การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขอหารือในเรื่องต่างๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้กล่าวนำ นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทย ลำดับที่ ๙ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แทน นายกอบศักดิ์ ชุติกุล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ตาม มาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการประชุมต่อ โดยได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบ เรื่องการขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งลาออกเพิ่มอีก จำนวน ๑๓ คน ดั้งนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ จึงมีจำนวน ๔๕๙ คน
๒. รับทราบ เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๗ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
๓. รับทราบ เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุรชัย
เบ้าจรรยา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. …. ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่สมาชิกฯ เสนอให้เปลี่ยนระเบียบวาระ โดยมีการนำระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ดังนี้
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายถึง เรื่อง คำนิยามของคำว่า "ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินเดือนมีการใช้ถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายอื่น อาจทำให้เกิดปัญหาในการตีความได้ และการตัดถ้อยคำบางส่วนออกทำให้ไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการครูส่วนหนึ่งที่สังกัดกระทรวงอื่นที่ไม่ใช่กระทรวงศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือกระทรวงวัฒนธรรม ทำให้ข้าราชการครูเหล่านั้นไม่ได้รับประโยชน์ จึงควรที่จะคงไว้ตามร่างเดิมที่ครอบคลุมถึงข้าราชครูที่สังกัดกระทรวงอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย ในเรื่องของ คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ควรเพิ่มสัดส่วนของกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จากจำนวน ๗ คน เป็น ๑๔ คน เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจ การตั้งอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.ค.ศ.) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย ควรเพิ่มสัดส่วนผู้แทนที่มาจากข้าราชครูให้มากขึ้น เพื่อความเหมาะสมและควรกำหนดให้ ก.ค.ศ. เป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีจะทำให้เกิดศักยภาพในการสนองนโยบาย โดยตรงทำให้การบริหารบุคคลเป็นไปแบบบูรณาการ การกำหนด สัดส่วนของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาไม่สอดคล้อง และอาจกระทบต่อการบริหารงาน จึงขอให้เพิ่มสัดส่วนของ ผู้แทนข้าราชการครูจากเดิม ๓ คนเป็น ๖ คน ในเรื่องวิทยฐานะและการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ควรเพิ่มตำแหน่งเพื่อรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ในระบบการศึกษานอกโรงเรียน และควรมีหน่วยงานของ ก.ศ.น. ระดับจังหวัดเพื่อรองรับการกระจายอำนาจจากส่วนกลางและเพื่อดูแลสถานศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่ด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เรื่องคำนิยามในส่วนที่เกี่ยวกับเงินเดือนนั้นได้ส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาแล้ว ในเรื่องของการกำหนดให้คำนิยามไม่ครอบคลุมข้าราชการครูที่สังกัดหน่วยงานอื่นนั้น เนื่องจากมีกฎหมายอื่นรองรับอยู่แล้ว ในเรื่องของการกำหนดสัดส่วน ของ ก.ค.ศ. เป็นการเขียนกำหนดสัดส่วนคล้ายคลึงกับกฎหมายเดิมซึ่งใช้มานาน และในสัดส่วนของผู้แทนครูใน อ.ก.ศ. ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัยนั้น องค์ประกอบตามร่างเดิมเหมาะแล้ว เนื่องจากเป็นการพิจารณาเกี่ยวกับวินัยจึงควรกำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นหลักและมีผู้แทนครูทำหน้าที่คำแนะนำ เรื่องที่มีสมาชิกเสนอให้ ก.ค.ศ. เป็นนิติบุคคลและการกำหนดสัดส่วนของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ทั้งสองเรื่องนี้ ได้ผ่านความเห็นชอบของทั้งสองสภาแล้ว หากแก้ไขอาจทำให้กระทบต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องควร คงไว้ตามร่างเดิม สำหรับเรื่องการรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียนนั้นในกฎหมายได้บัญญัติรองรับตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่แล้ว และเนื่องจาก ก.ศ.น. มีลักษณะงานและมีที่มาที่แตกต่างกันจากการศึกษาพื้นฐาน จึงได้กำหนดรองรับไว้ในร่างกฎหมาย ก.ศ.น. แทน ซึ่งหากเพิ่มเติมตำแหน่งรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียนอาจทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและอาจทำให้กระทบต่อการบริหารงานได้
ต่อมาเป็นการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตรา ๓๙ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งในกลุ่มของครูผู้สอนกำหนดให้มีวิทยฐานะก้าวหน้าในราชการสูงสุดถึงครูเชี่ยวชาญพิเศษ ในขณะที่กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและ ผู้บริหารการศึกษามีวิทยฐานะสูงสุดเพียงผู้อำนวยการเชี่ยวชาญและผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งเป็นความไม่เสมอภาคในการจัดการปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษาจึงขอให้นำหลักการจัดระบบบุคลากรทางการศึกษาของระบบมหาวิทยาลัยมาใช้กำหนดตำแหน่งมาตรฐาน และวิทยฐานะทั้ง ๔ กลุ่ม ซึ่งกรรมาธิการตอบชี้แจงว่า การกำหนดเช่นนี้เพื่อให้ครูและบุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ โดยสามารถเลื่อนไหลและปรับเปลี่ยนตำแหน่งหรือ สายงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่สายงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ครูผู้สอนสามารถสร้างผลงานวิจัย เพื่อการพัฒนาการศึกษา จากนั้นนำผลงานมาขอรับการประเมินเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้นได้และสามารถขอรับทุนเพื่อการวิจัยได้ด้วย สำหรับการทดลองงานของครูผู้ช่วยระยะเวลา ๒ ปี ก่อนบรรจุตำแหน่งครูจริงนั้น เพื่อให้ครูมีศักยภาพต่อการสอน ซึ่งหากพ้นทดลองงานแล้วจะได้รับเงินเดือนปรับขึ้นถึง ๖ ขั้น ดังนั้น ครูจะมีความก้าวหน้ามากกว่าระบบเดิม
นอกจากนี้ กรณีครู ก.ศ.น. มิได้มีการกำหนดไว้ เพราะยังไม่มีการกำหนดองค์กรขึ้น จึงยังมิได้ระบุไว้ในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จากนั้นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบในมาตรานี้ตามที่คณะกรรมาธิการเสนอ
ลำดับต่อมาเป็นการอภิปรายมาตรา ๔๗ ว่าด้วยการกำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นควรให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ เพราะจะได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่าการกำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เป็นผู้จัดสอบจะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยดีและช่วยประหยัดงบประมาณ ได้มากกว่าการให้โรงเรียนจัดสอบเอง
มาตรา ๑๐๑ ว่าด้วยการกำหนดให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ ข้อสังเกตว่าเป็นการคัดลอกมาจากกฎหมายของข้าราชการพลเรือน ก่อนปิดการประชุมกรรมาธิการฯ เสนอขอให้ตัดมาตรา ๑๓๒ ออกไป เนื่องจากมีการกำหนดมาตรา ๓๙ อยู่แล้ว จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตามที่คณะกรรมาธิการเสนอด้วยคะแนนเสียง ๒๗๘ คน เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาตามรัฐธรรมนูญต่อไป พร้อมกันนี้ได้มีมติเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา โดยนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธาน การประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระ คือ ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี และระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ดังนี้
๑. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๔๕ ของสำนักงานป้องกันและ
ปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้มีหนังสือแจ้งว่า ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้จัดงานวันสถาปนาครบ ๕ รอบ และแถลงผลงานในรอบ ๕ ปี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗ ซึ่งได้แจ้งไว้ล่วงหน้าแล้ว ทำให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่สามารถเข้าร่วมอภิปราย ชี้แจง ซักถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงขอเลื่อนการชี้แจงไปในคราวประชุมครั้งต่อไป
๒. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบรายงานการรับ-จ่ายเงินของกองทุนสงเคราะห์
เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียนอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิต ตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
๓. รับทราบเรื่องการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้ตั้งข้อสังเกตว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นองค์กรที่มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อสังคมอย่างมาก แต่การประชาสัมพันธ์ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภายังไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง และได้เสนอแนะให้ทำแผนประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และภารกิจ รวมทั้งผลงานของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และควร จัดตั้งสำนักงานขนาดย่อยประจำจังหวัดหรืออำเภอ หรืออาจเป็นเพียงตัวบุคคลให้เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังเสนอให้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดินแต่ละคนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสำหรับการจัดทำรายงานในครั้งต่อไปนั้นขอให้สรุปสภาพปัญหาให้เป็นหมวดหมู่ และสิ่งที่ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา และควรมีกรณีศึกษาตัวอย่างให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
จากนั้น นายปราโมทย์ โชติมงคล เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ได้ตอบชี้แจงว่า หน่วยงานได้ปฏิบัติงานทางด้านประชาสัมพันธ์อย่างเต็มที่มาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องในสื่อต่าง ๆ โดยเน้นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์มีราคาสูงมาก ทำให้การประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เข้าถึงประชาชนได้ไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร สำหรับการจัดตั้งสำนักงานขนาดย่อยในพื้นที่ต่าง ๆ นั้น มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณเช่นเดียวกัน ทั้งนี้หากมีความพร้อมในเรื่องของงบประมาณเมื่อใดจะได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
หลังจากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นสมควรให้มีการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติม โดยประธานจะได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒ และแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จำนวน ๓๑ คน ซึ่งจะดำเนินการโดยเชิญอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง มาประชุมเพื่อเลือกกันเองให้เหลือ จำนวน ๔ คน พร้อมกันนั้นจะแจ้งไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อขอให้ส่งรายชื่อผู้แทนศาลฎีกา จำนวน ๔ คน และแจ้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อขอให้ส่งรายชื่อผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดจำนวน ๔ คน เป็นกรรมการสรรหา หลังจากนั้นจะได้นำแจ้งต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้แต่งตั้งกรรมการสรรหาจากพรรคการเมือง จำนวน ๑๙ คน มาประกอบเป็นคณะกรรมการ สรรหาต่อไป
๔. รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไตรมาส
ที่ ๔ ปี ๒๕๔๕ และไตรมาสที่ ๑-๓ ปี ๒๕๔๖
๕. รับทราบรายงานผลการพัฒนาระบบราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖
๖. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีความรุนแรง
อันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้เห็นชอบให้นำระเบียบวาระที่ ๗ เป็นเรื่องอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งเป็นการพิจารณาเลือกตั้งซ่อมคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้หมดการเป็นสมาชิกภาพของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) เป็นเหตุให้พ้นจากการเป็นกรรมาธิการด้วย จึงมีการพิจารณาเลือกตั้งคณะกรรมาธิการต่าง ๆ ขึ้น แทนตำแหน่งที่ว่างลง ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม ได้แก่ คุณหญิงจรัลศรี ทีปิรัช
๒. คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม ได้แก่ นายบรรจง พงษ์ศาสตร์
๓. คณะกรรมาธิการติดตามการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้แก่
นายสมศักดิ์ โสมกลาง
๔. คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม ได้แก่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๕. คณะกรรมาธิการการแรงงาน ได้แก่ นางผุสดี ตามไท และนายนพดล พลเสน
๖. คณะกรรมาธิการการปกครอง ได้แก่ คุณหญิงจรัลศรี ทีปิรัช
๗. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง ได้แก่ นายวิชัย ตันศิริ
๘. คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ ได้แก่ นายอุทัย สุดสุข
๙. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ได้แก่ นายอภิชาต การิกาญจน์ และ
นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
๑๐. คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน ได้แก่
นายปรีชา สุวรรณทัต และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๑๑. คณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ ได้แก่ นายนริศร ทองธิราช
๑๒. คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ได้แก่
นายมณเฑียร สงฆ์ประชา
๑๓. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ได้แก่ นางผ่องศรี แซ่จึง และนายวราวุธ
ศิลปอาชา
๑๔. คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
๑๕. คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว ได้แก่ นายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม
สำหรับคณะกรรมาธิการอื่น ๆ ที่ยังไม่มีการพิจารณาเลือกตั้งซ่อมในครั้งนี้จะขอให้มีการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
พักการประชุมเวลา ๑๑.๔๐ นาฬิกา
ต่อจากนั้นในเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา ได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายนริศร ทองธิราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร
พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้ตอบกระทู้ว่า สินค้า ทางการเกษตร ๓ ตัวหลัก คือ ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยนั้น มีเพียงข้าวและมันสำปะหลังเท่านั้น ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงพาณิชย์ ส่วนอ้อยจะอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการนโยบายอ้อ
และน้ำตาล ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมอีกทีหนึ่ง หัวใจหลักของเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศขณะนี้กำลังประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และราคาผลผลิตต่ำลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงทำให้ผลผลิตที่ออกสู่ท้องตลาดมีคุณภาพต่ำ และมีข้าวปนเปื้อนเข้ามาด้วย ในเรื่อง ดังกล่าวนี้คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ต้องเร่งดำเนินการตรวจสอบเป็นการเร่งด่วน และตลาดข้าวใหญ่ของประเทศไทยอยู่ที่อัฟริกาซึ่งเป็นลูกค้าข้าวขาว ส่วนข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประเทศจีน ประเทศแถบเอเซีย และรัฐบาลได้มีมาตรการในการดูแลข้าวหอมมะลิ โดยกำหนดมาตรฐานข้าวหอม ไว้ที่ ๙๒% เพราะต้องการให้ได้ข้าวหอมในปริมาณที่สูงและมีข้าวชนิดอื่นผสมได้ไม่เกิน ๘% เพื่อ ยกระดับราคาข้าวให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามในเรื่องดังกล่าวนี้รัฐบาลได้ร่วมมือกับจังหวัด โดยไม่ใช้มาตรการในการป้องปราม แต่ใช้มาตรการในการสนับสนุน และให้การรับรองในด้านประชาสัมพันธ์ เพื่อยกระดับมาตรฐานให้ดีขึ้น
ส่วนเรื่องมาตรการในการประกันราคาปุ๋ยเคมีนั้น เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบเป็นปุ๋ยเคมี เป็นสิ่งที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ดังนั้นราคาของปุ๋ยเคมีจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ดำเนินการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลในเรื่องของการปลอมปน คุณภาพ พร้อมทั้งได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์พยายามผลักดันราคาสินค้าการเกษตรให้เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
๒. กระทู้ถามสดของนายวิฑูรย์ นามบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ตอบกระทู้ว่า ขณะนี้รัฐบาลได้มีการประชุมติดตามและนำปัญหาความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อมาชดเชยโดยจ่ายเป็นจำนวนเงินให้กับเกษตรกร รวมทั้งได้ตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วย ขณะนี้รัฐบาลได้สั่งการให้กรมทรัพยากรธรณี และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สำหรับในเรื่องของการช่วยเหลือนั้น ได้มีหลายหน่วยงานร่วมมือกันช่วยเหลือ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยได้ช่วยเหลือ โดยการนำถุงยังชีพไปแจกจ่ายให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยด้วย
ส่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ๔-๕ ปีนั้น ขณะนี้รัฐบาลได้สั่งการให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจัดทำแผน และสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาและหาทางช่วยเหลือให้เป็นรูปธรรมต่อไป
๓. กระทู้ถามสดของนางผุสดี ตามไท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการดูแลนักเรียนทุนในต่างประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุธรรม แสงประทุม) ได้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มาจากเงินทุนกองสลากกินแบ่งรัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นผู้รับผิดชอบและดูแล แต่ก็มีข้อบกพร่องคือ การให้เวลา ในการศึกษาเตรียมความพร้อมในด้านของภาษาน้อยเกินไป และรัฐบาลได้สั่งการให้มีการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดสอนภาษาสำหรับนักเรียนทุนที่จะเดินทางไปประเทศนั้น ๆ ให้มากขึ้น และถ้าไม่มีความพร้อม ก็สามารถใช้ทุนดังกล่าวเรียนในประเทศได้ พร้อมทั้งได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการและคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนไปทบทวนมาตรการการดูแลนักเรียนไทยในต่างประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก
จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอดิศัย โพธารามิก) ได้กล่าว เพิ่มเติมว่า นักเรียนทุน ๑ อำเภอ ๑ ทุน ที่ได้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศแล้วนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ที่เป็นอาจารย์ไปดูแลช่วยเหลือต่อไป
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชน ถาม นายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตาม ข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๒. กระทู้ถามของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ขอให้พิจารณาแบ่งเขตพื้นที่สนามบินแห่งชาติสุวรรณภูมิ เป็นเขตปกครองพิเศษ ถามนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายติดราชการสำคัญ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
๓. กระทู้ถามของนายนิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การสนับสนุนเงินเพื่อช่วยเหลือแรงงาน ถามนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายติดราชการสำคัญ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๗ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
ปิดประชุมเวลา ๑๔.๕๕ นาฬิกา
------------------------------------------------------------
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขอหารือในเรื่องต่างๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้กล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้กล่าวนำ นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทย ลำดับที่ ๙ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แทน นายกอบศักดิ์ ชุติกุล ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ตาม มาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการประชุมต่อ โดยได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบ เรื่องการขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งลาออกเพิ่มอีก จำนวน ๑๓ คน ดั้งนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๗ จึงมีจำนวน ๔๕๙ คน
๒. รับทราบ เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๗ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่..) พ.ศ. ….
ซึ่ง นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย เป็นผู้เสนอ
๓. รับทราบ เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุรชัย
เบ้าจรรยา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ. …. ซึ่ง นายอุทัย สุดสุข
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่สมาชิกฯ เสนอให้เปลี่ยนระเบียบวาระ โดยมีการนำระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ดังนี้
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ และเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง โดยสมาชิกได้อภิปรายถึง เรื่อง คำนิยามของคำว่า "ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา" ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินเดือนมีการใช้ถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายอื่น อาจทำให้เกิดปัญหาในการตีความได้ และการตัดถ้อยคำบางส่วนออกทำให้ไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการครูส่วนหนึ่งที่สังกัดกระทรวงอื่นที่ไม่ใช่กระทรวงศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือกระทรวงวัฒนธรรม ทำให้ข้าราชการครูเหล่านั้นไม่ได้รับประโยชน์ จึงควรที่จะคงไว้ตามร่างเดิมที่ครอบคลุมถึงข้าราชครูที่สังกัดกระทรวงอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย ในเรื่องของ คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ควรเพิ่มสัดส่วนของกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จากจำนวน ๗ คน เป็น ๑๔ คน เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจ การตั้งอนุกรรมการวิสามัญ (อ.ก.ค.ศ.) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย ควรเพิ่มสัดส่วนผู้แทนที่มาจากข้าราชครูให้มากขึ้น เพื่อความเหมาะสมและควรกำหนดให้ ก.ค.ศ. เป็นนิติบุคคลขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีจะทำให้เกิดศักยภาพในการสนองนโยบาย โดยตรงทำให้การบริหารบุคคลเป็นไปแบบบูรณาการ การกำหนด สัดส่วนของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาไม่สอดคล้อง และอาจกระทบต่อการบริหารงาน จึงขอให้เพิ่มสัดส่วนของ ผู้แทนข้าราชการครูจากเดิม ๓ คนเป็น ๖ คน ในเรื่องวิทยฐานะและการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ควรเพิ่มตำแหน่งเพื่อรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ในระบบการศึกษานอกโรงเรียน และควรมีหน่วยงานของ ก.ศ.น. ระดับจังหวัดเพื่อรองรับการกระจายอำนาจจากส่วนกลางและเพื่อดูแลสถานศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่ด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการได้ผลัดเปลี่ยนกันชี้แจงว่า เรื่องคำนิยามในส่วนที่เกี่ยวกับเงินเดือนนั้นได้ส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาแล้ว ในเรื่องของการกำหนดให้คำนิยามไม่ครอบคลุมข้าราชการครูที่สังกัดหน่วยงานอื่นนั้น เนื่องจากมีกฎหมายอื่นรองรับอยู่แล้ว ในเรื่องของการกำหนดสัดส่วน ของ ก.ค.ศ. เป็นการเขียนกำหนดสัดส่วนคล้ายคลึงกับกฎหมายเดิมซึ่งใช้มานาน และในสัดส่วนของผู้แทนครูใน อ.ก.ศ. ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัยนั้น องค์ประกอบตามร่างเดิมเหมาะแล้ว เนื่องจากเป็นการพิจารณาเกี่ยวกับวินัยจึงควรกำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นหลักและมีผู้แทนครูทำหน้าที่คำแนะนำ เรื่องที่มีสมาชิกเสนอให้ ก.ค.ศ. เป็นนิติบุคคลและการกำหนดสัดส่วนของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ทั้งสองเรื่องนี้ ได้ผ่านความเห็นชอบของทั้งสองสภาแล้ว หากแก้ไขอาจทำให้กระทบต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องควร คงไว้ตามร่างเดิม สำหรับเรื่องการรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียนนั้นในกฎหมายได้บัญญัติรองรับตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่แล้ว และเนื่องจาก ก.ศ.น. มีลักษณะงานและมีที่มาที่แตกต่างกันจากการศึกษาพื้นฐาน จึงได้กำหนดรองรับไว้ในร่างกฎหมาย ก.ศ.น. แทน ซึ่งหากเพิ่มเติมตำแหน่งรองรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียนอาจทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและอาจทำให้กระทบต่อการบริหารงานได้
ต่อมาเป็นการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตรา ๓๙ ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งในกลุ่มของครูผู้สอนกำหนดให้มีวิทยฐานะก้าวหน้าในราชการสูงสุดถึงครูเชี่ยวชาญพิเศษ ในขณะที่กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและ ผู้บริหารการศึกษามีวิทยฐานะสูงสุดเพียงผู้อำนวยการเชี่ยวชาญและผู้อำนวยการสำนักเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งเป็นความไม่เสมอภาคในการจัดการปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษาจึงขอให้นำหลักการจัดระบบบุคลากรทางการศึกษาของระบบมหาวิทยาลัยมาใช้กำหนดตำแหน่งมาตรฐาน และวิทยฐานะทั้ง ๔ กลุ่ม ซึ่งกรรมาธิการตอบชี้แจงว่า การกำหนดเช่นนี้เพื่อให้ครูและบุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ โดยสามารถเลื่อนไหลและปรับเปลี่ยนตำแหน่งหรือ สายงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่สายงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ครูผู้สอนสามารถสร้างผลงานวิจัย เพื่อการพัฒนาการศึกษา จากนั้นนำผลงานมาขอรับการประเมินเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้นได้และสามารถขอรับทุนเพื่อการวิจัยได้ด้วย สำหรับการทดลองงานของครูผู้ช่วยระยะเวลา ๒ ปี ก่อนบรรจุตำแหน่งครูจริงนั้น เพื่อให้ครูมีศักยภาพต่อการสอน ซึ่งหากพ้นทดลองงานแล้วจะได้รับเงินเดือนปรับขึ้นถึง ๖ ขั้น ดังนั้น ครูจะมีความก้าวหน้ามากกว่าระบบเดิม
นอกจากนี้ กรณีครู ก.ศ.น. มิได้มีการกำหนดไว้ เพราะยังไม่มีการกำหนดองค์กรขึ้น จึงยังมิได้ระบุไว้ในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จากนั้นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบในมาตรานี้ตามที่คณะกรรมาธิการเสนอ
ลำดับต่อมาเป็นการอภิปรายมาตรา ๔๗ ว่าด้วยการกำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเห็นควรให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ เพราะจะได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่าการกำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เป็นผู้จัดสอบจะช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยดีและช่วยประหยัดงบประมาณ ได้มากกว่าการให้โรงเรียนจัดสอบเอง
มาตรา ๑๐๑ ว่าด้วยการกำหนดให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ ข้อสังเกตว่าเป็นการคัดลอกมาจากกฎหมายของข้าราชการพลเรือน ก่อนปิดการประชุมกรรมาธิการฯ เสนอขอให้ตัดมาตรา ๑๓๒ ออกไป เนื่องจากมีการกำหนดมาตรา ๓๙ อยู่แล้ว จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ตามที่คณะกรรมาธิการเสนอด้วยคะแนนเสียง ๒๗๘ คน เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาตามรัฐธรรมนูญต่อไป พร้อมกันนี้ได้มีมติเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๕ นาฬิกา
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา โดยนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธาน การประชุมได้ดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระ คือ ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี และระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ดังนี้
๑. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๔๕ ของสำนักงานป้องกันและ
ปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้มีหนังสือแจ้งว่า ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้จัดงานวันสถาปนาครบ ๕ รอบ และแถลงผลงานในรอบ ๕ ปี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗ ซึ่งได้แจ้งไว้ล่วงหน้าแล้ว ทำให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่สามารถเข้าร่วมอภิปราย ชี้แจง ซักถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงขอเลื่อนการชี้แจงไปในคราวประชุมครั้งต่อไป
๒. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบรายงานการรับ-จ่ายเงินของกองทุนสงเคราะห์
เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียนอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิต ตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
๓. รับทราบเรื่องการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ได้ตั้งข้อสังเกตว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นองค์กรที่มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อสังคมอย่างมาก แต่การประชาสัมพันธ์ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภายังไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง และได้เสนอแนะให้ทำแผนประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และภารกิจ รวมทั้งผลงานของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และควร จัดตั้งสำนักงานขนาดย่อยประจำจังหวัดหรืออำเภอ หรืออาจเป็นเพียงตัวบุคคลให้เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังเสนอให้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดินแต่ละคนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสำหรับการจัดทำรายงานในครั้งต่อไปนั้นขอให้สรุปสภาพปัญหาให้เป็นหมวดหมู่ และสิ่งที่ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา และควรมีกรณีศึกษาตัวอย่างให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
จากนั้น นายปราโมทย์ โชติมงคล เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ได้ตอบชี้แจงว่า หน่วยงานได้ปฏิบัติงานทางด้านประชาสัมพันธ์อย่างเต็มที่มาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องในสื่อต่าง ๆ โดยเน้นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์มีราคาสูงมาก ทำให้การประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เข้าถึงประชาชนได้ไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร สำหรับการจัดตั้งสำนักงานขนาดย่อยในพื้นที่ต่าง ๆ นั้น มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณเช่นเดียวกัน ทั้งนี้หากมีความพร้อมในเรื่องของงบประมาณเมื่อใดจะได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
หลังจากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นสมควรให้มีการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติม โดยประธานจะได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒ และแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จำนวน ๓๑ คน ซึ่งจะดำเนินการโดยเชิญอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง มาประชุมเพื่อเลือกกันเองให้เหลือ จำนวน ๔ คน พร้อมกันนั้นจะแจ้งไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อขอให้ส่งรายชื่อผู้แทนศาลฎีกา จำนวน ๔ คน และแจ้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อขอให้ส่งรายชื่อผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดจำนวน ๔ คน เป็นกรรมการสรรหา หลังจากนั้นจะได้นำแจ้งต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้แต่งตั้งกรรมการสรรหาจากพรรคการเมือง จำนวน ๑๙ คน มาประกอบเป็นคณะกรรมการ สรรหาต่อไป
๔. รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไตรมาส
ที่ ๔ ปี ๒๕๔๕ และไตรมาสที่ ๑-๓ ปี ๒๕๔๖
๕. รับทราบรายงานผลการพัฒนาระบบราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖
๖. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีความรุนแรง
อันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ต่อจากนั้นที่ประชุมได้เห็นชอบให้นำระเบียบวาระที่ ๗ เป็นเรื่องอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งเป็นการพิจารณาเลือกตั้งซ่อมคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้หมดการเป็นสมาชิกภาพของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๑๘ (๓) เป็นเหตุให้พ้นจากการเป็นกรรมาธิการด้วย จึงมีการพิจารณาเลือกตั้งคณะกรรมาธิการต่าง ๆ ขึ้น แทนตำแหน่งที่ว่างลง ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม ได้แก่ คุณหญิงจรัลศรี ทีปิรัช
๒. คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม ได้แก่ นายบรรจง พงษ์ศาสตร์
๓. คณะกรรมาธิการติดตามการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้แก่
นายสมศักดิ์ โสมกลาง
๔. คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม ได้แก่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล
๕. คณะกรรมาธิการการแรงงาน ได้แก่ นางผุสดี ตามไท และนายนพดล พลเสน
๖. คณะกรรมาธิการการปกครอง ได้แก่ คุณหญิงจรัลศรี ทีปิรัช
๗. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง ได้แก่ นายวิชัย ตันศิริ
๘. คณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ ได้แก่ นายอุทัย สุดสุข
๙. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ได้แก่ นายอภิชาต การิกาญจน์ และ
นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
๑๐. คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน ได้แก่
นายปรีชา สุวรรณทัต และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๑๑. คณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ ได้แก่ นายนริศร ทองธิราช
๑๒. คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ได้แก่
นายมณเฑียร สงฆ์ประชา
๑๓. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ได้แก่ นางผ่องศรี แซ่จึง และนายวราวุธ
ศิลปอาชา
๑๔. คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
๑๕. คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว ได้แก่ นายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม
สำหรับคณะกรรมาธิการอื่น ๆ ที่ยังไม่มีการพิจารณาเลือกตั้งซ่อมในครั้งนี้จะขอให้มีการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
พักการประชุมเวลา ๑๑.๔๐ นาฬิกา
ต่อจากนั้นในเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา ได้มีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายนริศร ทองธิราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร
พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้ตอบกระทู้ว่า สินค้า ทางการเกษตร ๓ ตัวหลัก คือ ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยนั้น มีเพียงข้าวและมันสำปะหลังเท่านั้น ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงพาณิชย์ ส่วนอ้อยจะอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการนโยบายอ้อ
และน้ำตาล ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมอีกทีหนึ่ง หัวใจหลักของเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศขณะนี้กำลังประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และราคาผลผลิตต่ำลงเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงทำให้ผลผลิตที่ออกสู่ท้องตลาดมีคุณภาพต่ำ และมีข้าวปนเปื้อนเข้ามาด้วย ในเรื่อง ดังกล่าวนี้คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ต้องเร่งดำเนินการตรวจสอบเป็นการเร่งด่วน และตลาดข้าวใหญ่ของประเทศไทยอยู่ที่อัฟริกาซึ่งเป็นลูกค้าข้าวขาว ส่วนข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประเทศจีน ประเทศแถบเอเซีย และรัฐบาลได้มีมาตรการในการดูแลข้าวหอมมะลิ โดยกำหนดมาตรฐานข้าวหอม ไว้ที่ ๙๒% เพราะต้องการให้ได้ข้าวหอมในปริมาณที่สูงและมีข้าวชนิดอื่นผสมได้ไม่เกิน ๘% เพื่อ ยกระดับราคาข้าวให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามในเรื่องดังกล่าวนี้รัฐบาลได้ร่วมมือกับจังหวัด โดยไม่ใช้มาตรการในการป้องปราม แต่ใช้มาตรการในการสนับสนุน และให้การรับรองในด้านประชาสัมพันธ์ เพื่อยกระดับมาตรฐานให้ดีขึ้น
ส่วนเรื่องมาตรการในการประกันราคาปุ๋ยเคมีนั้น เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบเป็นปุ๋ยเคมี เป็นสิ่งที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ดังนั้นราคาของปุ๋ยเคมีจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ดำเนินการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลในเรื่องของการปลอมปน คุณภาพ พร้อมทั้งได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์พยายามผลักดันราคาสินค้าการเกษตรให้เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
๒. กระทู้ถามสดของนายวิฑูรย์ นามบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ได้ตอบกระทู้ว่า ขณะนี้รัฐบาลได้มีการประชุมติดตามและนำปัญหาความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อมาชดเชยโดยจ่ายเป็นจำนวนเงินให้กับเกษตรกร รวมทั้งได้ตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วย ขณะนี้รัฐบาลได้สั่งการให้กรมทรัพยากรธรณี และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สำหรับในเรื่องของการช่วยเหลือนั้น ได้มีหลายหน่วยงานร่วมมือกันช่วยเหลือ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยได้ช่วยเหลือ โดยการนำถุงยังชีพไปแจกจ่ายให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยด้วย
ส่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ๔-๕ ปีนั้น ขณะนี้รัฐบาลได้สั่งการให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจัดทำแผน และสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาและหาทางช่วยเหลือให้เป็นรูปธรรมต่อไป
๓. กระทู้ถามสดของนางผุสดี ตามไท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการดูแลนักเรียนทุนในต่างประเทศ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุธรรม แสงประทุม) ได้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มาจากเงินทุนกองสลากกินแบ่งรัฐบาล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นผู้รับผิดชอบและดูแล แต่ก็มีข้อบกพร่องคือ การให้เวลา ในการศึกษาเตรียมความพร้อมในด้านของภาษาน้อยเกินไป และรัฐบาลได้สั่งการให้มีการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดสอนภาษาสำหรับนักเรียนทุนที่จะเดินทางไปประเทศนั้น ๆ ให้มากขึ้น และถ้าไม่มีความพร้อม ก็สามารถใช้ทุนดังกล่าวเรียนในประเทศได้ พร้อมทั้งได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการและคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือนไปทบทวนมาตรการการดูแลนักเรียนไทยในต่างประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก
จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายอดิศัย โพธารามิก) ได้กล่าว เพิ่มเติมว่า นักเรียนทุน ๑ อำเภอ ๑ ทุน ที่ได้เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศแล้วนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ที่เป็นอาจารย์ไปดูแลช่วยเหลือต่อไป
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี พรรค
ไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง มาตรการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชน ถาม นายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามไม่ติดใจที่จะถาม ดังนั้นกระทู้ถามดังกล่าวจึงตกไป ตาม ข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๕
๒. กระทู้ถามของนายวิชาญ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ขอให้พิจารณาแบ่งเขตพื้นที่สนามบินแห่งชาติสุวรรณภูมิ เป็นเขตปกครองพิเศษ ถามนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายติดราชการสำคัญ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
๓. กระทู้ถามของนายนิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การสนับสนุนเงินเพื่อช่วยเหลือแรงงาน ถามนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายติดราชการสำคัญ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถามนี้ไปตอบในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๗ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๓
ปิดประชุมเวลา ๑๔.๕๕ นาฬิกา
------------------------------------------------------------