การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขอหารือในเรื่องต่างๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้กล่าวนำ นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทย ลำดับที่ ๙ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แทน นายกอบศักดิ์ ชุติกุล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ตาม มาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการประชุมต่อ โดยได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบ เรื่องการขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งลาออกเพิ่มอีก จำนวน ๑๓ คน ดั้งนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ จึงมีจำนวน ๔๕๙ คน
๒. รับทราบ เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๗ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
๓. รับทราบ เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุรชัย
เบ้าจรรยา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. …. ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่สมาชิกฯ เสนอให้เปลี่ยนระเบียบวาระ โดยมีการนำระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ดังนี้
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายถึง เรื่อง คำนิยามของคำว่า "ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินเดือนมีการใช้ถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายอื่น อาจทำให้เกิดปัญหาในการตีความได้ และการตัดถ้อยคำบางส่วนออกทำให้ไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการครูส่วนหนึ่งที่สังกัดกระทรวงอื่นที่ไม่ใช่กระทรวงศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือกระทรวงวัฒนธรรม ทำให้ข้าราชการครูเหล่านั้นไม่ได้รับประโยชน์ จึงควรที่จะคงไว้ตามร่างเดิมที่ครอบคลุมถึงข้าราชครูที่สังกัดกระทรวงอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย ในเรื่องของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ควรเพิ่มสัดส่วนของกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จากจำนวน ๗ คน เป็น ๑๔ คน เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจ การตั้งอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.ค.ศ.) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย ควรเพิ่มสัดส่วนผู้แทนที่มาจากข้าราชครูให้มากขึ้น เพื่อความเหมาะสมและควรกำหนดให้ ก.ค.ศ. เป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีจะทำให้เกิดศักยภาพในการสนองนโยบาย โดยตรงทำให้การบริหารบุคคลเป็นไปแบบบูรณาการ การกำหนดสัดส่วนของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาไม่สอดคล้อง และอาจกระทบต่อการบริหารงาน จึงขอให้เพิ่มสัดส่วนของ ผู้แทนข้าราชการครูจากเดิม ๓ คนเป็น ๖ คน ในเรื่องวิทยฐานะและการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ควรเพิ่มตำแหน่งเพื่อรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ในระบบการศึกษา
นอกโรงเรียน และควรมีหน่วยงานของ ก.ศ.น. ระดับจังหวัดเพื่อรองรับการกระจายอำนาจจาก ส่วนกลางและเพื่อดูแลสถานศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่ด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกัน ชี้แจงว่า เรื่องคำนิยามในส่วนที่เกี่ยวกับเงินเดือนนั้นได้ส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาแล้ว ในเรื่องของการกำหนดให้คำนิยามไม่ครอบคลุมข้าราชการครูที่สังกัดหน่วยงานอื่นนั้น เนื่องจากมีกฎหมายอื่นรองรับอยู่แล้ว ในเรื่องของการกำหนดสัดส่วน ของ ก.ค.ศ. เป็นการเขียนกำหนดสัดส่วนคล้ายคลึงกับกฎหมายเดิมซึ่งใช้มานาน และในสัดส่วนของผู้แทนครูใน อ.ก.ศ. ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัยนั้น องค์ประกอบตามร่างเดิมเหมาะสมแล้ว เนื่องจากเป็นการพิจารณาเกี่ยวกับวินัยจึงควรกำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นหลักและมีผู้แทนครูทำหน้าที่คำแนะนำ เรื่องที่มีสมาชิกเสนอให้ ก.ค.ศ. เป็นนิติบุคคลและการกำหนดสัดส่วนของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ทั้งสองเรื่องนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของทั้งสองสภาแล้ว หากแก้ไขอาจทำให้กระทบต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องควรคงไว้ตามร่างเดิม
สำหรับเรื่องการรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียนนั้นในกฎหมายได้บัญญัติรองรับตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่แล้ว และเนื่องจาก ก.ศ.น. มีลักษณะงานและมีที่มาที่แตกต่างกันจากการศึกษาพื้นฐาน จึงได้กำหนดรองรับไว้ในร่างกฎหมาย ก.ศ.น. แทน ซึ่งหากเพิ่มเติมตำแหน่งรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียนอาจทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและอาจทำให้กระทบต่อการบริหารงานได้
ต่อมาเป็นการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตรา ๓๙ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งในกลุ่มของครูผู้สอนกำหนดให้มีวิทยฐานะก้าวหน้าในราชการสูงสุดถึงครูเชี่ยวชาญพิเศษ ในขณะที่กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและ ผู้บริหารการศึกษามีวิทยฐานะสูงสุดเพียงผู้อำนวยการเชี่ยวชาญและผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งเป็นความไม่เสมอภาคในการจัดการปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษาจึงขอให้นำหลักการจัดระบบบุคลากรทางการศึกษาของระบบมหาวิทยาลัยมาใช้กำหนดตำแหน่งมาตรฐานและวิทยฐานะทั้ง ๔ กลุ่ม ซึ่งกรรมาธิการตอบชี้แจงว่า การกำหนดเช่นนี้เพื่อให้ครูและบุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ โดยสามารถเลื่อนไหลและปรับเปลี่ยนตำแหน่งหรือ
สายงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่สายงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ครูผู้สอนสามารถสร้างผลงานวิจัย เพื่อการพัฒนาการศึกษา จากนั้นนำผลงานมาขอรับการประเมินเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้นได้และสามารถขอรับทุนเพื่อการวิจัยได้ด้วย สำหรับการทดลองงานของครูผู้ช่วยระยะเวลา ๒ ปี ก่อนบรรจุตำแหน่งครูจริงนั้น เพื่อให้ครูมีศักยภาพต่อการสอน ซึ่งหากพ้นทดลองงานแล้วจะได้รับเงินเดือนปรับขึ้นถึง ๖ ขั้น ดังนั้นครูจะมีความก้าวหน้ามากกว่าระบบเดิม
นอกจากนี้ กรณีครู ก.ศ.น. มิได้มีการกำหนดไว้ เพราะยังไม่มีการกำหนดองค์กรขึ้น จึงยังมิได้ระบุไว้ในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จากนั้นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติ เห็นชอบในมาตรานี้ตามที่คณะกรรมาธิการเสนอ
ลำดับต่อมาเป็นการอภิปรายมาตรา ๔๗ ว่าด้วยการกำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นควรให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ เพราะจะได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่าการกำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เป็นผู้จัดสอบจะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยดีและช่วยประหยัดงบประมาณ ได้มากกว่าการให้โรงเรียนจัดสอบเอง
มาตรา ๑๐๑ ว่าด้วยการกำหนดให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ ข้อสังเกตว่าเป็นการคัดลอกมาจากกฎหมายของข้าราชการพลเรือน ก่อนปิดการประชุมกรรมาธิการฯ เสนอขอให้ตัดมาตรา ๑๓๒ ออกไป เนื่องจากมีการกำหนดมาตรา ๓๙ อยู่แล้ว จากนั้นที่ประชุมมีมติ
เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตามที่คณะกรรมาธิการเสนอด้วยคะแนนเสียง ๒๗๘ คน เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาตามรัฐธรรมนูญต่อไป พร้อมกันนี้ได้มีมติเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการประชุมต่อ โดยได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบ เรื่องการขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งลาออกเพิ่มอีก จำนวน ๑๓ คน ดั้งนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ จึงมีจำนวน ๔๕๙ คน
๒. รับทราบ เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๗ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
๓. รับทราบ เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุรชัย
เบ้าจรรยา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. …. ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่สมาชิกฯ เสนอให้เปลี่ยนระเบียบวาระ โดยมีการนำระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ดังนี้
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายถึง เรื่อง คำนิยามของคำว่า "ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินเดือนมีการใช้ถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายอื่น อาจทำให้เกิดปัญหาในการตีความได้ และการตัดถ้อยคำบางส่วนออกทำให้ไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการครูส่วนหนึ่งที่สังกัดกระทรวงอื่นที่ไม่ใช่กระทรวงศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือกระทรวงวัฒนธรรม ทำให้ข้าราชการครูเหล่านั้นไม่ได้รับประโยชน์ จึงควรที่จะคงไว้ตามร่างเดิมที่ครอบคลุมถึงข้าราชครูที่สังกัดกระทรวงอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย ในเรื่องของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ควรเพิ่มสัดส่วนของกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จากจำนวน ๗ คน เป็น ๑๔ คน เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจ การตั้งอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.ค.ศ.) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย ควรเพิ่มสัดส่วนผู้แทนที่มาจากข้าราชครูให้มากขึ้น เพื่อความเหมาะสมและควรกำหนดให้ ก.ค.ศ. เป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีจะทำให้เกิดศักยภาพในการสนองนโยบาย โดยตรงทำให้การบริหารบุคคลเป็นไปแบบบูรณาการ การกำหนดสัดส่วนของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาไม่สอดคล้อง และอาจกระทบต่อการบริหารงาน จึงขอให้เพิ่มสัดส่วนของ ผู้แทนข้าราชการครูจากเดิม ๓ คนเป็น ๖ คน ในเรื่องวิทยฐานะและการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ควรเพิ่มตำแหน่งเพื่อรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ในระบบการศึกษา
นอกโรงเรียน และควรมีหน่วยงานของ ก.ศ.น. ระดับจังหวัดเพื่อรองรับการกระจายอำนาจจาก ส่วนกลางและเพื่อดูแลสถานศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่ด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกัน ชี้แจงว่า เรื่องคำนิยามในส่วนที่เกี่ยวกับเงินเดือนนั้นได้ส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาแล้ว ในเรื่องของการกำหนดให้คำนิยามไม่ครอบคลุมข้าราชการครูที่สังกัดหน่วยงานอื่นนั้น เนื่องจากมีกฎหมายอื่นรองรับอยู่แล้ว ในเรื่องของการกำหนดสัดส่วน ของ ก.ค.ศ. เป็นการเขียนกำหนดสัดส่วนคล้ายคลึงกับกฎหมายเดิมซึ่งใช้มานาน และในสัดส่วนของผู้แทนครูใน อ.ก.ศ. ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัยนั้น องค์ประกอบตามร่างเดิมเหมาะสมแล้ว เนื่องจากเป็นการพิจารณาเกี่ยวกับวินัยจึงควรกำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นหลักและมีผู้แทนครูทำหน้าที่คำแนะนำ เรื่องที่มีสมาชิกเสนอให้ ก.ค.ศ. เป็นนิติบุคคลและการกำหนดสัดส่วนของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ทั้งสองเรื่องนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของทั้งสองสภาแล้ว หากแก้ไขอาจทำให้กระทบต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องควรคงไว้ตามร่างเดิม
สำหรับเรื่องการรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียนนั้นในกฎหมายได้บัญญัติรองรับตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่แล้ว และเนื่องจาก ก.ศ.น. มีลักษณะงานและมีที่มาที่แตกต่างกันจากการศึกษาพื้นฐาน จึงได้กำหนดรองรับไว้ในร่างกฎหมาย ก.ศ.น. แทน ซึ่งหากเพิ่มเติมตำแหน่งรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียนอาจทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและอาจทำให้กระทบต่อการบริหารงานได้
ต่อมาเป็นการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตรา ๓๙ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งในกลุ่มของครูผู้สอนกำหนดให้มีวิทยฐานะก้าวหน้าในราชการสูงสุดถึงครูเชี่ยวชาญพิเศษ ในขณะที่กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและ ผู้บริหารการศึกษามีวิทยฐานะสูงสุดเพียงผู้อำนวยการเชี่ยวชาญและผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งเป็นความไม่เสมอภาคในการจัดการปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษาจึงขอให้นำหลักการจัดระบบบุคลากรทางการศึกษาของระบบมหาวิทยาลัยมาใช้กำหนดตำแหน่งมาตรฐานและวิทยฐานะทั้ง ๔ กลุ่ม ซึ่งกรรมาธิการตอบชี้แจงว่า การกำหนดเช่นนี้เพื่อให้ครูและบุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ โดยสามารถเลื่อนไหลและปรับเปลี่ยนตำแหน่งหรือ
สายงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่สายงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ครูผู้สอนสามารถสร้างผลงานวิจัย เพื่อการพัฒนาการศึกษา จากนั้นนำผลงานมาขอรับการประเมินเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้นได้และสามารถขอรับทุนเพื่อการวิจัยได้ด้วย สำหรับการทดลองงานของครูผู้ช่วยระยะเวลา ๒ ปี ก่อนบรรจุตำแหน่งครูจริงนั้น เพื่อให้ครูมีศักยภาพต่อการสอน ซึ่งหากพ้นทดลองงานแล้วจะได้รับเงินเดือนปรับขึ้นถึง ๖ ขั้น ดังนั้นครูจะมีความก้าวหน้ามากกว่าระบบเดิม
นอกจากนี้ กรณีครู ก.ศ.น. มิได้มีการกำหนดไว้ เพราะยังไม่มีการกำหนดองค์กรขึ้น จึงยังมิได้ระบุไว้ในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จากนั้นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติ เห็นชอบในมาตรานี้ตามที่คณะกรรมาธิการเสนอ
ลำดับต่อมาเป็นการอภิปรายมาตรา ๔๗ ว่าด้วยการกำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นควรให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ เพราะจะได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่าการกำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เป็นผู้จัดสอบจะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยดีและช่วยประหยัดงบประมาณ ได้มากกว่าการให้โรงเรียนจัดสอบเอง
มาตรา ๑๐๑ ว่าด้วยการกำหนดให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ ข้อสังเกตว่าเป็นการคัดลอกมาจากกฎหมายของข้าราชการพลเรือน ก่อนปิดการประชุมกรรมาธิการฯ เสนอขอให้ตัดมาตรา ๑๓๒ ออกไป เนื่องจากมีการกำหนดมาตรา ๓๙ อยู่แล้ว จากนั้นที่ประชุมมีมติ
เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตามที่คณะกรรมาธิการเสนอด้วยคะแนนเสียง ๒๗๘ คน เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาตามรัฐธรรมนูญต่อไป พร้อมกันนี้ได้มีมติเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร