ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. S&P ปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้ไทยเพิ่มจาก BBB เป็น BBB+ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รมว.คลัง เปิดเผยว่า การที่เอสแอนด์พีปรับเรทติ้งให้ครั้งนี้ เพราะมองว่าไทยมีฐานะการคลังที่แข็งแกร่ง ทุน
สำรองระหว่างประเทศมั่นคง มีวินัยทางการคลัง รวมทั้งมีการบริหาร งปม.ที่ดี มีการลงทุนของต่างชาติเพิ่มถึง
4 แสนล้านบาท และพอใจต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินไทย รวมทั้งสนใจการบริหาร งปม. และวินัย
ทางการคลังมาก เพราะการจัดเก็บรายได้เกินเป้าทุกตัว ส่วนที่รัฐบาลจะทำ งปม.สมดุลในปี 48 นั้น มองว่า
เป็นเพียงกลไกหลักที่จัดไว้ให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ในการจัดการเศรษฐกิจเท่านั้น โดยคาด
ว่าไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดได้เป็นปีที่ 7 ติดต่อกันตั้งแต่ปี 41 ซึ่งดุลบัญชีเดินสะพัดของปี 47 ลดลงเหลือ
ร้อยละ 1.3 ของจีดีพี ทุนสำรองระหว่างประเทศมีจำนวน 42 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้รัฐบาลจะยังคงมี
ดุลเงินสดเกินดุลในปี งปม.47 เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และหนี้รัฐบาลสิ้นปีจะอยู่ที่ร้อยละ 28 ของจีดีพี ส่วน
การปรับขึ้นดอกเบี้ยอาร์พีร้อยละ 0.25 เป็นระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์โลก ส่งผลให้ตลาดทุน
ปรับตัวรับทันที และในอนาคตจะให้สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ติงไม่ควรเร่งเปลี่ยนระบบบัตรเครดิตจากแถบแม่เหล็กสู่ระบบชิพการ์ด นายสายัณห์
ปริวัตร ผอ.อาวุโสสายระบบการชำระเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับการใช้ชิพการ์ดให้เป็นไปตาม
ข้อกำหนดหรือมาตรฐานอีเอ็มวี (ยุโรเปย์-มาสเตอร์การ์ด-วีซ่า) เนื่องจากยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบ
เปลี่ยนระบบ เพราะมีค่าใช้จ่ายถึงหมื่นล้านบาท ซึ่งดูแล้วเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับความ
เสียหายที่เกิดจากการทุจริตหรือปลอมแปลงบัตรเครดิตในไทยที่มีจำนวนน้อยมาก และเป็นต้นทุนของ ธ.พาณิชย์
ที่จะผลักภาระให้ผู้บริโภค อีกทั้งขณะนี้มีระบบการให้ลูกค้าเปลี่ยนแปลงรหัส (พิน) ได้ด้วยตนเอง และมีระบบ
ตรวจสอบการปลองแปลงบัตรเครดิตที่ดีระดับหนึ่ง ปัจจุบันแม้แต่มาเลเซียเองที่มีการปลอมแปลงบัตรเครดิตมาก
ก็ยังใช้สองระบบ และบางประเทศก็ยังไม่ได้มีการใช้ระบบชิพการ์ด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในที่สุดไทยก็ต้อง
พัฒนาระบบบัตรชำระเงินไปสู่การใช้ชิพการ์ดหรือบัตรสมาร์ทการ์ด แต่คงต้องรอสักระยะหนึ่ง อย่างน้อยต้องใช้
เวลา 5 ปี ถึงจะเห็นอย่างเป็นรูปธรรม (โพสต์ทูเดย์)
3. ราคาน้ำมันส่งผลกระทบทำให้ดุลการค้าของไทยลดลง นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมช.
พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ค.) ว่า มีมูลค่า 54,464 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 53,754.8
ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.63 ทำให้การค้าเกินดุล 709.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การส่ง
ออกเดือน ก.ค.47 มีมูลค่า 8,188 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้ามีมูลค่า 8,111.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ดุลการค้าเกินดุล 76.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าทุกรายการปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นไก่สดแช่แข็งที่ไม่
สามารถส่งออกได้ เพราะไทยประสบปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด ส่วนการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งชะลอตัว
ลงหลังจากไทยถูก สรอ. จัดเก็บภาษีนำเข้าการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) ของ สรอ. อย่างไรก็ตาม
เชื่อว่าการที่ สรอ. ประกาศจัดเก็บอัตราภาษีนำเข้ากุ้งจากไทยในอัตราร้อยละ 6 ซึ่งต่ำกว่า 5 ประเทศ เช่น
จีน และเอกวาดอร์ จะทำให้ยอดส่งออกกุ้งของไทยเริ่มดีขึ้นในช่วงเดือน ต.ค. เป็นต้นไป ทั้งนี้ แม้ว่าราคา
น้ำมันในช่วงนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกมากนัก เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีคำสั่งซื้อล่วง
หน้าไปจนถึงสิ้นปี (เดลินิวส์, แนวหน้า)
4. ธ.ออมสินจัดระบบขายพันธบัตรออมทรัพย์ซื้อน้อยจองก่อนได้ก่อน นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร
ผอ.ธ.ออมสิน กล่าวถึงขั้นตอนการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ครั้งที่ 2 จำนวน 2 หมื่นล้านบาท ว่า จะแบ่ง
ระดับการจำหน่ายออกเป็น 4 ชั้น คือ ชั้นแรก วงเงิน 20,000 บาท ชั้นที่ 2 วงเงิน 20,001-50,000
บาท ชั้นที่ 3 วงเงิน 50,001-100,000 บาท และชั้นที่ 4 วงเงิน 101,000-500,000 บาท โดยจะ
พิจารณาผู้จองซื้อในชั้นที่ 1 เป็นอันดับแรก หากยังจำหน่ายไม่หมดก็จะพิจารณาผู้จองซื้อชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต่อ
ไป เป็นแบบขั้นบันได และการพิจารณาในแต่ละชั้นจะไม่ใช้การสุ่มเลือก แต่จะเป็นแบบมาก่อนได้ก่อน สำหรับผู้
จองซื้อมากกว่า 1 ใบ จะให้สิทธิ์เพียงแค่ 1 ใบ เลือกใบที่มีมูลค่าการจองซื้อสูงที่สุดเท่านั้น เชื่อว่าการ
จำหน่ายพันธบัตรครั้งนี้จะสามารถจำหน่ายได้หมดแน่นอน เนื่องจากมีประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
เพราะให้ผลตอบแทนสูง ทั้งนี้ จะไม่กำหนดว่าแต่ละสาขาได้รับจัดสรรเท่าไหร่ โดยจะพิจารณาให้กับผู้ที่เข้ามา
จองก่อนจะได้ไปก่อนไม่มีการสุ่มแต่อย่างใด (แนวหน้า, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของอังกฤษในเดือน ส.ค.47 สูงสุดในรอบ 6 ปี รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 26 ส.ค.47 ผลสำรวจแนวโน้มอุตสาหกรรมรายเดือนของอังกฤษแสดงให้เห็นว่าร้อยละ 21
ของบริษัทที่ถูกสำรวจรายงานว่ามียอดสั่งซื้อเข้ามายังบริษัทสูงกว่าปรกติในขณะที่ร้อยละ 19 รายงานว่ายอดสั่ง
ซื้อต่ำกว่าปรกติ ส่งผลให้ร้อยละของจำนวนบริษัทที่รายงานยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมากกว่าที่รายงานยอดสั่งซื้อลดลง
เป็น +2 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 41 ดีกว่าระดับ —7 (บริษัทที่รายงานยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่รายงาน
ยอดสั่งซื้อลดลง) ในเดือนก่อนมาก และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่
ที่ระดับ —5 โดยมีร้อยละของจำนวนโรงงานที่คาดว่าจะเพิ่มการผลิตสินค้าในอีก 3 เดือนข้างหน้ามากกว่าที่
คาดว่าจะลดการผลิตเป็น +19 สูงกว่าเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ +6 ในขณะที่มีร้อยละของจำนวนบริษัทที่คาดว่า
ราคาเฉลี่ยสินค้าจะเพิ่มขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้าสูงกว่าที่คาดว่าจะลดลงเป็น +11 สูงกว่าระดับ +6 ใน
เดือนก่อนและระดับ —14 ในเดือน ส.ค.46 จากรายงานดังกล่าวข้างต้นทำให้คาดกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ถึง 2 ครั้งซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 5.0 หรือ 5.25 ภายในปีหน้า (รอยเตอร์)
2. การลงทุนของภาคธุรกิจในอังกฤษขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ลดลงจากไตรมาส
ก่อน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 26 ส.ค.47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานตัวเลขการลงทุนภาค
ธุรกิจของอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้มีจำนวน 29.168 พันล้านปอนด์หรือประมาณ 52.39 พันล้านดอลลาร์
สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียว
กันปีก่อน ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อไตรมาสและร้อยละ 7.2 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราการ
ขยายตัวต่อปีสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยคาดว่าเป็นผลมาจากการที่ธุรกิจให้ความสำคัญกับการชำระหนี้ที่ยังอยู่ใน
ระดับสูงมากกว่าการลงทุนเพิ่ม โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปีที่แล้ว การลงทุนในธุรกิจบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ
5.0 ในขณะที่ภาคการก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 (รอยเตอร์)
3. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือนก.ค.เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 4.9 รายงานจากโตเกียว
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในเดือนก.ค. 47 อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นที่ระดับ
ร้อยละ 4.9 จากระดับร้อยละ 4.6 เมื่อเดือนมิ.ย. มากกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะอยู่ที่
ร้อยละ 4.6 ทั้งนี้อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นได้ค่อยๆ ลดลงมานับตั้งแต่ที่เคยทำสถิติสูงสุดที่ระดับร้อยละ 5.5
เมื่อเดือนม.ค. 46 สำหรับการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่มีรายได้จากค่าจ้างซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดที่สำคัญของ
การใช้จ่ายส่วนบุคคลในเดือนเดียวกันนี้เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วแต่เมื่อเทียบกับ
เดือนที่แล้วกลับลดลงร้อยละ 2.5 โดยมีค่าใช้จ่ายครัวเรือนละ 335,623 เยนต่อเดือน ส่วนดัชนีแนวโน้มการ
บริโภคในเดือนก.ค. ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 71.0 (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) จากระดับ 76.6 เมื่อเดือน
มิ.ย. นอกจากนั้นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานในเดือนก.ค. ก็ลดลง
เช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.2 ลดลงมากกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่า
จะลดลงเพียงร้อยละ 0.1 ( รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากสิงคโปร์ เมื่อ 26 ส.ค.47 The Economic Development Board เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงานของ
สิงคโปร์ในเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์
ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย.47 ที่ลดลงร้อยละ 3.4 (ตัว
เลขหลังปรับฤดูกาล) และหากเทียบต่อปี ผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์
ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ทั้งนี้ ผลผลิตโรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือน ก.ค.เนื่องจากความต้องการสินค้าหมวด
อิเล็กทรอนิกส์ของโลกเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ก็ยังคงกังวลความต้องการสินค้าจากประเทศจีน
และ สรอ. จะชะลอตัวในครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลจีนที่เริ่มชะลอการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปประกอบกับการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.ที่พยายามต่อสู้กับภาวะ
เงินเฟ้อในประเทศในขณะนี้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจของสิงคโปร์ซึ่งมีจีดีพี 95 พัน ล. สรอ. เริ่มแสดงสัญญาณชะลอตัว
หลังจากขยายตัวในอัตราเลข 2 หลักต่อเนื่องกัน 4 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 46 เมื่อการระบาดของ
โรคไข้หวัด SARS สิ้นสุดลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ส.ค. 47 26 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.695 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.5061/41.7824 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.4375-1.6500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 617.07/22.23 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.95 37.05 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. S&P ปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้ไทยเพิ่มจาก BBB เป็น BBB+ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รมว.คลัง เปิดเผยว่า การที่เอสแอนด์พีปรับเรทติ้งให้ครั้งนี้ เพราะมองว่าไทยมีฐานะการคลังที่แข็งแกร่ง ทุน
สำรองระหว่างประเทศมั่นคง มีวินัยทางการคลัง รวมทั้งมีการบริหาร งปม.ที่ดี มีการลงทุนของต่างชาติเพิ่มถึง
4 แสนล้านบาท และพอใจต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินไทย รวมทั้งสนใจการบริหาร งปม. และวินัย
ทางการคลังมาก เพราะการจัดเก็บรายได้เกินเป้าทุกตัว ส่วนที่รัฐบาลจะทำ งปม.สมดุลในปี 48 นั้น มองว่า
เป็นเพียงกลไกหลักที่จัดไว้ให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ในการจัดการเศรษฐกิจเท่านั้น โดยคาด
ว่าไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดได้เป็นปีที่ 7 ติดต่อกันตั้งแต่ปี 41 ซึ่งดุลบัญชีเดินสะพัดของปี 47 ลดลงเหลือ
ร้อยละ 1.3 ของจีดีพี ทุนสำรองระหว่างประเทศมีจำนวน 42 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้รัฐบาลจะยังคงมี
ดุลเงินสดเกินดุลในปี งปม.47 เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และหนี้รัฐบาลสิ้นปีจะอยู่ที่ร้อยละ 28 ของจีดีพี ส่วน
การปรับขึ้นดอกเบี้ยอาร์พีร้อยละ 0.25 เป็นระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์โลก ส่งผลให้ตลาดทุน
ปรับตัวรับทันที และในอนาคตจะให้สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ติงไม่ควรเร่งเปลี่ยนระบบบัตรเครดิตจากแถบแม่เหล็กสู่ระบบชิพการ์ด นายสายัณห์
ปริวัตร ผอ.อาวุโสสายระบบการชำระเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับการใช้ชิพการ์ดให้เป็นไปตาม
ข้อกำหนดหรือมาตรฐานอีเอ็มวี (ยุโรเปย์-มาสเตอร์การ์ด-วีซ่า) เนื่องจากยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบ
เปลี่ยนระบบ เพราะมีค่าใช้จ่ายถึงหมื่นล้านบาท ซึ่งดูแล้วเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับความ
เสียหายที่เกิดจากการทุจริตหรือปลอมแปลงบัตรเครดิตในไทยที่มีจำนวนน้อยมาก และเป็นต้นทุนของ ธ.พาณิชย์
ที่จะผลักภาระให้ผู้บริโภค อีกทั้งขณะนี้มีระบบการให้ลูกค้าเปลี่ยนแปลงรหัส (พิน) ได้ด้วยตนเอง และมีระบบ
ตรวจสอบการปลองแปลงบัตรเครดิตที่ดีระดับหนึ่ง ปัจจุบันแม้แต่มาเลเซียเองที่มีการปลอมแปลงบัตรเครดิตมาก
ก็ยังใช้สองระบบ และบางประเทศก็ยังไม่ได้มีการใช้ระบบชิพการ์ด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในที่สุดไทยก็ต้อง
พัฒนาระบบบัตรชำระเงินไปสู่การใช้ชิพการ์ดหรือบัตรสมาร์ทการ์ด แต่คงต้องรอสักระยะหนึ่ง อย่างน้อยต้องใช้
เวลา 5 ปี ถึงจะเห็นอย่างเป็นรูปธรรม (โพสต์ทูเดย์)
3. ราคาน้ำมันส่งผลกระทบทำให้ดุลการค้าของไทยลดลง นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมช.
พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ค.) ว่า มีมูลค่า 54,464 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 53,754.8
ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.63 ทำให้การค้าเกินดุล 709.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การส่ง
ออกเดือน ก.ค.47 มีมูลค่า 8,188 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้ามีมูลค่า 8,111.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ดุลการค้าเกินดุล 76.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสินค้าทุกรายการปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นไก่สดแช่แข็งที่ไม่
สามารถส่งออกได้ เพราะไทยประสบปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด ส่วนการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งชะลอตัว
ลงหลังจากไทยถูก สรอ. จัดเก็บภาษีนำเข้าการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) ของ สรอ. อย่างไรก็ตาม
เชื่อว่าการที่ สรอ. ประกาศจัดเก็บอัตราภาษีนำเข้ากุ้งจากไทยในอัตราร้อยละ 6 ซึ่งต่ำกว่า 5 ประเทศ เช่น
จีน และเอกวาดอร์ จะทำให้ยอดส่งออกกุ้งของไทยเริ่มดีขึ้นในช่วงเดือน ต.ค. เป็นต้นไป ทั้งนี้ แม้ว่าราคา
น้ำมันในช่วงนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกมากนัก เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีคำสั่งซื้อล่วง
หน้าไปจนถึงสิ้นปี (เดลินิวส์, แนวหน้า)
4. ธ.ออมสินจัดระบบขายพันธบัตรออมทรัพย์ซื้อน้อยจองก่อนได้ก่อน นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร
ผอ.ธ.ออมสิน กล่าวถึงขั้นตอนการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ครั้งที่ 2 จำนวน 2 หมื่นล้านบาท ว่า จะแบ่ง
ระดับการจำหน่ายออกเป็น 4 ชั้น คือ ชั้นแรก วงเงิน 20,000 บาท ชั้นที่ 2 วงเงิน 20,001-50,000
บาท ชั้นที่ 3 วงเงิน 50,001-100,000 บาท และชั้นที่ 4 วงเงิน 101,000-500,000 บาท โดยจะ
พิจารณาผู้จองซื้อในชั้นที่ 1 เป็นอันดับแรก หากยังจำหน่ายไม่หมดก็จะพิจารณาผู้จองซื้อชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต่อ
ไป เป็นแบบขั้นบันได และการพิจารณาในแต่ละชั้นจะไม่ใช้การสุ่มเลือก แต่จะเป็นแบบมาก่อนได้ก่อน สำหรับผู้
จองซื้อมากกว่า 1 ใบ จะให้สิทธิ์เพียงแค่ 1 ใบ เลือกใบที่มีมูลค่าการจองซื้อสูงที่สุดเท่านั้น เชื่อว่าการ
จำหน่ายพันธบัตรครั้งนี้จะสามารถจำหน่ายได้หมดแน่นอน เนื่องจากมีประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
เพราะให้ผลตอบแทนสูง ทั้งนี้ จะไม่กำหนดว่าแต่ละสาขาได้รับจัดสรรเท่าไหร่ โดยจะพิจารณาให้กับผู้ที่เข้ามา
จองก่อนจะได้ไปก่อนไม่มีการสุ่มแต่อย่างใด (แนวหน้า, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของอังกฤษในเดือน ส.ค.47 สูงสุดในรอบ 6 ปี รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 26 ส.ค.47 ผลสำรวจแนวโน้มอุตสาหกรรมรายเดือนของอังกฤษแสดงให้เห็นว่าร้อยละ 21
ของบริษัทที่ถูกสำรวจรายงานว่ามียอดสั่งซื้อเข้ามายังบริษัทสูงกว่าปรกติในขณะที่ร้อยละ 19 รายงานว่ายอดสั่ง
ซื้อต่ำกว่าปรกติ ส่งผลให้ร้อยละของจำนวนบริษัทที่รายงานยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมากกว่าที่รายงานยอดสั่งซื้อลดลง
เป็น +2 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 41 ดีกว่าระดับ —7 (บริษัทที่รายงานยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่รายงาน
ยอดสั่งซื้อลดลง) ในเดือนก่อนมาก และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่
ที่ระดับ —5 โดยมีร้อยละของจำนวนโรงงานที่คาดว่าจะเพิ่มการผลิตสินค้าในอีก 3 เดือนข้างหน้ามากกว่าที่
คาดว่าจะลดการผลิตเป็น +19 สูงกว่าเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ +6 ในขณะที่มีร้อยละของจำนวนบริษัทที่คาดว่า
ราคาเฉลี่ยสินค้าจะเพิ่มขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้าสูงกว่าที่คาดว่าจะลดลงเป็น +11 สูงกว่าระดับ +6 ใน
เดือนก่อนและระดับ —14 ในเดือน ส.ค.46 จากรายงานดังกล่าวข้างต้นทำให้คาดกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ถึง 2 ครั้งซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 5.0 หรือ 5.25 ภายในปีหน้า (รอยเตอร์)
2. การลงทุนของภาคธุรกิจในอังกฤษขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ลดลงจากไตรมาส
ก่อน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 26 ส.ค.47 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานตัวเลขการลงทุนภาค
ธุรกิจของอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้มีจำนวน 29.168 พันล้านปอนด์หรือประมาณ 52.39 พันล้านดอลลาร์
สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียว
กันปีก่อน ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อไตรมาสและร้อยละ 7.2 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราการ
ขยายตัวต่อปีสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยคาดว่าเป็นผลมาจากการที่ธุรกิจให้ความสำคัญกับการชำระหนี้ที่ยังอยู่ใน
ระดับสูงมากกว่าการลงทุนเพิ่ม โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปีที่แล้ว การลงทุนในธุรกิจบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ
5.0 ในขณะที่ภาคการก่อสร้างและอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 (รอยเตอร์)
3. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นในเดือนก.ค.เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 4.9 รายงานจากโตเกียว
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่าในเดือนก.ค. 47 อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นที่ระดับ
ร้อยละ 4.9 จากระดับร้อยละ 4.6 เมื่อเดือนมิ.ย. มากกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะอยู่ที่
ร้อยละ 4.6 ทั้งนี้อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นได้ค่อยๆ ลดลงมานับตั้งแต่ที่เคยทำสถิติสูงสุดที่ระดับร้อยละ 5.5
เมื่อเดือนม.ค. 46 สำหรับการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่มีรายได้จากค่าจ้างซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดที่สำคัญของ
การใช้จ่ายส่วนบุคคลในเดือนเดียวกันนี้เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วแต่เมื่อเทียบกับ
เดือนที่แล้วกลับลดลงร้อยละ 2.5 โดยมีค่าใช้จ่ายครัวเรือนละ 335,623 เยนต่อเดือน ส่วนดัชนีแนวโน้มการ
บริโภคในเดือนก.ค. ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 71.0 (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) จากระดับ 76.6 เมื่อเดือน
มิ.ย. นอกจากนั้นอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานในเดือนก.ค. ก็ลดลง
เช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.2 ลดลงมากกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่า
จะลดลงเพียงร้อยละ 0.1 ( รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากสิงคโปร์ เมื่อ 26 ส.ค.47 The Economic Development Board เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงานของ
สิงคโปร์ในเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งสูงกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์
ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย.47 ที่ลดลงร้อยละ 3.4 (ตัว
เลขหลังปรับฤดูกาล) และหากเทียบต่อปี ผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์
ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ทั้งนี้ ผลผลิตโรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นในเดือน ก.ค.เนื่องจากความต้องการสินค้าหมวด
อิเล็กทรอนิกส์ของโลกเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ก็ยังคงกังวลความต้องการสินค้าจากประเทศจีน
และ สรอ. จะชะลอตัวในครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลจีนที่เริ่มชะลอการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปประกอบกับการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.ที่พยายามต่อสู้กับภาวะ
เงินเฟ้อในประเทศในขณะนี้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจของสิงคโปร์ซึ่งมีจีดีพี 95 พัน ล. สรอ. เริ่มแสดงสัญญาณชะลอตัว
หลังจากขยายตัวในอัตราเลข 2 หลักต่อเนื่องกัน 4 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 46 เมื่อการระบาดของ
โรคไข้หวัด SARS สิ้นสุดลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ส.ค. 47 26 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.695 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.5061/41.7824 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.4375-1.6500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 617.07/22.23 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,900/8,000 7,900/8,000 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.95 37.05 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-