(ต่อ2) การพัฒนาฝีมือแรงงานในประเทศไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 20, 2004 14:36 —สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

โดยไม่จัดลำดับความสำคัญและเป้าหมายจะทำให้การดำเนินงานขาดทิศทาง ขณะที่งบประมาณ ทรัพยากร
มีจำกัดจะทำให้เกินกว่าความสามารถของหน่วยงานจะรองรับได้หมด และสะท้อนถึงประสิทธิผลและ
ประสิทธิภาพของหน่วยงานด้วย
6. ควรมีการปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบการบริหารงานของหน่วยให้เอื้อต่อการ
ดำเนินงานโดยมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่น สร้างขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากร และสามารถหารายได้พึ่งตนเองได้
ทั้งเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่มีศักยภาพได้เข้ามาเป็นผู้บริหารศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานได้
7. การเตรียมการและเพิ่มศักยภาพของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการดำเนินงาน
ตอบสนองกับ พ.ร.บ.ประกันสังคมโดยเฉพาะในด้านการประกันการว่างงาน
8. ควบคุม กำกับ และตรวจสอบให้แรงงานที่ทำงานในสถานประกอบการและผู้ประกอบ
อาชีพอิสระ มีมาตรฐานฝีมือแรงงานไม่น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนด
9. กลไกการบริหารการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยการปรับปรุงองค์ประกอบและบทบาท
ของคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานการฝึกฝีมือแรงงานแห่งชาติ (กพร. ปร.) และคณะกรรมการ
พัฒนาแรงงานและประสานการฝึกฝีมือแรงงานระดับจังหวัด (กพร. ปจ.) โดยเน้นลักษณะ 3 ประสาน
ซึ่งเพิ่มตัวแทนภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า ตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้าง และสถาบันการศึกษา
ในท้องถิ่นให้มีสัดส่วนมากขึ้น รวมทั้งให้ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษามีบทบาทในการกำหนดหลักสูตร
และมาตรฐานต่าง ๆ สำหรับการพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่มากขึ้น โดยศูนย์หรือสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน
ทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับงบประมาณ และประเมินผล
ที่มา: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
www.nesac.or.th, โทร.02-612-9222 ต่อ 118, 119 โทรสาร.02-612-6918-9

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ