สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการซื้อขายสุกรยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ความต้องการบริโภคเริ่มชะลอตัวเนื่องจากกำลังซื้อที่มีไม่มาก แต่ในช่วงสัปดาห์หน้านี้จะเข้าสู่เทศกาลสารทจีนคาดว่าความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น ส่วนราคาลูกสุกรยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงแสดงว่าความต้องการเลี้ยงยังมีอยู่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 43.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 43.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 40.93 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.92 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 49.95 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 900 บาท (บวกลบ 42 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.82 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.50 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.98
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อเกษตรกรขายได้โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากจะเข้าสู่เทศกาลสารทจีนในสัปดาห์หน้านี้ ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ประกอบกับในช่วงนี้ปริมาณผลผลิตไก่เนื้อลดลงเนื่องจากในบางพื้นที่เป็นพื้นที่กำลังควบคุมยังเลี้ยงไก่ไม่ได้ แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.47 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.93 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 28.31 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.74 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.69 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 32.87 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.33 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 36.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 19.67
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากจะเข้าสู่เทศกาลสารทจีนในสัปดาห์หน้านี้ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 246 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 241 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 260 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 263 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 239 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 250 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 259 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 263 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 267 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 245 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 285 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 244 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 288 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 324 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 51.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.47 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 59.97 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.30 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.63 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 23-29 สิงหาคม 2547--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการซื้อขายสุกรยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ความต้องการบริโภคเริ่มชะลอตัวเนื่องจากกำลังซื้อที่มีไม่มาก แต่ในช่วงสัปดาห์หน้านี้จะเข้าสู่เทศกาลสารทจีนคาดว่าความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น ส่วนราคาลูกสุกรยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงแสดงว่าความต้องการเลี้ยงยังมีอยู่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 43.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 43.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 40.93 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.92 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 49.95 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 900 บาท (บวกลบ 42 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.82 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.50 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.98
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อเกษตรกรขายได้โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากจะเข้าสู่เทศกาลสารทจีนในสัปดาห์หน้านี้ ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ประกอบกับในช่วงนี้ปริมาณผลผลิตไก่เนื้อลดลงเนื่องจากในบางพื้นที่เป็นพื้นที่กำลังควบคุมยังเลี้ยงไก่ไม่ได้ แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.47 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.93 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 28.31 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.74 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.69 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 32.87 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.33 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 36.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 19.67
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากจะเข้าสู่เทศกาลสารทจีนในสัปดาห์หน้านี้ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 246 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 241 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 260 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 263 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 239 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 250 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 259 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 263 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 267 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 245 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 285 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 244 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 288 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 324 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 51.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.47 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 39.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 59.97 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.30 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 38.63 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 23-29 สิงหาคม 2547--
-พห-