี
สาเหตุจากการชะลอตัวในการใช้จ่ายของผู้บริโภคจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศและราคาน้ำมัน ตลอดจนการ
แพร่ระบาดของไข้หวัดนกและเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ ในขณะเดียวกัน การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจยัง
เป็นผลมาจากการถดถอยของดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ จากการนำเข้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก
สำหรับภาวะการลงทุนแม้ว่าโดยรวมในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากครึ่งปีแรก แต่ก็ยังคงเพียง
พอที่จะทำให้อัตราการขยายตัวของการลงทุนในปี 47 ปรับสูงขึ้นกว่าปีก่อน ส่วนผลที่จะมีภาวะการเงินใน
ประเทศนั้นคงทำให้การขยายตัวของสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินมีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งจะทำให้
ภาวะสภาพคล่องส่วนเกินยังคงเหลืออยู่ในระบบค่อนข้างมาก รวมทั้งส่งผลกระทบให้การดำเนินนโยบายการ
เงินของทางการไทย และอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและเสถียรภาพในตลาดเงิน โดยเฉพาะใน
ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ซึ่งโจทย์สำคัญของทางการไทยในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง
สวนทางกับภาวะเงินเฟ้อ คงจะอยู่ที่ว่าจะเลือกให้น้ำหนักอย่างไร ระหว่างเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพ
กับเป้าหมายในการหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยหากเลือกที่จะให้น้ำหนักเรื่องเสถียรภาพมากกว่าแล้ว
คงจะต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า จะดำเนินการกับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบที่ยังคงเหลืออยู่เป็นจำนวน
มากอย่างไร จึงจะทำให้สามารถดำเนินนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพตาม
เป้าหมายที่วางไว้ (กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดว่าปีนี้สภาพคล่องของระบบสถาบันการเงินจะลดลง 2-3 แสนล้านบาท นายประสาร
ไตรรัตน์วรกุล กก.ผจก.ธ.กสิกรไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์สภาพคล่องของระบบสถาบันการเงินว่า ได้ลดลง
อย่างต่อเนื่อง จากที่ขณะนี้มีสภาพคล่องในระบบการเงินที่เกินอยู่ 6-7 แสนล้านบาท คาดว่า ณ สิ้นปี 47 จะ
ลดลงจากต้นปีประมาณ 2-3 แสนล้านบาท เนื่องจากขณะนี้สินเชื่อมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 8-9 โดย
พันธบัตรออมทรัพย์ 70,000 ล้านบาท ได้ช่วยดูดซับสภาพคล่องไปบ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากออกมาเป็น
จำนวนน้อย อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องที่ลดลงคงจะยังไม่ทำให้แนวโน้มดอกเบี้ยของระบบ ธ.พาณิชย์ขยับขึ้น
เนื่องจากสภาพคล่องโดยรวมยังอยู่ในระดับสูง แม้จะลดลงมากแล้วก็ตาม ยกเว้นว่า ธปท. จะใช้วิธีการเข้า
ดูดซับสภาพคล่องเพิ่มเติม (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดค้าปลีกของอังกฤษจะลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.47 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 18 ส.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่ายอดค้า
ปลีกของอังกฤษในเดือน ก.ค.47 จะลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นการลดลงครั้งแรกเมื่อเทียบ
ต่อเดือนตั้งแต่เดือน พ.ค.46 เป็นต้นมา ซึ่งสอดคล้องแถลงการณ์ของสภาอุตสาหกรรมของอังกฤษที่ระบุ
ว่ายอดค้าปลีกในเดือน ก.ค.47 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 4 เดือนคือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ลด
ลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบต่อปี โดยคาดว่าเป็นผลมาจากฤดูร้อนที่มีฝนตกมากผิดปรกติ
การสิ้นสุดฤดูกาลการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในขณะที่ตลาดเงินและ ธ.กลาง
อังกฤษกำลังเฝ้าจับตาดูว่ายอดค้าปลีกที่ลดลงเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหรือเป็นเพียงการชะลอตัวชั่ว
คราวของการใช้จ่ายของผู้บริโภคหลังจากเพิ่มขึ้นอย่างมากก่อนหน้านี้ (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านในอังกฤษลดลงร้อยละ 2.0 ในช่วงเดือน ก.ค. | ส.ค.47 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 19 ส.ค.47 Rightmove ซึ่งเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษรายงานว่าราคาเสนอขาย
โดยเฉลี่ยของบ้านในอังกฤษก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาลลดลงร้อยละ 2.0 ในช่วง 5 สัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 10
ก.ค.47 ถึงวันที่ 14 ส.ค.47 จาก 196,198 ปอนด์เป็น 192,335 ปอนด์หรือประมาณ 352,100 ดอลลาร์
สรอ. โดยคาดว่าเป็นผลจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางอังกฤษร้อยละ 1.25 ตั้งแต่เดือน พ.ย.46
เป็นร้อยละ 4.75 ในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเดือน ส.ค.ของทุกปีมักเป็นช่วงตลาดอสังหาริมทรัพย์
เงียบเหงา เช่นเดียวกับเมื่อปีที่แล้วที่ Rightmove รายงานราคาบ้านลดลงอย่างมากในช่วงเดือน ก.ค. และ
ส.ค.46 แต่ในเดือนถัดมาราคาบ้านก็เพิ่มขึ้น ถึงแม้ราคาบ้านจะลดลงในช่วงที่ผ่านมา แต่หากเทียบต่อปีแล้ว
ราคาบ้านในอังกฤษยังคงสูงร้อยละ 15.7 จากปีก่อน (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ค.47 ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 18 ส.ค.47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขต
เศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ค.47 ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.2 เนื่องจากราคา
อาหารและเครื่องแต่งกายลดลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 47 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ทบทวนแล้วก็ลดลงเช่นกันอยู่ที่
ระดับร้อยละ 2.3 เทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่เปลี่ยนแปลงจากที่สำนักงานสถิติ
ประมาณการไว้ครั้งแรกที่ระดับร้อยละ 2.4 และคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ เงินเฟ้อ
ของกลุ่มประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป (12 ประเทศ) เคยอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเดือน พ.ค.47 โดยอยู่ที่
ร้อยละ 2.5 เนื่องจากต้นทุนพลังงานเพิ่มสูงขึ้น แต่หลังจากนั้นอัตราเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลง เนื่องจาก ธ.
กลางยุโรปมีเป้าหมายที่จะรักษาระดับราคาผู้บริโภคในเขตเศรษฐกิจยุโรปให้มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงในระดับต่ำ
กว่าร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ความต้องการ
ในประเทศที่ชะลอตัว รายงานจากโซลเมื่อ 19 ส.ค.47 The National Statistical Office (NSO)
เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.5 ในเดือน มิ.ย.และ พ.ค.47 เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.และ พ.ย.46 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.6 เช่นกัน และได้มีการลดลงในเดือน ม.ค.47 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 หลังจากนั้นมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นเรื่อยมา
สำหรับตัวเลขผู้ว่างงานในเดือน ก.ค.47 มีจำนวน 842,000 คน เพิ่มขึ้นจาก 808,000 คนในเดือนก่อน
ส่วนผู้มีงานทำในเดือน ก.ค.47 มีจำนวนลดลงอยู่ที่ระดับ 22.41 ล้านคน เทียบกับจำนวน 22.52 และ
22.44 ล้านคนในเดือน มิ.ย.และ พ.ค.47 ทั้งนี้ อัตราการว่างงานและจำนวนคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุ
จาก การจ้างงานที่ลดลงในภาคการก่อสร้าง เลี้ยงสัตว์ และประมง ซึ่งการว่างงานที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้ส่งผล
กระทบให้ความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง ในขณะที่บริษัทต่างๆ ก็มีความกังวลเพิ่มขึ้นในการจ้าง
งานเนื่องจากตัวเลขการบริโภคในประเทศที่ยังคงอ่อนแอนั้นมีสัญญาณของการฟื้นตัวน้อยมาก รวมทั้งความต้อง
การจากภายนอกก็มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลก อัตราดอกเบี้ยของ สรอ.ที่ปรับตัว
สูงขึ้น และการที่เศรษฐกิจจีนลดความร้อนแรงลง อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขการส่งออกในช่วง 2-3 เดือนที่
ผ่านมา ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ธุรกิจต้องใช้กำลังคนเพิ่มขึ้น ตลาด
แรงงานจึงกระเตื้องขึ้นในช่วงสั้นๆ เมื่อต้นปี 47 แต่แม้ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายในประเทศก็ยังคง
ชะงักงันอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ โดย จากการสำรวจของ
The Federation of Korean Industries (FKI) พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจมีความคาดหวังต่อ
สถานการณ์ธุรกิจในเดือน ส.ค.47 ว่าจะถดถอยลง และดัชนีจากผลการสำรวจดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100
ซึ่งเป็นอัตราอ้างอิงมาเป็นเวลา 6 เดือนต่อเนื่องแล้ว นอกจากนี้ ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ในสัปดาห์นี้ นัก
เศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มที่ไม่ดี และเห็นว่าการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยมีความจำเป็นสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งการที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ลงเหลือร้อยละ 3.5 ในสัปดาห์ก่อน เป็นการยอมรับว่า การใช้จ่ายภายในประเทศที่อ่อนแอเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ
ภาวะเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
5. การลงทุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นในปีนี้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 18
ส.ค. 47 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่าในปีนี้ เป้าหมายการลงทุนใหม่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะมีจำนวน 8
พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ (4.67 พัน ล. ดอลลาร์สรอ.) โดยบริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่ Novartis AG จะลง
ทุนสร้างโรงงานใหม่ ทั้งนี้นาย Lim Hng Kiang รมว.การค้าและอุตสาหกรรมคนใหม่ของสิงคโปร์กล่าวว่า
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจากต่างประเทศแล้ว 4.3 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์
โดยเมื่อปีที่แล้วการลงทุนใหม่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีจำนวน 7.5 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่ำกว่าเป้า
หมายที่ตั้งไว้ที่ 8.0 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ และลดลงจาก 9.0 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ ในปี45 เนื่องจาก
เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากสงคราม และการระบาดของโรคซาร์ สำหรับในปีนี้เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยาย
ตัวอย่างแข็งแกร่งจากอุปสงค์ในภาคการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ยา ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผลผลิต
ผลิตภัณฑ์ยาชีวภาพในปีที่แล้วคาดว่าจะสูงถึง 12 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์โดยผู้ผลิตยาระดับโลกอาทิ บริษัท
Pfizer Inc. ลงทุนตั้งโรงงานใหม่ แต่แม้ว่าสิงโปร์ซึ่งเคยมีผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ
25 ของเศรษฐกิจปัจจุบันสัดส่วนดังกล่าวได้ลดลงแล้วเนื่องจากประสบกับการแข่งขันจากคู่แข่งในภูมิภาคที่มีต้น
ทุนการผลิตที่ต่ำกว่า อาทิ จีน อย่างไรก็ตาม Novartis AG บริษัทจำหน่ายยาที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
ประกาศที่จะลงทุนในสิงคโปร์จำนวน 180 ล้านดอลลาร์สรอ. ซึ่งเป็นแผนการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย ( รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ส.ค. 47 18 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.494 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2923/41.5826 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000-1.3125 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 605.30/19.26 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 40.2 40.46 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 17 ส.ค.47 21.19*/14.59 21.19*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. หารือ ธ.พาณิชย์เตรียมตัวใช้เกณฑ์บาเซิล 2 ในปี 51 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยภายหลังร่วมประชุมกับสมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ เพื่อหารือ
เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงว่า จะนำเกณฑ์ใหม่หรือบาเซิล 2 มาใช้
จริงประมาณเดือน ธ.ค.51 แต่คงจะทดลองใช้ก่อนในปี 50 แม้ว่าเกณฑ์ใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการ
เพิ่มขึ้นของกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง แต่ ธ.พาณิชย์สามารถสร้างกำไรสะสมมาเป็นทุนรองรับเกณฑ์ที่เปลี่ยน
แปลงได้โดยไม่ต้องมีการเพิ่มทุน โดยระหว่างนี้ต้องการให้มีการเตรียมตัวและทำความเข้าใจกันก่อน เพราะ
ไม่จำเป็นต้องรีบเร่งใช้ตามกลุ่มประเทศจี 10 ที่จะใช้ก่อนปี 49 ด้านนางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ประมาณปี 50 จะให้ ธ.พาณิชย์เริ่มใช้เกณฑ์เก่าหรือ บาเซิล
1 ควบคู่ไปกับบาเซิล 2 เพื่อจะได้มีการปรับตัว ส่วนนายชาติศิริ โสภณพนิช กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ ใน
ฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ธปท. จะมีรายละเอียดให้ทราบเพิ่มเติมอีกครั้งในประกาศ
ประมาณปี 48 ซึ่งคาดว่ามาตรฐานใหม่คงไม่กระทบต่อเงินทุนของ ธ.พาณิชย์ และเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้เห็น
การเปลี่ยนแปลงเรื่องทุนของ ธ.พาณิชย์ในอีก 3 ปีข้างหน้า และจะเป็นผลดีให้ธนาคารมีการบริหารความ
เสี่ยงที่เหมาะสม (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้, เดลินิวส์)
2. ก.คลังมั่นใจเก็บภาษีปีนี้สูงกว่า 1.1 ล้านบาท เกินเป้าร้อยละ 4.5 นายสมชัย สัจจพงษ์
รอง ผอ.สน.เศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก ก.คลัง กล่าวถึงผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำ
เดือน ก.ค.47 ว่า สามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 84,291 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 9,644 ล้านบาท
หรือร้อยละ 12.9 เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้
โดยเฉพาะกรมสรรพากรและกรมศุลกากรจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 19.4 และ 17.9 ตามลำดับ
ขณะที่ผลการจัดเก็บรายได้รวม 10 เดือนแรกของปี งปม. 47 (ต.ค.46-ก.ค.47) จัดเก็บได้รวม 917,801
ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 48,602 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6 โดยกรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม
598,301 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 46,620 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.5 กรมสรรพสามิต 232,405
ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,869 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 กรมศุลกากร 87,299 ล้านบาท สูงกว่า
ประมาณการ 1,663 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.9 และหน่วยงานอื่น 127,794 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ
4,716 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 สำหรับแนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปี งปม. 47 มั่นใจว่า
จะสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 1,063,600 ล้านบาท แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากราคา
น้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยคาดว่าจะมีรายได้สุทธิประมาณ
1,111,100 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 47,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ
การขยายตัวของเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 7 และผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี งปม. 47
ที่สูงกว่าประมาณการร้อยละ 5.6 ทำให้คาดว่าในช่วง 2 เดือนหลังของปี งปม. 47 จะยังคงจัดเก็บได้สูง
กว่าประมาณการ เนื่องจากการขยายตัวของภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้ (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, แนวหน้า)
3. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังปี 47 จะขยายตัวร้อยละ 5.7 ศูนย์วิจัย
กสิกรไทยคาดว่าจีดีพีในช่วงครึ่งหลังปี 47 จะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.7 จากร้อยละ 6.3 ในช่วงครึ่ง
แรก ทำให้การขยายตัวทั้งปี 47 อยู่ที่ร้อยละ 6.0 ต่ำกว่าที่ศูนย์ฯ เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.5 โดยมี
สาเหตุจากการชะลอตัวในการใช้จ่ายของผู้บริโภคจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศและราคาน้ำมัน ตลอดจนการ
แพร่ระบาดของไข้หวัดนกและเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ ในขณะเดียวกัน การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจยัง
เป็นผลมาจากการถดถอยของดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ จากการนำเข้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก
สำหรับภาวะการลงทุนแม้ว่าโดยรวมในช่วงครึ่งปีหลังจะขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากครึ่งปีแรก แต่ก็ยังคงเพียง
พอที่จะทำให้อัตราการขยายตัวของการลงทุนในปี 47 ปรับสูงขึ้นกว่าปีก่อน ส่วนผลที่จะมีภาวะการเงินใน
ประเทศนั้นคงทำให้การขยายตัวของสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินมีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งจะทำให้
ภาวะสภาพคล่องส่วนเกินยังคงเหลืออยู่ในระบบค่อนข้างมาก รวมทั้งส่งผลกระทบให้การดำเนินนโยบายการ
เงินของทางการไทย และอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและเสถียรภาพในตลาดเงิน โดยเฉพาะใน
ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ซึ่งโจทย์สำคัญของทางการไทยในขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง
สวนทางกับภาวะเงินเฟ้อ คงจะอยู่ที่ว่าจะเลือกให้น้ำหนักอย่างไร ระหว่างเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพ
กับเป้าหมายในการหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยหากเลือกที่จะให้น้ำหนักเรื่องเสถียรภาพมากกว่าแล้ว
คงจะต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า จะดำเนินการกับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบที่ยังคงเหลืออยู่เป็นจำนวน
มากอย่างไร จึงจะทำให้สามารถดำเนินนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพตาม
เป้าหมายที่วางไว้ (กรุงเทพธุรกิจ)
4. คาดว่าปีนี้สภาพคล่องของระบบสถาบันการเงินจะลดลง 2-3 แสนล้านบาท นายประสาร
ไตรรัตน์วรกุล กก.ผจก.ธ.กสิกรไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์สภาพคล่องของระบบสถาบันการเงินว่า ได้ลดลง
อย่างต่อเนื่อง จากที่ขณะนี้มีสภาพคล่องในระบบการเงินที่เกินอยู่ 6-7 แสนล้านบาท คาดว่า ณ สิ้นปี 47 จะ
ลดลงจากต้นปีประมาณ 2-3 แสนล้านบาท เนื่องจากขณะนี้สินเชื่อมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 8-9 โดย
พันธบัตรออมทรัพย์ 70,000 ล้านบาท ได้ช่วยดูดซับสภาพคล่องไปบ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากออกมาเป็น
จำนวนน้อย อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องที่ลดลงคงจะยังไม่ทำให้แนวโน้มดอกเบี้ยของระบบ ธ.พาณิชย์ขยับขึ้น
เนื่องจากสภาพคล่องโดยรวมยังอยู่ในระดับสูง แม้จะลดลงมากแล้วก็ตาม ยกเว้นว่า ธปท. จะใช้วิธีการเข้า
ดูดซับสภาพคล่องเพิ่มเติม (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดค้าปลีกของอังกฤษจะลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.47 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 18 ส.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่ายอดค้า
ปลีกของอังกฤษในเดือน ก.ค.47 จะลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นการลดลงครั้งแรกเมื่อเทียบ
ต่อเดือนตั้งแต่เดือน พ.ค.46 เป็นต้นมา ซึ่งสอดคล้องแถลงการณ์ของสภาอุตสาหกรรมของอังกฤษที่ระบุ
ว่ายอดค้าปลีกในเดือน ก.ค.47 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 4 เดือนคือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ลด
ลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบต่อปี โดยคาดว่าเป็นผลมาจากฤดูร้อนที่มีฝนตกมากผิดปรกติ
การสิ้นสุดฤดูกาลการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในขณะที่ตลาดเงินและ ธ.กลาง
อังกฤษกำลังเฝ้าจับตาดูว่ายอดค้าปลีกที่ลดลงเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหรือเป็นเพียงการชะลอตัวชั่ว
คราวของการใช้จ่ายของผู้บริโภคหลังจากเพิ่มขึ้นอย่างมากก่อนหน้านี้ (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านในอังกฤษลดลงร้อยละ 2.0 ในช่วงเดือน ก.ค. | ส.ค.47 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 19 ส.ค.47 Rightmove ซึ่งเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษรายงานว่าราคาเสนอขาย
โดยเฉลี่ยของบ้านในอังกฤษก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาลลดลงร้อยละ 2.0 ในช่วง 5 สัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 10
ก.ค.47 ถึงวันที่ 14 ส.ค.47 จาก 196,198 ปอนด์เป็น 192,335 ปอนด์หรือประมาณ 352,100 ดอลลาร์
สรอ. โดยคาดว่าเป็นผลจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางอังกฤษร้อยละ 1.25 ตั้งแต่เดือน พ.ย.46
เป็นร้อยละ 4.75 ในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเดือน ส.ค.ของทุกปีมักเป็นช่วงตลาดอสังหาริมทรัพย์
เงียบเหงา เช่นเดียวกับเมื่อปีที่แล้วที่ Rightmove รายงานราคาบ้านลดลงอย่างมากในช่วงเดือน ก.ค. และ
ส.ค.46 แต่ในเดือนถัดมาราคาบ้านก็เพิ่มขึ้น ถึงแม้ราคาบ้านจะลดลงในช่วงที่ผ่านมา แต่หากเทียบต่อปีแล้ว
ราคาบ้านในอังกฤษยังคงสูงร้อยละ 15.7 จากปีก่อน (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ค.47 ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 18 ส.ค.47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเขต
เศรษฐกิจยุโรปในเดือน ก.ค.47 ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.2 เนื่องจากราคา
อาหารและเครื่องแต่งกายลดลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั้งปี 47 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ทบทวนแล้วก็ลดลงเช่นกันอยู่ที่
ระดับร้อยละ 2.3 เทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่เปลี่ยนแปลงจากที่สำนักงานสถิติ
ประมาณการไว้ครั้งแรกที่ระดับร้อยละ 2.4 และคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ เงินเฟ้อ
ของกลุ่มประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป (12 ประเทศ) เคยอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเดือน พ.ค.47 โดยอยู่ที่
ร้อยละ 2.5 เนื่องจากต้นทุนพลังงานเพิ่มสูงขึ้น แต่หลังจากนั้นอัตราเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลง เนื่องจาก ธ.
กลางยุโรปมีเป้าหมายที่จะรักษาระดับราคาผู้บริโภคในเขตเศรษฐกิจยุโรปให้มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงในระดับต่ำ
กว่าร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ความต้องการ
ในประเทศที่ชะลอตัว รายงานจากโซลเมื่อ 19 ส.ค.47 The National Statistical Office (NSO)
เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.5 ในเดือน มิ.ย.และ พ.ค.47 เป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.และ พ.ย.46 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
3.6 เช่นกัน และได้มีการลดลงในเดือน ม.ค.47 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 หลังจากนั้นมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นเรื่อยมา
สำหรับตัวเลขผู้ว่างงานในเดือน ก.ค.47 มีจำนวน 842,000 คน เพิ่มขึ้นจาก 808,000 คนในเดือนก่อน
ส่วนผู้มีงานทำในเดือน ก.ค.47 มีจำนวนลดลงอยู่ที่ระดับ 22.41 ล้านคน เทียบกับจำนวน 22.52 และ
22.44 ล้านคนในเดือน มิ.ย.และ พ.ค.47 ทั้งนี้ อัตราการว่างงานและจำนวนคนว่างงานที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุ
จาก การจ้างงานที่ลดลงในภาคการก่อสร้าง เลี้ยงสัตว์ และประมง ซึ่งการว่างงานที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวได้ส่งผล
กระทบให้ความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง ในขณะที่บริษัทต่างๆ ก็มีความกังวลเพิ่มขึ้นในการจ้าง
งานเนื่องจากตัวเลขการบริโภคในประเทศที่ยังคงอ่อนแอนั้นมีสัญญาณของการฟื้นตัวน้อยมาก รวมทั้งความต้อง
การจากภายนอกก็มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลก อัตราดอกเบี้ยของ สรอ.ที่ปรับตัว
สูงขึ้น และการที่เศรษฐกิจจีนลดความร้อนแรงลง อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขการส่งออกในช่วง 2-3 เดือนที่
ผ่านมา ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ธุรกิจต้องใช้กำลังคนเพิ่มขึ้น ตลาด
แรงงานจึงกระเตื้องขึ้นในช่วงสั้นๆ เมื่อต้นปี 47 แต่แม้ว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายในประเทศก็ยังคง
ชะงักงันอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ โดย จากการสำรวจของ
The Federation of Korean Industries (FKI) พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจมีความคาดหวังต่อ
สถานการณ์ธุรกิจในเดือน ส.ค.47 ว่าจะถดถอยลง และดัชนีจากผลการสำรวจดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100
ซึ่งเป็นอัตราอ้างอิงมาเป็นเวลา 6 เดือนต่อเนื่องแล้ว นอกจากนี้ ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ในสัปดาห์นี้ นัก
เศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มที่ไม่ดี และเห็นว่าการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยมีความจำเป็นสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งการที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ลงเหลือร้อยละ 3.5 ในสัปดาห์ก่อน เป็นการยอมรับว่า การใช้จ่ายภายในประเทศที่อ่อนแอเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ
ภาวะเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
5. การลงทุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นในปีนี้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 18
ส.ค. 47 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่าในปีนี้ เป้าหมายการลงทุนใหม่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะมีจำนวน 8
พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ (4.67 พัน ล. ดอลลาร์สรอ.) โดยบริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่ Novartis AG จะลง
ทุนสร้างโรงงานใหม่ ทั้งนี้นาย Lim Hng Kiang รมว.การค้าและอุตสาหกรรมคนใหม่ของสิงคโปร์กล่าวว่า
ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจากต่างประเทศแล้ว 4.3 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์
โดยเมื่อปีที่แล้วการลงทุนใหม่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีจำนวน 7.5 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่ำกว่าเป้า
หมายที่ตั้งไว้ที่ 8.0 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ และลดลงจาก 9.0 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ ในปี45 เนื่องจาก
เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากสงคราม และการระบาดของโรคซาร์ สำหรับในปีนี้เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยาย
ตัวอย่างแข็งแกร่งจากอุปสงค์ในภาคการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ยา ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผลผลิต
ผลิตภัณฑ์ยาชีวภาพในปีที่แล้วคาดว่าจะสูงถึง 12 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์โดยผู้ผลิตยาระดับโลกอาทิ บริษัท
Pfizer Inc. ลงทุนตั้งโรงงานใหม่ แต่แม้ว่าสิงโปร์ซึ่งเคยมีผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ
25 ของเศรษฐกิจปัจจุบันสัดส่วนดังกล่าวได้ลดลงแล้วเนื่องจากประสบกับการแข่งขันจากคู่แข่งในภูมิภาคที่มีต้น
ทุนการผลิตที่ต่ำกว่า อาทิ จีน อย่างไรก็ตาม Novartis AG บริษัทจำหน่ายยาที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก
ประกาศที่จะลงทุนในสิงคโปร์จำนวน 180 ล้านดอลลาร์สรอ. ซึ่งเป็นแผนการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย ( รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ส.ค. 47 18 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.494 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2923/41.5826 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000-1.3125 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 605.30/19.26 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 40.2 40.46 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 17 ส.ค.47 21.19*/14.59 21.19*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-