บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)

ข่าวการเมือง Friday September 3, 2004 15:47 —รัฐสภา

                         บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันจันทร์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาประชุมครบองค์ประชุมแล้ว นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา
และนายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่อง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ….
ขอขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวออกไปเป็นกรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๗ ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๔ ให้ที่ประชุมพิจารณา
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และมีมติให้ขยายเวลาได้ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ร้องขอ
ต่อมา ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ได้ผลัดเปลี่ยนกัน
ทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณากระทู้ถาม
ตามลำดับ ดังนี้
๑. กระทู้ถามด่วน เรื่อง การสั่งห้ามผลิตและจำหน่ายอาหารเสริมวี-วัน
อิมมูนิเตอร์ ของนางมาลินี สุขเวชชวรกิจ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามด่วน เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ของนายสนิท จันทรวงศ์
ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๓. กระทู้ถามด่วน เรื่อง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ของนายจิโรจน์ โชติพันธุ์
ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล)
ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๔. กระทู้ถามด่วน เรื่อง กระทรวงสาธารณสุขละเมิดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
และละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ของนายบุญเลิศ ไพรินทร์ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงสาธารณสุข (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๕. กระทู้ถาม เรื่อง นโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (ซีอีโอ)
และการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ
ของนางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
อนึ่ง สำหรับกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาการบริหารราชการขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม ของนายประเกียรติ นาสิมมา
ถามนายกรัฐมนตรี นั้น ผู้ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนกระทู้ถามดังกล่าว ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๘
จากนั้น ประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ....
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
จำนวน ๓๑ คน ประกอบด้วย
๑. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๒. นายสม ต๊ะยศ
๓. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ ๔. นายพา อักษรเสือ
๕. นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์ ๖. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา
๗. นายบุญทัน ดอกไธสง ๘. คุณหญิงจินตนา สุขมาก
๙. นายถวิล ไพรสณฑ์ ๑๐. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์
๑๑. นายวิทยา มะเสนา ๑๒. นายสุนทร จินดาอินทร์
๑๓. นายปริญญา กรวยทอง ๑๔. นายบุญเลิศ ไพรินทร์
๑๕. นายธวัชชัย เมืองนาง ๑๖. นางมลิวัลย์ เงินหมื่น
๑๗. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ๑๘. นายณรงค์ นุ่นทอง
๑๙. นายลำพอง พิลาสมบัติ ๒๐. นายอนันต์ ผลอำนวย
๒๑. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๒๒. นายชงค์ วงษ์ขันธ์
๒๑. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๒๒. นายชงค์ วงษ์ขันธ์
๒๓. นายผ่อง เล่งอี้ ๒๔. นายวิชัย ครองยุติ
๒๕. นายวิบูลย์ แช่มชื่น ๒๖. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์
๒๗. นายสมควร จิตแสง ๒๘. นายอูมาร์ ตอยิบ
๒๙. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ๓๐. นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์
๓๑. นายอัชพร จารุจินดา
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ
อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ส่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ....
พิจารณา โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๓. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. .... พิจารณา
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
ต่อจากนั้น ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้นำเรื่อง ตั้งกรรมาธิการการแทนตำแหน่งที่ว่าง
รวม ๒ คณะ ให้ที่ประชุมพิจารณา ประธานของที่ประชุมจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว
ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาแทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง
ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้ง พลเอก มนัส อร่ามศรี เป็นกรรมาธิการแทน นายประเกียรติ นาสิมมา
ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
๒. ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและ
ชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. แทนตำแหน่งที่ว่าง ๒ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้ง
นายสมบูรณ์ ทองบุราณ และนายบุญญา หลีเหลด เป็นกรรมาธิการแทน นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
และนางมาลีรัตน์ แก้วก่า ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๑๐ นาฬิกา
(นายมนตรี รูปสุวรรณ)
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๓ ฉบับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๒๗
โทรสาร ๐ ๒๘๓๑ ๙๑๒๓

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ