การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2547 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 16,757.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่านำเข้า 11,539.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลง ร้อยละ 0.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 9,052.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 40.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2547 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีอัตราการขยายตัวสูงสุด ถึงร้อยละ 30.40
การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2547 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 4,251.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่าส่งออก 2,306.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 5,130.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อราคาของผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ บางตัว โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ซึ่งใน ไตรมาส 3 ปี 2547 ราคาจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 - 15 ของราคาขายปกติ ตามค่าระวางเรือที่นำเข้าสินค้า และต้นทุนการผลิตปุ๋ยยูเรียซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันมีราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างจริงจัง เพื่อการอนุรักษ์ดินและไม่ต้องเสียเงินตราต่างประเทศ อาจส่งผลกระทบให้การบริโภคปุ๋ยในประเทศมีแนวโน้ม ลดลง
สำหรับแนวโน้มครึ่งปีหลังของอุตสาหกรรมสีทาอาคาร ซึ่งมีมูลค่าตลาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดสีโดยรวมของประเทศ น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก อันเป็นผลจากนโยบายเรื่องการโอนบ้านและมาตรการภาครัฐที่ช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2547 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 16,757.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่านำเข้า 11,539.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลง ร้อยละ 0.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 9,052.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 40.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2547 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีอัตราการขยายตัวสูงสุด ถึงร้อยละ 30.40
การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2547 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 4,251.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ดมีมูลค่าส่งออก 2,306.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 41.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 5,130.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อราคาของผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ บางตัว โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ซึ่งใน ไตรมาส 3 ปี 2547 ราคาจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 - 15 ของราคาขายปกติ ตามค่าระวางเรือที่นำเข้าสินค้า และต้นทุนการผลิตปุ๋ยยูเรียซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันมีราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างจริงจัง เพื่อการอนุรักษ์ดินและไม่ต้องเสียเงินตราต่างประเทศ อาจส่งผลกระทบให้การบริโภคปุ๋ยในประเทศมีแนวโน้ม ลดลง
สำหรับแนวโน้มครึ่งปีหลังของอุตสาหกรรมสีทาอาคาร ซึ่งมีมูลค่าตลาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดสีโดยรวมของประเทศ น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก อันเป็นผลจากนโยบายเรื่องการโอนบ้านและมาตรการภาครัฐที่ช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-