เศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคมขยายตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้นได้ส่งผลให้ความเชื่อมั่นโดยรวมลดลง ประกอบกับปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ ข่าวการปรับลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการผลิตและผู้บริโภคชะลอการซื้อยานยนต์ในเดือนนี้ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจึงชะลอตัวลงค่อนข้างมากจากเดือนก่อน สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเช่นกัน ส่วนใหญ่เพราะปัจจัยชั่วคราว อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายของรัฐบาลยังขยายตัวสูงตามการเร่งเบิกจ่าย และภาคการส่งออกก็ขยายตัวดีต่อเนื่อง
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีแม้จะชะลอลงบ้างจากทั้งปัจจัยด้านราคาและผลผลิต ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์สูงใกล้เคียงกับเดือนก่อน และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติก็ขยายตัวดี แม้ว่าปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนเนื่องจากโรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (SARS) ได้หมดไปแล้ว ทำให้อัตราการขยายตัว ในเดือนนี้ไม่สูงผิดปกติดังช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้า
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำแม้อัตราเงินเฟ้อเริ่มเร่งตัวขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็ยังอยู่ในระดับต่ำดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง และหนี้ต่างประเทศทรงตัว
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับร้อยละ 9.2 ในเดือนมิถุนายน โดยกลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลักขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ อย่างไรก็ดี ในเดือนนี้มีปัจจัยชั่วคราวที่ส่งผลให้การผลิตในบางอุตสาหกรรมลดลงหรือชะลอตัวชัดเจนจากเดือนก่อน ที่สำคัญได้แก่ การพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต ์ซึ่งทำให้ผู้ผลิตในหมวดยานยนต์ชะลอการผลิตเพื่อรอดูความชัดเจนของอัตราภาษี การปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดยาสูบ และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในหมวดอาหาร
อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 70.9 ต่ำกว่าร้อยละ 71.3 ในเดือนก่อนเล็กน้อยเนื่องจาก ปัจจัยชั่วคราวดังกล่าวข้างต้น
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากร้อยละ 3.4 ในเดือนมิถุนายนสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมที่ลดลงประกอบกับข่าวการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อยานยนต์ชั่วคราวเพื่อรอรับประโยชน์ทางภาษี ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งจึงหดตัวในเดือนนี้จากเดิมที่ขยายตัวสูง ขณะที่การซื้อรถจักรยานยนต์ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนมิถุนายนเช่นกัน ส่วนใหญ่เพราะปัจจัยชั่วคราวในหมวดการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ได้แก่ ฐานการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนเดียวกันของปีก่อนสูง และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอตัวลงมากจากข่าวการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต
3. ภาคการคลัง ในเดือนกรกฎาคม รายได้รัฐบาลขยายตัวร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีร้อยละ 16.1 โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับรายจ่ายรัฐบาลขยายตัวถึงร้อยละ 27.1 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายสูงถึงร้อยละ 8.4 ส่งผลให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 16.5 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 5.1 พันล้านบาท รัฐบาลจึงขาดดุลเงินสด 11.4 พันล้านบาทในเดือนนี้
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ตามราคาหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม และหมวดผักและผลไม้ที่สูงขึ้นมากจากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยเทียบกับความต้องการ ส่วนราคาในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในเดือนก่อนเนื่องจากการปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปตามต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบ
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในทุกหมวด ได้แก่ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในอัตราร้อยละ 14.8 11.2 และ 6.2 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนนี้ดุลการค้าเกินดุล 95 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 8,007 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 24.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกษตรประเภทข้าว ยางพาราและมันสำปะหลัง และสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สำหรับมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 7,912 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 22.8 จาก การนำเข้าน้ำมัน เครื่องจักรและชิ้นส่วน และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ส่วนดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 515 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าในเดือนก่อนตามรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายจ่ายในส่วนผลประโยชน์จากการลงทุนลดลงเนื่องจากไม่ใช่ช่วงการตกงวดการส่งกลับกำไรและจ่ายเงินปันผล ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 610 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 409 ล้านดอลลาร์ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 43.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ 4.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 7.2 8.2 และ 6.9 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากเดือนมิถุนายนตามการขยายตัวของเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 ในเดือนนี้ สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากการปล่อยกู้ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเป็นสำคัญ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากสภาพคล่องตึงตัวขึ้นจากการที่ธนาคารพาณิชย์หลายรายลดการลงทุนในตลาดการเงินช่วงก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 21 กรกฎาคมเพื่อรอดูทิศทางอัตราดอกเบี้ย กอปรกับมีการเตรียมสภาพคล่องสำหรับการเบิกถอนก่อนช่วงวันหยุดยาวปลายเดือน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.04 และ 1.07 ต่อปี ตามลำดับ
7. เงินบาท ในเดือนกรกฎาคม ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 40.94 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในเดือนก่อนจากปัจจัยสำคัญ คือ (1) นักลงทุนมีความกังวลว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (2) ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวแข็งขึ้นภายหลังการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อยู่ในเกณฑ์ดี และ (3) บริษัทน้ำมันในประเทศมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น
สำหรับในช่วงวันที่ 1-25 สิงหาคม 2547 เงินบาทอ่อนค่าลงอีกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 41.47 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากความกังวลต่อเนื่องของนักลงทุนเกี่ยวกับปัจจัยราคาน้ำมัน ประกอบกับบริษัทผู้นำเข้ามีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการอ่อนลงตามค่าเงินเยนที่ได้รับปัจจัยลบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีแม้จะชะลอลงบ้างจากทั้งปัจจัยด้านราคาและผลผลิต ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในเกณฑ์สูงใกล้เคียงกับเดือนก่อน และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติก็ขยายตัวดี แม้ว่าปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนเนื่องจากโรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (SARS) ได้หมดไปแล้ว ทำให้อัตราการขยายตัว ในเดือนนี้ไม่สูงผิดปกติดังช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้า
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำแม้อัตราเงินเฟ้อเริ่มเร่งตัวขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็ยังอยู่ในระดับต่ำดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง และหนี้ต่างประเทศทรงตัว
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับร้อยละ 9.2 ในเดือนมิถุนายน โดยกลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลักขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ อย่างไรก็ดี ในเดือนนี้มีปัจจัยชั่วคราวที่ส่งผลให้การผลิตในบางอุตสาหกรรมลดลงหรือชะลอตัวชัดเจนจากเดือนก่อน ที่สำคัญได้แก่ การพิจารณาปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต ์ซึ่งทำให้ผู้ผลิตในหมวดยานยนต์ชะลอการผลิตเพื่อรอดูความชัดเจนของอัตราภาษี การปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดยาสูบ และปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในหมวดอาหาร
อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 70.9 ต่ำกว่าร้อยละ 71.3 ในเดือนก่อนเล็กน้อยเนื่องจาก ปัจจัยชั่วคราวดังกล่าวข้างต้น
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากร้อยละ 3.4 ในเดือนมิถุนายนสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมที่ลดลงประกอบกับข่าวการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อยานยนต์ชั่วคราวเพื่อรอรับประโยชน์ทางภาษี ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งจึงหดตัวในเดือนนี้จากเดิมที่ขยายตัวสูง ขณะที่การซื้อรถจักรยานยนต์ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนมิถุนายนเช่นกัน ส่วนใหญ่เพราะปัจจัยชั่วคราวในหมวดการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ได้แก่ ฐานการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนเดียวกันของปีก่อนสูง และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอตัวลงมากจากข่าวการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต
3. ภาคการคลัง ในเดือนกรกฎาคม รายได้รัฐบาลขยายตัวร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีร้อยละ 16.1 โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับรายจ่ายรัฐบาลขยายตัวถึงร้อยละ 27.1 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายสูงถึงร้อยละ 8.4 ส่งผลให้ดุลเงินในงบประมาณขาดดุล 16.5 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณเกินดุล 5.1 พันล้านบาท รัฐบาลจึงขาดดุลเงินสด 11.4 พันล้านบาทในเดือนนี้
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ตามราคาหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม และหมวดผักและผลไม้ที่สูงขึ้นมากจากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยเทียบกับความต้องการ ส่วนราคาในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในเดือนก่อนเนื่องจากการปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปตามต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบ
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในทุกหมวด ได้แก่ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในอัตราร้อยละ 14.8 11.2 และ 6.2 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนนี้ดุลการค้าเกินดุล 95 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 8,007 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 24.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกษตรประเภทข้าว ยางพาราและมันสำปะหลัง และสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สำหรับมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 7,912 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 22.8 จาก การนำเข้าน้ำมัน เครื่องจักรและชิ้นส่วน และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ส่วนดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 515 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าในเดือนก่อนตามรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายจ่ายในส่วนผลประโยชน์จากการลงทุนลดลงเนื่องจากไม่ใช่ช่วงการตกงวดการส่งกลับกำไรและจ่ายเงินปันผล ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 610 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 409 ล้านดอลลาร์ และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 43.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ 4.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 7.2 8.2 และ 6.9 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากเดือนมิถุนายนตามการขยายตัวของเงินฝากธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 ในเดือนนี้ สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากการปล่อยกู้ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศเป็นสำคัญ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากสภาพคล่องตึงตัวขึ้นจากการที่ธนาคารพาณิชย์หลายรายลดการลงทุนในตลาดการเงินช่วงก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 21 กรกฎาคมเพื่อรอดูทิศทางอัตราดอกเบี้ย กอปรกับมีการเตรียมสภาพคล่องสำหรับการเบิกถอนก่อนช่วงวันหยุดยาวปลายเดือน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.04 และ 1.07 ต่อปี ตามลำดับ
7. เงินบาท ในเดือนกรกฎาคม ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 40.94 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในเดือนก่อนจากปัจจัยสำคัญ คือ (1) นักลงทุนมีความกังวลว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (2) ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวแข็งขึ้นภายหลังการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อยู่ในเกณฑ์ดี และ (3) บริษัทน้ำมันในประเทศมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น
สำหรับในช่วงวันที่ 1-25 สิงหาคม 2547 เงินบาทอ่อนค่าลงอีกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 41.47 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากความกังวลต่อเนื่องของนักลงทุนเกี่ยวกับปัจจัยราคาน้ำมัน ประกอบกับบริษัทผู้นำเข้ามีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการอ่อนลงตามค่าเงินเยนที่ได้รับปัจจัยลบจากความผันผวนของราคาน้ำมัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-