จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.5 ซึ่งขยายตัวชะลอลงจากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 และ ร้อยละ 6.7 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2546 และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับตัวดัชนีฤดูกาลในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 0.8 ซึ่งต่ำกว่าไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.5
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมาและทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2546 สาขา อุตสาหกรรมมีการขยายตัวร้อยละ 10.3 เทียบกับร้อยละ 10.9 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2546 และร้อยละ 10.3 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2546 โดยได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกที่ระบาดในช่วงไตรมาสนี้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารที่ระดับการผลิตชะลอลง แต่กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมวัตถุดิบการผลิตยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ อุตสาหกรรมในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรับประมาณการอัตราการ ขยายตัวของ GDP ในปี 2547 ลดลงจากร้อยละ 7-8 เหลือร้อยละ 6-7 เนื่องจากผลกระทบของการระบาดของไข้หวัดนก ภาวะราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง และสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยจะเห็นว่าตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.2 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้นๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และ ชิ้นส่วนยานยนต์
ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยเพิ่มขึ้นทั้งยอดการขายซีเมนต์ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค พบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ภาษีมูลค่าเพิ่ม และยอดการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มครึ่งปีหลังยังมีปัจจัยเสียงที่ควรระวัง ได้แก่ ราคาน้ำมันที่มี แนวโน้มสูงขึ้น สถานการณ์ไข้หวัดนกรอบใหม่ สถานการณ์ความไม่สงบของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 3.2 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 9.2
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.4 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิต ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.3 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 8.6
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได่แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่น ๆ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรม การผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 9.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ3.3 และร้อยละ 9.5 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ และอุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 7.8 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสหากรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ และอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ จากเนื้อสัตว์ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 0.7 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 10.2
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 9.5 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ในปี 2547 ลดลงจากร้อยละ 7 - 8 เหลือร้อยละ 6-7 ภาวะราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลง และสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีค่า 101.6, 99.9 และ 98.0 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม 2547 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าภาวะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานในประเทศ สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบในเชิงลบ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีค่า 96.1, 95.0 และ 93.5 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 ต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ 2547 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มสูญเสียความมั่นใจเกี่ยวกับภาวะการจ้างงานของไทยว่าอาจมีแนวโน้มปรับตัวแย่ลงในอนาคต
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีค่า 114.3, 112.5 และ 110.5 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีความมั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าจะปรับตัวดีขึ้นและมีโอกาสน้อยที่จะปรับตัวลดลง
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 ทั้ง 3 ดัชนีดังกล่าว ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2546 อย่างไรก็ตามทั้ง 3 ดัชนี ยังมีการปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2546
จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) พบว่าใน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ดัชนีปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ดัชนีโดยรวมมีค่าต่ำกว่า 50 เล็กน้อย แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น ส่วนดัชนีที่มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา คือ ผลประกอบการของบริษัท อำนาจซื้อของประชาชน การลงทุนของบริษัท และการผลิตของบริษัท
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 ดัชนีโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับในช่วง 6 เดือนแรกของ ปี 2546
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI)
จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัย หอ การค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่าระดับ 100 แสดงว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะการณ์ อุตสาหกรรมในระดับที่ไม่ค่อยดีนัก อย่างไรก็ตามค่าดัชนีแทบทุกปัจจัยมีค่าเกินกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความเชื่อมั่นต่อปัจจัยต่าง ๆ ในระดับที่ดีอยู่ แม้จะมีความเชื่อมั่นในระดับที่ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา จะมีเพียงดัชนีด้านต้นทุนการประกอบการ และดัชนีความเชื่อมั่นด้านสินเชื่อในการประกอบการที่ได้รับเท่านั้นที่มีค่าดัชนีต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าต้นทุนการประกอบการยังคงอยู่ในระดับที่สูงและปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับเกินกว่า 100 ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นยอดขายโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นปริมาณการผลิตในอนาคต
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2546
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ ในอี 3-4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน 2547 อยู่ที่ระดับ 128.2 ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม ซึ่งอยู่ที่ระดับ 128.6 ตามการลดลงของเครื่องชี้ ได้แก่ มูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจรายใหม่ ปริมาณเงิน M2a ที่แท้จริง และดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์
สำหรับดัชนี ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีค่าเฉลี่ย 127.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 126.5
ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ
ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยในเดือนมิถุนายน 2547 อยู่ที่ระดับ 121.3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม ซึ่งอยู่ที่ระดับ 121.2 ตามการเพิ่มขึ้นของเครื่องชี้ ได้แก่ ยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์รวม และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
สำหรับดัชนีในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีค่าเฉลี่ย 121.6 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่มีค่า 122.1
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546 (ตารางที่ 5)
ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ เกิดขึ้น เช่น สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมที่ลดลงเช่นกัน ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยอดการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2546 ตามการเพิ่มขึ้นของทุกเครื่องชี้สำคัญการลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่า ดัชนีการลงทุนในภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546
หากแยกตามรายการสินค้าพบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2546 จากการเพิ่มขึ้นของทั้ง 3 ปัจจัยหลัก
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้า ภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในเตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มตามราคาผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม ส่วนราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มก็เพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาค่าขนส่ง
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2546 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2546
(ยังมีต่อ).../แรงงานในภาค..