มาตรการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 24, 2004 12:48 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

        Oil Demand, Price Fuel GDP Jitters, Asian Concern—Government Take Measures to Cope With Energy Costs.
จากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ (ใกล้ถึง 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาเรล) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทำให้รัฐบาลของประเทศเหล่านั้นต่างพยายามหาวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการกำหนดมาตรการต่าง ๆ อาทิ
- อินเดีย : ปรับลดภาษีนำเข้าและภาษีสรรพสามิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (รวมทั้งน้ำมันเบนซินและดีเซล) แม้ว่าอินเดียจะประสบปัญหาภาวะงบประมาณขาดดุลอย่างมากก็ตาม การที่ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ราคาขายส่งสินค้าภายในประเทศอินเดียในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.96 ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 3ปี ครึ่ง
- ฟิลิปปินส์ :จะจำกัดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อการลดการใช้พลังงาน
- ไทย: ใช้เงินถึง 480 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2 หมื่นล้านบาท) เพื่อตรึงราคาน้ำมันเบนซินและดีเซล รวมทั้งจะขอความร่วมมือให้ห้างสรรพสินค้า Discount Store และปั๊มน้ำมัน ลดจำนวนชั่วโมงทำการลง เป็นต้น
- เกาหลี : เมื่อต้นเดือนสิงหาคม Bank of Korea ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก(ทั้งที่ อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว)
- ญี่ปุ่น : ควบคุมการใช้เครื่องปรับอากาศในสถานที่ราชการต่าง ๆ เช่น การกำหนดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ (แม้ว่าในช่วงฤดูร้อนปีนี้อุณหภูมิในกรุงโตเกียวจะสูงถึง 40 องศาเซลเซียสก็ตาม)
สำหรับกรณีของจีนนั้น ยังเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันสูงมาก โดยเมื่อกรกฎาคม 2004 จีนนำเข้าน้ำมัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี2003 ถึงร้อยละ 41 (คิดเป็นปริมาณการนำเข้าวันละ 2.27 ล้านบาเรล )
จากผลการศึกษาวิเคราะห์ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทุกๆ 10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาเรลจะส่งผลให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนลดลงร้อยละ 0.4 และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2-0.3 อีกด้วย ซึ่งจีนอาจจะต้องเผชิญกับภาวะ “ hard landing ” หากราคาน้ำมันยังคงมีเพิ่มสูงขึ้น
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ