1. เสถียรภาพในประเทศ
โดยรวมเสถียรภาพในประเทศมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นบ้างจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัว อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานและระดับหนี้สาธารณะยังมีแนวโน้มที่ดี
รายละเอียดของเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนกรกฎาคม 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.7 เป็นผลจากราคาหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมและหมวดผักสดและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการบริโภค สำหรับราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินอีกลิตรละ 60 สตางค์ ในช่วงปลายเดือนส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปตามต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบ
-อัตราการว่างงาน
ในเดือนมิถุนายน 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.1 ของระยะเดียวกันปีก่อนทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรยังหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ในอัตราร้อยละ 2.1 เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าปกติ ขณะที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 7.7 โดยสาขาที่ขยายตัวดีได้แก่ การก่อสร้าง การค้าส่งค้าปลีก และการผลิต ในอัตราร้อยละ 20.8 7.8 และ 7.7 ตามลำดับ
-หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 2,918.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 47.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินประกอบกับการเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากประมาณร้อยละ 44.4 ในเดือนเมษายนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 45.1 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
-หนี้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 มียอดคงค้าง 50.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการนำเข้าหนี้สุทธิของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร และการตีราคาของหนี้ในสกุลเยนที่มีค่าแข็งขึ้นเป็นสำคัญ
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากร้อยละ 23.5 ในเดือนก่อนจากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นของภาคธนาคาร
หนี้ภาคเอกชน มียอดคงค้าง 34.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อน โดยภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารนำเข้าเงินกู้และสินเชื่อการค้าสุทธิ 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในขณะที่ภาคธนาคารมีการชำระคืนหนี้สุทธิ 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
หนี้ภาคทางการ มียอดคงค้าง 15.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้น 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นเป็นสำคัญ อนึ่ง แม้ในเดือนนี้ภาครัฐจะมีการนำเข้าเงินกู้สุทธิ แต่ก็มีการขาดดุลในตราสารหนี้ด้วย จึงทำให้สุทธิแล้วมีการนำเข้าหนี้ในภาคทางการเพียงเล็กน้อย
-เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 อยู่ที่ 43.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีโดยสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อการส่งออกสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศ ได้ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน และแม้ว่าดัชนีชี้วัดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของประเทศ ซึ่งได้แก่ เงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้น และสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าจะลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนเนื่องจากหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นและมูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่สัดส่วนทั้งสองก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-
โดยรวมเสถียรภาพในประเทศมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นบ้างจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัว อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานและระดับหนี้สาธารณะยังมีแนวโน้มที่ดี
รายละเอียดของเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้
-อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนกรกฎาคม 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.7 เป็นผลจากราคาหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมและหมวดผักสดและผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการบริโภค สำหรับราคาในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินอีกลิตรละ 60 สตางค์ ในช่วงปลายเดือนส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปตามต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบ
-อัตราการว่างงาน
ในเดือนมิถุนายน 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ใกล้เคียงกับร้อยละ 2.1 ของระยะเดียวกันปีก่อนทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรยังหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ในอัตราร้อยละ 2.1 เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าปกติ ขณะที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวร้อยละ 7.7 โดยสาขาที่ขยายตัวดีได้แก่ การก่อสร้าง การค้าส่งค้าปลีก และการผลิต ในอัตราร้อยละ 20.8 7.8 และ 7.7 ตามลำดับ
-หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 2,918.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 47.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ เป็นการเพิ่มขึ้นจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินประกอบกับการเพิ่มขึ้นของหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากประมาณร้อยละ 44.4 ในเดือนเมษายนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 45.1 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
-หนี้ต่างประเทศ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 มียอดคงค้าง 50.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากการนำเข้าหนี้สุทธิของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร และการตีราคาของหนี้ในสกุลเยนที่มีค่าแข็งขึ้นเป็นสำคัญ
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ลดลงจากร้อยละ 23.5 ในเดือนก่อนจากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นของภาคธนาคาร
หนี้ภาคเอกชน มียอดคงค้าง 34.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อน โดยภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารนำเข้าเงินกู้และสินเชื่อการค้าสุทธิ 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในขณะที่ภาคธนาคารมีการชำระคืนหนี้สุทธิ 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
หนี้ภาคทางการ มียอดคงค้าง 15.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้น 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.จากผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นเป็นสำคัญ อนึ่ง แม้ในเดือนนี้ภาครัฐจะมีการนำเข้าเงินกู้สุทธิ แต่ก็มีการขาดดุลในตราสารหนี้ด้วย จึงทำให้สุทธิแล้วมีการนำเข้าหนี้ในภาคทางการเพียงเล็กน้อย
-เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 อยู่ที่ 43.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
-ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีโดยสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อการส่งออกสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศ ได้ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน และแม้ว่าดัชนีชี้วัดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของประเทศ ซึ่งได้แก่ เงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้น และสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าจะลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนเนื่องจากหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นและมูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่สัดส่วนทั้งสองก็ยังอยู่ในเกณฑ์สูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-