เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาปรับขึ้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนรถยนต์และป้ายทะเบียน รถยนต์ และภาษีรถยนต์ประจำปี สำหรับรถยนต์ทุกประเภท เพื่อให้เกิดการใช้รถยนต์อย่างประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการตรวจสอบดูแลการปรับลดราคาขายรถยนต์สำหรับรถยนต์ที่มีการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาษีที่ลดลงการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในครั้งนี้ เพื่อต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคเอเชีย (Detroit of Asia) และสนับสนุนให้ผู้ผลิตรถยนต์พัฒนาเครื่องยนต์ที่มุ่งไปสู่การประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง ซึ่งการกำหนดโครงสร้างอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น สรุปได้ดังนี้
1. รถยนต์นั่ง(เก๋ง/ตรวจการณ์/รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
1.1 ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 2,000 ซีซี และไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 30
1.2 ที่มีความจุของกระบอกสูบ 2,001 - 2,500 ซีซี และไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) อัตราตาม มูลค่า ร้อยละ 35
1.3 ที่มีความจุของกระบอกสูบ 2,501 - 3,000 ซีซี และไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) อัตราตาม มูลค่า ร้อยละ 40
1.4 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ซีซี หรือเกิน 220 แรงม้า(HP) อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
2. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก(PPV) ซึ่งมีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
2.1 ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 20
2.2 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
3. รถยนต์นั่งที่มีกระบะ(Double Cab) ซึ่งมีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
3.1 ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 12
3.2 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
4. รถยนต์นั่งดัดแปลงซึ่งมีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
4.1 ที่ดัดแปลงโดยผู้ดัดแปลงที่ประกอบกิจการเป็นธุรกิจ ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 3 และที่มีความจุกระบอกสูบเกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
4.2 ที่ดัดแปลงโดยผู้ดัดแปลงทั่วไป จัดเก็บภาษีจากมูลค่าส่วนต่อเติมหรือดัดแปลง อัตราภาษีเช่นเดียวกับรถยนต์นั่งแบบเก๋ง
5. รถยนต์ประเภทประหยัดพลังงาน
5.1 แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า(Hybrid Electric Vehicle) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 10 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
5.2 แบบพลังงานไฟฟ้า(Electric Powered Vehicle) อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 10
5.3 แบบเซลล์เชื้อเพลิง(Fuel Cell Powered Vehicle) อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 10
6. รถยนต์ประเภทใช้เชื้อเพลิงทดแทนมีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี และมีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
6.1 ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ได้ อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 20
6.2 ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติได้ อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 20
7. รถยนต์นั่งสามล้อและรถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้น โดยใช้เครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 5
8. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่ใช้เป็นรถพยาบาลของส่วนราชการ โรงพยาบาล หรือองค์การสาธารณกุศล ให้ยกเว้นภาษีเช่นเดิม
9. รถยนต์กระบะ
9.1 ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี ซึ่งมีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 3
9.2 ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี ซึ่งไม่มีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 18
9.3 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 446,625 คัน และ 298,660 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 29.43 และ 21.24 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.68 , 35.06 และ 53.53 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่าย ทั้งรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.57 , 25.23 และ 9.51 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของ ปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.49 และ 18.75 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.24 , 35.73 และ 53.66 ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่าย ทั้งรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.04 , 20.84 และ 14.74 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 ทั้งปริมาณการผลิต และการจำหน่าย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.21 และ 2.36 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 1.96 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.25 และ 42.40 ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 6.25 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.21 และ 14.40 ตามลำดับ
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์(CBU) จำนวน 151,910 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.09 โดยคิดเป็นมูลค่าการ ส่งออก 66,444.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.31 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 41.17 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์จากประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 ได้แก่ ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักรฯ โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ประมาณร้อยละ 156.28, 195.03 และ10.15 ตามลำดับ
การนำเข้ารถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 เปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 24.19 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.72 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และ 52.5 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 แล้ว มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 ตามลำดับ ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, เยอรมนี และอินโดนีเซีย
การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2547 มาจากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความต้องการรถยนต์มีมากขึ้น แม้ว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะเป็นปัจจัยลบที่กระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค แต่ก็ไม่ส่งผลต่อการซื้อรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะยังคงมีการขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ประกอบกับ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับดี อัตราดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนี้ ยังมีการปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ทำให้รถยนต์บางรุ่นได้ปรับราคาลดลง สำหรับรถยนต์บางรุ่นที่มีภาษีสรรพสามิตสูงขึ้น ผู้บริโภคที่มีความต้องการอยู่แล้วจะเร่งตัดสินใจซื้อก่อนที่ราคารถยนต์นั้นอาจปรับราคาสูงขึ้น และในช่วงครึ่งปีหลังยังเป็นช่วงฤดูการขายรถยนต์ประจำปี ซึ่งแต่ละค่ายรถยนต์จะมีกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดออกมาแข่งขันกัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 มีจำนวน 1,454,036 คัน และ 1,029,156 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 19.83 และ 14.71 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.71 และ85.04 ตามลำดับ มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.31 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 29.59 ซึ่งรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 99.18 อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตจะไม่เป็นที่นิยมของตลาดในประเทศมากนัก แต่สำหรับตลาดส่งออกแล้ว เป็นที่ต้องการมากขึ้น เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.06 และ 15.77 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.90 และ75.72 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.34 แต่แบบ สปอร์ตลดลงร้อยละ 29.02 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 แต่การจำหน่ายลดลงร้อยละ 2.47 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 0.28 แต่แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.16 สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 2.38 และ 13.52 ตามลำดับ
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 401,178 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 51.53 โดยคิดเป็นมูลค่า 6,379.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.12 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.66 และคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.60 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 1.06 แต่คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.33 สำหรับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย ,และเบลเยี่ยม สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 เปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.90 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, เยอรมนี และจีน
การขยายตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศในช่วงครึ่งปีแรก 2547 เป็นผลมาจากความต้องการรถจักรยานยนต์ของตลาดในประเทศมีมากขึ้น มีการแข่งขันในการให้บริการสินเชื่อกับผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ ทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของตลาดส่งออก ทั้งในอาเซียน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ขยายตัว แม้ว่าในขณะนี้ ระดับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ก็อาจทำให้ผู้บริโภคหันมาประหยัดมากขึ้น รถจักรยานยนต์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประหยัดมากกว่ารถยนต์
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2547 มีมูลค่า 15,430.91 และ 1,312.74 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 36.53 และ 21.49 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และ ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 5,624.98 และ 2,243.92 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 125.37 และ 78.93 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.80 และ 26.18 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ รถจักรยานยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 103.16 และ 87.71 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.32 และ 13.50 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการ ส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) ลดลงร้อยละ 9.87 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.18 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย ส่วนประเทศที่เป็นตลาด
ส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย, กัมพูชา และเวียดนาม
จากข้อมูลการขยายตัวของการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ข้างต้น จึงคาดการณ์ได้ว่า ในปี 2547
การส่งออกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เพราะผู้ประกอบการได้ขยายการลงทุนเพื่อการส่งออกตามแนวโน้มการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2547 มีมูลค่า 55,930.1 และ 1,605.3 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 22.64 และ 23.34 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มี มูลค่า 1,812.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.04 และเมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและ ตัวถัง และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 และ 29.0 ตามลำดับ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2547 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.7 และ 10.4 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถังรถยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, เยอรมนี และฟิลิปปินส์ แหล่งนำเข้ายางรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย และจีน และแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น, อินโดนีเชีย, จีน และไต้หวัน
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
1. รถยนต์นั่ง(เก๋ง/ตรวจการณ์/รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
1.1 ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 2,000 ซีซี และไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 30
1.2 ที่มีความจุของกระบอกสูบ 2,001 - 2,500 ซีซี และไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) อัตราตาม มูลค่า ร้อยละ 35
1.3 ที่มีความจุของกระบอกสูบ 2,501 - 3,000 ซีซี และไม่เกิน 220 แรงม้า(HP) อัตราตาม มูลค่า ร้อยละ 40
1.4 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ซีซี หรือเกิน 220 แรงม้า(HP) อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
2. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก(PPV) ซึ่งมีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
2.1 ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 20
2.2 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
3. รถยนต์นั่งที่มีกระบะ(Double Cab) ซึ่งมีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
3.1 ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 12
3.2 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
4. รถยนต์นั่งดัดแปลงซึ่งมีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
4.1 ที่ดัดแปลงโดยผู้ดัดแปลงที่ประกอบกิจการเป็นธุรกิจ ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 3 และที่มีความจุกระบอกสูบเกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
4.2 ที่ดัดแปลงโดยผู้ดัดแปลงทั่วไป จัดเก็บภาษีจากมูลค่าส่วนต่อเติมหรือดัดแปลง อัตราภาษีเช่นเดียวกับรถยนต์นั่งแบบเก๋ง
5. รถยนต์ประเภทประหยัดพลังงาน
5.1 แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า(Hybrid Electric Vehicle) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 10 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
5.2 แบบพลังงานไฟฟ้า(Electric Powered Vehicle) อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 10
5.3 แบบเซลล์เชื้อเพลิง(Fuel Cell Powered Vehicle) อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 10
6. รถยนต์ประเภทใช้เชื้อเพลิงทดแทนมีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี และมีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด
6.1 ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ได้ อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 20
6.2 ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซธรรมชาติได้ อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 20
7. รถยนต์นั่งสามล้อและรถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้น โดยใช้เครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 5
8. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่ใช้เป็นรถพยาบาลของส่วนราชการ โรงพยาบาล หรือองค์การสาธารณกุศล ให้ยกเว้นภาษีเช่นเดิม
9. รถยนต์กระบะ
9.1 ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี ซึ่งมีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 3
9.2 ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี ซึ่งไม่มีคุณลักษณะตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 18
9.3 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,250 ซีซี อัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50
อุตสาหกรรมรถยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 446,625 คัน และ 298,660 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 29.43 และ 21.24 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.68 , 35.06 และ 53.53 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่าย ทั้งรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.57 , 25.23 และ 9.51 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของ ปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.49 และ 18.75 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.24 , 35.73 และ 53.66 ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่าย ทั้งรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.04 , 20.84 และ 14.74 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 ทั้งปริมาณการผลิต และการจำหน่าย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.21 และ 2.36 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 1.96 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.25 และ 42.40 ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 6.25 แต่รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.21 และ 14.40 ตามลำดับ
ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์(CBU) จำนวน 151,910 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.09 โดยคิดเป็นมูลค่าการ ส่งออก 66,444.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.31 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 41.17 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.37 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์จากประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 ได้แก่ ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักรฯ โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ประมาณร้อยละ 156.28, 195.03 และ10.15 ตามลำดับ
การนำเข้ารถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 เปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 24.19 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.72 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และ 52.5 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 แล้ว มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 ตามลำดับ ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, เยอรมนี และอินโดนีเซีย
การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2547 มาจากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ความต้องการรถยนต์มีมากขึ้น แม้ว่าราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะเป็นปัจจัยลบที่กระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค แต่ก็ไม่ส่งผลต่อการซื้อรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะยังคงมีการขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ประกอบกับ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับดี อัตราดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนี้ ยังมีการปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ทำให้รถยนต์บางรุ่นได้ปรับราคาลดลง สำหรับรถยนต์บางรุ่นที่มีภาษีสรรพสามิตสูงขึ้น ผู้บริโภคที่มีความต้องการอยู่แล้วจะเร่งตัดสินใจซื้อก่อนที่ราคารถยนต์นั้นอาจปรับราคาสูงขึ้น และในช่วงครึ่งปีหลังยังเป็นช่วงฤดูการขายรถยนต์ประจำปี ซึ่งแต่ละค่ายรถยนต์จะมีกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดออกมาแข่งขันกัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 มีจำนวน 1,454,036 คัน และ 1,029,156 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 19.83 และ 14.71 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.71 และ85.04 ตามลำดับ มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.31 แต่รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 29.59 ซึ่งรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 99.18 อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตจะไม่เป็นที่นิยมของตลาดในประเทศมากนัก แต่สำหรับตลาดส่งออกแล้ว เป็นที่ต้องการมากขึ้น เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.06 และ 15.77 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.90 และ75.72 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.34 แต่แบบ สปอร์ตลดลงร้อยละ 29.02 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 แต่การจำหน่ายลดลงร้อยละ 2.47 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวลดลงร้อยละ 0.28 แต่แบบสปอร์ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.16 สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 2.38 และ 13.52 ตามลำดับ
ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 401,178 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 51.53 โดยคิดเป็นมูลค่า 6,379.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.12 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.66 และคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.60 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 1.06 แต่คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.33 สำหรับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย ,และเบลเยี่ยม สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 เปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2546 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.90 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, เยอรมนี และจีน
การขยายตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศในช่วงครึ่งปีแรก 2547 เป็นผลมาจากความต้องการรถจักรยานยนต์ของตลาดในประเทศมีมากขึ้น มีการแข่งขันในการให้บริการสินเชื่อกับผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ ทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของตลาดส่งออก ทั้งในอาเซียน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยบวกที่ทำให้อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ขยายตัว แม้ว่าในขณะนี้ ระดับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ก็อาจทำให้ผู้บริโภคหันมาประหยัดมากขึ้น รถจักรยานยนต์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประหยัดมากกว่ารถยนต์
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2547 มีมูลค่า 15,430.91 และ 1,312.74 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 36.53 และ 21.49 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และ ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 5,624.98 และ 2,243.92 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 125.37 และ 78.93 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.80 และ 26.18 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ รถจักรยานยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 103.16 และ 87.71 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2547 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.32 และ 13.50 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการ ส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) ลดลงร้อยละ 9.87 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.18 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และมาเลเซีย ส่วนประเทศที่เป็นตลาด
ส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย, กัมพูชา และเวียดนาม
จากข้อมูลการขยายตัวของการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ข้างต้น จึงคาดการณ์ได้ว่า ในปี 2547
การส่งออกจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เพราะผู้ประกอบการได้ขยายการลงทุนเพื่อการส่งออกตามแนวโน้มการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2547 มีมูลค่า 55,930.1 และ 1,605.3 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 2546 ร้อยละ 22.64 และ 23.34 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มี มูลค่า 1,812.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.04 และเมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2547 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและ ตัวถัง และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 และ 29.0 ตามลำดับ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2547 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถัง และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.7 และ 10.4 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์รวมทั้งโครงรถและตัวถังรถยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2547 ได้แก่ ญี่ปุ่น, เยอรมนี และฟิลิปปินส์ แหล่งนำเข้ายางรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น, อินโดนีเซีย และจีน และแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น, อินโดนีเชีย, จีน และไต้หวัน
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-