ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันเกณฑ์การตั้งสำรองเอ็นพีแอลไม่กระทบฐานะการเงิน ธพ. นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง การที่ ธปท.ส่งหนังสือไปยัง ธพ. เมื่อวันที่ 26
ส.ค.ที่ผ่านมา โดยกำหนดให้กันสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่มีอายุมากกว่า 2-4 ปีเพิ่มขึ้น
และลดมูลค่าหลักประกันที่นำมาหักมูลหนี้ก่อนการกันสำรองหนี้เอ็นพีแอลนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะของ ธพ.
เนื่องจากมูลค่าที่ต้องกันสำรองเพิ่มเป็นเม็ดเงินที่ไม่มากและก่อนที่จะนำข้อกำหนดที่ปรับปรุงใหม่ออกใช้ ธปท.
ได้ชี้แจงไปยังสถาบันการเงินแล้ว ทำให้มีการเตรียมพร้อมที่จะสำรองเพิ่มเพื่อรองรับเกณฑ์ใหม่ และมูลค่าที่
ต้องกันสำรองเพิ่มก็เป็นเงินจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ธพ.ได้มีการระมัดระวังในการปล่อยสิน
เชื่ออยู่แล้ว เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเอ็นพีแอล (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์)
2.การเคลื่อนไหวของเงินทุนไหลออกอยู่ในสภาพปกติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า กรณี นรม.แต่งตั้ง ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รอง นรม.ให้ดูแลความเคลื่อนไหวเรื่องเงินทุนไหล
ออกต่างประเทศว่า ขณะนี้การเคลื่อนย้ายเงินทุนเรียบร้อยดี โดยเงินทุนไหลออกน้อยมาก ซึ่งเป็นสภาพปกติที่
เงินทุนจะไหลเข้าออกตามส่วนต่างของดอกเบี้ย แม้ว่าจะมีเงินทุนไหลออกบ้างจากตลาดทุน แต่ยังมีเงินไหล
เข้าจากเงินลงทุนโดยตรงที่สามารถชดเชยกันได้ ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดครึ่งแรกของปี 47 ยังเกินดุลประมาณ
2.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สะท้อนว่ามีเงินไหลเข้ามากกว่าออก ซึ่งหากมีเงินไหลออกมากกว่าการเกินดุล
บัญชีเดินสะพัดจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่จะอ่อนค่าลง (มติชน, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ก.คลังปรับเป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจไทยลดลงเหลือร้อยละ 6.5-7.0 ที่ปรึกษา รมว.
คลัง (นายโอฬาร ไชยประวัติ) ในฐานะประธานคณะทำงานนโยบายเศรษฐกิจ ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลัง
ได้ปรับเป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 47 เป็นครั้งที่ 3 ลดลงเหลือร้อยละ 6.5-7.0 จากเดิมที่คาด
การณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 7.1 เมื่อเดือน พ.ค.47 และระดับร้อยละ 7.7-8.1 เมื่อเดือน ก.พ.47 เนื่องจาก
เศรษฐกิจในไตรมาสแรกลดลง และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ
สรอ. การชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และไข้หวัดนกรอบใหม่
อย่างไรก็ตาม จากการที่ประเทศคู่ค้าหลักของไทยทั้ง 11 ประเทศมีภาวะเศรษฐกิจที่ดี โดยคาดว่าทั้งปีจะ
ขยายตัวในระดับร้อยละ 5 การอ่อนค่าของเงินบาททำให้การส่งออกดีขึ้น รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายเงินงบ
ประมาณกลางปี การขยายตัวของสินเชื่อที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 11.4 การตรึงราคาน้ำมัน และการจ้าง
งานที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 670,000-710,000 คน จึงทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ชะลอตัวลงมาก (เดลินิวส์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
4. สมาชิกอาเซียน 13 ชาติสนับสนุนให้ใช้พลังงานอื่นแทนน้ำมัน นรม.เปิดเผยในการเป็นประธาน
ในพิธีเปิดการประชุมเรื่อง “เชื้อเพลิงชีวภาพ : ความท้าทายทั้งหลายสำหรับอนาคตของอาเซียน” เมื่อ 30
ส.ค.47 ว่า ได้ร่วมหารือกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 13 ชาติ อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมนี บราซิล จีน เกาหลี
เป็นต้น ว่า รัฐบาลกำหนดให้นโยบายการผลิตพลังงานทดแทนน้ำมันเป็นวาระแห่งชาติ โดยใช้เอทานอล
พลังงานชีวภาพ หรือ ไบโอดีเซล ทันทีเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีแหล่งพลังงานที่พอเพียง ซึ่ง
รัฐบาลพร้อมที่จะส่งเสริมอย่างจริงจัง เพื่อพยายามทดแทนการใช้พลังงานน้ำมันในประเทศให้เร็วที่สุดด้วย ด้าน
รมว.ก.อุตสาหกรรม กล่าวว่าในสัปดาห์หน้าจะเรียกบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทุกค่ายเข้าหารือในความเป็นไปได้ใน
การผลิตรถยนต์ที่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ (เบนซิลผสมเอทานอล) ที่มีส่วนผสมของเอทานอล เพิ่มขึ้นจากร้อยละ
10 เป็นร้อยละ 20 ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของการใช้เอทานอลมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลได้ตั้งเป้าในการผลิต
เอทานอลให้ได้ 3 ล้านลิตรต่อวันในปี 49 ซึ่งแนวทางในการนำน้ำตาลไปผลิตเอทานอล จะทำให้ปริมาณของ
น้ำตาลหายไปจากตลาดได้ถึง 3 ล้านตันในปี 49 ผลักดันให้ราคาน้ำตาลทั่วโลกสูงขึ้น อันเกิดผลดีต่อผู้ผลิตอ้อย
ในประเทศไทยได้ในอนาคต (บ้านเมือง, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายของผู้บริโภคสรอ.ในเดือนก.ค. 47 เริ่มฟื้นตัว รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 30
ส.ค. 47 ก.พาณิชย์สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือนก.ค. 47 ผู้บริโภคสรอ.ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เพิ่มขึ้น
อย่างมากจากเดือนที่แล้วที่ลดลงร้อยละ 0.2 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) โดยตัวเลขเบื้องต้นของเดือนมิ.ย.นั้น
ลดลดลงถึงร้อยละ 0.7 ทำให้ความวิตกจากตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยในเดือนมิ.ย. ที่สร้างความผิดหวังได้
เริ่มผ่อนคลายลง นอกจากนั้นตัวเลขของเดือนก.ค.ยังสร้างความหวังว่า เศรษฐกิจ สรอ.จะฟื้นตัวจากจุดที่
อ่อนตัวเมื่อเร็วๆนี้ ในขณะที่รายได้ส่วนบุคคลในเดือนก.ค.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 น้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้หลัง
จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเดือนก่อน ทั้งนี้การที่รายได้ส่วนบุคคลในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นน้อยมากนับตั้งแต่
เดือนพ.ย. 45 ได้สร้างความประหลาดใจให้กับบรรดานักเศรษฐศาสตร์ โดยหัวหน้าเศรษฐกรจาก BMO
Financial ในโตรอนโตกล่าวว่า การบริโภคเป็นไปตามคาดซึ่งเป็นข่าวดีที่การใช้จ่ายผู้บริโภคฟื้นตัวแต่ก็
ประหลาดใจที่รายได้ส่วนบุคคลกลับเพิ่มขึ้นน้อย ก่อนหน้านั้นผลการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าการบริโภคจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และรายได้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากที่ยอดค้าปลีก และยอดขายรถยนต์เมื่อเดือนที่
แล้วเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 หลังจากที่เศรษฐกิจได้
ชะลอตัวในไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวอย่างเบาบางของรายได้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์
ส่วนหนึ่งยังคงมีความกังวลต่อการใช้จ่ายในอนาคต ( รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค.47 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน รายงานจาก
โตเกียวเมื่อ 31 ส.ค.47 The Ministry of Economy, Trade and Industry เปิดเผยว่า ผลผลิต
อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค.47 ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มิ.ย.47 ซึ่งลด
ลงร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรม
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 อนึ่ง The Ministry of Economy, Trade and Industry ประเมินว่าผลผลิต
อุตสาหกรรมมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลจากการคาดหมายตัวเลขผลผลิตโรงงานซึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก
ของผลผลิตอุตสาหกรรมว่าอาจจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และ 0.6 ในเดือน ส.ค. และ ก.ย. ตามลำดับ นอก
จากนี้ ผลการสำรวจ Purchasing Managers Index (PMI) ซึ่งเป็นดัชนีสำหรับชี้วัดการดำเนินกิจกรรม
ของภาคอุตสาหกรรมในเบื้องต้น ที่ทำการสำรวจโดย Reuters, Nomura และ JMMA พบว่า ดัชนีลดลงที่
ระดับ 54.9 ในเดือน ส.ค.47 จากระดับ 55.4 ในเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าสำเร็จรูปยังคงไม่
เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสแรกของปี 47 (รอยเตอร์)
3.การส่งออกเดือนส.ค.47ของเกาหลีใต้มีแนวโน้มชะลอตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่3 รายงาน
จากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 30 ส.ค.47 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความเห็น
ของนักเศรษฐศาสตร์หลายรายว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.47 จะชะลอตัวลงติดต่อกันเป็น
เดือนที่ 3 ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวมีพื้นฐานจากผลผลิตจากโรงงานที่ลดลงติดต่อกันต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน
ก.ค.47 ชี้ให้เห็นแนวโน้มของการส่งออกที่ลดลงหลังจากที่เติบโตสูงมากในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และคาดว่า
การส่งออกในเดือน ส.ค.นี้จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 32.5 ลดลงจากตัวเลขที่ปรับแล้วร้อยละ 36.3 และ
38.1 ของเดือน ก.ค. และ มิ.ย.47 ตามลำดับ โดยสินค้าเกี่ยวกับ IT ที่มีสัดส่วน 1 ใน 4 ของสินค้าออก
ทั้งหมดของเกาหลีใต้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ส่วนสินค้าเข้าในเดือน ส.ค.47 คาดว่าจะสูงกว่าปี
ก่อนร้อยละ 35 เทียบกับตัวเลขร้อยละ 23.2 ของปีนี้นับจนถึงเดือน ก.ค.47 ทำให้เกาหลีใต้เกินดุลการค้า
ประมาณ 2.09 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากที่เกินดุล 1.83 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 46 ทั้งนี้
เกาหลีใต้คาดหวังว่าการส่งสินค้าออกไปจีนที่มีมูลค่าประมาณ 1 ใน 5 ของการส่งออกทั้งหมดจะช่วยทำให้
เศรษฐกิจในปีนี้มีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.1 ในปี 46 แต่การชะลอตัวลงจาก
การฟื้นตัวของความต้องการบริโภคในประเทศอาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีหน้า
เมื่อการส่งออกไปจีนและประเทศอื่นยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกไปจีนในปีนี้เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 51 นับจนถึงเดือน ก.ค.47 ลดลงจากร้อยละ 58 ในเดือน มิ.ย. และร้อยละ 74 ในเดือน พ.ค.47
อนึ่ง ก.พาณิชย์ของเกาหลีใต้จะประกาศตัวเลขการนำเข้าและส่งออกเดือน ส.ค.47 ในวันพุธที่ 1 ก.ย.นี้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับเดือน ส.ค.47 ของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3
จากปีก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 30 ส.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับเดือน ส.ค.47 ของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบต่อปีในเดือน ก.ค.47 ซึ่งถือว่าสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.46
ซึ่งดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 โดยเป็นผลจากราคาอาหารสดและน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์
คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะคงที่ในเดือนต่อ ๆ ไปจนถึงสิ้นปีนี้ เมื่อราคาน้ำมันเริ่มอ่อนตัวลงและการใช้จ่ายใน
ประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซาทำให้ผู้ผลิตไม่กล้าขึ้นราคาสินค้าซึ่งส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักซึ่งไม่รวม
ราคาอาหารและพลังงานอยู่ในระดับคงที่และอยู่ภายในเป้าหมายที่ ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ซึ่งมีส่วนช่วยให้
ธ.กลางเกาหลีใต้สามารถลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 3.5 ซึ่งต่ำสุดเป็น
ประวัติการณ์เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ สนง.สถิติแห่งชาติมีกำหนดจะรายงาน
ดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับเดือน ส.ค.47 ในวันที่ 1 ก.ย.47 เวลา 7.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ส.ค. 47 30 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.664 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.4713/41.7491 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 3750-1.6500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 612.45/9.70 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.09 37.24 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ยืนยันเกณฑ์การตั้งสำรองเอ็นพีแอลไม่กระทบฐานะการเงิน ธพ. นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง การที่ ธปท.ส่งหนังสือไปยัง ธพ. เมื่อวันที่ 26
ส.ค.ที่ผ่านมา โดยกำหนดให้กันสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่มีอายุมากกว่า 2-4 ปีเพิ่มขึ้น
และลดมูลค่าหลักประกันที่นำมาหักมูลหนี้ก่อนการกันสำรองหนี้เอ็นพีแอลนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะของ ธพ.
เนื่องจากมูลค่าที่ต้องกันสำรองเพิ่มเป็นเม็ดเงินที่ไม่มากและก่อนที่จะนำข้อกำหนดที่ปรับปรุงใหม่ออกใช้ ธปท.
ได้ชี้แจงไปยังสถาบันการเงินแล้ว ทำให้มีการเตรียมพร้อมที่จะสำรองเพิ่มเพื่อรองรับเกณฑ์ใหม่ และมูลค่าที่
ต้องกันสำรองเพิ่มก็เป็นเงินจำนวนไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ธพ.ได้มีการระมัดระวังในการปล่อยสิน
เชื่ออยู่แล้ว เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเอ็นพีแอล (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์)
2.การเคลื่อนไหวของเงินทุนไหลออกอยู่ในสภาพปกติ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า กรณี นรม.แต่งตั้ง ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รอง นรม.ให้ดูแลความเคลื่อนไหวเรื่องเงินทุนไหล
ออกต่างประเทศว่า ขณะนี้การเคลื่อนย้ายเงินทุนเรียบร้อยดี โดยเงินทุนไหลออกน้อยมาก ซึ่งเป็นสภาพปกติที่
เงินทุนจะไหลเข้าออกตามส่วนต่างของดอกเบี้ย แม้ว่าจะมีเงินทุนไหลออกบ้างจากตลาดทุน แต่ยังมีเงินไหล
เข้าจากเงินลงทุนโดยตรงที่สามารถชดเชยกันได้ ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดครึ่งแรกของปี 47 ยังเกินดุลประมาณ
2.7 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สะท้อนว่ามีเงินไหลเข้ามากกว่าออก ซึ่งหากมีเงินไหลออกมากกว่าการเกินดุล
บัญชีเดินสะพัดจะมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่จะอ่อนค่าลง (มติชน, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ก.คลังปรับเป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจไทยลดลงเหลือร้อยละ 6.5-7.0 ที่ปรึกษา รมว.
คลัง (นายโอฬาร ไชยประวัติ) ในฐานะประธานคณะทำงานนโยบายเศรษฐกิจ ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลัง
ได้ปรับเป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 47 เป็นครั้งที่ 3 ลดลงเหลือร้อยละ 6.5-7.0 จากเดิมที่คาด
การณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 7.1 เมื่อเดือน พ.ค.47 และระดับร้อยละ 7.7-8.1 เมื่อเดือน ก.พ.47 เนื่องจาก
เศรษฐกิจในไตรมาสแรกลดลง และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ
สรอ. การชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีน เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และไข้หวัดนกรอบใหม่
อย่างไรก็ตาม จากการที่ประเทศคู่ค้าหลักของไทยทั้ง 11 ประเทศมีภาวะเศรษฐกิจที่ดี โดยคาดว่าทั้งปีจะ
ขยายตัวในระดับร้อยละ 5 การอ่อนค่าของเงินบาททำให้การส่งออกดีขึ้น รวมถึงการเร่งเบิกจ่ายเงินงบ
ประมาณกลางปี การขยายตัวของสินเชื่อที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 11.4 การตรึงราคาน้ำมัน และการจ้าง
งานที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 670,000-710,000 คน จึงทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ชะลอตัวลงมาก (เดลินิวส์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
4. สมาชิกอาเซียน 13 ชาติสนับสนุนให้ใช้พลังงานอื่นแทนน้ำมัน นรม.เปิดเผยในการเป็นประธาน
ในพิธีเปิดการประชุมเรื่อง “เชื้อเพลิงชีวภาพ : ความท้าทายทั้งหลายสำหรับอนาคตของอาเซียน” เมื่อ 30
ส.ค.47 ว่า ได้ร่วมหารือกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 13 ชาติ อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมนี บราซิล จีน เกาหลี
เป็นต้น ว่า รัฐบาลกำหนดให้นโยบายการผลิตพลังงานทดแทนน้ำมันเป็นวาระแห่งชาติ โดยใช้เอทานอล
พลังงานชีวภาพ หรือ ไบโอดีเซล ทันทีเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีแหล่งพลังงานที่พอเพียง ซึ่ง
รัฐบาลพร้อมที่จะส่งเสริมอย่างจริงจัง เพื่อพยายามทดแทนการใช้พลังงานน้ำมันในประเทศให้เร็วที่สุดด้วย ด้าน
รมว.ก.อุตสาหกรรม กล่าวว่าในสัปดาห์หน้าจะเรียกบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทุกค่ายเข้าหารือในความเป็นไปได้ใน
การผลิตรถยนต์ที่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ (เบนซิลผสมเอทานอล) ที่มีส่วนผสมของเอทานอล เพิ่มขึ้นจากร้อยละ
10 เป็นร้อยละ 20 ซึ่งจะทำให้สัดส่วนของการใช้เอทานอลมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลได้ตั้งเป้าในการผลิต
เอทานอลให้ได้ 3 ล้านลิตรต่อวันในปี 49 ซึ่งแนวทางในการนำน้ำตาลไปผลิตเอทานอล จะทำให้ปริมาณของ
น้ำตาลหายไปจากตลาดได้ถึง 3 ล้านตันในปี 49 ผลักดันให้ราคาน้ำตาลทั่วโลกสูงขึ้น อันเกิดผลดีต่อผู้ผลิตอ้อย
ในประเทศไทยได้ในอนาคต (บ้านเมือง, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายของผู้บริโภคสรอ.ในเดือนก.ค. 47 เริ่มฟื้นตัว รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 30
ส.ค. 47 ก.พาณิชย์สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือนก.ค. 47 ผู้บริโภคสรอ.ใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เพิ่มขึ้น
อย่างมากจากเดือนที่แล้วที่ลดลงร้อยละ 0.2 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) โดยตัวเลขเบื้องต้นของเดือนมิ.ย.นั้น
ลดลดลงถึงร้อยละ 0.7 ทำให้ความวิตกจากตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยในเดือนมิ.ย. ที่สร้างความผิดหวังได้
เริ่มผ่อนคลายลง นอกจากนั้นตัวเลขของเดือนก.ค.ยังสร้างความหวังว่า เศรษฐกิจ สรอ.จะฟื้นตัวจากจุดที่
อ่อนตัวเมื่อเร็วๆนี้ ในขณะที่รายได้ส่วนบุคคลในเดือนก.ค.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 น้อยกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้หลัง
จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเดือนก่อน ทั้งนี้การที่รายได้ส่วนบุคคลในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นน้อยมากนับตั้งแต่
เดือนพ.ย. 45 ได้สร้างความประหลาดใจให้กับบรรดานักเศรษฐศาสตร์ โดยหัวหน้าเศรษฐกรจาก BMO
Financial ในโตรอนโตกล่าวว่า การบริโภคเป็นไปตามคาดซึ่งเป็นข่าวดีที่การใช้จ่ายผู้บริโภคฟื้นตัวแต่ก็
ประหลาดใจที่รายได้ส่วนบุคคลกลับเพิ่มขึ้นน้อย ก่อนหน้านั้นผลการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าการบริโภคจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และรายได้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 หลังจากที่ยอดค้าปลีก และยอดขายรถยนต์เมื่อเดือนที่
แล้วเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 หลังจากที่เศรษฐกิจได้
ชะลอตัวในไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวอย่างเบาบางของรายได้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์
ส่วนหนึ่งยังคงมีความกังวลต่อการใช้จ่ายในอนาคต ( รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค.47 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน รายงานจาก
โตเกียวเมื่อ 31 ส.ค.47 The Ministry of Economy, Trade and Industry เปิดเผยว่า ผลผลิต
อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ก.ค.47 ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มิ.ย.47 ซึ่งลด
ลงร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรม
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 อนึ่ง The Ministry of Economy, Trade and Industry ประเมินว่าผลผลิต
อุตสาหกรรมมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลจากการคาดหมายตัวเลขผลผลิตโรงงานซึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก
ของผลผลิตอุตสาหกรรมว่าอาจจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และ 0.6 ในเดือน ส.ค. และ ก.ย. ตามลำดับ นอก
จากนี้ ผลการสำรวจ Purchasing Managers Index (PMI) ซึ่งเป็นดัชนีสำหรับชี้วัดการดำเนินกิจกรรม
ของภาคอุตสาหกรรมในเบื้องต้น ที่ทำการสำรวจโดย Reuters, Nomura และ JMMA พบว่า ดัชนีลดลงที่
ระดับ 54.9 ในเดือน ส.ค.47 จากระดับ 55.4 ในเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าสำเร็จรูปยังคงไม่
เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสแรกของปี 47 (รอยเตอร์)
3.การส่งออกเดือนส.ค.47ของเกาหลีใต้มีแนวโน้มชะลอตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่3 รายงาน
จากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 30 ส.ค.47 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความเห็น
ของนักเศรษฐศาสตร์หลายรายว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.47 จะชะลอตัวลงติดต่อกันเป็น
เดือนที่ 3 ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวมีพื้นฐานจากผลผลิตจากโรงงานที่ลดลงติดต่อกันต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน
ก.ค.47 ชี้ให้เห็นแนวโน้มของการส่งออกที่ลดลงหลังจากที่เติบโตสูงมากในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และคาดว่า
การส่งออกในเดือน ส.ค.นี้จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 32.5 ลดลงจากตัวเลขที่ปรับแล้วร้อยละ 36.3 และ
38.1 ของเดือน ก.ค. และ มิ.ย.47 ตามลำดับ โดยสินค้าเกี่ยวกับ IT ที่มีสัดส่วน 1 ใน 4 ของสินค้าออก
ทั้งหมดของเกาหลีใต้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ส่วนสินค้าเข้าในเดือน ส.ค.47 คาดว่าจะสูงกว่าปี
ก่อนร้อยละ 35 เทียบกับตัวเลขร้อยละ 23.2 ของปีนี้นับจนถึงเดือน ก.ค.47 ทำให้เกาหลีใต้เกินดุลการค้า
ประมาณ 2.09 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากที่เกินดุล 1.83 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 46 ทั้งนี้
เกาหลีใต้คาดหวังว่าการส่งสินค้าออกไปจีนที่มีมูลค่าประมาณ 1 ใน 5 ของการส่งออกทั้งหมดจะช่วยทำให้
เศรษฐกิจในปีนี้มีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.1 ในปี 46 แต่การชะลอตัวลงจาก
การฟื้นตัวของความต้องการบริโภคในประเทศอาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีหน้า
เมื่อการส่งออกไปจีนและประเทศอื่นยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกไปจีนในปีนี้เพิ่มขึ้นร้อย
ละ 51 นับจนถึงเดือน ก.ค.47 ลดลงจากร้อยละ 58 ในเดือน มิ.ย. และร้อยละ 74 ในเดือน พ.ค.47
อนึ่ง ก.พาณิชย์ของเกาหลีใต้จะประกาศตัวเลขการนำเข้าและส่งออกเดือน ส.ค.47 ในวันพุธที่ 1 ก.ย.นี้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับเดือน ส.ค.47 ของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3
จากปีก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 30 ส.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับเดือน ส.ค.47 ของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ปีก่อน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบต่อปีในเดือน ก.ค.47 ซึ่งถือว่าสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.46
ซึ่งดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 โดยเป็นผลจากราคาอาหารสดและน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์
คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะคงที่ในเดือนต่อ ๆ ไปจนถึงสิ้นปีนี้ เมื่อราคาน้ำมันเริ่มอ่อนตัวลงและการใช้จ่ายใน
ประเทศที่ยังอยู่ในภาวะซบเซาทำให้ผู้ผลิตไม่กล้าขึ้นราคาสินค้าซึ่งส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักซึ่งไม่รวม
ราคาอาหารและพลังงานอยู่ในระดับคงที่และอยู่ภายในเป้าหมายที่ ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ซึ่งมีส่วนช่วยให้
ธ.กลางเกาหลีใต้สามารถลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 3.5 ซึ่งต่ำสุดเป็น
ประวัติการณ์เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ สนง.สถิติแห่งชาติมีกำหนดจะรายงาน
ดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับเดือน ส.ค.47 ในวันที่ 1 ก.ย.47 เวลา 7.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ส.ค. 47 30 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.664 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.4713/41.7491 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1. 3750-1.6500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 612.45/9.70 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,850/7,950 7,850/7,950 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.09 37.24 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 21.79*/14.59 21.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 24 ส.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-