(4) ช่างเทคนิคงานปูน
กลุ่มอาชีพช่างยนต์
(5) ช่างยนต์
(6) ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์
(7) ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร
(8) ช่างเคาะพ่นสีรถยนต์
กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมศิลป์
(9) ช่างเย็บจักรอุตสาหกรรม
(10) ช่างผลิตภัณฑ์เครื่องหนังและครุภัณฑ์
(11) ช่างเขียนลายเบญจรงค์
กลุ่มอาชีพช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
(12) ช่างเชื่อมอุตสาหกรรม
กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้าและเครื่องทำความเย็น
(13) ช่างไฟฟ้า
(14) ช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
กลุ่มอาชีพช่างกลโรงงาน
(15) ช่างเครื่องมือกล
(16) ช่างกลึงโลหะ
(17) ช่างปรับประกอบเครื่องกล
(18) ช่างควบคุมเครื่องจักร CNC
(19) ช่างซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร
กลุ่มอาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์
(20) ช่างคอมพิวเตอร์เทคนิค
(21) ช่างอิเล็กทรอนิกส์
(22) ช่างแมคคาทรอนิกส์
กลุ่มอาชีพช่างเขียนแบบ
(23) ช่างควบคุมงานก่อสร้าง
(24) ช่างเขียนแบบก่อสร้าง
2) การฝึกเตรียมเข้าทำงานนอกสถานที่
(1) ช่างกลโรงงาน
(2) ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
(3) ช่างยนต์
(4) ช่างไม้และก่อสร้าง
(5) ช่างเขียนแบบ
(6) ช่างไฟฟ้าและเครื่องทำความเย็น
(7) ช่างอิเล็กทรอนิกส์
(8) ช่างอุตสาหกรรมศิลป์
(9) ธุรกิจและบริการ
3) ส่งเสริมและรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ แยกเป็นสาขาดังนี้
(1) พนักงานเสิร์ฟ
(2) พนักงานต้อนรับ
(3) พนักงานบริการ
(4) พนักงานเครื่องดื่ม
(5) มักคุเทศน์
(6) ผู้ช่วยแม่บ้าน
(7) พนักงานประกอบอาหาร
(8) สาขาหัตถกรรมและอุตสาหกรรมศิลป์
(9) สาขาภาษาต่างประเทศ
(10) สาขาการทำของที่ระลึก
4) ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ แยกเป็นสาขาดังนี้
(1) ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
(2) ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์
(3) ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร
(4) ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษและสตรี ช่างปักผ้าลวดลาย ทอผ้าด้วยมือ
(5) ช่างตัดผมและช่างเสริมสวย
(6) พนักงานนวดแผนไทย
(7) ช่างแกะสลักไม้
(8) ช่างซ่อมรถยนต์
(9) ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น
(10) ช่างซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
(11) สาขาหัตถกรรมและอุตสาหกรรมศิลป์
(12) ช่างก่ออิฐ-แบกปูน
5) ส่งเสริมและรองรับการบริหารและการจัดการ
(1) พนักงานบันทึกข้อมูลและสารสนเทศ
(2) พนักงานขายและบริการ
หากพิจารณาเป้าหมายแผนการดำเนินงานและผลการดำเนินการในเชิงปริมาณ ปรากฏว่า
ส่วนใหญ่สามารถดำเนินงานเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดทุกพื้นที่ แต่ในคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ตลาดแรงงานหรือนายจ้างยังไม่ชัดเจน
ตารางเปรียบเทียบแผนและผลการดำเนินงานด้านพัฒนาฝีมือแรงงาน ปีงบประมาณ 2540-2544
กิจกรรม แผนดำเนินงาน ผลดำเนินการ
2540 2541 2542 2543 2544 2540 2541 2542 2543 2544
ฝึกอาชีพตามแผนปกติ 225,350 232,859 205,374 185,660 179,608 226,005 251,547 273,624 206,031 199,409
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน 72,500 82,309 48,934 30,660 29,876 81,781 85,368 74,014 44,903 41,413
ฝึกยกระดับฝีมือ 106,550 99,050 113,440 110,000 107,717 114,282 130,568 156,841 118,492 119,845
ทดสอบมาตรฐานฝีมือ
แรงงาน 6,600 4,500 3,000 42,000 39,015 6,629 6,232 6,216 37,491 34,590
พัฒนาบุคลากรฝึก 39,700 47,000 40,000 3,000 3,000 23,313 29,379 36,553 5,145 3,561
ที่มา : กองวิชาการและแผนงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
5. ปัญหาอุปสรรคในการทำงานของศูนย์/สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานของภาคต่าง ๆ และ
ข้อเสนอแนะของคณะทำงาน
จากการที่คณะทำงานการแรงงานและสวัสดิการสังคม สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ได้ศึกษาดูงานศูนย์/สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานของทุกภาคในประเทศไทย พบว่าศูนย์/สถาบันพัฒนา
ฝีมือแรงงานในแต่ละภาค มีปัญหาอุปสรรคหลายด้าน ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1 ภาคเหนือ
ปัญหาอุปสรรค
- ขาดอัตรากำลัง โดยเฉพาะครูฝึก บุคลากร
- ปัญหาด้านอาคารสถานที่ไม่เพียงพอสำหรับรองรับผู้เข้ารับการฝึก
- ขาดโรงงานหรือสถานประกอบการให้การฝึกภาคปฏิบัติ
- การคมนาคมไม่สะดวก
- ขาดแคลนวิทยากรในสาขาอาชีพที่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น
- ความต้องการของตลาดแรงงานด้านอุตสาหกรรมการผลิตมีน้อย
- ปัญหาการส่งเสริมบุคลากรที่ได้รางวัลยอดเยี่ยมมาเป็นครูฝึกที่ไม่สามารถ
ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ได้
- ผู้รับการฝึกส่วนใหญ่เป็นประชากรประเภทที่ 2 (ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน)
ไม่สามารถไปทำงานข้ามจังหวัด
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ควรดำเนินงานในเชิงรุก โดยการประสานกับสภา
อุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด เพื่อกำหนดหลักสูตรความต้องการอบรมในระดับพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
มีศักยภาพทางภูมิประเทศสวยงาม ควรให้ความสำคัญกับสาขาธุรกิจบริการ หลักสูตรสาขาช่างแกะสลักน้ำแข็ง
และการจัดสวน
- การฝึกเตรียมคนเข้าทำงานให้แก่ผู้จบการศึกษาใหม่ ควรเป็นหน้าที่ของ
กระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะ ซึ่งมีการปฏิรูปการศึกษาน่าจะต้องมีความรับผิดชอบได้ ระยะแรกอาจ
ขอความร่วมมือจากสถานศึกษาเพื่อเชื่อมต่อระหว่างผู้ที่กำลังจะจบการศึกษาในการร่วมจัดหลักสูตรร่วมกัน
เพื่อฝึกเตรียมคนก่อนเข้าทำงาน
- การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน ควรให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงาน
5.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปัญหาอุปสรรค
- ขาดแคลนครูฝึกบางสาขาเนื่องจากค่าตอบแทนต่ำ
- จำนวนห้องฝึก/สถานที่ฝึกมีน้อยไม่เพียงพอ
- ศูนย์สามารถเปิดทดสอบมาตรฐานได้เฉพาะบางสาขาช่างเท่านั้น
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- ในระยะสั้นศูนย์ขอความร่วมมือหน่วยงานราชการ และเอกชนสนับสนุนผู้
ชำนาญการ ส่วนในระยะยาวควรเพิ่มค่าตอบแทนแก่ครูฝึก
5.3 ภาคตะวันออก
ปัญหาอุปสรรค
- ตลาดแรงงานมีความต้องการแรงงานฝีมือในสาขาช่างต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
แต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เยาวชนอยู่ในระบบการศึกษามากขึ้น และเป็นระยะเวลานานขึ้น
อีกทั้งขยายโอกาสให้เยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนเข้ารับการศึกษามากขึ้น ทำให้เกิดค่านิยมเข้าศึกษา
ในสถานศึกษามากกว่าที่จะเข้ารับการฝึกอาชีพเพื่อหารายได้เลี้ยงตนเอง ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนผู้สมัคร
ฝึกแรงงานฝีมือในสาขาช่างที่มีตลาดแรงงานรองรับอยู่แล้ว
- หลักสูตรของกรมไม่ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
- อัตรากำลังของครูฝึกมีน้อย ทำให้ไม่สามารถเปิดฝึกได้หลากหลายตามสาขาช่าง
- มาตรฐานฝีมือแรงงานมีเอกภาพ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับจากภาคการจ้างงาน
โดยเฉพาะการพิจารณารับเข้าทำงาน ไม่เห็นความสำคัญของการได้มาตรฐานฝีมือแรงงานเหมือนเช่นผู้มีคุณวุฒิ
ปวช. ปวส. ปริญญาตรี-เอก
- ไม่มีระบบเครือข่าย ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศ (Internet)
- ผู้ลงทุนที่เป็นชาวต่างประเทศ ที่นำเทคโนโลยีการผลิตระดับสูงมาใช้ทุกสาขา
ไม่ได้ถ่ายทอดให้คนไทยอย่างจริงจัง หรือถ่ายทอดให้ไม่หมด
- บางสาขาช่างไม่มีผู้นิยมเข้ารับฝึกอาชีพ แต่ตลาดแรงงานขาดแคลนแรงงานฝีมือ
ขั้นพื้นฐานที่เป็นงานหนัก หรืองานตรากตรำ
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- จัดทีมประชาสัมพันธ์การฝึกและโอกาสการได้งานทำทุกอำเภอ ประชาสัมพันธ์
ภารกิจและโอกาสการมีงานทำ สิทธิและประโยชน์ที่เยาวชนจะได้รับจากการเข้ารับการฝึก และจากสถาน
ประกอบการ จัดทำเว็บไซด์ประชาสัมพันธ์ของสถาบันฯ ร่วมมือการให้พัฒนาฝีมือแก่บุคลากรของภาครัฐและ
ภาคเอกชนมากขึ้น เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าร่วมกันให้มากที่สุด ช่วยเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายแก่
ประชาชนผู้สนใจในการฝึกฝีมือแรงงานมากขึ้น จูงใจการเข้าฝึกของลูกจ้างในสถานประกอบการด้วยการ
ใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์กำหนดอัตราการจ้างที่สูงขึ้น
- ปรับหลักสูตรให้เข้ากับพื้นที่ เช่น เฟอร์นิเจอร์หวายและไม้ไผ่ ภาษาอังกฤษ
เพื่อการท่องเที่ยว การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร ดังนั้นหลักสูตรควรเน้นเกี่ยวกับการบริการ การท่องเที่ยว
การแปรรูปผลิตผลในท้องถิ่น การทำของที่ระลึกและหัตถกรรมพื้นบ้าน (Major-Training Course)
ส่วนหลักสูตรที่เป็นแกนหลักเดิม เช่น ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้าฯลฯ นั้น ในบางพื้นที่ถือได้ว่าเป็นเพียงหลักสูตร
รองลงมา นอกจากนี้ควรส่งเสริมและแนะนำให้สถานประกอบการประเภทโรงแรม รีสอร์ทต่าง ๆ จัดให้
มีงานบริการดูแลผู้สูงอายุ (ชาวต่างชาติ) ซึ่งประสงค์จะเดินทางมาพักผ่อนหรือพักฟื้นสุขภาพ โดยให้สอดคล้อง
กับวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวไทย
- จัดหาวิทยากรที่มีความสามารถมาทดแทน แต่ขาดความต่อเนื่องในการว่าจ้าง
เนื่องจากปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ ดังนั้นควรกระจายอัตรากำลังของครูฝึกจาก สพร./ศพจ. อื่น ๆ
มาให้สามารถฝึกตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้
- ควรให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานติดตั้งระบบ Internet ได้ เพราะเป็นการ
สนับสนุนการพัฒนารูปแบบของการประชาสัมพันธ์ไปด้วย
- รัฐควรเร่งรัดให้มีการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกสาขาอาชีพ
โดยสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และควรสนับสนุนให้มีการทบทวนมาตรฐานฝีมือ
แรงงานเดิม นำมาพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย รวมทั้ง
ออกมาตรการผลักดันให้มาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นที่ยอมรับจากการจ้างงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดย
เฉพาะการพิจารณารับเข้าทำงานและกำหนดมาตรฐานระบบการจ่ายค่าตอบแทนให้สอดคลองกับมาตรฐาน
ฝีมือแรงงานและออกพระราชกำหนดให้มาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของมาตรฐานการผลิต
- รัฐควรออกกฎหมายบังคับให้ผู้ลงทุนที่เป็นชาวต่างประเทศที่นำเทคโนโลยี
การผลิตระดับสูงมาใช้ให้ถ่ายทอดให้คนไทยอย่างเป็นระบบและจริงจังทั้งหมดในอัตราส่วนที่รัฐกำหนด
รวมทั้งออกมาตรการสนับสนุนชาวต่างประเทศที่นำเทคโนโลยีการผลิตระดับสูงมาใช้และได้ถ่ายทอดให้
คนไทยอย่างเป็นระบบจริงจังทั้งหมด โดยใช้มาตรการยกเว้นภาษีอากรหรือรัฐร่วมสนับสนุนงบประมาณใน
บางส่วนของการฝึกอบรมและเข้าร่วมจัดการฝึกอบรมให้เป็นระบบอย่างแท้จริง
- รัฐควรออกกฎหมายอนุญาตให้แรงงานต่างด้าว ที่จดทะเบียนถูกต้องตาม
กฎหมายเข้ารับการฝึกอาชีพในสาขาช่างฝีมือที่ขาดแคลนขั้นพื้นฐานได้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยไม่กระทบ
กระเทือนต่องบประมาณของประเทศ
5.4 ภาคใต้
ปัญหาอุปสรรค
- งบประมาณจำกัด ก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน
- อัตรากำลังที่ศูนย์ฯ แต่ละจังหวัดได้รับมีจำกัด และบุคลากรบางส่วนที่กรม
พัฒนาฝีมือแรงงานจัดส่งมาไม่ตรงกับสายงานที่จะปฏิบัติ รวมทั้งการวางบุคลากรไม่เหมาะสมกับงาน เช่น
ให้บุคลากรทำหน้าที่ฝึกอบรมหรือสอนงานช่างที่ตนไม่มีพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ หากจะต้องจ้างวิทยากร
เสริม ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานแต่ละจังหวัดเกรงว่าจะมีงบประมาณไม่เพียงพอ
- ครุภัณฑ์มีไม่เพียงพอสำหรับการฝึกอบรมให้ครบในแต่ละหลักสูตร
- การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สถานประกอบการและผู้ใช้แรงงานจะ
ไม่ค่อยให้ความสำคัญ เนื่องจากบุคคลกลุ่มดังกล่าวไม่เข้าใจและเล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการทดสอบ
ต่อการดำเนินงานด้านธุรกิจมีน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย โดยส่วนใหญ่นักธุรกิจและเจ้าของสถานประกอบการ
จะมองว่าการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานจะส่งผลกระทบกับตนในด้านลบมากกว่า จึงไม่ค่อยสนับสนุนให้
พนักงานของตนมาทดสอบ
- ความร่วมมือกับเอกชนไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาฝีมือแรงงานหรือภารกิจอื่น ๆ
มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนเท่าที่ควร
- ทัศนคติของประชาชนต่อการศึกษาและพัฒนาฝีมือแรงงานส่งผลต่อการทำงาน
เนื่องจากในปัจจุบันประชาชนมักจะให้ความสำคัญด้านการศึกษาต่อมากขึ้น โดยหวังที่จะให้บุตรหลานสำเร็จ
การศึกษาและสามารถสอบเข้าทำงานราชการได้ นอกจากนี้ในการรับสมัครบุคคลทั่วไปเข้าทำงานมักจะ
กำหนดคุณสมบัติผู้สมัคร โดยดูจากวุฒิการศึกษาเป็นเกณฑ์ ไม่เน้นความรู้ความสามารถ ด้านทักษะ และ
ประสบการณ์ ทำให้กลุ่มเยาวชนวัยแรงงานบางส่วนไม่สามารถหางานได้
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- ควรสนับสนุนให้นักธุรกิจ และเจ้าของสถานประกอบการเล็งเห็นความสำคัญใน
ส่วนนี้ โดยอาจจะมีการกำหนดค่าจ้างแรงงานของผู้ผ่านการทดสอบฯ ผนวกเข้ากับค่าจ้างขั้นต่ำจะเป็นการดี
หรือเป็นข้อกำหนดพื้นฐานในการรับสมัครพนักงานใหม่ โดยให้เน้นการวัดความรู้สึกความสามารถของผู้
สมัครงานด้านฝีมือแรงงานมากกว่ากำหนดวุฒิการศึกษา จะเป็นการช่วยให้การพัฒนฝีมือแรงงานเป็นไป
ด้วยความยั่งยืนต่อธุรกิจการผลิต ตลอดจนการพัฒนาฝีมือแรงงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
- ควรประชาสัมพันธ์ให้ภาคเอกชนได้รับทราบ ถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของศูนย์
/สถาบันฯ ในการที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนภาคเอกชน
- หากภาคเอกชนกำหนดคุณสมบัติในการรับสมัครพนักงานใหม่ โดยเน้นผู้ที่มี
ความรู้ความสามารถด้านทักษะและประสบการณ์แล้ว จะถือเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้เยาวชนและผู้ปกครอง
ให้ความสำคัญในการฝึกอาชีพเพื่อการมีงานทำอีกทางหนึ่ง
6. การประเมินสถานการณ์การดำเนินงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
คณะทำงานการแรงงานฯ ได้พิจารณาจากสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก
ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานแล้ว ปรากฏว่า จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการดำเนินงาน ดังนี้
6.1 จุดแข็ง
- กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประกอบด้วยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) 12 แห่ง
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (คพจ.) อีก 50 แห่งครอบคลุมเกือบทุกจังหวัด
- กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณด้านทรัพยากรต่าง ๆ
และบุคคล และระยะเวลาที่ผ่านมานอกจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว
ยังมีการกู้เงินจาก ADB และอื่น ๆ ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์
จำนวนมาก
- การดำเนินงานมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้บุคลากรมีประสบการณ์สูง อีกทั้งมี
กฎหมายรองรับในการดำเนินงาน
6.2 จุดอ่อน
- สถานที่ตั้งของสถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ตั้งอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสม
ห่างไกลชุมชนที่อยู่อาศัย ทำให้ประชาชนที่ต้องการใช้บริการต้องเดินทางไกล การคมนาคมและติดต่อ
ไม่สะดวก อีกทั้งทำให้ประชาชนไม่รู้จักหน่วยงานดังกล่าว
- ผลประโยชน์ หน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถเอื้อผลประโยชน์แก่บริษัทอุตสาหกรรม
ที่ดำเนินการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานได้โดยตรง มาตรการที่กำหนดต้องอาศัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- กลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากโครงสร้างประชากร กำลังแรงงานมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไ
ป กล่าวคือ ประชากรมีอายุเกิน 15 ปี หรือประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนมีจำนวนน้อยลง อันเป็นผลจาก
นโยบายของรัฐที่มีเป้าหมายให้ประชาชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 ปี และเพิ่มเป็น 12 ปีตามลำดับ
นอกจากนี้ประชาชนวัยเรียนมีความสนใจต้องการศึกษาในโรงเรียนและมุ่งปริญญาโดยมีค่านิยมที่ไม่ชอบงานช่าง
- หลักสูตรและอาชีพที่สอนในสถาบัน แม้ว่าจะได้มาตรฐานที่ดี กรมพัฒนาฝีมือ
แรงงานมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตร กำหนดให้มีความยืดหยุ่นในพื้นที่สามารถปรับให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจ
ของจังหวัด แต่ยังไม่เพียงพอ ไม่ทันกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป หลักสูตรดังกล่าวหลายหน่วยงาน
ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิค ซึ่งหน่วยงาน
เหล่านี้อยู่ใกล้ชุมชนและใกล้ชิดกับภาคประชาชนมากกว่า นอกจากนี้หลักสูตรต่าง ๆ ไม่สามารถเพิ่มมูลค่า
หรือค่าแรงให้กับผู้เรียน ความรู้ความสามารถของผู้เรียนไม่มีทักษะที่สูงกว่าแรงงานที่ผู้ประกอบการมีอยู่
ทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเห็นความสำคัญการพัฒนาฝีมือหรือทักษะของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
- ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อให้
ประชาชนภาคธุรกิจเอกชนสามารถใช้ประโยชน์ในบริการรวมถึงการจูงใจมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ในการดำเนินงานของหน่วยงาน
6.3 โอกาส
- ช่างฝีมือระดับกลาง ช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการเป็นที่ต้องการในภาคอุตสาหกรรม
และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในด้านการผลิต กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่
ในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การทดสอบมาตรฐานแรงงานให้มีคุณภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
เพื่อให้แรงงานไทยมีประสิทธิภาพสูงสามารถมีงานทำตลอดชีวิตวัยทำงาน และทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้
- พ.ร.บ.ประกันสังคมที่จะขยายขอบเขตการประกันการว่างงาน ซึ่งมีผลทำให้
กรมการพัฒนาฝีมือแรงงานต้องดำเนินงานฝึกอาชีพให้กับผู้ว่างงาน
6.4 อุปสรรค
- การดำเนินงานของหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะฝีมือ
แรงงานด้วย เช่น หน่วยงานการศึกษา กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งในหลายส่วนมีคุณภาพไม่แตกต่างกัน
และให้ผลประโยชน์แก่ผู้เข้ารับการฝึกมากกว่า
- ค่านิยมและการยอมรับของคน/สังคม ที่ไม่นิยมการเป็นช่างเทคนิค ช่างฝีมือ
การทำงานสกปรก ยากลำบาก คนส่วนใหญ่ต้องการทำงานสบาย
7. การวิเคราะห์การดำเนินงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
คณะทำงานการแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้วิเคราะห์การดำเนินงานของกรมพัฒนา
ฝีมือแรงงานแล้วมีความเห็นดังนี้
1. การดำเนินงานได้เป้าหมายเชิงปริมาณ แต่หลักสูตรและวิชาที่สอนไม่สามารถสร้าง
การยอมรับและเชื่อมั่นให้แก่แรงงานไทย และผู้ประกอบการได้มาก ซึ่งสามารถเห็นได้จากผลการดำเนิน
การในแต่ละปีเกินกว่าเป้าหมายการดำเนินงานในทุกปีเกือบทุกพื้นที่ของจังหวัด แต่กำลังแรงงานและ
สถานประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักและใช้บริการอย่างแพร่หลายเท่าที่ควร
2. สถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ในหลายจังหวัดสามารถปรับตัวและรองรับสภาพ
แวดล้อมที่เปลี่ยนไปของระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง ได้ดำเนินการ
เข้าหาภาคธุรกิจเอกชน ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นรูปแบบ โดยมิใช่การดำเนินเองใน
ลักษณะแบบเบ็ดเสร็จ แต่ในหลายพื้นที่ไม่สามารถดำเนินการในลักษณะเชิงรุกได้ ทั้งนี้อาจเนื่องจาก
ระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ไม่สามารถดำเนินการในลักษณะเชิงรุกได้ ทั้งนี้อาจเนื่องจากระบบเศรษฐกิจ
ในพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานยังคงดำเนินในลักษณะแบบเดิม ๆ
3. ภาครัฐได้ลงทุนทั้งในลักษณะจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และการกู้ยืมจากองค์การ
ต่างประเทศจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในอาคาร เครื่องจักร เครื่องมือ ที่ดิน ซึ่งปรากฏ
ว่าสถาบันพัฒนา/ศูนย์พัฒนาฝีมือมีเป้าหมายที่จะขยายครอบคลุมให้ครบทุกจังหวัด ขณะที่ทรัพยากรต่าง ๆ
ที่ลงทุนไปยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และคุ้มค่า และไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถของแรงงาน
ไทยแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ในระดับที่ดีขึ้น
4. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีแนวโน้มให้ความสำคัญในเรื่องการทดสอบมาตรฐาน
ฝีมือแรงงาน การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานมากกว่าการฝึกเตรียมเข้าทำงาน นับว่าเป็นเรื่องที่สอดคล้อง
และรองรับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง สำหรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นเรื่องจำเป็น
ต้องมีการดำเนินงานให้เกิดผลจริงจัง เพราะเนื่องจากการเป็นการแข่งขันกับต่างประเทศยังเกี่ยวข้อง
กับความปลอดภัยและการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย
5. การปรับเปลี่ยนกรอบแนวคิด และแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานยังมี
ลักษณะตั้งรับ กล่าวคือหลักสูตรและวิชาชีพต่าง ๆ เป็นการกำหนดจากส่วนกลางเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่า
จะมีการปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นได้ แต่ยังไม่เพียงพอกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การ
ดำเนินงานในเรื่องนี้จำเป็นต้องใช้เชิงรุก โดยแต่ละพื้นที่ต้องมีความหลากกลาย แตกต่างไม่เหมือนกัน
ต้องอาศัยความรู้เรื่องวัฒนธรรม ศักยภาพทางกายภาพของพื้นที่และทักษะของแรงงาน บุคลากรของ
หน่วยงานต้องมีความริเริ่มในการสร้างหลักสูตรต่าง ๆ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การปรับเปลี่ยนหลักสูตร
ให้เหมาะสมสอดคล้องกับเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หน่วยงานต้องมีการกระจายอำนาจให้
บุคลากรให้สามารถตัดสินใจในแผนงาน และแผนเงิน และต้องมีระบบค่าตอบแทน ผลประโยชน์เกื้อกูล
ตลอดจนความก้าวหน้าในอาชีพที่ชัดเจน
8.ข้อเสนอแนะ
คณะทำงานฯ มีข้อเสนอแนะในการพัฒนาฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวง
แรงงาน ดังนี้
1. ควรระงับและชะลอการสร้างสถาบัน/พัฒนาฝีมือแรงงานเพิ่มเติมให้ครอบคลุมทุกจังหวัด
ตามเป้าหมายที่กำหนด และทบทวนการก่อสร้างอาคาร การซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ที่เป็นพันธะผูกพัน ใน
จังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการให้มุ่งให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพในการใช้งาน
โดยพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น
2. การปรับบทบาทกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังนี้
(1) มีการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อกำหนดนโยบายและมาตรการ
การพัฒนาฝีมือแรงงานของประเทศให้มีทิศทางที่ชัดเจน ดยให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมวางแผนปฏิบัติร่วมกัน
โดยกำหนดเป้าหมาย รายละเอียด
(2) เพิ่มบทบาทการเป็นผู้ประสานงานและร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการ
พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน หรือฝึกอบรมเพื่อประกอบอาชีพ
(3) การดำเนินงานในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ควรให้ภาคธุรกิจ
อุตสาหกรรมของเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตร มาตรฐานฝีมือ การทดสอบฝีมือด้วย
(4) ในการดำเนินงานพัฒนาฝีมือแรงงานของหน่วยงานควรแสวงหาความ
ชำนาญเฉพาะของตนเองว่าหลักสูตรใด สาขาวิชาใด เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากหน่วยงานอื่น และ
พัฒนาสู่ความเป็นเลิศให้ได้รับการยอมรับของหน่วยงานอื่น โดยจัดทำหลักสูตรร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน
และแรงงาน
(5) ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานควรเป็นผู้สนับสนุนและจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์
เครื่องมือ เครื่องใช้ และสถานที่มีอยู่ให้หน่วยงานอื่น ๆ ในภาคประชาชนรวมทั้งสถานประกอบการเอกชน
สามารถเข้ามาใช้พัฒนาทักษะฝีมือ หรือฝึกอาชีพให้กับตนในภูมิภาคและท้องถิ่น
(6) กรมพัฒนาฝีมือแรงงานควรเป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นให้แรงงานไทยได้มี
การพัฒนาฝีมือ ผู้ประกอบการอาชีพอิสระด้านต่าง ๆ ไปสู่ความเป็นเลิศของวิชาชีพ โดยจัดให้มีการแข่งขัน
ประกวดฝีมือในทุกสาขาวิชาชีพ และทุกพื้นที่
3. การดำเนินงานของสถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ควรให้มีการดำเนินงานและ
พัฒนาไปสู่ความแตกต่าง และหลากหลายตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของพื้นที่ต่าง ๆ โดยการ
กระจายอำนาจทั้งแผนงาน แผนเงิน ให้แต่ละหน่วยงานสามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตร หาความร่วมมือ
และแสวงหารายได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
4. การดำเนินงานของสถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด
และวิธีการดำเนินงานไปสู่การแข่งขันกับหน่วยงานอื่น ๆ โดยการแสวงหากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อให้ได้ลูกค้า
ทั้งภาคธุรกิจเอกชน และแรงงานยอมรับผลประโยชน์ที่พึงได้จากการใช้บริการของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
5. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำเป็นต้องกำหนดจุดยืนการดำเนินงานของหน่วยงานว่าเพื่อ
กลุ่มเป้าหมายใดให้ชัดเจน พร้อมทั้งจัดความสำคัญ เช่น เครื่องมือทันสมัย อุตสาหกรรมขนาดเล็กและ
ขนาดย่อม หรืออุตสาหกรรมครัวเรือน หรือแรงงานกลุ่ม เช่น ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ แรงงานที่กำลัง
เข้าสู่แรงงาน แรงงานที่ทำงานในสถานประกอบการ ผู้ว่างงาน หากครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม
(ยังมีต่อ)