1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8 เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.9 ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกพบว่าใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 พบว่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 325,781.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 และจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มร้อยละ 5.2 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 254,186.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1
เปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ในขณะที่ภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่น ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าในกลุ่ม Electronic parts and devices และ Electronic computer ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 และ 9.1 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดของ Communications , Computer and Consumer Electronic เช่น DVD player Mobile phone และ Digital Cameras ที่เติบโตอย่างมากจึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย และเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีมูลค่าจำหน่าย 48.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลง เล็กน้อยร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากได้แก่ สินค้าประเภทให้ความเย็น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ โดยดัชนีผลผลิตสินค้าต่างๆในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919) ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930) ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) ดัชนีผลผลิตค่อนข้างทรงตัวโดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญของไทย
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วดัชนีผลผลิตค่อนข้างทรงตัวโดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.2
เมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่ ไมโครเวป ปรับตัวลดลงร้อยละ 24.6 รองลงมาคือ เครื่องรับโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 9.9 ส่วนสินค้าที่มีการเพิ่มขึ้นมากที่สุดได้แก่ จอภาพ LCD ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึง ร้อยละ 46.5
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มต่างๆในกลุ่มเครื่องใช้ ไฟฟ้า เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919) ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากมีการป้อนสินค้าเข้าสู่ตลาดเพื่อขายในช่วงฤดูร้อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930) ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ปรับตัวลดลง ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญของไทย เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.0 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่ วีดีโอเทป ซึ่งลดลงร้อยละ 18.4 ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องจากหลายไตรมาสที่ผ่านมา ในขณะที่เครื่องเล่น DVD ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60.7 ซึ่งแสดงถึงความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนจาก วีดีโอเทป ไปเป็นเครื่องเล่น DVD ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ จอภาพ LCD โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.9 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ของประเทศญี่ปุ่น
ตลาดในประเทศ
จากรายงานภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 (ปริมาณการผลิตในเดือน มิถุนายน 2547 ได้จากการประมาณค่า) ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก ประกอบด้วย เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า และหม้อหุงข้าว พบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศพบว่ามีขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในบางสินค้า เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความเย็น เช่นตู้เย็น และพัดลม เป็นต้น โดยตู้เย็นมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 43.0 พัดลมร้อยละ 15.2 ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นยังขยายตัวเพิ่มได้เช่น หม้อหุงข้าวขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ส่วนเครื่องซักผ้าขยายตัวลดลง ร้อยละ 9.5 และเครื่องรับโทรทัศน์ขยายตัวลดลงร้อยละ 5.2
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 134,441.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับให้สัญญาณเสียงและส่วนประกอบ และสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 159.4 และ 115.3 ด้วยมูลค่าการส่งออก 3,940.6 และ 3,194.7 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดยังคงเป็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และส่วนประกอบ โดยมีมูลค่าการส่งออก 31,927.0 ล้านบาท สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกแสดงในตารางที่ 3
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 98,494.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทำการผลิตสินค้า
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจาก ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ซึ่งขยายตัวติดต่อกันมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 โดยจากรายงานของ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 39.8 ซึ่งเป็นการขยายตัวตามความต้องการสินค้า IT ของโลกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ Other IC เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57.9 และ 26.2 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นใน ไตรมาส 2 ของปี 2547 พบว่าภาวะการผลิตของประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย Ministry of Economic Trade and Industry (METI) รายงานว่าดัชนีผลผลิตในกลุ่มของ Electronic computer ลดลงร้อยละ 1.5 และในกลุ่มของ Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยกลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.6 และกลุ่ม Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ปี 2547 โดยจากรายงานของ สศอ. พบว่าดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ดัชนีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.4 โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ Other Integrated circuit เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.1 และ 26.2 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ของปี 2547 พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย METI รายงานว่าดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่ม Electronic computer ลดลงร้อยละ 1.3 และในกลุ่มของ Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น กลุ่ม Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ในขณะที่ กลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.6 นอกจากนี้ Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2546 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะ ของไทยที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีมูลค่าจำหน่าย 48.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.8 โดยในไตรมาสนี้ทุกภูมิภาค คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพ ยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.2 26.1 23.3 และ 41.2 ตามลำดับ ซึ่ง SIA กล่าวว่าเป็นเพราะตลาด Personal Computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 รวมถึง Communications , Consumer Electronic (DVD player Digital Cameras และ Cell Phone) ได้มีการขยายอย่างมากเช่นกัน จึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยความต้องการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่กลางปีที่แล้ว
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงครึ่งแรกของปี ไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่า 191,340.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ วงจรพิมพ์ และเครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 128.5 และ 20.9 ตามลำดับ แต่หากพิจารณาแล้ว อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นสินค้าที่มีการส่งออกลดลงค่อนข้างมากถึงร้อยละ 29.3
3.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่ารวม 155,692.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่แล้วมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ นำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.5 และ 31.1 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
4. สรุปภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือน มกราคม-มิถุนายน 2547
4.1 การผลิต : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.- มิ.ย.) ของปี 2547 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากครึ่งปีหลัง (ก.ค.-ธ.ค.) ของปี 2546 ร้อยละ 15.6 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 โดยเป็นผลจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มไฟฟ้าประมาณร้อยละ 8 และเพิ่มขึ้นจากสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 42.7 ทั้งนี้ เป็นผลจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4.2 การตลาด
ตลาดในประเทศ
จากรายงานภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 (ปริมาณการผลิตในเดือนมิถุนายน 2547 ได้จากการประมาณค่า) ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก ประกอบด้วยสินค้าประเภท เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า และหม้อหุงข้าว พบว่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศมีขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในบางสินค้า โดยพัดลมมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 24.1 ตู้เย็นร้อยละ 20.0 หม้อหุงข้าวร้อยละ 9.7 และเครื่องรับโทรทัศน์ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 ส่วนเครื่องซักผ้าขยายตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.3
ตลาดส่งออก : สินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่วงครึ่งแรกของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 630,251.5 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.3 โดยเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสินค้ากลุ่มไฟฟ้าร้อยละ 32.8 ส่วนสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกสูงขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดได้แก่ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบด้วยมูลค่า 60,776.6 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เนื่องจากต่างประเทศมีคำสั่งซื้อเข้ามามากในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร ส่วนสินค้าที่มีการส่งออกสูงสุดในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ โดยมีมูลค่าการส่งออก 165,213.4 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนได้แก่ วงจรพิมพ์ โดยมีการขยายตัวถึงร้อยละ 83.0 ด้วยมูลค่าการส่งออก 25,028.4 ล้านบาท
4.3 การนำเข้า : สินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่วงครึ่งแรกของปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้า 490,878.9 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.1 โดยเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้ากลุ่มไฟฟ้าร้อยละ 21.3 ส่วนสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 ช่วงครึ่งแรกของปี 2547 นี้ สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ด้วยมูลค่า 44,270.1 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ส่วนสินค้าที่มีการนำเข้าสูงสุดในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า โดยมีมูลค่าการนำเข้า 150,079.7 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4
5. แนวโน้ม
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 และครึ่งหลังของปี คาดว่าน่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงแรกของปี ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของปี และเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนน่าจะปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน เพราะในปีนี้มี เทศกาลการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีความต้องการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี และดีวีดี เพื่อเตรียมตัวติดตามชมรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 และครึ่งหลังของปี คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน ตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่เพิ่มขึ้น SIA ได้คาดการณ์ว่ายอดขาย Semiconductor ทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 28.6 ในปี 2547 โดยเป็นผลจากความต้องการ Personal Computer Cellular Phone และ Digital Camera ที่ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 13 15 และ 27 ตามลำดับ ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนจะได้รับผลดีตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลกไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย เช่น สถานการณ์ของโลกที่ยังไม่สงบจากการก่อการร้ายที่กระจายไปทั่วโลก และความไม่สงบภาคใต้ของไทย ภาวะราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก/เหล็ก/ทองแดง)ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 3.20 แล้วแต่ชนิดสินค้า ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค อีกทั้งประเทศจีนมีนโยบายที่จะชะลอการเติบโตของประเทศเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ผลิตของจีนนำสินค้าในสต็อกระบายออกต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วยราคาที่ต่ำมาก เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้การเติบโตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยชะลอตัวลงได้
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
ภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8 เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37.9 ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกพบว่าใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 พบว่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 325,781.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 และจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มร้อยละ 5.2 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 254,186.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1
เปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ในขณะที่ภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่น ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าในกลุ่ม Electronic parts and devices และ Electronic computer ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 และ 9.1 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดของ Communications , Computer and Consumer Electronic เช่น DVD player Mobile phone และ Digital Cameras ที่เติบโตอย่างมากจึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย และเมื่อพิจารณาถึงมูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีมูลค่าจำหน่าย 48.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลง เล็กน้อยร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากได้แก่ สินค้าประเภทให้ความเย็น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ โดยดัชนีผลผลิตสินค้าต่างๆในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919) ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930) ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) ดัชนีผลผลิตค่อนข้างทรงตัวโดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญของไทย
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วดัชนีผลผลิตค่อนข้างทรงตัวโดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.2
เมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่ ไมโครเวป ปรับตัวลดลงร้อยละ 24.6 รองลงมาคือ เครื่องรับโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 9.9 ส่วนสินค้าที่มีการเพิ่มขึ้นมากที่สุดได้แก่ จอภาพ LCD ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึง ร้อยละ 46.5
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มต่างๆในกลุ่มเครื่องใช้ ไฟฟ้า เป็นดังนี้
กลุ่มเครื่องปรับอากาศ และคอมเพรสเซอร์ (ISIC 2919) ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากมีการป้อนสินค้าเข้าสู่ตลาดเพื่อขายในช่วงฤดูร้อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (ISIC 2930) ซึ่งประกอบด้วย พัดลม ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว ดัชนีการส่งสินค้าลดลงร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
กลุ่มเครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง (ISIC 3230) ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ปรับตัวลดลง ร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญของไทย เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.0 และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดได้แก่ วีดีโอเทป ซึ่งลดลงร้อยละ 18.4 ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องจากหลายไตรมาสที่ผ่านมา ในขณะที่เครื่องเล่น DVD ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60.7 ซึ่งแสดงถึงความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนจาก วีดีโอเทป ไปเป็นเครื่องเล่น DVD ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ จอภาพ LCD โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.9 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ของประเทศญี่ปุ่น
ตลาดในประเทศ
จากรายงานภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 (ปริมาณการผลิตในเดือน มิถุนายน 2547 ได้จากการประมาณค่า) ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก ประกอบด้วย เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า และหม้อหุงข้าว พบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศพบว่ามีขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในบางสินค้า เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความเย็น เช่นตู้เย็น และพัดลม เป็นต้น โดยตู้เย็นมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 43.0 พัดลมร้อยละ 15.2 ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นยังขยายตัวเพิ่มได้เช่น หม้อหุงข้าวขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ส่วนเครื่องซักผ้าขยายตัวลดลง ร้อยละ 9.5 และเครื่องรับโทรทัศน์ขยายตัวลดลงร้อยละ 5.2
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 134,441.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับให้สัญญาณเสียงและส่วนประกอบ และสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 159.4 และ 115.3 ด้วยมูลค่าการส่งออก 3,940.6 และ 3,194.7 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดยังคงเป็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ และส่วนประกอบ โดยมีมูลค่าการส่งออก 31,927.0 ล้านบาท สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกแสดงในตารางที่ 3
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีมูลค่าทั้งสิ้น 98,494.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อทำการผลิตสินค้า
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจาก ไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ซึ่งขยายตัวติดต่อกันมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 โดยจากรายงานของ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 39.8 ซึ่งเป็นการขยายตัวตามความต้องการสินค้า IT ของโลกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ Other IC เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57.9 และ 26.2 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นใน ไตรมาส 2 ของปี 2547 พบว่าภาวะการผลิตของประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย Ministry of Economic Trade and Industry (METI) รายงานว่าดัชนีผลผลิตในกลุ่มของ Electronic computer ลดลงร้อยละ 1.5 และในกลุ่มของ Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยกลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.6 และกลุ่ม Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ปี 2547 โดยจากรายงานของ สศอ. พบว่าดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ดัชนีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.4 โดยเฉพาะในกลุ่ม Monolithic Integrated circuit และ Other Integrated circuit เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.1 และ 26.2 ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ของปี 2547 พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย METI รายงานว่าดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่ม Electronic computer ลดลงร้อยละ 1.3 และในกลุ่มของ Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น กลุ่ม Electronic computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ในขณะที่ กลุ่ม Electronic parts and devices เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.6 นอกจากนี้ Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 2 ปี 2547 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2546 ซึ่งสอดคล้องกับภาวะ ของไทยที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยมีมูลค่าจำหน่าย 48.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.8 โดยในไตรมาสนี้ทุกภูมิภาค คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพ ยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.2 26.1 23.3 และ 41.2 ตามลำดับ ซึ่ง SIA กล่าวว่าเป็นเพราะตลาด Personal Computer เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 รวมถึง Communications , Consumer Electronic (DVD player Digital Cameras และ Cell Phone) ได้มีการขยายอย่างมากเช่นกัน จึงทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยความต้องการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่กลางปีที่แล้ว
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงครึ่งแรกของปี ไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่า 191,340.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ วงจรพิมพ์ และเครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 128.5 และ 20.9 ตามลำดับ แต่หากพิจารณาแล้ว อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นสินค้าที่มีการส่งออกลดลงค่อนข้างมากถึงร้อยละ 29.3
3.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 มีมูลค่ารวม 155,692.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่แล้วมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแผงวงจรไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ นำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.5 และ 31.1 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
4. สรุปภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือน มกราคม-มิถุนายน 2547
4.1 การผลิต : ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.- มิ.ย.) ของปี 2547 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากครึ่งปีหลัง (ก.ค.-ธ.ค.) ของปี 2546 ร้อยละ 15.6 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 โดยเป็นผลจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มไฟฟ้าประมาณร้อยละ 8 และเพิ่มขึ้นจากสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 42.7 ทั้งนี้ เป็นผลจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4.2 การตลาด
ตลาดในประเทศ
จากรายงานภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 (ปริมาณการผลิตในเดือนมิถุนายน 2547 ได้จากการประมาณค่า) ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก ประกอบด้วยสินค้าประเภท เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า และหม้อหุงข้าว พบว่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศมีขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในบางสินค้า โดยพัดลมมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุด ร้อยละ 24.1 ตู้เย็นร้อยละ 20.0 หม้อหุงข้าวร้อยละ 9.7 และเครื่องรับโทรทัศน์ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 ส่วนเครื่องซักผ้าขยายตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.3
ตลาดส่งออก : สินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่วงครึ่งแรกของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออก 630,251.5 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.3 โดยเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสินค้ากลุ่มไฟฟ้าร้อยละ 32.8 ส่วนสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกสูงขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดได้แก่ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบด้วยมูลค่า 60,776.6 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เนื่องจากต่างประเทศมีคำสั่งซื้อเข้ามามากในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร ส่วนสินค้าที่มีการส่งออกสูงสุดในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ โดยมีมูลค่าการส่งออก 165,213.4 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนได้แก่ วงจรพิมพ์ โดยมีการขยายตัวถึงร้อยละ 83.0 ด้วยมูลค่าการส่งออก 25,028.4 ล้านบาท
4.3 การนำเข้า : สินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่วงครึ่งแรกของปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้า 490,878.9 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.1 โดยเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้ากลุ่มไฟฟ้าร้อยละ 21.3 ส่วนสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 ช่วงครึ่งแรกของปี 2547 นี้ สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ด้วยมูลค่า 44,270.1 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ส่วนสินค้าที่มีการนำเข้าสูงสุดในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า โดยมีมูลค่าการนำเข้า 150,079.7 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4
5. แนวโน้ม
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 และครึ่งหลังของปี คาดว่าน่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงแรกของปี ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของปี และเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนน่าจะปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน เพราะในปีนี้มี เทศกาลการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีความต้องการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี และดีวีดี เพื่อเตรียมตัวติดตามชมรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2547 และครึ่งหลังของปี คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน ตามภาวะตลาดอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่เพิ่มขึ้น SIA ได้คาดการณ์ว่ายอดขาย Semiconductor ทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 28.6 ในปี 2547 โดยเป็นผลจากความต้องการ Personal Computer Cellular Phone และ Digital Camera ที่ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 13 15 และ 27 ตามลำดับ ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนจะได้รับผลดีตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลกไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงอีกหลายปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทย เช่น สถานการณ์ของโลกที่ยังไม่สงบจากการก่อการร้ายที่กระจายไปทั่วโลก และความไม่สงบภาคใต้ของไทย ภาวะราคาน้ำมันและราคาวัตถุดิบ (เม็ดพลาสติก/เหล็ก/ทองแดง)ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 3.20 แล้วแต่ชนิดสินค้า ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค อีกทั้งประเทศจีนมีนโยบายที่จะชะลอการเติบโตของประเทศเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ผลิตของจีนนำสินค้าในสต็อกระบายออกต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วยราคาที่ต่ำมาก เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้การเติบโตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยชะลอตัวลงได้
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-