นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ได้แถลงให้ทราบว่า Standard & Poor's บริษัทจัดอันดับเครดิตชั้นนำของโลกได้ประกาศผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม 2547 เวลา 11.20 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปว่า คณะกรรมการจัดระดับเครดิต (Rating Committee) ของ S&P ได้ปรับเพิ่มระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Long Term Credit Rating) ของประเทศไทยขึ้น 1 ระดับ (1 notch) จาก BBB เป็น BBB+ และยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินตรา ต่างประเทศ (Foreign Currency Short Term Credit Rating) ของประเทศไทย ในระดับ A-2 ตราสารหนี้สกุลเงินบาทระยะยาวและระยะสั้น (Local Currency Long Term and Short Term Credit Rating) ที่ระดับ A และ A-1 โดยมีแนวโน้มของระดับเครดิตในระยะยาวในระดับที่มี เสถียรภาพ (Stable Outlook)
S&P ได้ให้เหตุผลในการปรับเพิ่มเครดิตในครั้งนี้ว่า เพื่อสะท้อนถึงความแข็งแกร่งด้านต่างประเทศของไทย โดยเฉพาะสถานะหนี้ต่างประเทศภาครัฐ โดยคาดว่าประเทศไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดได้เป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2541 อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของการนำเข้าซึ่งเกิดขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการของสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของปี 2547 ลดลงเหลือร้อยละ 1.3 ของ GDP ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 42 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ รัฐบาลซึ่งมีพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำประสบความสำเร็จอย่างสูงในการนำงบประมาณเข้าสู่สมดุล ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากที่จะลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก โดย S&P คาดว่า รัฐบาลจะยังคงมีดุลเงินสดเกินดุลในปีงบประมาณ 2547 ซึ่งนับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และหนี้ของรัฐบาลซึ่งเคยสูงถึงร้อยละ 36 ของ GDP ในช่วงปี 2542 - 2543 ได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า ณ สิ้นปี 2547 หนี้ของรัฐบาลจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 28 ของ GDP
S&P ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาการปรับโครงสร้างของประเทศไทย ซึ่งยังค่อนข้างล่าช้าอยู่ ทำให้รายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว หรือ GDP Per Capita (2,270 เหรียญสหรัฐ/คน) อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ BBB และ A นอกจากนี้ ความล่าช้าในการปรับโครงสร้างของระบบธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบ (NPA) ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ประมาณร้อยละ 24 ของสินเชื่อรวม และการที่รัฐบาลมีนโยบายการใช้สถาบันการเงินของรัฐเพื่อดำเนินธุรกรรมในลักษณะ Off-Budget โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ อาจจะส่งผลต่อสถานะทางการคลังของรัฐบาลได้หากเกิดการชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจ
ในประเด็นสุดท้าย S&P เห็นว่า หากรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทย ซึ่งคาดว่าจะได้รับการเลือกตั้งต่ออีก 1 สมัย สามารถผลักดันการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะปานกลางได้มากขึ้น ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยก็จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในระยะยาวต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 65/2547 26 สิงหาคม 2547--
S&P ได้ให้เหตุผลในการปรับเพิ่มเครดิตในครั้งนี้ว่า เพื่อสะท้อนถึงความแข็งแกร่งด้านต่างประเทศของไทย โดยเฉพาะสถานะหนี้ต่างประเทศภาครัฐ โดยคาดว่าประเทศไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดได้เป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2541 อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของการนำเข้าซึ่งเกิดขึ้นจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการของสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของปี 2547 ลดลงเหลือร้อยละ 1.3 ของ GDP ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 42 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ รัฐบาลซึ่งมีพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำประสบความสำเร็จอย่างสูงในการนำงบประมาณเข้าสู่สมดุล ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากที่จะลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก โดย S&P คาดว่า รัฐบาลจะยังคงมีดุลเงินสดเกินดุลในปีงบประมาณ 2547 ซึ่งนับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และหนี้ของรัฐบาลซึ่งเคยสูงถึงร้อยละ 36 ของ GDP ในช่วงปี 2542 - 2543 ได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า ณ สิ้นปี 2547 หนี้ของรัฐบาลจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 28 ของ GDP
S&P ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาการปรับโครงสร้างของประเทศไทย ซึ่งยังค่อนข้างล่าช้าอยู่ ทำให้รายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว หรือ GDP Per Capita (2,270 เหรียญสหรัฐ/คน) อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับ BBB และ A นอกจากนี้ ความล่าช้าในการปรับโครงสร้างของระบบธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบ (NPA) ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ประมาณร้อยละ 24 ของสินเชื่อรวม และการที่รัฐบาลมีนโยบายการใช้สถาบันการเงินของรัฐเพื่อดำเนินธุรกรรมในลักษณะ Off-Budget โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ อาจจะส่งผลต่อสถานะทางการคลังของรัฐบาลได้หากเกิดการชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจ
ในประเด็นสุดท้าย S&P เห็นว่า หากรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทย ซึ่งคาดว่าจะได้รับการเลือกตั้งต่ออีก 1 สมัย สามารถผลักดันการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะปานกลางได้มากขึ้น ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยก็จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในระยะยาวต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 65/2547 26 สิงหาคม 2547--