ในปี 2547 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ในช่วงภาวะขาขึ้น โดยราคาของเม็ดพลาสติกในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ประมาณ 850 - 900 เหรียญสหรัฐต่อตัน อันเป็นผลจากความต้องการเม็ดพลาสติกในภูมิภาคเอเซียเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดหลักที่สำคัญของโลก การที่รัฐบาลจีนออกประกาศใช้มาตรการต่างๆ เพื่อผ่อนคลายความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีน ในเรื่องของการจำกัดการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และการลงทุนขนาดเล็กที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การผลิตเม็ด PVC ด้วย Acethylene , หน่วยผลิต PE กำลังการผลิตน้อยกว่า 2,000 ตันต่อปี เป็นต้น ส่งผลให้ความต้องการนำเข้าเม็ดพลาสติกมากขึ้นทุกปี
ผู้ประกอบการยังคงขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เช่น บมจ. เอ็นพีซี และ บมจ. ปตท. ได้ร่วมทุนในโครงการผลิตคิวมีน / ฟีนอล กำลังการผลิต 125 พันตันต่อปี ซึ่งเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนยานยนต์ บมจ. เอ็นพีซีอยู่ในระหว่างการศึกษาโครงการขยายโรงงานผลิตเอทิลีนแห่งใหม่ รวมทั้งโรงงานผลิต LDPE, LLDPE กำลังการผลิตชนิดละ 300 พันตันต่อปี และบมจ. ทีโอซี อยู่ในระหว่างการเลือกเทคโนโลยีการผลิตสาร MEG ซึ่งเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอและบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
การผลิต
ปิโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง เพื่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ให้สามารถผลิตสินค้าที่ต้นทุนต่ำที่สุด (Economy of Scale) ในปัจจุบัน โรงงานมีการใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มที่ ยกเว้น บมจ. เอ็นพีซี ที่มี Utilization Rate ประมาณร้อยละ 75 ในการผลิตช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม เพื่อปิดซ่อมบำรุง นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคม บมจ. ทีโอซี และ บ. ระยอง โอเลฟินส์ ได้ทำการปิดซ่อมบำรุง Ethylene Cracker ขนาดกำลังการผลิต 385 และ 800 พันตันต่อปี ตามลำดับ
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2547 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 1,546.86 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 10,347.95 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่านำเข้า 12,587.01 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเกาหลีใต้
เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2547 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นมีอัตราการขยายตัวสูงสุด ถึงร้อยละ 85.39
เมื่อพิจารณาเม็ดพลาสติกหลักของประเทศไทย พบว่า ไตรมาส 2 ปี 2547 มีการนำเข้าเม็ดพลาสติก PP ในปริมาณมากที่สุดถึง 30,457 ตัน แหล่งนำเข้า PP ที่สำคัญได้แก่ จีน (รวมฮ่องกง) เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นต้น ส่วนเม็ดพลาสติก HDPE ก็มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2547 การส่งออกปิโตรขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,181.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 3,792.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่าส่งออก 27,208.04 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.15 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2547 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางมีอัตราการขยายตัวสูงสุด ถึงร้อยละ 45.24
ภาพรวมการส่งออกเม็ดพลาสติกในไตรมาส 2 ปี 2547 พบว่า การส่งออกเม็ดพลาสติกหลักของประเทศมีปริมาณรวม 604,487 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเม็ดพลาสติกที่มีปริมาณส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ PE, PP และ PVC ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นประเทศจีน (รวมฮ่องกง)
ราคา
ไตรมาส 2 ปี 2547 ราคาโอเลฟินส์และโพลีโอเลฟินส์ในประเทศมีความผันผวน ราคาเฉลี่ยเม็ดพลาสติกในเดือนเมษายนปรับลดจากราคาในเดือนมีนาคม ก่อนปรับเพิ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนาย โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติกกลุ่มโอเลฟินส์ (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนมิถุนายน 2547 ของ LDPE, HDPE และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 38.16 , 35.55 และ 35.40 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยในเดือนมิถุนายน 2546 ที่ระดับ 37.06 , 33.89 และ 33.30 ตามลำดับ
แนวโน้มในอนาคต
ในช่วงไตรมาส 2 รัฐบาลไทยและออสเตรเลียได้จัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (TAFTA) คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่า จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าเนื่องจาก การผลิตเม็ดพลาสติกในประเทศออสเตรเลียไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าสูง อีกทั้งมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกอันดับ 7 ของไทย
ส่วนเขตการค้าเสรีไทย-อินเดียนั้น จะเลื่อนการบังคับใช้จากวันที่ 1 มีนาคม 2547 เป็นวันที่ 1 กันยายน 2547 โดยเม็ดพลาสติกเป็นหนึ่งในสินค้าลดภาษีเบื้องต้น (Early Harvest) ซึ่งจะต้องทยอยลดภาษีลงร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2547 ลดลงร้อยละ 75 ในปี พ.ศ. 2548 และลดลงร้อยละ 100 ในปี พ.ศ. 2549 คาดว่า การลดภาษีจะทำให้โอกาสในการส่งออกของผู้ผลิตปิโตรเคมีไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเม็ดพลาสติก LDPE, LLDPE, PVC และ PP ซึ่งอินเดียมีกำลังการผลิตน้อยกว่าความต้องการในประเทศ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
ผู้ประกอบการยังคงขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เช่น บมจ. เอ็นพีซี และ บมจ. ปตท. ได้ร่วมทุนในโครงการผลิตคิวมีน / ฟีนอล กำลังการผลิต 125 พันตันต่อปี ซึ่งเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนยานยนต์ บมจ. เอ็นพีซีอยู่ในระหว่างการศึกษาโครงการขยายโรงงานผลิตเอทิลีนแห่งใหม่ รวมทั้งโรงงานผลิต LDPE, LLDPE กำลังการผลิตชนิดละ 300 พันตันต่อปี และบมจ. ทีโอซี อยู่ในระหว่างการเลือกเทคโนโลยีการผลิตสาร MEG ซึ่งเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอและบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
การผลิต
ปิโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง เพื่อสร้างโรงงานขนาดใหญ่ให้สามารถผลิตสินค้าที่ต้นทุนต่ำที่สุด (Economy of Scale) ในปัจจุบัน โรงงานมีการใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มที่ ยกเว้น บมจ. เอ็นพีซี ที่มี Utilization Rate ประมาณร้อยละ 75 ในการผลิตช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม เพื่อปิดซ่อมบำรุง นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคม บมจ. ทีโอซี และ บ. ระยอง โอเลฟินส์ ได้ทำการปิดซ่อมบำรุง Ethylene Cracker ขนาดกำลังการผลิต 385 และ 800 พันตันต่อปี ตามลำดับ
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2547 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 1,546.86 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 10,347.95 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่านำเข้า 12,587.01 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเกาหลีใต้
เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2547 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นมีอัตราการขยายตัวสูงสุด ถึงร้อยละ 85.39
เมื่อพิจารณาเม็ดพลาสติกหลักของประเทศไทย พบว่า ไตรมาส 2 ปี 2547 มีการนำเข้าเม็ดพลาสติก PP ในปริมาณมากที่สุดถึง 30,457 ตัน แหล่งนำเข้า PP ที่สำคัญได้แก่ จีน (รวมฮ่องกง) เวียดนาม และอินโดนีเซีย เป็นต้น ส่วนเม็ดพลาสติก HDPE ก็มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการส่งออกไตรมาส 2 ปี 2547 การส่งออกปิโตรขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,181.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 3,792.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเม็ดพลาสติกมีมูลค่าส่งออก 27,208.04 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.15 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2547 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางมีอัตราการขยายตัวสูงสุด ถึงร้อยละ 45.24
ภาพรวมการส่งออกเม็ดพลาสติกในไตรมาส 2 ปี 2547 พบว่า การส่งออกเม็ดพลาสติกหลักของประเทศมีปริมาณรวม 604,487 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเม็ดพลาสติกที่มีปริมาณส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ PE, PP และ PVC ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นประเทศจีน (รวมฮ่องกง)
ราคา
ไตรมาส 2 ปี 2547 ราคาโอเลฟินส์และโพลีโอเลฟินส์ในประเทศมีความผันผวน ราคาเฉลี่ยเม็ดพลาสติกในเดือนเมษายนปรับลดจากราคาในเดือนมีนาคม ก่อนปรับเพิ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม และเดือนมิถุนาย โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติกกลุ่มโอเลฟินส์ (ราคาเฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนมิถุนายน 2547 ของ LDPE, HDPE และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 38.16 , 35.55 และ 35.40 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยในเดือนมิถุนายน 2546 ที่ระดับ 37.06 , 33.89 และ 33.30 ตามลำดับ
แนวโน้มในอนาคต
ในช่วงไตรมาส 2 รัฐบาลไทยและออสเตรเลียได้จัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (TAFTA) คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่า จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าเนื่องจาก การผลิตเม็ดพลาสติกในประเทศออสเตรเลียไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าสูง อีกทั้งมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ออสเตรเลียเป็นตลาดส่งออกอันดับ 7 ของไทย
ส่วนเขตการค้าเสรีไทย-อินเดียนั้น จะเลื่อนการบังคับใช้จากวันที่ 1 มีนาคม 2547 เป็นวันที่ 1 กันยายน 2547 โดยเม็ดพลาสติกเป็นหนึ่งในสินค้าลดภาษีเบื้องต้น (Early Harvest) ซึ่งจะต้องทยอยลดภาษีลงร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2547 ลดลงร้อยละ 75 ในปี พ.ศ. 2548 และลดลงร้อยละ 100 ในปี พ.ศ. 2549 คาดว่า การลดภาษีจะทำให้โอกาสในการส่งออกของผู้ผลิตปิโตรเคมีไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเม็ดพลาสติก LDPE, LLDPE, PVC และ PP ซึ่งอินเดียมีกำลังการผลิตน้อยกว่าความต้องการในประเทศ
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-