อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิต จะใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 34.18 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 6.04 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.52 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.93 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.30 และ 1.58 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2547 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 70.57 ล้านตาราง เมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 3.74 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.06 และ 2.91 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตยังคงขยายตัวตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะชะลอตัวลงจากภาวะการขยายตัวที่ร้อนแรงเข้าสู่ภาวะปกติ จากมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และการยกเลิกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐที่เริ่มสะท้อนภาพที่ชัดเจนขึ้น เนื่องจากกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ถูกดึงไปใช้ในช่วงปลายปี 2546 ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างทั้ง กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์เริ่มชะลอตัวลง ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ย ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตมากขึ้นด้วย
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 36.82 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.03 ล้านชิ้น เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 8.60 และ 3.68 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาล ที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.99 และ 13.35 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2547 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 77.11 ล้านตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.10 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.74 และ 19.46 ตามลำดับ ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกยังคงขยายตัว ตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะชะลอตัวลงเล็กน้อยจากภาวะการขยายตัวที่ร้อนแรงเข้าสู่ภาวะปกติ
การแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งจะเห็นได้จากการจัดงานสถาปนิก' 47 ที่ผู้ประกอบการเกือบทุกบริษัทขยายพื้นที่จัดงาน และเปิดตัวสินค้า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความโดดเด่นทั้งด้านการออกแบบ และการเพิ่มมูลค่าในตัวสินค้า โดยจะเน้นตลาดระดับบนมากขึ้น นอกจากนี้ยังเน้นความหลากหลายของสินค้า การขยายพื้นที่โชว์รูม และบริการหลังการขายมากขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีมูลค่ารวม 130.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 3.70 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวลดลง ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์หลัก แต่จะเป็นผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.05 โดยทุกผลิตภัณฑ์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น ของชำร่วยเครื่องประดับที่มีอัตราการขยายตัวลดลงจากการส่งออกทุกตลาด
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ไต้หวัน เยอรมนี ฮ่องกง และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2547 มีมูลค่ารวม 265.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.07 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร โดยผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาด สหภาพยุโรป ตลาดญี่ปุ่น และตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และตลาดญี่ปุ่น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาสูง ที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนนำเข้าสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการผลิตในประเทศ โดยนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน เยอรมนี อิตาลี สหรัฐอเมริกา สเปน ไต้หวัน และประเทศในกลุ่มอาเซียน
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีมูลค่า 54.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.69 และ 55.24 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2547 มีมูลค่า 103.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.71
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงมีการขยายตัวตามความต้องการของตลาดในประเทศ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะเป็นการขยายตัวที่ชะลอตัวลงจากการขยายตัวที่ร้อนแรงเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และการยกเลิกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐที่เริ่มสะท้อนภาพที่ชัดเจนขึ้น เนื่องจากกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ถูกดึงไปใช้ในช่วงปลายปี 2546 ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์เริ่มชะลอตัวลง และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลให้การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตมากขึ้นด้วย
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้ง เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง สำหรับแนวโน้มการส่งออกอาจชะลอตัวลงจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซรามิกได้
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 34.18 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 6.04 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.52 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 1.93 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.30 และ 1.58 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2547 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 70.57 ล้านตาราง เมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 3.74 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.06 และ 2.91 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตยังคงขยายตัวตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะชะลอตัวลงจากภาวะการขยายตัวที่ร้อนแรงเข้าสู่ภาวะปกติ จากมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และการยกเลิกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐที่เริ่มสะท้อนภาพที่ชัดเจนขึ้น เนื่องจากกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ถูกดึงไปใช้ในช่วงปลายปี 2546 ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างทั้ง กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์เริ่มชะลอตัวลง ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ย ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตมากขึ้นด้วย
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 36.82 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.03 ล้านชิ้น เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 8.60 และ 3.68 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาล ที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.99 และ 13.35 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2547 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 77.11 ล้านตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.10 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.74 และ 19.46 ตามลำดับ ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกยังคงขยายตัว ตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะชะลอตัวลงเล็กน้อยจากภาวะการขยายตัวที่ร้อนแรงเข้าสู่ภาวะปกติ
การแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งจะเห็นได้จากการจัดงานสถาปนิก' 47 ที่ผู้ประกอบการเกือบทุกบริษัทขยายพื้นที่จัดงาน และเปิดตัวสินค้า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความโดดเด่นทั้งด้านการออกแบบ และการเพิ่มมูลค่าในตัวสินค้า โดยจะเน้นตลาดระดับบนมากขึ้น นอกจากนี้ยังเน้นความหลากหลายของสินค้า การขยายพื้นที่โชว์รูม และบริการหลังการขายมากขึ้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีมูลค่ารวม 130.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 3.70 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวลดลง ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์หลัก แต่จะเป็นผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.05 โดยทุกผลิตภัณฑ์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น ของชำร่วยเครื่องประดับที่มีอัตราการขยายตัวลดลงจากการส่งออกทุกตลาด
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ไต้หวัน เยอรมนี ฮ่องกง และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2547 มีมูลค่ารวม 265.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.07 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร โดยผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาด สหภาพยุโรป ตลาดญี่ปุ่น และตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และตลาดญี่ปุ่น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาสูง ที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนนำเข้าสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการผลิตในประเทศ โดยนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน เยอรมนี อิตาลี สหรัฐอเมริกา สเปน ไต้หวัน และประเทศในกลุ่มอาเซียน
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2547 มีมูลค่า 54.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.69 และ 55.24 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2547 มีมูลค่า 103.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.71
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงมีการขยายตัวตามความต้องการของตลาดในประเทศ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะเป็นการขยายตัวที่ชะลอตัวลงจากการขยายตัวที่ร้อนแรงเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และการยกเลิกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐที่เริ่มสะท้อนภาพที่ชัดเจนขึ้น เนื่องจากกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ถูกดึงไปใช้ในช่วงปลายปี 2546 ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์เริ่มชะลอตัวลง และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลให้การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตมากขึ้นด้วย
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้ง เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง สำหรับแนวโน้มการส่งออกอาจชะลอตัวลงจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และจากอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซรามิกได้
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-พห-