ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ตลาดหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 46.18 บาท/กิโลกรัม
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้มีผลผลิตยางออกสู่ตลาดลดลง เนื่องจากมีฝนตกชุกและเกิดเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้ากรีดยางได้ ส่งผลให้พ่อค้าเสนอซื้อยางในราคาที่สูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.76 บาท สูงขึ้นจาก 45.69 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.07 บาท หรือร้อยละ 0.15
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.26 บาท สูงขึ้นจาก 45.19 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.07 บาท หรือร้อยละ 0.15
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.81 บาท สูงขึ้นจาก 44.70 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.11 บาท หรือร้อยละ 0.25
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.11 บาท สูงขึ้นจาก 44.03 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.08 บาท หรือร้อยละ 0.18
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.33 บาท สูงขึ้นจาก 43.16 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.17 บาท หรือร้อยละ 0.39
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.16 บาท ลดลงจาก 44.19 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.03 บาท หรือร้อยละ 0.07
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.67 บาท สูงขึ้นจาก 22.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.17 บาท หรือร้อยละ 0.76
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.27 บาท สูงขึ้นจาก 20.11 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.16 บาท หรือร้อยละ 0.80
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.16บาท สูงขึ้นจาก 42.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.16 บาท หรือร้อยละ 0.38
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกันยายน 2547
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.90 บาท ลดลงจาก 53.04 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือร้อยละ 0.26
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.75 บาท ลดลงจาก 51.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือร้อยละ 0.27
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.04 บาท สูงขึ้นจาก 39.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือร้อยละ 0.38
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.65 บาท ลดลงจาก 52.79 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือร้อยละ 0.27
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท ลดลงจาก 51.64 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือร้อยละ 0.27
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.79 บาท สูงขึ้นจาก 39.64 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือร้อยละ 0.38
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
อุตสาหกรรมยางสุมิโตโมของญี่ปุ่นซึ่งผลิตยางล้อยี่ห้อ Dunlop และ Goodyear มีแผนจะขยายการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ในช่วงปี 2547 - 2548 เพื่อสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางล้อสำหรับรถประเภทซีดานและรถขนาดเล็กในตลาดอเมริกาเหนือ โดยจะลงทุนประมาณ 45.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการสร้างโรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวน 6 โรง
จีนเป็นประเทศผู้ใช้ยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก และนำเข้าจากไทยมากที่สุดในช่วง 7 เดือนแรกของปี (มค. - กค. 2547) จีนนำเข้ายางธรรมชาติทั้งสิ้น 693,883 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.3 โดยนำเข้าจากไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และอื่น ๆ ร้อยละ 54 , 23 , 13 , 3 และ 7 ของการนำเข้าทั้งหมดตามลำดับ
อนึ่ง ในปี 2547 คาดว่าราคายางยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่ารัฐบาลจีนจะมีนโยบายชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อก็ตาม แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลดจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม เนื่องจาก อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงมีความต้องการยางล้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไทยต้องตระหนักถึงการปรับปรุงคุณภาพยางแท่งให้อยู่ในมาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถรักษาตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยได้
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้า ส่งมอบเดือนกันยายน 2547
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 214.88 เซนต์สิงคโปร์ (51.68 บาท) ลดลงจาก 215.13 เซนต์สิงคโปร์ (51.61 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.25 เซนต์สิงคโปร์ หรือร้อยละ 0.12
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.06 เซนต์สหรัฐ (50.86 บาท) สูงขึ้นจาก 122.50 เซนต์สหรัฐ (50.62 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.56 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.46
ตลาดลอนดอนเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.06 เพนนี (82.79 บาท) สูงขึ้นจาก 109.40 เพนนี (82.59 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.66 เพนนี หรือร้อยละ 1.52
ตลาดโตเกียวเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.53 เยน (55.01 บาท) สูงขึ้นจาก 142.65 เยน (53.16 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.88 เยน หรือร้อยละ 2.72
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 23-29 สิงหาคม 2547--
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้มีผลผลิตยางออกสู่ตลาดลดลง เนื่องจากมีฝนตกชุกและเกิดเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้ากรีดยางได้ ส่งผลให้พ่อค้าเสนอซื้อยางในราคาที่สูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.76 บาท สูงขึ้นจาก 45.69 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.07 บาท หรือร้อยละ 0.15
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.26 บาท สูงขึ้นจาก 45.19 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.07 บาท หรือร้อยละ 0.15
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.81 บาท สูงขึ้นจาก 44.70 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.11 บาท หรือร้อยละ 0.25
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.11 บาท สูงขึ้นจาก 44.03 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.08 บาท หรือร้อยละ 0.18
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.33 บาท สูงขึ้นจาก 43.16 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.17 บาท หรือร้อยละ 0.39
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.16 บาท ลดลงจาก 44.19 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.03 บาท หรือร้อยละ 0.07
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.67 บาท สูงขึ้นจาก 22.50 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.17 บาท หรือร้อยละ 0.76
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.27 บาท สูงขึ้นจาก 20.11 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.16 บาท หรือร้อยละ 0.80
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.16บาท สูงขึ้นจาก 42.00 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.16 บาท หรือร้อยละ 0.38
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกันยายน 2547
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.90 บาท ลดลงจาก 53.04 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือร้อยละ 0.26
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.75 บาท ลดลงจาก 51.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือร้อยละ 0.27
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.04 บาท สูงขึ้นจาก 39.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือร้อยละ 0.38
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.65 บาท ลดลงจาก 52.79 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือร้อยละ 0.27
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท ลดลงจาก 51.64 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือร้อยละ 0.27
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.79 บาท สูงขึ้นจาก 39.64 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.15 บาท หรือร้อยละ 0.38
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
อุตสาหกรรมยางสุมิโตโมของญี่ปุ่นซึ่งผลิตยางล้อยี่ห้อ Dunlop และ Goodyear มีแผนจะขยายการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ในช่วงปี 2547 - 2548 เพื่อสนองความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางล้อสำหรับรถประเภทซีดานและรถขนาดเล็กในตลาดอเมริกาเหนือ โดยจะลงทุนประมาณ 45.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการสร้างโรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวน 6 โรง
จีนเป็นประเทศผู้ใช้ยางธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก และนำเข้าจากไทยมากที่สุดในช่วง 7 เดือนแรกของปี (มค. - กค. 2547) จีนนำเข้ายางธรรมชาติทั้งสิ้น 693,883 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.3 โดยนำเข้าจากไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และอื่น ๆ ร้อยละ 54 , 23 , 13 , 3 และ 7 ของการนำเข้าทั้งหมดตามลำดับ
อนึ่ง ในปี 2547 คาดว่าราคายางยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง แม้ว่ารัฐบาลจีนจะมีนโยบายชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อก็ตาม แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลดจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม เนื่องจาก อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงมีความต้องการยางล้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ไทยต้องตระหนักถึงการปรับปรุงคุณภาพยางแท่งให้อยู่ในมาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถรักษาตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยได้
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้า ส่งมอบเดือนกันยายน 2547
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 214.88 เซนต์สิงคโปร์ (51.68 บาท) ลดลงจาก 215.13 เซนต์สิงคโปร์ (51.61 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.25 เซนต์สิงคโปร์ หรือร้อยละ 0.12
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.06 เซนต์สหรัฐ (50.86 บาท) สูงขึ้นจาก 122.50 เซนต์สหรัฐ (50.62 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.56 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.46
ตลาดลอนดอนเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.06 เพนนี (82.79 บาท) สูงขึ้นจาก 109.40 เพนนี (82.59 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.66 เพนนี หรือร้อยละ 1.52
ตลาดโตเกียวเสนอซื้อขายล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.53 เยน (55.01 บาท) สูงขึ้นจาก 142.65 เยน (53.16 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 3.88 เยน หรือร้อยละ 2.72
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 23-29 สิงหาคม 2547--
-พห-