แท็ก
ภาษีสรรพสามิต
1. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
ในเดือนกรกฎาคม 2547 แม้ว่าระดับของดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) จะสูงขึ้นจากเดือนก่อนแต่อัตราการขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนกลับชะลอลงจากร้อยละ 3.4 ในเดือนมิถุนายนเป็นร้อยละ 2.2 ในเดือนนี้เนื่องจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ ข่าวการลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ซึ่งส่งผลให้มีการชะลอการซื้อรถยนต์นั่งเพื่อรองรับประโยชน์ทางภาษี ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ราคาน้ำมันที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจและการมีงานทำมีผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ดี ยอดภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นเครื่องชี้ภาวะการอุปโภคบริโภคที่สำคัญยังขยายตัวดีต่อเนื่อง
รายละเอียดของเครื่องชี้ต่างๆ มีดังนี้เครื่องชี้ในกลุ่ม ยานพาหนะ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์เพราะข่าวการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตที่จะทำให้ราคาจำหน่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 16.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
เครื่องชี้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยานพาหนะ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคสินค้าและบริการ (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 21.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน สะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคสินค้าและบริการโดยรวมที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับมูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาปี 2538 ขยายตัวร้อยละ 12.3 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนส่วนหนึ่งเพราะฐานปีก่อนสูง อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้ดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าคงทนประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้ในครัวเรือน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่อยู่อาศัยขยายตัวร้อยละ 7.5 ขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ1.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลของการประหยัดน้ำมันจากราคาน้ำมันเบนซินที่แพงขึ้น โดยต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา
2. การลงทุนภาคเอกชน
ในเดือนกรกฎาคม 2547 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 66.5 โดยขยายตัวร้อยละ 10.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงมากจากร้อยละ 17.6 ในเดือนมิถุนายน รายละเอียดของเครื่องชี้ต่างๆ มีดังนี้
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรชะลอลงตามการชะลอตัวของเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ มูลค่าสินค้าทุนนำเข้า ณ ราคาคงที่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในปีก่อน กอปรกับราคานำเข้าที่ขยายตัวสูงในขณะนี้และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ซึ่งข่าวการลดอัตราภาษีสรรพสามิตได้ส่งผลให้มีการชะลอการซื้อชั่วคราวเพื่อรอรับประโยชน์จากราคารถยนต์ที่จะถูกลงในอนาคต
ส่วนเครื่องชี้ในหมวดก่อสร้างยังขยายตัวดีในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อน
อนึ่ง แม้ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมจะชะลอตัวในเดือนนี้ แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในปีก่อนและปัจจัยชั่วคราว และเมื่อพิจารณาเครื่องชี้อื่นของการลงทุนภาคเอกชน ได้แก่ เงินทุนของธุรกิจจดทะเบียนตั้งใหม่ จำนวนและมูลค่าการลงทุนของโครงการรับบัตรส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผลกำไรของธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ พบว่าการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไปยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวดี
3. ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล ในเดือนกรกฎคาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่ง 82.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.6 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีร้อยละ 16.1 ขณะที่รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 16.7
รายได้จากภาษีที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษีจากฐานรายได้ (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล) ที่ขยายตัวในอัตราร้อยละ 12.8 ภาษีจากฐานการบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะที่ขยายตัวร้อยละ 82.1 จากการปรับขึ้นอัตราภาษีในส่วนของธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ และภาษีจากฐานอื่นๆ ที่ขยายตัวสูงเพราะมีการนำส่งค่าภาคหลวงน้ำมันในเดือนนี้ ขณะที่ปีก่อนนำส่งในเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม ภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 5.1 จากการชะลอตัวของการผลิตเบียร์ ยาสูบน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน และรถยนต์ และภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศก็ลดลงร้อยละ 7.8 เพราะการเปิดการค้าเสรี
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงจากรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจที่หดตัวถึงร้อยละ 63.4 เนื่องจากในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมีการนำส่งกำไรของธนาคารออมสิน อนึ่ง รัฐพาณิชย์ที่นำส่งรายได้เกินพันล้านบาทในเดือนนี้มีการสื่อสารแห่งประเทศไทย (1.4 พันล้านบาท) แห่งเดียวอย่างไรก็ดี รายได้อื่นๆ ขยายตัวสูงมาก เพราะมีการนำส่งดอกผลที่เกิดจากบัญชีเงินฝากเงินกู้ของกระทรวงกลาโหม
รายจ่ายของรัฐบาล ในเดือนกรกฎาคมเท่ากับ 98.9 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 27.1 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยอัตราการเบิกจ่ายในเดือนนี้เท่ากับร้อยละ 8.4 รายจ่ายในงบประมาณของส่วนกลางที่สำคัญ คือ(1) รายจ่ายบำเหน็จบำนาญ 7.1 พันล้านบาท และ(2) รายจ่ายชำระคืนต้นและดอกเบี้ยในโครงการกองทุนหมู่บ้าน 5.7 พันล้านบาท สำหรับรายจ่ายนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ การเบิกจ่ายเงินฝากค่าภาษีที่โอนให้ท้องถิ่นรวม 3.3 พันล้านบาท
ดุลเงินสด ในเดือนนี้รัฐบาลขาดดุล 11.4 พันล้านบาท โดยดุลเงินในงบประมาณขาดดุลสูงถึง 16.5 พันล้านบาท แต่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 5.1 พันล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลกู้ในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล 6.5 พันล้านบาท (เป็นการเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลัง 11.4 พันล้านบาท ขณะที่มีการลดยอดเงินฝากของ ธปท.ที่คลังจังหวัด 4.8 พันล้านบาท) และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 2.0 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังลดลง 6.9 พันล้านบาท จากเดือนก่อน เหลือ 76.8 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือน
ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลขาดดุลเงินสดเพียง 0.1 พันล้านบาท โดยที่รายได้ขยายตัวร้อยละ 16.0 รายจ่ายขยายตัวร้อยละ 18.6 และอัตราการเบิกจ่ายเท่ากับร้อยละ 73.6 ใกล้เคียงกับร้อยละ 73.5 ในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-
ในเดือนกรกฎาคม 2547 แม้ว่าระดับของดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) จะสูงขึ้นจากเดือนก่อนแต่อัตราการขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนกลับชะลอลงจากร้อยละ 3.4 ในเดือนมิถุนายนเป็นร้อยละ 2.2 ในเดือนนี้เนื่องจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ ข่าวการลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ซึ่งส่งผลให้มีการชะลอการซื้อรถยนต์นั่งเพื่อรองรับประโยชน์ทางภาษี ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ราคาน้ำมันที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจและการมีงานทำมีผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ดี ยอดภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นเครื่องชี้ภาวะการอุปโภคบริโภคที่สำคัญยังขยายตัวดีต่อเนื่อง
รายละเอียดของเครื่องชี้ต่างๆ มีดังนี้เครื่องชี้ในกลุ่ม ยานพาหนะ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์เพราะข่าวการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตที่จะทำให้ราคาจำหน่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 16.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
เครื่องชี้ในกลุ่มที่ไม่ใช่ยานพาหนะ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคสินค้าและบริการ (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 21.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน สะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคสินค้าและบริการโดยรวมที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับมูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาปี 2538 ขยายตัวร้อยละ 12.3 ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนส่วนหนึ่งเพราะฐานปีก่อนสูง อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้ดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าคงทนประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องใช้ในครัวเรือน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่อยู่อาศัยขยายตัวร้อยละ 7.5 ขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ1.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลของการประหยัดน้ำมันจากราคาน้ำมันเบนซินที่แพงขึ้น โดยต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา
2. การลงทุนภาคเอกชน
ในเดือนกรกฎาคม 2547 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 66.5 โดยขยายตัวร้อยละ 10.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงมากจากร้อยละ 17.6 ในเดือนมิถุนายน รายละเอียดของเครื่องชี้ต่างๆ มีดังนี้
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรชะลอลงตามการชะลอตัวของเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ มูลค่าสินค้าทุนนำเข้า ณ ราคาคงที่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในปีก่อน กอปรกับราคานำเข้าที่ขยายตัวสูงในขณะนี้และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ซึ่งข่าวการลดอัตราภาษีสรรพสามิตได้ส่งผลให้มีการชะลอการซื้อชั่วคราวเพื่อรอรับประโยชน์จากราคารถยนต์ที่จะถูกลงในอนาคต
ส่วนเครื่องชี้ในหมวดก่อสร้างยังขยายตัวดีในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อน
อนึ่ง แม้ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมจะชะลอตัวในเดือนนี้ แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงในปีก่อนและปัจจัยชั่วคราว และเมื่อพิจารณาเครื่องชี้อื่นของการลงทุนภาคเอกชน ได้แก่ เงินทุนของธุรกิจจดทะเบียนตั้งใหม่ จำนวนและมูลค่าการลงทุนของโครงการรับบัตรส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผลกำไรของธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการขยายตัวของสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ พบว่าการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไปยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวดี
3. ภาคการคลัง
รายได้รัฐบาล ในเดือนกรกฎคาคม 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่ง 82.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.6 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีร้อยละ 16.1 ขณะที่รายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 16.7
รายได้จากภาษีที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษีจากฐานรายได้ (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล) ที่ขยายตัวในอัตราร้อยละ 12.8 ภาษีจากฐานการบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะที่ขยายตัวร้อยละ 82.1 จากการปรับขึ้นอัตราภาษีในส่วนของธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ และภาษีจากฐานอื่นๆ ที่ขยายตัวสูงเพราะมีการนำส่งค่าภาคหลวงน้ำมันในเดือนนี้ ขณะที่ปีก่อนนำส่งในเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม ภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 5.1 จากการชะลอตัวของการผลิตเบียร์ ยาสูบน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน และรถยนต์ และภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศก็ลดลงร้อยละ 7.8 เพราะการเปิดการค้าเสรี
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงจากรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจที่หดตัวถึงร้อยละ 63.4 เนื่องจากในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมีการนำส่งกำไรของธนาคารออมสิน อนึ่ง รัฐพาณิชย์ที่นำส่งรายได้เกินพันล้านบาทในเดือนนี้มีการสื่อสารแห่งประเทศไทย (1.4 พันล้านบาท) แห่งเดียวอย่างไรก็ดี รายได้อื่นๆ ขยายตัวสูงมาก เพราะมีการนำส่งดอกผลที่เกิดจากบัญชีเงินฝากเงินกู้ของกระทรวงกลาโหม
รายจ่ายของรัฐบาล ในเดือนกรกฎาคมเท่ากับ 98.9 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 27.1 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยอัตราการเบิกจ่ายในเดือนนี้เท่ากับร้อยละ 8.4 รายจ่ายในงบประมาณของส่วนกลางที่สำคัญ คือ(1) รายจ่ายบำเหน็จบำนาญ 7.1 พันล้านบาท และ(2) รายจ่ายชำระคืนต้นและดอกเบี้ยในโครงการกองทุนหมู่บ้าน 5.7 พันล้านบาท สำหรับรายจ่ายนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ การเบิกจ่ายเงินฝากค่าภาษีที่โอนให้ท้องถิ่นรวม 3.3 พันล้านบาท
ดุลเงินสด ในเดือนนี้รัฐบาลขาดดุล 11.4 พันล้านบาท โดยดุลเงินในงบประมาณขาดดุลสูงถึง 16.5 พันล้านบาท แต่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 5.1 พันล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลกู้ในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล 6.5 พันล้านบาท (เป็นการเพิ่มวงเงินตั๋วเงินคลัง 11.4 พันล้านบาท ขณะที่มีการลดยอดเงินฝากของ ธปท.ที่คลังจังหวัด 4.8 พันล้านบาท) และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 2.0 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังลดลง 6.9 พันล้านบาท จากเดือนก่อน เหลือ 76.8 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือน
ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลขาดดุลเงินสดเพียง 0.1 พันล้านบาท โดยที่รายได้ขยายตัวร้อยละ 16.0 รายจ่ายขยายตัวร้อยละ 18.6 และอัตราการเบิกจ่ายเท่ากับร้อยละ 73.6 ใกล้เคียงกับร้อยละ 73.5 ในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-