แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 6 - 10 ส.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 868.08 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 441.94 ตัน สัตว์น้ำจืด 457.94 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.81 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.78 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 71.41 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 23.93 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 19.64 ตัน
การตลาด
ราคาน้ำมันเขียวสูงเกินกว่าราคาน้ำมันบนฝั่ง
กลุ่มผู้ประกอบการแทงเกอร์ (tanker) ซึ่งให้บริการเติมน้ำมันดีเซลราคาถูกกับเรือประมงขนาดกลางและขนาดใหญ่ ภายใต้โครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซล สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร หรือที่รู้จักกันในนาม ”โครงการน้ำมันเขียว” เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายผ่านเรือ tanker ท่ามกลางสภาวะวิกฤตราคาน้ำมันในประเทศว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลบนฝั่งที่รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ลิตรละ 4.45 บาท กับราคาน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายผ่านเรือ tanker ที่รัฐบาลอุดหนุนด้วยการไม่เก็บภาษีสรรพสามิตกับ vat แทบไม่แตกต่างกัน เนื่องจากราคาดีเซลปัจจุบันที่รัฐตรึงราคาอยู่ที่ลิตรละ 14.59 บาท หากไม่ได้รับการชดเชยจะตกราคาประมาณลิตรละ 19.04 บาท
ทั้งนี้ราคาน้ำมันดีเซลบนฝั่งกับราคาน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายผ่านเรือ tanker ได้ปรับราคาใกล้กัน ตั้งแต่สัปดาห์ที่สามของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยช่วงนั้นราคาน้ำมันบนเรือ tanker อยู่ที่ลิตรละ 13.10 บาท และปรับราคาขึ้นเป็นลิตรละ 14.20 บาทในสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมนี้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายบนเรือ tanker กับราคาน้ำมันดีเซลบนฝั่งปัจจุบันราคาห่างกันเพียงลิตรละ 39 สตางค์ ส่วนการจำหน่ายน้ำมันของเรือ tanker ฝั่งอันดามันก็มีสภาพไม่แตกต่างจากฝั่งอ่าวไทยมากนัก โดยราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลของเรือ tanker อยู่ที่ลิตรละ 14.60 บาทหรือแพงกว่าน้ำมันดีเซลบนฝั่งลิตรละ 1 สตางค์
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ทุกคนกลัวว่าน้ำมันเถื่อนกำลังจะกลับมาอีกครั้ง หากผู้ประกอบการเรือ tanker อยู่ไม่ได้ เพราะเรือประมงไม่ยอมไปเติมน้ำมันเขียว แต่หันไปใช้น้ำมันบนฝั่งแทน ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางด้านราคา เท่ากับบีบให้เรือ tanker หันกลับไปค้าน้ำมันนอกระบบกันอีกครั้ง ทางเดียวที่เป็นไปได้คือ ต้องพยายามที่จะทำให้เกิดความแตกต่างของราคาน้ำมันบนฝั่งกับในทะเลให้ได้ ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ ขอให้ โรงกลั่นน้ำมันปรับลดค่าการกลั่นเฉพาะน้ำมันเขียวลงเหลือ 1 เหรียญต่อบาร์เรล กับขอให้ ปตท.ปรับลดค่าขนส่งน้ำมันลงเหลือลิตรละ 50 สตางค์(เฉพาะฝั่งอันดามัน) ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ราคาน้ำมันของเรือ tanker แตกต่างจากราคาน้ำมันดีเซลบนฝั่งได้ประมาณลิตรละ 45 สตางค์ จะส่งผลจูงใจให้เรือประมงกลับมาเติมน้ำมันอีกครั้ง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.69 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.33 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.33 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 219.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 222.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 214.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 216.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.16สับาท ของสัปดาห์ก่อน 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที 23 — 27 ส.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.42 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.28 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 32 ประจำวันที่ 16-22 สิงหาคม 2547--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 6 - 10 ส.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 868.08 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 441.94 ตัน สัตว์น้ำจืด 457.94 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.81 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.78 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 71.41 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 23.93 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 19.64 ตัน
การตลาด
ราคาน้ำมันเขียวสูงเกินกว่าราคาน้ำมันบนฝั่ง
กลุ่มผู้ประกอบการแทงเกอร์ (tanker) ซึ่งให้บริการเติมน้ำมันดีเซลราคาถูกกับเรือประมงขนาดกลางและขนาดใหญ่ ภายใต้โครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซล สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร หรือที่รู้จักกันในนาม ”โครงการน้ำมันเขียว” เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายผ่านเรือ tanker ท่ามกลางสภาวะวิกฤตราคาน้ำมันในประเทศว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลบนฝั่งที่รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ลิตรละ 4.45 บาท กับราคาน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายผ่านเรือ tanker ที่รัฐบาลอุดหนุนด้วยการไม่เก็บภาษีสรรพสามิตกับ vat แทบไม่แตกต่างกัน เนื่องจากราคาดีเซลปัจจุบันที่รัฐตรึงราคาอยู่ที่ลิตรละ 14.59 บาท หากไม่ได้รับการชดเชยจะตกราคาประมาณลิตรละ 19.04 บาท
ทั้งนี้ราคาน้ำมันดีเซลบนฝั่งกับราคาน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายผ่านเรือ tanker ได้ปรับราคาใกล้กัน ตั้งแต่สัปดาห์ที่สามของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยช่วงนั้นราคาน้ำมันบนเรือ tanker อยู่ที่ลิตรละ 13.10 บาท และปรับราคาขึ้นเป็นลิตรละ 14.20 บาทในสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมนี้ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายบนเรือ tanker กับราคาน้ำมันดีเซลบนฝั่งปัจจุบันราคาห่างกันเพียงลิตรละ 39 สตางค์ ส่วนการจำหน่ายน้ำมันของเรือ tanker ฝั่งอันดามันก็มีสภาพไม่แตกต่างจากฝั่งอ่าวไทยมากนัก โดยราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลของเรือ tanker อยู่ที่ลิตรละ 14.60 บาทหรือแพงกว่าน้ำมันดีเซลบนฝั่งลิตรละ 1 สตางค์
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ทุกคนกลัวว่าน้ำมันเถื่อนกำลังจะกลับมาอีกครั้ง หากผู้ประกอบการเรือ tanker อยู่ไม่ได้ เพราะเรือประมงไม่ยอมไปเติมน้ำมันเขียว แต่หันไปใช้น้ำมันบนฝั่งแทน ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางด้านราคา เท่ากับบีบให้เรือ tanker หันกลับไปค้าน้ำมันนอกระบบกันอีกครั้ง ทางเดียวที่เป็นไปได้คือ ต้องพยายามที่จะทำให้เกิดความแตกต่างของราคาน้ำมันบนฝั่งกับในทะเลให้ได้ ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ ขอให้ โรงกลั่นน้ำมันปรับลดค่าการกลั่นเฉพาะน้ำมันเขียวลงเหลือ 1 เหรียญต่อบาร์เรล กับขอให้ ปตท.ปรับลดค่าขนส่งน้ำมันลงเหลือลิตรละ 50 สตางค์(เฉพาะฝั่งอันดามัน) ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ราคาน้ำมันของเรือ tanker แตกต่างจากราคาน้ำมันดีเซลบนฝั่งได้ประมาณลิตรละ 45 สตางค์ จะส่งผลจูงใจให้เรือประมงกลับมาเติมน้ำมันอีกครั้ง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.69 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.33 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.33 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 219.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 222.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 214.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 216.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.16สับาท ของสัปดาห์ก่อน 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.06 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที 23 — 27 ส.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.42 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.28 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 32 ประจำวันที่ 16-22 สิงหาคม 2547--
-พห-