บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๔.๑๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้กล่าวนำ นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคชาติไทย ลำดับที่ ๙ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนนายกอบศักดิ์ ชุติกุล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่
ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องการขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งลาออกเพิ่มอีก
จำนวน ๑๓ คน ดังนี้
(๑) นายจรัส พั้วช่วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบูรณ์ พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๒) นายทวี สุระบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตรัง
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๓) นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๔) นายปัญญา จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดแม่ฮ่องสอน พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๕) นายพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดพิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๖) นายอรรถพล มามะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส พรรคไทยรักไทย ตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๗) นางคมคาย พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๘) นายวิจัย วัฒนาประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๙) นายธวัชชัย อนามพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดจันทบุรี พรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๑๐) นายสมมารถ เจ๊ะนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๑๑) พันตำรวจโท เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๑๒) นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๑๓) นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
ดังนั้น สมาชิกฯ ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ มีจำนวน ๔๕๙ ท่าน
๒. เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
๓. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุรชัย เบ้าจรรยา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ….
ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๑๕, ๔.๑๖ และ ๔.๑๗ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่ที่ประชุม
มีมติในลำดับแรก คือ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทาง
การศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบ
วาระที่ ๔.๑๕)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
*******************************
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๔.๑๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้กล่าวนำ นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคชาติไทย ลำดับที่ ๙ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนนายกอบศักดิ์ ชุติกุล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่
ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องการขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งลาออกเพิ่มอีก
จำนวน ๑๓ คน ดังนี้
(๑) นายจรัส พั้วช่วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบูรณ์ พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๒) นายทวี สุระบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตรัง
พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๓) นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๔) นายปัญญา จีนาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดแม่ฮ่องสอน พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๕) นายพิทักษ์ สันติวงศ์เดชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดพิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๖) นายอรรถพล มามะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส พรรคไทยรักไทย ตั้งแต่วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๗) นางคมคาย พลบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๘) นายวิจัย วัฒนาประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๙) นายธวัชชัย อนามพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดจันทบุรี พรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๑๐) นายสมมารถ เจ๊ะนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๑๑) พันตำรวจโท เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๑๒) นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
(๑๓) นางพรพิชญ์ พึ่งธรรมเดช พัฒนกุลเลิศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
ดังนั้น สมาชิกฯ ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ มีจำนวน ๔๕๙ ท่าน
๒. เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๕๗ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
๓. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
ไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. ….
ซึ่ง นายสุรชัย เบ้าจรรยา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. ….
ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๑๕, ๔.๑๖ และ ๔.๑๗ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่ที่ประชุม
มีมติในลำดับแรก คือ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทาง
การศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบ
วาระที่ ๔.๑๕)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง
และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
*******************************