กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กำหนดจัดประชุมหารือเรื่อง การจัดทำ Request List ของฝ่ายไทยเพื่อเสนอต่อญี่ปุ่นในการเจรจาอย่างเป็นทางการเพื่อจัดทำความตกลง JTEPA ครั้งที่ 4 ในวันที่ 23 สิงหาคม 2547 เวลา 13.30 —15.30 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยมีผู้แทนจากสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย และสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ญี่ปุ่นเสนอ offer list ล่าช้า offer list ที่ยื่นขาดไปร้อยละ 12 และมาตรฐานสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกรอบ WTO ญี่ปุ่นแยกเป็นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม 1) สินค้าอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่น offer มีจำนวน 72 รายการ โดยกำหนดให้รองเท้า และเครื่องหนังเป็นสินค้าอ่อนไหวของญี่ปุ่น 2) สินค้าเกษตรที่ญี่ปุ่น offer ประมาณร้อยละ 62 ส่วนสินค้าที่ exclude ร้อยละ 37 เป็นสินค้าข้าว แป้งมันสำปะหลัง ไก่ และน้ำตาล
2. สินค้าที่ฝ่ายไทย offer คือ เหล็ก ยานยนต์และชิ้นส่วน และปิโตรเคมี โดยกำหนด Fast Track ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ทันที ส่วน Normal Track และ Sensitive Track ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ภายใน 5 ปี
3. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ไทยพร้อมลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ทันที โดยขอให้เป็นแบบ Reciprocal พร้อมทั้งขอให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์แหล่งกำหนดสินค้าให้เรียบร้อยก่อนที่จะมีการเจรจา ส่วนรายการสินค้าสิ่งทอที่จัดอยู่ใน Normal Track พิกัด 56 และ 63 สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอขอกลับไปพิจารณาและแจ้งให้ทราบในภายหลัง
4. รองเท้า ญี่ปุ่นกำหนดโควต้ารองเท้าจำนวน 12 ล้านคู่ ขอให้เจรจาเพิ่มโควต้ารองเท้าให้กับไทย ในกรณีที่ไทยส่งรองเท้าออกเกินโควต้า ไทยจะต้องจ่ายภาษีในอัตราสูงมาก
5. สตาร์ชทำจากแป้งมันสำปะหลัง พิกัด 110814 ญี่ปุ่นกำหนดโควต้ารวม หากประเทศใดส่งออกเกินร้อยละ 20 จะต้องเสียภาษีในอัตราสูงมาก ขอให้ญี่ปุ่นลดภาษีโควต้าจากร้อยละ 25 เหลือร้อยละ 10 และขอขยายโควต้าจาก 150,000 เป็น 250,000 เมตริกตัน ส่วนแป้งแปรรูป พิกัด 350510 ภาษีร้อยละ 0 กำหนดโควต้าไม่เกินร้อยละ 20 หรือประมาณ 50,000 ตัน
6. เนื้อไก่ ไทยติดปัญหาไข้หวัดนก คาดว่าจะลดภาษีเป็นร้อยละ 0 ได้ใน 7 ปี ส่วนเนื้อไก่แปรรูป หากเจรจาลดภาษีเป็นร้อยละ 0 ได้ทันที ไทยจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ
ที่มา: หอการค้าไทย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ www.thaiechamber.com
-ดท-