ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. แนวโน้มสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงแนวโน้มสภาพคล่องใน
ระบบสถาบันการเงินว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินถึงปริมาณสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ในระบบในปีนี้ได้ว่าจะ
ลดลงเท่าใด เพราะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังเป็นหลัก โดยเฉพาะปัจจัย
เรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื่อว่าจะไม่ส่งผล
กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยมากนัก ซึ่งหากเศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องก็ต้องพิจารณาในรายละเอียด
ว่าภาคเอกชนใช้แหล่งเงินกู้ใด เช่น การระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ หรือระดมเงินจากตลาดหุ้น แต่เท่าที่
พิจารณาจากสถานการณ์ในขณะนี้ภาวะตลาดหุ้นยังมีความผันผวนอยู่ ซึ่งคงต้องติดตามสถานการณ์อีกสักระยะหนึ่ง
อนึ่ง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (25 ส.ค.47) จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ซึ่งบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงสถาบันการเงิน อาทิเช่น บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักวิจัย ธ.ไทยธนาคาร
และ บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส ได้วิเคราะห์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในการประชุม กนง.ครั้งนี้ว่า อาจมีการ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.25% จาก 1.25% เป็น 1.50% (โลกวันนี้, สยามรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธ.กรุงไทยเข้าตรวจสอบลูกหนี้ 13 รายที่ ธปท.ให้มีการกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่ม
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ ธ.กรุงไทยเข้าตรวจ
สอบลูกหนี้ 13 ราย ที่ก่อนหน้านี้ ธปท.สั่งการให้ ธ.กรุงไทยเข้ากันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่ม ซึ่ง ธ.กรุงไทย
ได้ใช้เวลาในการตรวจสอบ 2 เดือนโดยตรวจสอบไปแล้ว 2 ราย ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าลูกหนี้ 1
รายมีความเป็นไปได้ที่อาจไม่จำเป็นต้องตั้งสำรองเพิ่ม และอีก 1 รายเป็นการกู้เงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์จริง
อย่างไรก็ตาม ธ.กรุงไทยต้องตรวจสอบลูกหนี้ที่เหลืออีก 11 รายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 26 ส.ค.นี้ เพื่อที่
จะเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบในเชิงลึกอีกครั้งหนึ่ง (ผู้จัดการรายวัน, สยามรัฐ)
3. สำนักวิจัย ธ.ไทยธนาคารปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 47
ผอ.สำนักวิจัย ธ.ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สำนักวิจัยได้ปรับการคาดการณ์อัตราการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจในปี 47 จากระดับ 6.7% เป็น 6.2% โดยอัตราการขยายตัวของภาคการบริโภคชะลอตัวลง
จากที่คาดการณ์ไว้เดิม 6% เหลือ 5.5% ขณะที่อัตราการขยายตัวของการลงทุนยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดย
อัตราการผลิตอยู่ในระดับสูงในหลายอุตสาหกรรม ทำให้การลงทุนใหม่เพิ่ม แม้ว่าการบริโภคภายในจะชะลอลง
บ้างและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ 3.5-3.7% อัตราเงินเฟ้อทั้งปีปรับเพิ่มขึ้น
จากที่คาดการณ์ไว้เดิม 2.8% เป็น 2.9% ด้านการส่งออกขยายตัวมากกว่าที่คาดการณ์ 15.8% เป็น 22.5%
เพราะการขยายตัวของเศรษฐกิจและอุปสงค์ต่อสินค้าไทยของประเทศคู่ค้าในระดับสูง รวมทั้งการเปิดเสรีทาง
การค้า ส่วนการนำเข้าโตในอัตราเร่งมากกว่า เนื่องจากการตรึงราคาน้ำมันทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นใน
ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา สำหรับดุลการค้าในปีนี้จะเริ่มขาดดุลเล็กน้อย ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ
6,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนภาคการเงินนั้นอัตราการขยายสินเชื่อจะอยู่ที่ 5-7% อัตราดอกเบี้ยของ ธพ.มี
แนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.25-0.50% (โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้าเรื่องการประหยัดพลังงาน รมว.พลังงาน
เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้าเรื่องการประหยัดพลังงานตามที่ ก.พลังงาน
เสนอ โดยมาตรการดังกล่าว มีการกำหนดให้ห้างสรรพสินค้า ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ ดิสเคาท์สโตร์รายใหญ่ที่มี
พื้นที่เกิน 1 หมื่น ตรม. ลดระยะเวลาการเปิดห้างฯ ลง โดยกำหนดให้วันจันทร์-พฤหัสบดี เปิดตั้งแต่เวลา
11.00-21.30 น. วันศุกร์เปิดเวลา 11.00-22.00 น. ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์เปิดเวลา 10.00-22.00 น.
ซึ่ง มาตรการนี้ไม่รวมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่มีพื้นที่ระดับ 100 ตรม. เช่น ร้านสะดวกซื้อต่างๆ นอก
จากนี้ ได้มีการกำหนดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันปิดการจำหน่ายน้ำมันเชื้อ
เพลิงทุกชนิดและก๊าซหุงต้มระหว่างเวลา 24.00-05.00 น. รวมถึงกำหนดการปิดไฟส่องป้ายโฆษณา
โดยอนุญาตให้การโฆษณาป้ายสินค้าหรือบริการป้ายชื่อร้าน ป้ายโรงภาพยนตร์และไฟส่องตึกได้เฉพาะเวลา
18.00-22.00 น. ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการกำหนดเวลาปิดห้างจะช่วยประหยัดค่าพลังงานได้ถึง 3,800 ล.
บาทต่อปี ขณะที่มาตรการปิดสถานีบริการน้ำมันจะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันได้ประมาณร้อยละ 5 จากที่คาดว่าปีนี้
จะนำเข้าน้ำมันถึง 400,000 ล.บาท อนึ่ง มาตรการประหยัดพลังงาน กำหนดขึ้นภายใต้หลักการ 4 ส่วน คือ
1)ประหยัดพลังงาน 2)ไม่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม 3)ไม่กระทบการสร้างงาน และ 4)เป็นธรรมกับผู้
ประกอบการ (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. กรีนสแปนมองเศรษฐกิจโลกปีนี้จะฟื้นตัวและเติบโตอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากกรุงวอชิงตัน
สรอ. เมื่อวันที่ 24 ส.ค.47 Alan Greenspan ประธาน ธ.กลาง สรอ. กล่าวว่า อัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเติบโตแบบแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพมาก
ขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยการเติบโตจะกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคสำคัญของโลก เทียบกับที่มีการชะลอตัวลงในช่วง
ครึ่งแรกของปี 46 และในระยะหลังนี้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจต่างประเทศยังคง
เติบโตต่อเนื่องในระดับที่น่าพอใจ แต่ก็ยังคงมีปัญหาอยู่บ้างสำหรับการฟื้นตัวของประเทศในเขตยูโรที่ชะลอตัวลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนีที่การบริโภคภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ส่วนการขยายตัวของราคา
บ้านใน สรอ. นั้น อาจจะมีราคาสูงเกินปัจจัยพื้นฐานไปบ้างในบางพื้นที่ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ทางด้านญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงมานานกว่า 10 ปี ได้เริ่มฟื้นตัวแล้วตั้งแต่ปลายปีก่อน แต่ยังคงมีความ
เสี่ยงอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมัน ซึ่งถ้ายังปรับตัวสูงขึ้นในระดับปัจจุบันอาจจะส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ เนื่องจากญี่ปุ่นต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก (รอยเตอร์)
2. ยอดขายบ้านมือสองของสรอ.ในเดือนก.ค. ลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 24 ส.ค.
47 สมาคมอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสรอ.กล่าวว่า ในเดือนก.ค. 47 ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ.ลดลง
จากระยะเดียวกันปีทีแล้วร้อยละ 2.9 อยู่ในระดับ 6.72 ล้านหลัง (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) และลดลง
จากระดับ 6.92 ล้านหลังในเดือนมิ.ย. มากกว่าผลสำรวจของรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ
6.81 ล้านหลัง หลังจากที่ทำสถิติสูงสุดมาแล้ว และทั้งๆที่ยอดขายดังกล่าวลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.
47 แต่ก็ยังคงทำสถิติสูงสุดเป็นครั้งที่ 3 ส่วนราคากลางบ้านก็ยังคงทำสถิติสูงอยู่ที่ระดับ 191,300 ดอลลาร์
สรอ.เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 8.7 นอกจากนั้นยอดคงเหลือบ้านลดลงอยู่ที่ระดับ 2.4 ล้านหลังหรือ
เท่ากับอุปทาน 4.3 เดือนของยอดขายปัจจุบัน ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองยังคงอยู่ในระดับต่ำเหมือนเช่น
เมื่อหลายทศวรรษที่ผ่านมา และจากความวิตกเรื่องการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จำนองต่ำลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ( รอยเตอร์)
3. จีดีพีของเยอรมนีในไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เนื่องจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 24 ส.ค.47 The Federal Statistics Office เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีในไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 0.5 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เทียบ
ต่อไตรมาส และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 2.0 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) เนื่องจาก
ภาวะการค้าต่างประเทศที่มีสัดส่วนร้อยละ 0.5 ของการเติบโตทางเศรษฐกิจในรอบไตรมาสนั้น มีมูลค่าการ
ส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.2 ขณะที่นำเข้าเพียงร้อยละ 2.2 เท่านั้น ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.3 และการลงทุนด้านเงินทุนลดลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ งบประมาณขาดดุลของเยอรมนี
ในครึ่งแรกปี 47 มีจำนวน 42.7 พัน ล.ยูโร หรือคิดเป็นร้อยละ 4.0 ของจีดีพี ซึ่งมากกว่าระดับเพดานของ
สหภาพยุโรปที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า การเติบโตของภาวะการส่ง
ออกอาจจะอ่อนตัวลงในครึ่งหลังของปีนี้ ส่วนการใช้จ่ายของผู้บริโภคน่าจะเพิ่มขึ้นหากภาวะการลงทุนเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 24 ส.ค.47 สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานตัวเลขเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อ
ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบ
กับปีก่อน จากร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.ค.47 และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน
โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาแพ็กเก็จทัวร์ในวันหยุดเพิ่มขึ้นโดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงใน 6 รัฐ
ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 1.1 ถึง 2.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 7.2 ถึง
8.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ราคาอาหารสดลดลงในสัดส่วนที่น้อยกว่าโดยนักวิเคราะห์คาดว่าราคาอาหาร
สดที่ลดลงจะมีส่วนช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในเดือนต่อ ๆ ไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ส.ค. 47 24 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.504 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.3005/41.5940 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.3125-1.3750 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 600.03/9.33 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 39.21 40.79 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.19/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. แนวโน้มสภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงแนวโน้มสภาพคล่องใน
ระบบสถาบันการเงินว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินถึงปริมาณสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ในระบบในปีนี้ได้ว่าจะ
ลดลงเท่าใด เพราะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังเป็นหลัก โดยเฉพาะปัจจัย
เรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื่อว่าจะไม่ส่งผล
กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยมากนัก ซึ่งหากเศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องก็ต้องพิจารณาในรายละเอียด
ว่าภาคเอกชนใช้แหล่งเงินกู้ใด เช่น การระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ หรือระดมเงินจากตลาดหุ้น แต่เท่าที่
พิจารณาจากสถานการณ์ในขณะนี้ภาวะตลาดหุ้นยังมีความผันผวนอยู่ ซึ่งคงต้องติดตามสถานการณ์อีกสักระยะหนึ่ง
อนึ่ง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (25 ส.ค.47) จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ซึ่งบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงสถาบันการเงิน อาทิเช่น บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำนักวิจัย ธ.ไทยธนาคาร
และ บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส ได้วิเคราะห์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในการประชุม กนง.ครั้งนี้ว่า อาจมีการ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.25% จาก 1.25% เป็น 1.50% (โลกวันนี้, สยามรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธ.กรุงไทยเข้าตรวจสอบลูกหนี้ 13 รายที่ ธปท.ให้มีการกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่ม
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ ธ.กรุงไทยเข้าตรวจ
สอบลูกหนี้ 13 ราย ที่ก่อนหน้านี้ ธปท.สั่งการให้ ธ.กรุงไทยเข้ากันสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่ม ซึ่ง ธ.กรุงไทย
ได้ใช้เวลาในการตรวจสอบ 2 เดือนโดยตรวจสอบไปแล้ว 2 ราย ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าลูกหนี้ 1
รายมีความเป็นไปได้ที่อาจไม่จำเป็นต้องตั้งสำรองเพิ่ม และอีก 1 รายเป็นการกู้เงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์จริง
อย่างไรก็ตาม ธ.กรุงไทยต้องตรวจสอบลูกหนี้ที่เหลืออีก 11 รายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 26 ส.ค.นี้ เพื่อที่
จะเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบในเชิงลึกอีกครั้งหนึ่ง (ผู้จัดการรายวัน, สยามรัฐ)
3. สำนักวิจัย ธ.ไทยธนาคารปรับเพิ่มการคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 47
ผอ.สำนักวิจัย ธ.ไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สำนักวิจัยได้ปรับการคาดการณ์อัตราการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจในปี 47 จากระดับ 6.7% เป็น 6.2% โดยอัตราการขยายตัวของภาคการบริโภคชะลอตัวลง
จากที่คาดการณ์ไว้เดิม 6% เหลือ 5.5% ขณะที่อัตราการขยายตัวของการลงทุนยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดย
อัตราการผลิตอยู่ในระดับสูงในหลายอุตสาหกรรม ทำให้การลงทุนใหม่เพิ่ม แม้ว่าการบริโภคภายในจะชะลอลง
บ้างและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ 3.5-3.7% อัตราเงินเฟ้อทั้งปีปรับเพิ่มขึ้น
จากที่คาดการณ์ไว้เดิม 2.8% เป็น 2.9% ด้านการส่งออกขยายตัวมากกว่าที่คาดการณ์ 15.8% เป็น 22.5%
เพราะการขยายตัวของเศรษฐกิจและอุปสงค์ต่อสินค้าไทยของประเทศคู่ค้าในระดับสูง รวมทั้งการเปิดเสรีทาง
การค้า ส่วนการนำเข้าโตในอัตราเร่งมากกว่า เนื่องจากการตรึงราคาน้ำมันทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นใน
ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา สำหรับดุลการค้าในปีนี้จะเริ่มขาดดุลเล็กน้อย ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ
6,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนภาคการเงินนั้นอัตราการขยายสินเชื่อจะอยู่ที่ 5-7% อัตราดอกเบี้ยของ ธพ.มี
แนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.25-0.50% (โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. ครม.มีมติเห็นชอบมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้าเรื่องการประหยัดพลังงาน รมว.พลังงาน
เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้าเรื่องการประหยัดพลังงานตามที่ ก.พลังงาน
เสนอ โดยมาตรการดังกล่าว มีการกำหนดให้ห้างสรรพสินค้า ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ ดิสเคาท์สโตร์รายใหญ่ที่มี
พื้นที่เกิน 1 หมื่น ตรม. ลดระยะเวลาการเปิดห้างฯ ลง โดยกำหนดให้วันจันทร์-พฤหัสบดี เปิดตั้งแต่เวลา
11.00-21.30 น. วันศุกร์เปิดเวลา 11.00-22.00 น. ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์เปิดเวลา 10.00-22.00 น.
ซึ่ง มาตรการนี้ไม่รวมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กที่มีพื้นที่ระดับ 100 ตรม. เช่น ร้านสะดวกซื้อต่างๆ นอก
จากนี้ ได้มีการกำหนดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันปิดการจำหน่ายน้ำมันเชื้อ
เพลิงทุกชนิดและก๊าซหุงต้มระหว่างเวลา 24.00-05.00 น. รวมถึงกำหนดการปิดไฟส่องป้ายโฆษณา
โดยอนุญาตให้การโฆษณาป้ายสินค้าหรือบริการป้ายชื่อร้าน ป้ายโรงภาพยนตร์และไฟส่องตึกได้เฉพาะเวลา
18.00-22.00 น. ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการกำหนดเวลาปิดห้างจะช่วยประหยัดค่าพลังงานได้ถึง 3,800 ล.
บาทต่อปี ขณะที่มาตรการปิดสถานีบริการน้ำมันจะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันได้ประมาณร้อยละ 5 จากที่คาดว่าปีนี้
จะนำเข้าน้ำมันถึง 400,000 ล.บาท อนึ่ง มาตรการประหยัดพลังงาน กำหนดขึ้นภายใต้หลักการ 4 ส่วน คือ
1)ประหยัดพลังงาน 2)ไม่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม 3)ไม่กระทบการสร้างงาน และ 4)เป็นธรรมกับผู้
ประกอบการ (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. กรีนสแปนมองเศรษฐกิจโลกปีนี้จะฟื้นตัวและเติบโตอย่างแข็งแกร่ง รายงานจากกรุงวอชิงตัน
สรอ. เมื่อวันที่ 24 ส.ค.47 Alan Greenspan ประธาน ธ.กลาง สรอ. กล่าวว่า อัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเติบโตแบบแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพมาก
ขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยการเติบโตจะกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคสำคัญของโลก เทียบกับที่มีการชะลอตัวลงในช่วง
ครึ่งแรกของปี 46 และในระยะหลังนี้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจต่างประเทศยังคง
เติบโตต่อเนื่องในระดับที่น่าพอใจ แต่ก็ยังคงมีปัญหาอยู่บ้างสำหรับการฟื้นตัวของประเทศในเขตยูโรที่ชะลอตัวลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนีที่การบริโภคภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ส่วนการขยายตัวของราคา
บ้านใน สรอ. นั้น อาจจะมีราคาสูงเกินปัจจัยพื้นฐานไปบ้างในบางพื้นที่ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ทางด้านญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงมานานกว่า 10 ปี ได้เริ่มฟื้นตัวแล้วตั้งแต่ปลายปีก่อน แต่ยังคงมีความ
เสี่ยงอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมัน ซึ่งถ้ายังปรับตัวสูงขึ้นในระดับปัจจุบันอาจจะส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ เนื่องจากญี่ปุ่นต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก (รอยเตอร์)
2. ยอดขายบ้านมือสองของสรอ.ในเดือนก.ค. ลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 24 ส.ค.
47 สมาคมอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสรอ.กล่าวว่า ในเดือนก.ค. 47 ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ.ลดลง
จากระยะเดียวกันปีทีแล้วร้อยละ 2.9 อยู่ในระดับ 6.72 ล้านหลัง (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) และลดลง
จากระดับ 6.92 ล้านหลังในเดือนมิ.ย. มากกว่าผลสำรวจของรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ
6.81 ล้านหลัง หลังจากที่ทำสถิติสูงสุดมาแล้ว และทั้งๆที่ยอดขายดังกล่าวลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.
47 แต่ก็ยังคงทำสถิติสูงสุดเป็นครั้งที่ 3 ส่วนราคากลางบ้านก็ยังคงทำสถิติสูงอยู่ที่ระดับ 191,300 ดอลลาร์
สรอ.เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 8.7 นอกจากนั้นยอดคงเหลือบ้านลดลงอยู่ที่ระดับ 2.4 ล้านหลังหรือ
เท่ากับอุปทาน 4.3 เดือนของยอดขายปัจจุบัน ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองยังคงอยู่ในระดับต่ำเหมือนเช่น
เมื่อหลายทศวรรษที่ผ่านมา และจากความวิตกเรื่องการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย
เงินกู้จำนองต่ำลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ( รอยเตอร์)
3. จีดีพีของเยอรมนีในไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 0.5 เนื่องจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 24 ส.ค.47 The Federal Statistics Office เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีในไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 0.5 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เทียบ
ต่อไตรมาส และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 2.0 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) เนื่องจาก
ภาวะการค้าต่างประเทศที่มีสัดส่วนร้อยละ 0.5 ของการเติบโตทางเศรษฐกิจในรอบไตรมาสนั้น มีมูลค่าการ
ส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.2 ขณะที่นำเข้าเพียงร้อยละ 2.2 เท่านั้น ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.3 และการลงทุนด้านเงินทุนลดลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ งบประมาณขาดดุลของเยอรมนี
ในครึ่งแรกปี 47 มีจำนวน 42.7 พัน ล.ยูโร หรือคิดเป็นร้อยละ 4.0 ของจีดีพี ซึ่งมากกว่าระดับเพดานของ
สหภาพยุโรปที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า การเติบโตของภาวะการส่ง
ออกอาจจะอ่อนตัวลงในครึ่งหลังของปีนี้ ส่วนการใช้จ่ายของผู้บริโภคน่าจะเพิ่มขึ้นหากภาวะการลงทุนเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ส.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 24 ส.ค.47 สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานตัวเลขเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อ
ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบ
กับปีก่อน จากร้อยละ 1.8 ในเดือน ก.ค.47 และสูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน
โดยเป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาแพ็กเก็จทัวร์ในวันหยุดเพิ่มขึ้นโดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงใน 6 รัฐ
ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 1.1 ถึง 2.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 7.2 ถึง
8.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ราคาอาหารสดลดลงในสัดส่วนที่น้อยกว่าโดยนักวิเคราะห์คาดว่าราคาอาหาร
สดที่ลดลงจะมีส่วนช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในเดือนต่อ ๆ ไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 ส.ค. 47 24 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.504 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.3005/41.5940 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.3125-1.3750 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 600.03/9.33 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 39.21 40.79 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.19/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-